1 พฤศจิกายน 2557

BUS 7096 : บทความวิชาการ (Academic Paper)


เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา BUS 7096 การค้นคว้าอิสระ
อาจารย์ ดร.เกรียงไกรยศ พันธุ์ไทย และคณะ

บทความวิชาการ (Academic Paper)


บทคัดย่อ 1 หน้า
(เขียนสุดท้าย หลังจากที่เขียนเนื้อหาบทความ 8-10 แผ่นสร็จแล้ว)


เนื้อหาของบทความวิชาการ (จำนวน 8-10 หน้า)
ส่วนที่ 1 แนวคิดทฤษฎี เกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการเขียน (คล้ายๆกับการเขียนทบทวบวรรณกรรม บทที่ 2 ของการทำวิจัย) มีการเขียนอ้างอิงที่มา ตามหลักวิชาการ (จำนวน 4-5 หน้า)

ส่วนที่ 2 นำเนื้อหาบางส่วนของแผนธุรกิจมานำเสนอ โดยนำเสนอให้สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีส่วนที่ 1 (แนวคิดทฤษฎี ผสมผสานกับเนื้อหาบางส่วนของแผนธุรกิจ) (จำนวน 4-5 หน้า)


บรรณานุกรม
เขียนอ้างอิงที่มา ตามหลักวิชาการ


แนะนำชื่อหัวข้อของบทความ ทั้งนี้นักศึกษาคิดตั้งชื่อ บทความทางวิชาการของตัวเองได้ ผมเพียงแค่แนะนำ ครับ
• แนวคิดการจัดการสำหรับ......ชื่อสินค้าหรือบริการ...............
• แนวคิดการจัดองค์การสำหรับ......ชื่อสินค้าหรือบริการ............
• แนวคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์สำหรับ ......ชื่อสินค้าหรือบริการ............
• การจัดการจากแนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับ......ชื่อสินค้าหรือบริการ............
• การจัดองค์การจากแนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับ......ชื่อสินค้าหรือบริการ............
• การจัดการทรัพยากรมนุษย์จากแนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับ......ชื่อสินค้าหรือบริการ............
• แนวคิดการตลาดสำหรับ......ชื่อสินค้าหรือบริการ...............
• แนวคิดกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์สำหรับ......ชื่อสินค้าหรือบริการ............
• แนวคิดกลยุทธ์ด้านราคาสำหรับ ......ชื่อสินค้าหรือบริการ............
• การตลาดจากแนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับ......ชื่อสินค้าหรือบริการ............
• กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์จากแนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับ......ชื่อสินค้าหรือบริการ............
• กลยุทธ์ด้านราคาจากแนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับ......ชื่อสินค้าหรือบริการ............

บทความที่จะส่งไม่ควรมีความยาวเกิน 7,000 คำ และชื่อของบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรจะมีความกระชับและได้ใจความชัดเจน นอกจากนี้ผู้ส่งบทความจะต้องเขียนบทคัดย่อ (ความยาวไม่ควรเกิน 250 คำ) บทความวิชาการ หัวข้อและเนื้อหาควรชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนออย่างสมบูรณ์ และมีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน รวมถึงมีการใช้ทฤษฎีวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ตามหลักวิชาการ โดยมีการสรุปประเด็น อาจเป็นการนำความรู้ กรอบแนวคิดและทฤษฎีจากแหล่งต่าง ๆ มาสังเคราะห์ โดยที่ผู้เขียนสามารถให้ทัศนะทางวิชาการผ่านมุมมองของตนเองได้อย่างเด่นชัด และเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน

การอ้างอิงเอกสาร (References)
ผู้ส่งบทความจะต้องเขียนอ้างอิงเอกสารอื่นโดยจัดให้อยู่ในรูปแบบ Harvard Style และผู้ส่งบทความจะต้องตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของการอ้างอิง ในกรณที่ผู้ส่งบทความต้องการอ้างอิงในเนื้อหาผู้ส่งบทความควรใช้ชื่อตามด้วยปีที่ตีพิมพ์ในวารสาร เช่น (Voss, 1998) หรือ Voss (1998) แล้วแต่โครงสร้างประโยค และ (Paul et al., 1999) หรือ Paul et al. (1999) ในกรณีที่ผู้แต่งมากกว่า 3 คนขึ้นไป สำหรับการอ้างอิงเอกสารภาษาไทย เช่น (เอนก, 2548) หรือ เอนก (2548) และ (ดำรงและคณะ, 2550) หรือ ดำรงและคณะ (2550) ในกรณีที่ผู้แต่งมากกว่า 3 คนขึ้นไป เป็นต้น ในส่วนของการอ้างอิงเอกสารท้ายบทความผู้ส่งบทความควรยึดตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
การอ้างชื่อบทความในวารสาร
ภาษาไทย
ชื่อผู้เขียน. ปีที่พิมพ์, ‘ชื่อบทความ’, ชื่อวารสาร, ฉบับที่ (เดือน), หน้า (เลขหน้า). เช่น
วรพร นพประเสริฐ และ ดำรง เอกกมล 2543, ‘การพัฒนากลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่’, วารสารบริหารธุรกิจ, ฉบับที่ 78 (กรกฎาคม-กันยายน), หน้า 78-82.

ภาษาอังกฤษ
Surname, initial. year, ‘title’, journal name, volume, number, pp (page number). เช่น
Fox, S. 1994, ‘Empowerment as a catalyst for change: an example from food industry’, Supply Chain Management, vol. 2, no. 3, pp. 29-33.

การอ้างชื่อหนังสือ
ภาษาไทย
ชื่อผู้เขียน (ปีที่พิมพ์), ชื่อหนังสือ, สำนักพิมพ์, สถานที่พิมพ์. เช่น 
สุชาติ บ่อเกิดมานะ (2545), การบริหารคน เพื่อพิชิตใจคน, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพ.

ภาษาอังกฤษ
Surname, initial and year of publication, title, publisher, place of publication. เช่น
Casson, M. 1979, Alternative to the Multinational Enterprise, Macmillan, London.

รูปแบบการอ้างอิง (ระบบฮาวาร์ด)

หนังสือ

  • ชื่อผู้เขียน (นามสกุลขึ้นก่อนชื่อจริง), ปีที่เผยแพร่, ชื่อหนังสือ (ตัวเอียง), อิดิชั่นที่ตีพิมพ์ (ถ้ามี), สำนักพิมพ์, ที่ตั้งของสำนักพิมพ์
    • ในบางกรณี เป็นหนังสือที่ออกโดย หน่วยงาน ไม่มีชื่อผู้เขียน ให้ใส่ชื่อหน่วยงานแทนชื่อผู้เขียน
    • ถ้าไม่ทราบวันที่ ให้เขียนในปีที่เพยแพร่ว่า "ไม่ปรากฏวันที่"
    • ถ้าเป็นหนังสืออิเล็อทรอนิกส์ ให้ใส่ <url> ต่อท้ายด้วย

เวบไซด์

  • ชื่อผู้เขียน, ปีที่อัปเดทล่าสุด, "ชื่อหัวข้อ (ในเครื่องหมายคำพูด ไม่เอียง)", วันที่ได้รับข้อมูล (ตัวอย่าง ดูเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551), <url> ( ตัวอย่าง<www.example.com>)
    • ไม่ทราบวันที่ปรับปรุงล่าสุด ใส่ ไม่ปรากฏวันที่
    • ไม่ทราบผู้เขียน หรือหน่วยงานที่เขียน ใส่ใส่ชื่อเวบไซด์แทน

ร่างกฎหมาย

  • ชื่อร่างกฎหมาย (ตัวเอียง), สถานที่ออกกฎหมาย (เช่น กรุงเทพมหานคร), หน่วยงานที่ออก (เช่น สำนักราชหัตถเลขาธิการ (บ้านเรา ผมไม่ทราบว่าหน่วยไหนออก แต่ในอังกฤษ จะเป็น สำนักราชหัตถเลขา, HMSO))




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อยากรู้เรื่องทฤษฎีการตลาดกับผู้เชี่ยวชาญ ผมแนะนำ M.B.A. (Marketing) Ramkhamkaeng .. แต่ถ้าอยากรู้ว่าเรียนการตลาดแล้วจะประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินได้อย่างไร คุณต้องมีโค้ชแนะนำ ครับ

วางแผนการเงินกับ #finadvisor #ความมั่งคั่งเริ่มต้นที่นี่ finadvisor.co
โค้ชส่วนตัว ช่วยวางแผน

×
News