BUS 6013 แนวข้อสอบ Final 40 คะแนน (11/05/2014)
ดร.นิเวศน์ 20 คะแนน ออก 4 ข้อย่อย 1 case (สินค้าอุปโภคบริโภค) ข้อละ 5 คะแนน
- ข้อย่อยที่ 1-3 เหมือน/คล้ายกับ quiz (04/05/2014) กรณีศึกษา เฉาก๊วยธัญพืช
- ข้อย่อยที่ 4 เรื่อง 4Ps
อ.ชญานันท์ 10 คะแนน มี 4 ข้อย่อย ข้อละ 2.5 คะแนน (case เดาว่า อิชิตัน)
- 4Ps (ทำของ ดร.นิเวศน์ได้ก็ทำของ อ.ชญานันท์ ได้ คล้ายๆกัน)
- เจาะเรื่อง pricing strategy
- Product strategy เน้นเรื่องการแตก product line (Product Line Extension) ในชีทบทที่ 11(หนังสือบทที่ 10) (กลยุทธ์การขยายสายผลิตภัณฑ์ -Product Line Extension คือ การออกรสชาติใหม่ บรรจุภัณฑ์แบบใหม่ สีใหม่ กลิ่นใหม่ แต่ยังคงความเป็นสินค้าชนิดนั้นอยู่ เช่น เป๊ปซี่รสชาติดั้งเดิมแล้ว ยังมี เป๊ปซี่ทวิสต์ เป๊ปซี่ลาเต้ เป๊ปซี่บลู เป๊ปซี่แมกซ์ )
- เป็นทฤษฎี Marketing strategy
อ.ชูศักดิ์ 10 คะแนน ออก 1 case คำถามเดียว (คล้ายๆ ดร.นิเวศน์,อ.ชญานันท์)
- SWOT, STP, 4Ps
กรณีศึกษา
เฉาก๊วยธัญพืช
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์คุณอรินทร์ ตรีช่อวิทยา
และจากนิตยสารโลกการค้า ปีที่ 10 ฉบับที่ 94 กุมภาพันธ์ 2547
จากกระแสสุขภาพที่มาแรงคุณอรินทร์สร้างความแปลกใหม่ให้กับเฉาก๊วยที่มีอยู่ตามท้องตลาดทั่ว
ๆ ไป เขาปั้นธุรกิจด้วยเงินลงทุนเพียง 5,000 บาท จากอดีตวิศวกรหนุ่ม
ผันตัวเองจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนเดินตามความฝัน
คือเปิดร้านอาหารแต่ต้องประสบกับวิกฤติทางเศรษฐกิจ ทำให้ไม่สามารถสร้างความฝันให้เกิดขึ้นได้
เมื่อธุรกิจที่ฝันไม่สำเร็จธุรกิจใหม่จึงผุดขึ้นมา คือการขายเฉาก๊วย
ซึ่งคุณอรินทร์เล่าว่าในช่วงแรกซื้อเฉาก๊วยคนอื่นมาขาย
โดยเริ่มเปิดตลาดครั้งแรกที่งานเอสเอ็มอี อิมแพคเมืองทองธานี
“แรก ๆ เห็นเฉาก๊วยขายอยู่
เห็นว่าขายดีก็ซื้อมาขายบ้าง ขายครั้งแรกที่งานบ้านเลขที่ 5 อิมแพคเมืองทองธานี
วันแรก ๆ ขายได้แค่ 900 บาทก็รู้สึกท้อ เราก็คิดว่าต้องมีอะไรผิดพลาด
พอขายวันที่สองก็ลองคิดว่าการขายเฉาก๊วยแบบใส่น้ำเชื่อมอย่างเดียวคงไม่ได้แล้ว
อีกอย่างตามท้องตลาดก็มีมาก
ก็มีความคิดว่าถ้าเราเอาธัญพืชมาใส่เฉาก๊วยน่าจะสร้างความแตกต่างในตัวของสินค้า
ทั้งรูปร่างหน้าตาเปลี่ยนไป มีสีสันน่ารับประทานขึ้น ซึ่งผลตอบรับดีมาก
ทำให้เราขายดีขึ้น วันที่สามขายได้ 3,000 บาท วันที่สิบเราได้ 9,000 บาท”
โดยธัญพืชที่นำมาใส่ในเฉาก๊วยล้วนแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพด,ถั่วเหลือง, ลูกเดือย, ข้าวบาเล่ และถั่วแดง เป็นต้น
หลังจากประสบความสำเร็จในการเปิดตลาดครั้งแรก
ความมั่นใจในเฉาก๊วยธัญพืชของคุณอรินทร์มีมากขึ้น จึงเริ่มพลิกแพลงวิธีขายใหม่
จากการขายเฉาก๊วยในบูธ ก็เปลี่ยนมาเป็นคีออส เพื่อไปทดลองตลาด
ซึ่งยอดขายดีขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยภาพลักษณ์สีสันของเฉาก๊วยธัญพืช
รูปร่างหน้าตาของคีออสที่ตกแต่งอย่างสวยงาม
บวกกับความไม่หยุดนิ่งของคุณอรินทร์ที่จะคิดอะไรใหม่ ๆ ใส่เข้าไป นอกจากธัญพืช
นั่นก็คือ เอาสูตรนม กาแฟ ชา โกโก้ เข้ามาใส่เพิ่มซึ่งเข้ากันได้ดีกับเฉาก๊วย
เมื่อกระแสตอบรับจากลูกค้า
และมีคนเริ่มสนใจติดต่อขอซื้อแฟรนไชส์ ประกอบกับเป็นช่วงที่ธุรกิจแฟรนไชส์กำลังบูม
