25 เมษายน 2558

BUS 7303 : Case Study Li&Fung Supply Chain


BUS 7303 : Supply Chain and Marketing Channel Management

การจัดการซัพพลายเชนและช่องทางการตลาด
Supply Chain and Marketing Channel Management

กรณีศึกษา : Li&Fung Supply Chain

Li&Fung (ลี แอนด์ ฟุง) เป็นบริษัทอยู่ในฮ่องกงตั้งเมื่อปี 1906 ปัจจุบันเป็นหนึ่งในบริษัทการค้าข้ามชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศกำลังพัฒนา เมื่อปี 2010 มีมูลค่าขาย 20,000 ล้านเหรียญ บริษัทนี้ยังคงดำเนินการโดยรุ่นหลานของผู้ก่อตั้ง บริษัทไม่ได้มองบริษัทว่าเป็นวิสาหกิจแบบเก่าแต่มองว่าเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญการจัดการ supply chain ให้กับลูกค้ากว่า 500 ราย ด้วยการให้บริการที่สะดวกแบบ one-stop-shopping ในการจัดซื้อวัสดุ จัดการและวางแผนการลิต ประกันคุณภาพ เอกสารการขนส่ง และการรวบรวมสินค้าเพื่อการจัดส่ง ลูกค้าเหล่านี้มีหลากหลายกลุ่มรวมถึงร้านค้าปลีก เสื้อผ้า และบริษัทผลิตเครื่องใช้อิเล็คทรอนิกส์ เกือบร้อยละ 75 อยู่ในสหรัฐอเมริกา

 Li&Fung รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าจากนั้นกระจายไปยังเครือข่าย supplier อิสระ 7,500 ราย อยู่ใน 40 ประเทศ เพื่อหาบริษัทผู้ผลิตที่เหมาะสมเพื่อผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าได้ราคาและคุณภาพที่เหมาะสม เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้บ่อยครั้ง Li&Fung จะกระจายกิจกรรมการผลิตต่างๆไปยังผู้ผลิตทั้งหลายที่อยู่ในประเทศต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินปัจจัย เช่น ค่าจ้างแรงงาน อุปสรรคการค้า ต้นทุนขนส่ง และอื่นๆ จากนั้น  Li&Fung ประสานงานกระบวนการทั้งปวงจัดการลอจิสติกส์ และจัดเตรียมการขนส่งสินค้าสำเร็จรูปไปให้ลูกค้า Li&Fung มีนโยบายไม่ลงทุนตั้งโรงงานของตนเองแต่จะใช้การจ้างผลิต ลูกค้าที่เป็นแบบอย่างคือบริษัท The Limited Inc. เป็นร้านขายเสื้อผ้าปลีกที่มีเครือขายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา

บริษัท The Limited Inc. จ้าง Li&Fung ผลิตสินค้าและงานด้านลอจิสติกส์ กระบวนการเริ่มต้นเมื่อบริษัท The Limited Inc. มาหา  Li&Fung พร้อมกับแบบเสื้อผ้าสำหรับฤดูกาลแฟชั่นหน้า  Li&Fung นำเอาแนวคิดผลิตภัณฑ์และวิจัยตลาดเพื่อหา กระดุม เส้นด้าย ย้อมสี และอื่นๆที่เหมาะสม จากนั้นตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าต้นแบบเพื่อให้บริษัท

The Limited Inc. ตรวจสอบ ทันทีที่บริษัท The Limited Inc. เห็นชอบในต้นแบบก็จะสั่งซื้อจาก Li&Fung และขอให้ส่งมอบภายใน 5 สัปดาห์ เวลาที่สั้นระหว่างสั่งซื้อและขอให้ส่งมอบจำเป็นกับสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่นที่หมดสมัยเร็ว

