10 พฤษภาคม 2557

Short Note Marketing Management


1. SWOT Analysis
    a. Internal Environment --> SW: กลยุทธ์ Inside Out พิจารณาหลัก 3C (company, customer, competitors)
        - 4Ps(Tangible product) or 7Ps(Intangible product)
    b. External Environment -->OT: กลยุทธ์ Outside In
        - ทั่วไป:STEPL(social, technology, economy, political, legal)
        - สถานะการณ์การแข่งขัน: 5-force model(คู่แข่งรายเดิม, คู่แข่งรายใหม่, สินค้าทดแทน, ลูกค้า, supplier)
   c. Market Analysis
       - BCG model: dog, question mark, star, cash cow
       - Ansoft model: เจาะตลาดเพิ่ม, พัฒนาตลาด, พัฒนาผลิตภัณฑ์, กระจายความเสี่ยง
       - PLC: เริ่มต้น, เติบโต, คงที่, ถดถอย

2. STP Analysis
    a. Market Segmentation (demographic, geographic, behavioral, psychological)
    b. Market Targeting
        - Market Grid: แกนX market segmentation, แกนY product category
        - 6W1H (who, what, where, when, why, whom, how)
    c. Market Positioning (perceptual map)

3. Marketing objective (awareness, gain market share, remind&recall, harvest or delete)
    a. พิจารณา PLC ประกอบว่าอยู่ช่วงใด

4. Marketing strategy (base on PLC, product classification)
    a. Product strategy: brand identity, brand equity, brand DNA, brand content
    b. Price strategy: demand-orient, cost-orient, profit-orient, competition-orient
        - Demand-orient approach (มุ่งความต้องการ): skimming pricing, penetration pricing, prestige pricing, odd-event pricing, target pricing, bundle pricing, yield management pricing
        - Cost-orient approach (มุ่งต้นทุน): standard markup pricing, cost-plus pricing
        - Profit-orient approach (มุ่งกำไร): target orient pricing, target return-on-sale pricing, target return-on-invetment pricing
        - Competition orient approach (มุ่งแข่งขัน): customary pricing, above or below -market pricing, loss-leader pricing
    c. Place strategy: selective, intensive, exclusive
    d. Promotion or IMC (Ad, SP, PS, PR, DM) below the line, above the line, online & offline marketing, social networking marketing, viral marketing

Note:
IMC: หมายถึงการสื่อสารแบบบูรณาการ หรือการสื่อสารแบบองค์รวม เป็นการใช้เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดที่สอดคล้องกันทุกกิจกรรม ทั้งโฆษณา การใช้พนักงานขาย การส่งเสริมการขายการประชาสัมพันธ์ การตลาดทางตรง เพื่อให้เกิดข้อมูลที่สอดคล้องกันไปยังผู้รับทุกคน

การออกแบบ IMC ตามหลัก PLC:
- ช่วงเริ่มต้น ทำการสื่อสารเพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์
- ช่วงเติบโต ทำการสื่อสารเพื่อชักชวนผู้บริโภคหน้าหน้าใหม่
- ช่วงอิ่มตัว ทำการสื่อสารเพื่อย้ำเตือนให้เกิดการจงรักภักดี
- ช่วงถดถอย ใช้จ่ายน้อยสุดในการส่งเสริมการตลาด


5 พฤษภาคม 2557

BUS 6013 : แนวข้อสอบ Final MARKETING MANAGEMENT



BUS 6013 แนวข้อสอบ Final 40 คะแนน (11/05/2014)


ดร.นิเวศน์ 20 คะแนน ออก 4 ข้อย่อย 1 case (สินค้าอุปโภคบริโภค) ข้อละ 5 คะแนน
 - ข้อย่อยที่ 1-3 เหมือน/คล้ายกับ quiz (04/05/2014) กรณีศึกษา เฉาก๊วยธัญพืช
 - ข้อย่อยที่ 4 เรื่อง 4Ps

