** ข้อมูลที่เผยแพร่ในบล็อกเป็นความคิดเห็นและความเข้าใจส่วนบุคคล ไม่เกี่ยวข้องกับอาจารย์ผู้สอนในวิชานั้น โปรดใช้วิจารณญาณ ** สุรัตน์ สดงาม SURAT SOD-NGAM [หมู] | Facebook.com/suratsod | LineID: naimoo
29 พฤศจิกายน 2557
BUS 7017 : Business Strategy Game - Private-Label Production
BUS 7017 : Business Strategy Game : The Business Strategy Game (bsg-online.com)
DECISION ENTRIES : Private-Label Production
TIP : ต้องพิจารณาคุณภาพ S/Q Rating ที่อุตสาหกรรมยอมรับได้ และตั้งราคาขายต่ำสุด ขายได้ก่อนราคาเป็น Key Factor ที่จะทำให้ขายได้หรือขายไม่ได้
สินค้าในเกมส์มี 2 แบบ คือ Brand และ P-Label
ผลิตแบบ P-Label หรือ OEM หรือ House Brand คือผลิตและส่งขายให้ห้างติดตราสินค้าชื่อห้าง ภายใต้เงื่อนไขคุณภาพและราคาเป็นหลัก
S/Q Rating of P-Label Pairs Produced : ผลิตให้คุณภาพที่อุตสาหกรรมรับได้ (ไม่เหมือนกับ S/Q Rating ของ Brand) เช่น Global Minimum S/Q Rating ต้องการ 4 ดาว แต่ตอนนี้ N.A. Plant และ A-P Plant ผลิตได้ 3 ดาว ยังส่งไปขายไม่ได้เพราะไม่ตรงกับคุณภาพที่ต้องการตามที่อุตสาหกรรมยอมรับได้
Bid Price : ตั้งราคาขายต่ำสุดขายได้ก่อน ตราบเท่าที่ยังมีความต้องการเหลืออยู่ ตลาด P-Label จะแยกออกจากตลาดสินค้า Brand
Private-Label Demand Forecast : ปริมาณความต้องการในแต่ละทวีป ถ้าส่งเกินก็จะขายไม่ได้
ตัวอย่าง N.A. Market ต้องการสินค้า 800 คู่ และคุณภาพ 4 ดาว มีผู้แข่งในตลาด 3 ทีมคือ A, B และ C
ทีม C ขายได้ก่อน 700 คู่ ทั้งหมดเพราะราคาถูกและคุณภาพตรงตามความต้องการ
ทีม A ขายได้ 100 คู่ เพราะราคาสูงกว่าทีม C ถึงแม้ว่าจะมีคุณภาพเท่ากัน
ทีม B ขายไม่ได้ เพราะคุณภาพไม่ได้ตามความต้องการ ถึงแม้ราคาจะถูกที่สุด
** P-Label จะไม่มีการเก็บสต๊อก เหลือทิ้งทั้งหมด เป็นต้นทุนจม (Sunk Cost) มีความเสี่ยง
กรณีถ้าทีม B ผลิตได้ 5 ดาว ตั้งราคาขาย $32.00 ขายได้ ทำไปเพื่อ? เพราะตลาดต้องการคุณภาพ 4 ดาว ทำให้ต้นทุนสูงเสียโอกาส คือ Cost เพิ่ม และ Profit ไม่เพิ่ม
ถ้าต้องการทำตลาด P-Label สิ่งที่ต้องปรับคือ S/Q Rating ต้องปรับให้ตรงกับ Global Minimum S/Q Rating
Superior Materials Usage : ปรับเพิ่ม % วัตถุดิบชั้นดี
Enhanced Styling / Features : ปรับลงทุนเพิ่มเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
สิ่งที่ใช้ร่วมกันระหว่าง Brand และ P-Label คือกำลังการผลิต กำลังการผลิตที่เหลือจากผลิต Brand จะมาปรากฎที่ P-Label ทั้ง Regular และ Overtime
ถ้าไม่ต้องการให้กำลังการผลิตมาใช้ที่ P-Label ทำได้โดยเพิ่มกำลังการผลิต Brand ทั้งหมด
มีกำลังการผลิตเหลืออยู่ สิ่งที่เกิดขึ้นคือต้นทุนคงที่(Fixed Cost) เกิดขึ้น แนะนำให้นำกำลังการผลิตที่เหลืออยู่มาให้ประโยชน์ด้วย เช่น ทวีปเอเซียมีกำลังการผลิตเหลือ Regular เท่ากับ 867 และ Overtime เท่ากับ 800 Average Production Cost เท่ากับ $19.62 ต่อคู่ ตลาด A-P Market มีความต้องการ 2,400 คู่
เพื่อใช้ประโยชน์จากกำลังการผลิตที่เหลืออยู่ตั้งราคาขายเท่ากับต้นทุน ทำให้ Fixed Cost ลดลง และช่วยกันตลาดไม่ให้คู่แข่งเข้ามาเล่นในตลาด P-Label ได้
TIP: ถ้ามีกำลังการผลิตเหลืออยู่ ให้นำมาใช้ประโยชน์ด้วย
ในกรณีที่ไม่มีคู่แข่งเข้ามาในตลาด P-Label การตั้งราคาขายสามารถตั้งราคาต่ำกว่า Wholesale Price $5
00.00-22:20
เมนู อื่นๆ:
Business Strategy Game - Online
Decisions / Reports
Sale Forecast
Branded Production
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น