16 ธันวาคม 2557

BUS 7017 : การจัดการเชิงกลยุทธ์ - ตำราพิชัยสงครามของซุนวู


การจัดการเชิงกลยุทธ์ : การสร้างและการดำเนินกลยุทธ์ แปลและเรียบเรียง ดร.ทรรศนะ บุญขวัญ
CRAFTING & EXECUTING STRATEGY : Concepts and Readings 18/e

BUS 7017 การจัดการเชิงกลยุทธ์ : ตำราพิชัยสงครามของซุนวู

ตำราพิชัยสงครามของซุนวู (จีนตัวย่อ孙子兵法จีนตัวเต็ม孫子兵法พินอินSūn Zǐ Bīng Fǎ; ซุนจื่อปิงฝ่า, อังกฤษThe Art of War; ความหมายตามอักษรว่า "ยุทธศิลป์") เป็นตำรายุทธศาสตร์การทหารหรือตำราพิชัยสงครามของจีน ซึ่งถูกเขียนขึ้นเมื่อราวหกร้อยปีก่อนคริสตกาลโดยซุนวู นักยุทธศาสตร์คนสำคัญในยุคจ้านกว๋อของจีน เนื้อหาในตำราพิชัยสงครามฉบับนี้มี 13 บท แต่ละบทเน้นถึงแต่ละแง่มุมของการสงคราม
ตำราพิชัยสงครามของซุนวูเป็นหนึ่งในตำรายุทธศาสตร์การทหารเล่มหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยนับได้ว่าเป็นตำราเล่มแรกและเล่มหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเชิงยุทธศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อแนวคิดทางการทหาร กลยุทธทางธุรกิจ และแนวคิดเรื่องอื่นๆ ทั้งในโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ซุนวูถือเป็นบุคคลแรกที่ตระหนักในความสำคัญของตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ซึ่งจะได้รับผลกระทบทั้งจากเงื่อนไขเชิงรุกในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และความคิดเชิงรับของฝ่ายคู่แข่งในสภาพแวดล้อมดังกล่าว เขาได้สอนว่า ยุทธศาสตร์ไม่ใช่เพียงการวางแผนกำหนดสิ่งที่จะลงมือทำเท่านั้น แต่ยังต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็วและเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสถานการณ์ต่างๆ ด้วย
ตำราพิชัยสงครามเล่มนี้ได้แปลเป็นภาษาตะวันตกครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1782 (พ.ศ. 2325) ซึ่งเป็นการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสโดยบาทหลวงฌอง โชแซฟท์ มารี อามีโอต์ (Jean Joseph Marie Amiot) นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายเยซูอิต ในปัจจุบันนี้ นอกจากการประยุกต์ใช้ในด้านการทหารแล้ว หลักการในตำราพิชัยสงครามของซุนวูยังได้มีการนำมาปรับใช้ในกลยุทธ์เชิงธุรกิจและด้านการจัดการอีกด้วย
ตำราพิชัยสงครามแบ่งเนื้อหาออกเป็น 13 บรรพ ดังนี้ (ชื่อที่ใช้อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละสำนวนแปล)
  1. การประเมิน (จีนตัวย่อ始计จีนตัวเต็ม始計)
  2. การวางแผน (จีนตัวย่อ作战จีนตัวเต็ม作戰)
  3. ยุทธศาสตร์การรบรุก (จีนตัวย่อ谋攻จีนตัวเต็ม謀攻)
  4. ท่าที (จีนตัวย่อ军行จีนตัวเต็ม軍行)
  5. กำลังพล (จีนตัวย่อ兵势จีนตัวเต็ม兵勢)
  6. ความอ่อนแอ-เข้มแข็ง (จีนตัวย่อ虚实จีนตัวเต็ม虛實)
  7. การดำเนินกลยุทธ์ (จีนตัวย่อ军争จีนตัวเต็ม軍爭)
  8. สิ่งผันแปร 9 ประการ (จีนตัวย่อ九变จีนตัวเต็ม九變)
  9. การเดินทัพ (จีนตัวย่อ行军จีนตัวเต็ม行軍)
  10. ภูมิประเทศ (จีนตัวเต็ม/จีนตัวย่อ: 地形)
  11. พื้นที่ต่างกัน 9 อย่าง (จีนตัวเต็ม/จีนตัวย่อ: 九地)
  12. การโจมตีด้วยไฟ (จีนตัวเต็ม/จีนตัวย่อ: 火攻)
  13. การใช้สายลับ (จีนตัวย่อ用间จีนตัวเต็ม用間)
Ref: http://th.wikipedia.org/wiki/ตำราพิชัยสงครามของซุนวู

" รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง "
ซุนวูเขียนไว้ในราวสองพันสี่ร้อยปีก่อน เนื้อหายุทธศาสตร์การทำสงครามทั้ง 13 บท ประกอบด้วย

บทที่ 1 เรื่องการประมาณสถานการณ์ บทที่ 5 เรื่องการจัดกำลังพล บทที่ 6 เรื่องความอ่อนแอและความเข้มแข็ง และบทที่ 10 เรื่องการตรวจสอบภูมิประเทศ เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (เศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฏหมาย เทคโนโลยี่ ภัยธรรมชาติ ฯลฯ) และสภาพแลดล้อมภายในองค์กร ( บริหาร ปฏิบัติการ ผลิต ตลาด การเงิน บุคลากร การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ) พูดง่ายๆ ก็คือการวิเคราะห์ SWOT Analysis ตามศาสตร์ว่าด้วยการจัดการกลยุทธ์นั่นเองครับ (วิเคราะห์ Five Forces ของ Michael Porter )

บทที่ 2 เรื่องการทำศึก และบทที่ 4 เรื่องการกำหนดท่าที เป็นการกำหนด วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ขององค์กร ว่าเราจะกำหนดให้เดินไปทิศทางไหน จะมุ่งหน้าไปยึดเนินไหน จะไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร

บทที่ 3 เรื่องการกำหนดยุทธศาสตร์การรบรุก และบทที่ 7 เรื่องการดำเนินกลยุทธ์ เป็นการกำหนดกลยุทธ์ระดับองค์กร ว่าจะเอาอย่างไร ต้องการให้ทำอย่างไร จะเติบโต จะขยาย จะรักษาไว้ จะคงที่ จะถอยหลัง หรือปิดกิจการ และต้องบอกลงไป ว่าแต่ละกลยุทธ์มีลักษณะเฉพาะอย่างไร เช่น เติบโตแนวดิ่ง (Vertical Integrated Growth) หรือเติบโตแนวนอน(Horizontal Integrated Growth) เป็นต้น

บทที่ 8 เรื่องสิ่งผันแปร 9 ประการ บทที่ 11 เรื่องพื้นที่ต่างกัน 9 แบบ บทที่ 12 เรื่องการโจมตีด้วยไฟ และบทที่ 13 เรื่องการใช้สายลับ เป็นการกำหนดกลยุทธ์ลงไประดับหน่วยธุรกิจ และเป็นการแตกประเด็นต่าง เพื่อนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติจริง (Implementation) รวมถึงการประเมินผลงาน (Evaluation) ครับ

ท่านซุนวูบอกไว้ แทบจะไม่แตกต่างจากศาสตร์แห่งการจัดการองค์กร ที่นักคิดระดับปรมาจารย์ หรือที่เรียกว่า มหากูรู นำมาเป็น ตำราการสอนวิชาการจัดการที่ทันสมัยในยุคปัจจุบัน
Ref: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=314834