อ.ชญานันท์ 10 คะแนน มี 4 ข้อย่อย ข้อละ 2.5 คะแนน (case เดาว่า อิชิตัน)
 - 4Ps (ทำของ ดร.นิเวศน์ได้ก็ทำของ อ.ชญานันท์ ได้ คล้ายๆกัน)
 - เจาะเรื่อง pricing strategy
 - Product strategy เน้นเรื่องการแตก product line (Product Line Extension) ในชีทบทที่ 11(หนังสือบทที่ 10)  (กลยุทธ์การขยายสายผลิตภัณฑ์ -Product Line Extension คือ การออกรสชาติใหม่ บรรจุภัณฑ์แบบใหม่ สีใหม่ กลิ่นใหม่ แต่ยังคงความเป็นสินค้าชนิดนั้นอยู่  เช่น เป๊ปซี่รสชาติดั้งเดิมแล้ว ยังมี เป๊ปซี่ทวิสต์ เป๊ปซี่ลาเต้ เป๊ปซี่บลู เป๊ปซี่แมกซ์ )
 - เป็นทฤษฎี Marketing strategy

อ.ชูศักดิ์ 10 คะแนน ออก 1 case คำถามเดียว (คล้ายๆ ดร.นิเวศน์,อ.ชญานันท์)
 - SWOT, STP, 4Ps


กรณีศึกษา
เฉาก๊วยธัญพืช

ข้อมูลจากการสัมภาษณ์คุณอรินทร์ ตรีช่อวิทยา
และจากนิตยสารโลกการค้า ปีที่ 10 ฉบับที่ 94 กุมภาพันธ์ 2547