เมื่อได้รับคำสั่งซื้อ Li&Fung กระจายกระบวนการผลิตทั้งหลายไปให้ผู้ผลิตต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถและต้นทุนเป็นต้นว่า Li&Fung ซื้อเส้นด้ายจากบริษัทในเกาหลีแต่นำไปทอและย้อมสีที่ไต้หวันดังนั้น Li&Fung ก็จะจัดเตรียมไปรับเส้นด้ายจากเกาหลีแล้วขนส่งไปไต้หวัน ญีปุ่นเป็นผู้ผลิตซิปและกระดุมที่ดีที่สุด แต่ส่วนใหญ่ผลิตในจีน Li&Fung ก็จะไปที่ YKK ผู้ผลิตซิปรายใหญ่ของญี่ปุ่นแล้วสั่งซื้อซิปขนาดที่ต้องการจากโรงงานในจีน จากนั้น Li&Fung ตัดสินใจด้วยข้อจำกัดเรื่องการส่งออกและค่าจ้างแรงงาน สถานที่ตัดเย็บที่ดีทีสุดก็จะเป็นที่ประเทศไทย ดังนั้นวัสดุทุกอย่างก็จะจัดส่งมาที่ประเทศไทย โดยที่บริษัท The Limited Inc. ต้องการให้ส่งมอบรวดเร็ว Li&Fung จะจัดสินใจแบ่งคำสั่งซื้อไปให้ 5 โรงงานในไทย 5 สัปดาห์หลังจากได้รับคำสั่งซื้อ เสื้อผ้าก็จะอยู่บนชั้นวางขายของบริษัท The Limited Inc. เสื้อทุกตัวเหมือนกันราวกับว่ามาจากโรงงานเดียวกัน ผลิตภัณฑ์นั้นก็จะติดฉลาก "Made in Thailand" แต่มันเป็นผลิตภัณฑ์โลก (Global Product)  Li&Fung มองบริษัทของเขาเป็นคนกลางเพิ่มมูลค่าระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและผู้ผลิตในประเทศกำลังพัฒนา  ทักษะสำคัญคือความสามารถในการประสานงานกระบวนการผลิตที่กระจายไปทั่วโลก เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าที่รวดเร็วและต้นทุนต่ำ

กรณีประเป๋าเอกสาร Li&Fung ซื้อหนังจากอินเดียขนส่งไปเกาหลีใต้เพื่อฟอก จากนั้นส่งไปจีนเพื่อประกอบเป็นกระเป๋า ชิ้นส่วนที่เป็นโลหะทำในญี่ปุ่น คล้ายๆกันตุ๊กตาพูดได้ทำในจีนส่วนของเสี่ยงทำในไต้หวันและเสื้อผ้าทำในเกาหลีใต้

เพื่อให้บริการที่ดีตามความต้องการของลูกค้า Li&Fung แบ่งหน่วยงานเป็นหน่วยย่อยแต่ละหน่วยมุ่งให้บริการกับลูกค้าหน่วยงานให้บริการกับลูกค้าจำนวนมากเช่น วอร์เนอร์ บรอเธอร์ส (Warner Brothers) และ Rainforest Cafe' และมีหน่วยงานให้บริการกับบริษัท The Limited Inc. และอีกหน่วยให้บริการกับ Gymboree เป็นร้านขายเสื้อผ้าเด็กในสหรัฐ เมื่อเดินเข้าไปในหน่วยนี้ เช่น หน่วย Gymboree ก็จะพบพนักงาน 40 คนหรือมากกว่า ต่างก็มุ่งทำงานตามความต้องการของลูกค้า ทุกโต๊ะทำงานมีคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์เชื่อมโยงตรงกับ Gymboree พนักงานจัดตามความเชี่ยวชาญ เช่น ออกแบบ สนับสนุนทางเทคนิค จัดซื้อวัสดุ ประกันคุณภาพ และขนส่ง ทีมงานเหล่านี้มีการเชื่อมโยงโดยตรงทางอิเล็คทรอนิคส์กับพนักงานที่สำนักงานสาขาที่ Gymboree ซื้อผลิตภัณฑ์มาก เช่น จีน อินอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ดังนั้น Li&Fung ใช้ระบบสาระสนเทศจัดการประสานงานและควบคุมกระบวนการขนส่ง การผลิต และการออกแบบที่กระจายไปทั่วโลกเพื่อประกันว่าเวลาระหว่างที่รับคำสั่งซื้อและส่งมอบใช้เวลาน้อยที่สุดรวมทั้งต้นทุนการผลิตต่ำ