ตำราพิชัยสงครามซุนวู  ฉบับดัมมี่
         ซุนวู หรือ ซุนจื่อ มีชื่อว่า อู่  (Wu)  เกิดในสมัยขงจื้อ (ก่อน ค.ศ.  511 - 497)  ซุนวูเป็นชาวเล่ออาน (อำเภอฮุ่ยหมิน มลฑลซานตง ในปัจจุบัน)  ในแคว้นฉี  ปลายยุคชุนชิว (ก่อน ค.ศ. 770-476)  ยุคชุนชิว  เป็นยุคที่สังคมจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่  จากระบบศักดินาเข้าแทนที่ระบอบทาส  จึงมีการรบราฆ่าฟันกันอย่างใหญ่ระหว่างพวกทาสกับเจ้าที่ดินใหม่  ราษฎรต้องเดือดร้อน  เกิดความทุกข์เข็ญไปทั่วแคว้น

         ซุนวู  เกิดในตระกูลเถียน ซึ่งเป็นตระกูลของชนชั้นเจ้าที่ดินในแคว้นฉี  และเป็นตระกูลสูงศักดิ์ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางทหารที่ลึกซึ้ง  กว้างไกล เถียนอ๋วน บรรพบุรุษของซุนวูเคยเป็นเจ้าครองแคว้นเฉิน  ซึ่งต่อมาลี้ภัยมาที่แคว้นฉี  ฉีหวนกง ผู้ครองแคว้นฉีสมัยนั้นจึงแต่งตั้งให้เป็นขุนนาง  และต่อมาหลายชั่วอายุคน ตระกูลเกียนก็กลายเป็นตระกูลที่มีอิทธิพลใน   แคว้นฉี  เถียนซู คนรุ่นที่ 5 ซึ่งเป็นปู่ของซุนวู รบชนะสงครามระหว่างแคว้นฉีกับแคว้นจี่  ได้รับความดีความชอบ  ฉีจิ่งกง ผู้ครองแคว้นจึงมอบเขตเล่ออัน ให้เถียนซูไปครองเมือง ตั้งให้ใช้แซ่ว่า ซุน ตระกูลเถียนก็เปลี่ยนแซ่เป็นซุนตั้งแต่นั้น

          ต่อมาแคว้นฉีเกิดจลาจล  ซุนวูหลบหนีออกจากแคว้นฉีไปอยู่แคว้นอู๋  บริเวณชานเมืองกูซู (เมืองซูโจว  มณฑลเจียงซูในปัจจุบัน)  เมื่อไปอยู่ที่นั่น  ซุนวูใช้ชีวิตแบบเร้นกาย  ศึกษาตำราพิชัยสงคราม  ขณะเดียวกันซุนวูได้คบหากับขุนพลมีชื่อของแคว้นอู๋  ชื่อ อู๋จื่อซี่ ทั้งคู่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ยุทธศาสตร์ทางทหารอย่างลึกซึ้งจนสนิทสนมกัน

          ในปี  516  ก่อนคริสตกาล  อู๋อ๋องเหอหลี  ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าแคว้นอู๋  ตัดสินใจทำสงครามกับแคว้นฉู่  แต่ยังวิตกกังวลเพราะหาแม่ทัพออกศึกไม่ได้  อู๋จื่อซี่จึงเสนอตัวซุนวูแก่เหอหลี  ถึง 7 ครั้ง  ว่าเป็นผู้สมควรแก่ตำแหน่ง  เหอหลีจึงได้เรียกตัวซุนวูมาพบในที่สุด

          ซุนวูเข้าพบอู๋อ๋องเหอหลี พร้อมด้วยตำราพิชัยสงคราม 13 บท ที่เขาเขียนขึ้น  เนื้อหาในตำราเปี่ยมด้วยข้อคิดแปลกใหม่ไม่ธรรมดาและซุนวูยังตอบปัญหาของเหอหลีได้อย่างคล่องแคล่ว เหอหลีพอใจอย่างยิ่งจึงแต่งตั้งให้ซุนวูเป็นแม่ทัพตั้งแต่บัดนั้น