จากกระแสสุขภาพที่มาแรงคุณอรินทร์สร้างความแปลกใหม่ให้กับเฉาก๊วยที่มีอยู่ตามท้องตลาดทั่ว ๆ ไป เขาปั้นธุรกิจด้วยเงินลงทุนเพียง 5,000 บาท จากอดีตวิศวกรหนุ่ม ผันตัวเองจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนเดินตามความฝัน คือเปิดร้านอาหารแต่ต้องประสบกับวิกฤติทางเศรษฐกิจ ทำให้ไม่สามารถสร้างความฝันให้เกิดขึ้นได้ เมื่อธุรกิจที่ฝันไม่สำเร็จธุรกิจใหม่จึงผุดขึ้นมา คือการขายเฉาก๊วย ซึ่งคุณอรินทร์เล่าว่าในช่วงแรกซื้อเฉาก๊วยคนอื่นมาขาย โดยเริ่มเปิดตลาดครั้งแรกที่งานเอสเอ็มอี อิมแพคเมืองทองธานี
แรก ๆ เห็นเฉาก๊วยขายอยู่ เห็นว่าขายดีก็ซื้อมาขายบ้าง ขายครั้งแรกที่งานบ้านเลขที่ 5 อิมแพคเมืองทองธานี วันแรก ๆ ขายได้แค่ 900 บาทก็รู้สึกท้อ เราก็คิดว่าต้องมีอะไรผิดพลาด พอขายวันที่สองก็ลองคิดว่าการขายเฉาก๊วยแบบใส่น้ำเชื่อมอย่างเดียวคงไม่ได้แล้ว อีกอย่างตามท้องตลาดก็มีมาก ก็มีความคิดว่าถ้าเราเอาธัญพืชมาใส่เฉาก๊วยน่าจะสร้างความแตกต่างในตัวของสินค้า ทั้งรูปร่างหน้าตาเปลี่ยนไป มีสีสันน่ารับประทานขึ้น ซึ่งผลตอบรับดีมาก ทำให้เราขายดีขึ้น วันที่สามขายได้ 3,000 บาท วันที่สิบเราได้ 9,000 บาท
โดยธัญพืชที่นำมาใส่ในเฉาก๊วยล้วนแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพด,ถั่วเหลือง, ลูกเดือย, ข้าวบาเล่ และถั่วแดง เป็นต้น
หลังจากประสบความสำเร็จในการเปิดตลาดครั้งแรก ความมั่นใจในเฉาก๊วยธัญพืชของคุณอรินทร์มีมากขึ้น จึงเริ่มพลิกแพลงวิธีขายใหม่ จากการขายเฉาก๊วยในบูธ ก็เปลี่ยนมาเป็นคีออส เพื่อไปทดลองตลาด ซึ่งยอดขายดีขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยภาพลักษณ์สีสันของเฉาก๊วยธัญพืช รูปร่างหน้าตาของคีออสที่ตกแต่งอย่างสวยงาม บวกกับความไม่หยุดนิ่งของคุณอรินทร์ที่จะคิดอะไรใหม่ ๆ ใส่เข้าไป นอกจากธัญพืช นั่นก็คือ เอาสูตรนม กาแฟ ชา โกโก้ เข้ามาใส่เพิ่มซึ่งเข้ากันได้ดีกับเฉาก๊วย
เมื่อกระแสตอบรับจากลูกค้า และมีคนเริ่มสนใจติดต่อขอซื้อแฟรนไชส์ ประกอบกับเป็นช่วงที่ธุรกิจแฟรนไชส์กำลังบูม และภาครัฐให้การสนับสนุนเอสเอ็มอี จึงทำให้คุณอรินทร์ตัดสินใจเปิดแฟรนไชส์เฉาก๊วยธัญพืช
หลังจากที่ผมลงทุนเปิดเป็นคีออส และลงไปทดลองตลาดเอง ทั้งที่สวนลุมไนท์บาซาร์, ราชเทวี, ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, ท็อปส์รัชดา และท็อปส์ลาดพร้าว ปรากฎว่าผลตอบรับจากลูกค้าดีมาก พร้อมทั้งมีลูกค้าสนใจติดต่อขอซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งผมมองว่ามันเป็นโอกาสที่ดีในการที่เราจะขยายธุรกิจให้คนรู้จักเฉาก๊วยธัญพืชเกิดขึ้น
ส่วนรูปแบบของการเข้ามาเป็นแฟรนไชส์นั้นง่าย ๆ เพียงคุณมีความตั้งใจจริง และอดทน พร้อมด้วยเงินลงทุนเพียง 45,000 บาท โดยจะได้รับอุปกรณ์ครบชุด ได้รับสิทธิ์ในการต่อแฟรนไชส์ได้ปีต่อปี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งขณะนี้มีแฟรนไชส์เฉาก๊วยธัญพืชทั้งหมด 200 สาขาทั่วประเทศ
เฉาก๊วยธัญพืชได้มีการจัดช่องทางการจัดจำหน่าย คือ เน้นขายเฉพาะพ่อค้าคนกลาง ที่จะนำไปขายผู้บริโภคเลย อย่างเดียวโดยไม่มีการเปิดร้านวางขายปลีกเอง เรียกว่าจะขายเป็นแฟนไชส์เท่านั้น ไม่ลงไปขายแข่งกับลูกค้า
ในปัจจุบันมีลูกค้ามาขอซื้อแฟรนไชส์มากมาย เราไม่ต้องการคนมาก ขอคุณภาพ ในการเปิดสาขาเรามีมากจนมั่นคงแล้ว เราต้องการแต่ว่าหาคนดี ๆ อยู่กับเรา คุยกันรู้เรื่อง เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน มาช่วยกัน
เมื่อถามถึงศักยภาพของแฟรนไชส์ในประเทศไทยในสายตาของคุณอรินทร์ จึงได้คำตอบว่า เมืองไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เราจะสู้อะไรกับต่างชาติได้บ้าง จะสู้ด้านอิเล็คทรอนิคก็เจอกับไต้หวัน สิ่งทอก็เจอจีนแดง ที่เราสู้ในอดีตจนถึงปัจจุบันคือ เรื่องอาหาร แต่ไม่มีใครทำระบบให้เป็นมาตรฐานมากกว่า พอมีมาตรฐานมากขึ้น มีระบบระเบียบมากขึ้น มันก็โตได้ ก็เหมือนกับการจัดทำระบบแฟรนไชส์ ถ้าเรามีระบบที่ดีเราก็สามารถโตได้เช่นกัน
และแน่นอนในการทำธุรกิจการพบเจอปัญหาถือเป็นเรื่องธรรมชาติ ซึ่งในบางปัญหาก็ทำให้คนได้เรียนรู้มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมากขึ้น ซึ่งคุณอรินทร์ก็เจอกับปัญหาเช่นกัน จากการที่ธุรกิจมีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างเร็ว เพราะเพียงแค่ 2 ปี สามารถมีแฟรนไชส์ถึง 200 สาขา ทำให้การควบคุมแฟรไชส์ซี่ลำบาก เพราะรูปแบบการทำแฟรนไชส์ของเขา ลูกค้าจะได้รับเครดิตสินค้าไปก่อน แล้วจ่ายเงินทีหลัง จึงทำให้เกิดปัญหาตามมาคือการจ่ายเงินไม่ตรง
ทั้งนี้ เป้าหมายต่อไปของคุณอรินทร์ คือการขยายออกสู่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย หลังจากที่ได้สร้างโรงงานผลิตเฉาก๊วย โดยลงทุนซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ในการผลิตใหม่ จ้างที่ปรึกษามาให้คำปรึกษาเรื่องการจัดวางระบบเพื่อให้ได้มาตรฐาน HACCP คุณอรินทร์ยังฝากถึงผู้ที่สนใจในธุรกิจแฟรนไชส์ว่า
ควรศึกษาธุรกิจนั้นให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ ต้องเลือกว่าคุณเหมาะกับอาชีพนั้นหรือไม่ แฟรนไชส์มีหลายอย่าง ทั้งซาวน่า สปา มีทั้งบริการและอาหาร ต้องเลือกก่อนว่าตัวคุณเหมาะกับอาชีพอะไร โดยดูระบบว่าเป็นอย่างไรบ้าง เหมาะสมหรือไม่ ถ้ามีการรับรองที่ดีจากกระทรวงพาณิชย์ หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็ใช้ได้ เพราะว่าเจ้าของผ่านการอบรมหลักสูตรแล้ว มีโลโก้หรือแบรนด์เนมซึ่งการันดีให้มากกว่า เพราะฉะนั้นก็จะดีมากขึ้น คือมีระบบแน่นอน ผ่านการอบรมมาแล้ว ทั้งการเทรนนิ่ง การทำแมนนวล การทำต้นทุนสินค้า การอบรมพนักงานสาขา การทำบัญชีต้นทุนสาขา และมีการออกโรดโชว์ต่างประเทศด้วย