 Li&Fung เป็นผู้นำเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตแบบเวลาปัจจุบัน (real-time) กับลูกค้าทั้งหลาย ขณะเดียวกัน  Li & Fung ยังไม่มีการเชื่องโยงระบบอินเตอร์เน็ตกับผู้ผลิตหลายพันรายที่ผลิตสินค้าให้กับบริษัท ส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบสื่อสารไม่ก้าวหน้าพอ  Li&Fung พึ่งพาการไปพบปะ โทรศัพท์ แฟกซ์ และจดหมาย เพื่อติดต่อกัน อีกเหตุหนึ่งที่ยังไม่เชื่อมโยงกับผู้ผลิตทั้งหลายก็คือบริษัทต้องการให้พนักงานของเขาให้มั่นใจว่าวัสดุได้มาถึงโรงงานมีการจัดทำตารางการผลิตและจัดเตรียมการขนส่ง ถ้าบริษัทพึ่งพาผู้ผลิตผ่านสารสนเทศโดยตรงคุณภาพของข้อมูลก็จะเหมือนกับขยะ Victor Fung ผู้จัดการที่ปากีสถานก็จะบอกว่า แน่นอนเราได้เริ่มการผลิตแล้วจ่ายเงินมาให้เรา แม้ว่ายังไม่มีอะไรเกิดขึ้น พนักงาน  Li&Fung จะต้องอยู่ที่พื้นที่เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ผลิตทำตามมาตราฐานของลูกค้าในการปฎิบัติกับแรงงาน ด้วยเหตุผลทั้งหลายเหล่านี้ Victor Fung เชื่อว่าจะยังไม่มีการเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ supply chain สมบูรณ์

Source:
R Meredith, At the Crossroads, Forbe, 2006, Li&Fung Profit Increases, The Wall Street Journal 2007 and Charles W.L. Hill, International Business, McGraw Hill 2010.


CASE: ให้นักศึกษาแสดงโครงสร้างซัพพลายเชนของ Li&Fung กรณี The The Limited Inc.
พร้อมกับวิเคราะห์จุดแข็งการจัดการ Logistics และ Supply Chain

แสดงโครงสร้างซัพพลายเชนของ Li&Fung กรณี The The Limited Inc.

Definition:
โลจิสติกส์ คือ ส่วนของกระบวนการซัพพลายเชนที่เป็นแผน การปฏิบัติและแผนการควบคุมเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาสินค้า บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง จากจุดเริ่มต้นถึงจุดบริโภค ตามความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ซัพพลายเชน คือ การจัดการอย่างบูรณาการในบรรดากิจกรรมโลจิสติกส์ การแปรสภาพและบริการให้ไหลเป็นลำดับขั้นจากซัพพลายเออร์จนถึงลูกค้าสุดท้ายซึ่งจำเป็นในการผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

“การจัดการโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทานซึ่งวางแผน นำไปปฏิบัติ และควบคุมการไหลทั้งไปและกลับอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพของสินค้า บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดที่มีการบริโภคเพื่อที่จะให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า”
(Refer: http://www.freightmaxad.com/magazine/?p=302)

วิเคราะห์จุดแข็งการจัดการ Logistics และ Supply Chain ของ Li&Fung
เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญการจัดการ supply chain ให้กับลูกค้ากว่า 500 ราย ด้วยการให้บริการที่สะดวกแบบ one-stop-shopping ในการจัดซื้อวัสดุ จัดการและวางแผนการลิต ประกันคุณภาพ เอกสารการขนส่ง และการรวบรวมสินค้าเพื่อการจัดส่ง ลูกค้าเหล่านี้มีหลากหลายกลุ่มรวมถึงร้านค้าปลีก เสื้อผ้า และบริษัทผลิตเครื่องใช้อิเล็คทรอนิกส์ เกือบร้อยละ 75 อยู่ในสหรัฐอเมริกา

ทักษะสำคัญคือความสามารถในการประสานงานกระบวนการผลิตที่กระจายไปทั่วโลก เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าที่รวดเร็วและต้นทุนต่ำ เพื่อให้บริการที่ดีตามความต้องการของลูกค้า Li&Fung แบ่งหน่วยงานเป็นหน่วยย่อยแต่ละหน่วยมุ่งให้บริการกับลูกค้าหน่วยงานให้บริการกับลูกค้าจำนวนมาก ใช้ระบบสารสนเทศจัดการประสานงานและควบคุมกระบวนการขนส่ง การผลิต และการออกแบบที่กระจายไปทั่วโลกเพื่อประกันว่าเวลาระหว่างที่รับคำสั่งซื้อและส่งมอบใช้เวลาน้อยที่สุดรวมทั้งต้นทุนการผลิตต่ำ

1 ความคิดเห็น:

อยากรู้เรื่องทฤษฎีการตลาดกับผู้เชี่ยวชาญ ผมแนะนำ M.B.A. (Marketing) Ramkhamkaeng .. แต่ถ้าอยากรู้ว่าเรียนการตลาดแล้วจะประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินได้อย่างไร คุณต้องมีโค้ชแนะนำ ครับ

วางแผนการเงินกับ #finadvisor #ความมั่งคั่งเริ่มต้นที่นี่ finadvisor.co
โค้ชส่วนตัว ช่วยวางแผน

×
News