          เมื่อซุนวูได้เป็นแม่ทัพแล้ว  ก็ได้สร้างความดีความชอบในสงครามเป็นอย่างมาก  ซื่อหม่าเชียน  นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ในช่วง  200  ปี ก่อนคริสตกาลว่า  ซุนวูทางตะวันตกสยบฉู่  ทางเหนือคุกคามแคว้นฉีกับแคว้นจิ้น  มีชื่อเสียงเลื่องลือไปในหมู่เจ้าครองแคว้น  ซุนวูผ่านชีวิตสงครามมาตลอด 30 ปี  จนถึงปี  482  ก่อนคริสตกาล  ก็มาถึงวาระสุดท้ายของซุนวู  อู๋อ๋องฟูซา  โอรสของเหอหลีขึ้นครองราชย์แทน 

          ฟูซาเป็นคนเย่อหยิ่ง  จองหอง  มักมากในกามคุณ  และใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย เพื่อแสวงหาความสำราญ ซุนวูจึงมิอาจทนพฤติกรรมของฟูซาได้  เขาหลบหนีไปปลีกวิเวกสันโดษในป่าลึก  และก็ไม่ได้ออกมาปรากฏแก่สายตาของผู้ใดอีกเลย  ปัจจุบันศพของซุนวูถูกฝังไว้อยู่ที่อำเภออู๋  มณฑลเจียงซู

           ตำราพิชัยสงครามซุนวูนี้ถือเป็นคัมภีร์อภิมหาอมตะ นิรันดร์กาล  เป็นตำรายุทธศาสตร์ทางทหารที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประเทศจีน   นับแต่โบราณกาลยุคสมัยสามก๊กจนถึงปัจจุบัน  ยอดนักการทหารของจีน  เช่น  โจโฉ  ขงเบ้ง  งักฮุย  เหมาเจ๋อตุง  ล้วนยึดถือตำราพิชัยสงครามซุนวูเป็นหลักในการบัญชาการรบทั้งสิ้น  แม้แต่ต่างประเทศ  ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่นำตำรานี้ไปเปิดสอนประเทศทางตะวันตกก็มีพระเจ้านโปเลียน โบนาปาร์ต  ผู้กระหายสงคราม  สมัยศตวรรษที่ 19  ก็เคยอ่านตำราพิชัยสงครามซุนวูมาก่อน     พระเจ้าไกเซอร์  แห่งเยอรมัน  หลังแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1  ถึงกับอุทานว่า  หากเราได้อ่านตำราพิชัยสงครามซุนวู  ก่อนหน้านี้  เราก็มิต้องถึงกับสูญชาติ

         ปัจจุบัน  ยุทธศาสตร์และปรัชญาในตำราพิชัยสงครามซุนวู 13 บท  ได้ถูกประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในวงการเมือง  การบริหาร  ธุรกิจ  ชีวิต  การงาน  จนประสบผลสำเร็จมาแล้วมากมาย

          จากความยิ่งใหญ่ของวรรณกรรมชิ้นเอกนี้  ผมจึงไม่พลาดที่จะประยุกต์ยุทธศาสตร์ซุนวูให้เข้ากับดัมมี่ คัดเฉพาะหลักปรัชญาและแผนกลยุทธ์สำคัญๆ ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดผล คุณไม่จำเป็นต้องเห็นตามนี้ เพราะอยู่ที่การตีความหมายของแต่ละคน ขอให้ใช้วิจารณญาณไตร่ตรองดูและนำไปทดลองใช้ ผลเป็นอย่างไรก็จำไว้และปรับให้เข้ากับสถานการณ์การเล่นต่อไป 
บุญชัย  ศฤงคารศิริ ประธานสมาคมดัมมี่