BUS6013, Quiz (04/05/2014)
1.      นักศึกษาจะต้องวิเคราะห์ข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบ รวมถึงอุปสรรคและโอกาสทางการตลาดของคุณอรินทร์ ในการทำตลาดสินค้า เฉาก๊วยเพื่อสุขภาพ  ด้วย 5-Force Model และให้นำเสนอแผนการขยายตลาดให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยใช้ Decision Making Process ประกอบคำอธิบาย
2.      ให้นักศึกษาอธิบายว่า Segmentation/ Targeting/ Positioning (STP) คืออะไร และทำไมนักการตลาดจึงให้ความสำคัญต่อ STP  และให้วิเคราะห์ว่า พฤติกรรมของลูกค้าของคุณอรินทร์ควรใช้วิธีใดในการแบ่งกลุ่มตลาด (Segmentation) และเลือกใครเป็นกลุ่มเป้าหมาย (Target Market) พร้อมทั้งให้นักศึกษาใช้ Perceptual Map ในการอธิบาย Product Positioning ของผลิตภัณฑ์ของคุณอรินทร์ 

3.      Integrated Marketing Communication คืออะไร และปัจจัยที่จะทำให้แผน IMC ของ ให้กับคุณอรินทร์เช่นไรให้ ประสบความสำเร็จ และควรมีการกำหนดนโยบายผลัก (Push strategy) และนโยบายดึง(Pull strategy)เช่นไร 

อยากรู้เรื่องทฤษฎีการตลาดกับผู้เชี่ยวชาญ ผมแนะนำ M.B.A. (Marketing) Ramkhamkaeng .. แต่ถ้าอยากรู้ว่าเรียนการตลาดแล้วจะประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินได้อย่างไร คุณต้องมีโค้ชแนะนำ ครับ

วางแผนการเงินกับ #finadvisor #ความมั่งคั่งเริ่มต้นที่นี่ finadvisor.co
โค้ชส่วนตัว ช่วยวางแผน

×
News