ตำราพิชัยสงคราม ซุนวู (The Art of War)
บทนำ
         ตำราพิชัยสงครามซุนวู  เป็นยุทธศาสตร์หรือทักษะทางการรบ  เป็นเรื่องของการวางแผนยุทธศาสตร์ทำสงคราม  ถ้าการเล่นดัมมี่คือสงคราม  คุณคือนักรบ  จะชนะศึกได้ต้องอาศัยตำราพิชัยสงครามซุนวูนี้  มาประยุกต์ใช้จึงจะสำเร็จ  ยุทธศาสตร์ของซุนวูเรียบง่าย  แต่แฝงด้วยปรัชญาล้ำลึก  ถ้อยคำที่ซุนวูกล่าวมีใจความสั้น ๆ  อ่านแล้วเข้าใจง่าย  นำไปใช้ได้ทันที  ถ้าคุณคิดจะเป็นนักรบ  อย่ากลัวบาดเจ็บเพราะมันคือประสบการณ์ที่หาไม่ได้อีกแล้ว  ต้องศึกษา

ตำราพิชัยสงครามซุนวู  13  บท
บทที่  1    การประเมินสถานการณ์
บทที่  2    การทำสงคราม
บทที่  3    ยุทธศาสตร์การรบ
บทที่  4    รูปแบบการรบ
บทที่  5    พลานุภาพ
บทที่  6    ตื้น  ลึก  หนา  บาง
บทที่  7    การสัประยุทธ์
บทที่  8    เก้าลักษณะ
บทที่  9    การเดินทัพ
บทที่  10  ภูมิประเทศ
บทที่  11  เก้ายุทธภูมิ
บทที่  12  โจมตีด้วยเพลิง
บทที่  13  การใช้สายลับ
  
ซุนวูกล่าวว่า
1. การทำสงคราม จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ
  - แม่ทัพ    - ทหาร    
  - อาวุธ     - เสบียง  
  - จิตใจ     - สติปัญญา
2. การทำสงครามเอาชนะกันด้วยสติปัญญาสำคัญกว่าการใช้กำลัง
3. สงครามทุกรูปแบบตั้งอยู่บนพื้นฐานของกลอุบาย
4. นโยบายที่ดีที่สุดของการชนะสงครามคือ เอาชนะข้าศึกได้โดยมิต้องสู้รบ
5. แม่ทัพ จะทำสงครามอย่ากลัวตายหรือบาดเจ็บ
6. แม่ทัพผู้ทำสงครามหวังชนะ  ควรปฏิบัติตามหลัก 3 ประการ
    1. ทำสงครามให้สิ้นสุดด้วยระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
    2. ทำสงครามให้สูญเสียน้อยที่สุด
    3. ทำสงครามให้ข้าศึกเสียหายมากที่สุด
7. แม่ทัพที่ดีต้องรู้จักระมัดระวัง  รอคอย  แต่ไม่ลังเล  เห็นโอกาสเปิด  ให้ลงมือกระทำ รู้จักปรับตามสภาพแวดล้อม

บทที่ 1
การประเมินสถานการณ์

         การประเมินสถานการณ์ บทที่ 1 นี้ถือว่าเป็นแม่บทของตำราพิชัยสงครามซุนวู บทอื่นๆ เป็นบทที่ขยายความออกไปจากบทที่ 1 ซุนวูให้ความสำคัญของเป้าหมายการเล่นเป็นอันดับแรก คุณต้องวิเคราะห์และเปรียบเทียบเพื่อหาข้อดีข้อเสียจากสถานการณ์ไพ่  เพื่อวางแผนการเล่นให้ บรรลุเป้าหมาย โดยยึดสภาพความจริงเป็นหลักการประเมิน การเล่นโดย ไร้เป้าหมายจะเกิดความประมาท ไม่ระมัดระวัง  ส่งผลให้คุณถูกน็อกในที่สุด

บทที่ 1 การประเมินสถานการณ์ ซุนวูกล่าวว่า
1. การทำสงครามเป็นเรื่องถึงเป็นถึงตาย เป็นเหตุแห่งการดำรงอยู่และดับสูญจักต้องพิจารณาศึกษาให้ถ่องแท้ในสถานการณ์  
2. มีหลักการพื้นฐานสำคัญ 5 ประการ ด้วยกัน จงศึกษาหลักการเหล่านี้เมื่อทำสงคราม  จะทำให้การประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้อง
     1. คุณธรรม คือ ความสามัคคี เป้าหมายร่วมกัน
     2. ลมฟ้าอากาศ คือ ภาวะความเปลี่ยนจากธรรมชาติ
     3. ภูมิประเทศ คือ สภาพพื้นที่ ระยะทาง สถานการณ์
     4. แม่ทัพ คือ สติปัญญาของแม่ทัพ
     5. กฎระเบียบ คือ ความเข้มงวดในการจัดขบวนทัพ หลักการรบ
3. การทำสงครามคือการใช้เล่ห์เพทุบาย  ให้ใช้แผนหลอกล่อข้าศึกให้งงปกปิด เป้าหมายที่แท้จริงของตน  เช่น
    - แม่ทัพเก่ง แสร้งทำเป็นไม่เก่ง
    - รบได้แกล้งไม่พร้อมรบ
    - อยู่ใกล้แสดงไกล อยู่ไกลแสดงใกล้
    - ล่อด้วยประโยชน์
    - จับกุมเมื่อระส่ำ
    - ป้องกัน เมื่อข้าศึกเข้มแข็ง
    - หลบเลี่ยง เมื่อข้าศึกเหนือกว่า
    - ยั่วให้โกรธ
    - ก่อกวนจิตใจ
    - ยุให้แตกสามัคคี
    - โจมตีเมื่อไม่ระวัง
4. เมื่อประเมินสถานการณ์แล้วได้เปรียบ แม่ทัพจะต้องปฏิบัติตามสภาพอันจะก่อให้เกิดผล
5. ความได้เปรียบน้อยเกินไป นำมาซึ่งความพ่ายแพ้
6. ความได้เปรียบเสียเปรียบเป็นสิ่งไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสติปัญญา ความสามารถ ของแม่ทัพ
7. อาศัยการสังเกตจะบอกได้ล่วงหน้าว่าการรบครั้งนี้จะประสบผลสำเร็จหรือพ่ายแพ้
8. แม่ทัพผู้ชำนาญศึก จึงแสวงหาชัยชนะจากสถานการณ์
9. แม่ทัพใดวางแผนและเตรียมตัวมาดี ย่อมได้เปรียบและมีชัย แม่ทัพใดไม่วางแผนและไม่เตรียมตัวย่อมตกอยู่สถานการณ์ร้าย
10. แม่ทัพควรทำวิธีทางศาสนาก่อนออกรบ  เพราะจะช่วยให้ฮึกเหิม
11. รบแบบแพ้ไม่เป็น
12. ยิ่งแข็งแกร่ง เพราะรบชนะ


บทที่ 2
การทำสงคราม

ในบทนี้ ซุนวูจะเน้นการเล่นให้น็อกเร็ว ไม่ยืดเยื้อ เพราะจะทำให้เสียหน้าไพ่และเสียแต้ม  เนื่องจากขาอื่นอาจเกิดหัวหรือสเปโตได้ทุกเวลา แต่การน็อกเร็วก็มิใช่ทำได้ง่าย  เพราะมีตัวกัน  ซุนวู เสนอวิธีการจัดการกับตัวกันได้อย่างลึกซึ้ง ในบทนี้จึงเน้นบทบาทสำคัญของผู้เล่นที่จะต้องใช้สติปัญญาและเทคนิคการเล่นชั้นสูงจริง ๆ

 บทที่ 2 การทำสงคราม ซุนวูกล่าวว่า
1. การทำสงครามสำคัญที่รวดเร็ว ใช่สำคัญที่ยืดเยื้อ
2. แม่ทัพผู้ชำนาญศึกต้องเอาเสบียงจากข้าศึก
3. เมื่อจับเชลยศึกได้ ให้ดูแลอย่างดีและใช้งานให้เหมาะ
4. ให้กองทัพขนเสบียงเฉพาะที่จำเป็น
5. เสริมเสบียงเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของกองทัพ
6. ใช้เสบียงให้เกิดประโยชน์
7. อย่าใช้กองทัพทั้งหมดที่มีในการพิชิตศัตรู
8. ทุนการทำสงครามถ้าไม่พอก็อย่าออกรบเลย
9. ในการรบทุนจะถูกนำมาจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึก
10. แม่ทัพผู้ชำนาญศึกย่อมไม่ระดมพลรอบสอง


บทที่ 3
ยุทธศาสตร์การรบ
        ในบทนี้ ซุนวูได้ให้ข้อคิดที่สำคัญ และมีคุณค่ายิ่งต่อการวางแผนยุทธศาสตร์การเล่นดัมมี่  คือ รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง แสดงให้เห็นถึงการอ่านสถานการณ์ไพ่ของตัวเองและผู้อื่นว่าเป็นอย่างไร และเสนอหลักการเล่นให้ได้กิน เช่น ถ้าไพ่ได้เปรียบให้เล่น  แต่ถ้าไพ่เสียเปรียบไม่ควรฝืนเล่น  ควรเลี่ยงหนี

บทที่ 3 ยุทธศาสตร์การรบ ซุนวูกล่าวว่า
1. ชัยชนะจากการทำศึก
2. การทำให้ข้าศึกพ่ายแพ้โดยมิต้องรบ คือ
   - ความยอดเยี่ยมในความยอดเยี่ยม
   - ยอดเยี่ยมรองลงมา คือ การทำให้ข้าศึกแตกแยก 
   - ดีรองลงมา คือ โจมตีกองทัพข้าศึก
   - เลวที่สุด คือ ตีเมืองเมื่อไม่มีทางเลือกสู้รบกันนานแต่เมืองก็มิแตก
3. หลักเกณฑ์การรบ 
    - หากเข้มแข็งกว่าข้าศึก ให้บุกโจมตี
    - หากเข้มแข็งเท่ากับข้าศึกให้ยันไว้
    - หากเข้มแข็งน้อยกว่าให้ถอยหนี หากดันทุรังมีแต่จะพ่ายแพ้
4. วิถีทางล่วงรู้ชัยชนะ 5 ทาง คือ
     -  รู้ว่าควรรบหรือไม่ควรรบ จะชนะ 
     - รู้ว่ากำลังมากกำลังน้อย จะชนะ 
     - แม่ทัพและกองทหารเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะชนะ
     - ฝ่ายพร้อมรบบุกฝ่ายไม่พร้อมรบ จะชนะ 
     - แม่ทัพมีความสามารถไม่ถูกรบกวน แทรกแซง จะชนะ
5. รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง
     ไม่รู้เขา  แต่รู้เรา  โอกาสแพ้ชนะเท่ากัน
     ไม่รู้เขา  ไม่รู้เรา  รบร้อยครั้ง  แพ้ร้อยครั้ง   






Ref: http://dummygame.com/sunwu.pptx




xxx

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อยากรู้เรื่องทฤษฎีการตลาดกับผู้เชี่ยวชาญ ผมแนะนำ M.B.A. (Marketing) Ramkhamkaeng .. แต่ถ้าอยากรู้ว่าเรียนการตลาดแล้วจะประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินได้อย่างไร คุณต้องมีโค้ชแนะนำ ครับ

วางแผนการเงินกับ #finadvisor #ความมั่งคั่งเริ่มต้นที่นี่ finadvisor.co
โค้ชส่วนตัว ช่วยวางแผน

×
News