และภาครัฐให้การสนับสนุนเอสเอ็มอี
จึงทำให้คุณอรินทร์ตัดสินใจเปิดแฟรนไชส์เฉาก๊วยธัญพืช
“หลังจากที่ผมลงทุนเปิดเป็นคีออส
และลงไปทดลองตลาดเอง ทั้งที่สวนลุมไนท์บาซาร์, ราชเทวี,
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, ท็อปส์รัชดา และท็อปส์ลาดพร้าว
ปรากฎว่าผลตอบรับจากลูกค้าดีมาก พร้อมทั้งมีลูกค้าสนใจติดต่อขอซื้อแฟรนไชส์
ซึ่งผมมองว่ามันเป็นโอกาสที่ดีในการที่เราจะขยายธุรกิจให้คนรู้จักเฉาก๊วยธัญพืชเกิดขึ้น”
ส่วนรูปแบบของการเข้ามาเป็นแฟรนไชส์นั้นง่าย
ๆ เพียงคุณมีความตั้งใจจริง และอดทน พร้อมด้วยเงินลงทุนเพียง 45,000 บาท
โดยจะได้รับอุปกรณ์ครบชุด ได้รับสิทธิ์ในการต่อแฟรนไชส์ได้ปีต่อปี
โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งขณะนี้มีแฟรนไชส์เฉาก๊วยธัญพืชทั้งหมด 200
สาขาทั่วประเทศ
เฉาก๊วยธัญพืชได้มีการจัดช่องทางการจัดจำหน่าย
คือ เน้นขายเฉพาะพ่อค้าคนกลาง ที่จะนำไปขายผู้บริโภคเลย
อย่างเดียวโดยไม่มีการเปิดร้านวางขายปลีกเอง เรียกว่าจะขายเป็นแฟนไชส์เท่านั้น
ไม่ลงไปขายแข่งกับลูกค้า
“ในปัจจุบันมีลูกค้ามาขอซื้อแฟรนไชส์มากมาย
เราไม่ต้องการคนมาก ขอคุณภาพ ในการเปิดสาขาเรามีมากจนมั่นคงแล้ว
เราต้องการแต่ว่าหาคนดี ๆ อยู่กับเรา คุยกันรู้เรื่อง เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน
มาช่วยกัน”
เมื่อถามถึงศักยภาพของแฟรนไชส์ในประเทศไทยในสายตาของคุณอรินทร์
จึงได้คำตอบว่า “เมืองไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เราจะสู้อะไรกับต่างชาติได้บ้าง
จะสู้ด้านอิเล็คทรอนิคก็เจอกับไต้หวัน สิ่งทอก็เจอจีนแดง
ที่เราสู้ในอดีตจนถึงปัจจุบันคือ เรื่องอาหาร
แต่ไม่มีใครทำระบบให้เป็นมาตรฐานมากกว่า พอมีมาตรฐานมากขึ้น มีระบบระเบียบมากขึ้น
มันก็โตได้ ก็เหมือนกับการจัดทำระบบแฟรนไชส์
ถ้าเรามีระบบที่ดีเราก็สามารถโตได้เช่นกัน”
และแน่นอนในการทำธุรกิจการพบเจอปัญหาถือเป็นเรื่องธรรมชาติ
ซึ่งในบางปัญหาก็ทำให้คนได้เรียนรู้มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมากขึ้น
ซึ่งคุณอรินทร์ก็เจอกับปัญหาเช่นกัน
จากการที่ธุรกิจมีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างเร็ว เพราะเพียงแค่ 2 ปี
สามารถมีแฟรนไชส์ถึง 200 สาขา ทำให้การควบคุมแฟรไชส์ซี่ลำบาก เพราะรูปแบบการทำแฟรนไชส์ของเขา
ลูกค้าจะได้รับเครดิตสินค้าไปก่อน แล้วจ่ายเงินทีหลัง
จึงทำให้เกิดปัญหาตามมาคือการจ่ายเงินไม่ตรง
ทั้งนี้
เป้าหมายต่อไปของคุณอรินทร์ คือการขยายออกสู่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์
มาเลเซีย หลังจากที่ได้สร้างโรงงานผลิตเฉาก๊วย โดยลงทุนซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ในการผลิตใหม่
จ้างที่ปรึกษามาให้คำปรึกษาเรื่องการจัดวางระบบเพื่อให้ได้มาตรฐาน HACCP คุณอรินทร์ยังฝากถึงผู้ที่สนใจในธุรกิจแฟรนไชส์ว่า
“ควรศึกษาธุรกิจนั้นให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์
ต้องเลือกว่าคุณเหมาะกับอาชีพนั้นหรือไม่ แฟรนไชส์มีหลายอย่าง ทั้งซาวน่า สปา
มีทั้งบริการและอาหาร ต้องเลือกก่อนว่าตัวคุณเหมาะกับอาชีพอะไร
โดยดูระบบว่าเป็นอย่างไรบ้าง เหมาะสมหรือไม่ ถ้ามีการรับรองที่ดีจากกระทรวงพาณิชย์
หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็ใช้ได้ เพราะว่าเจ้าของผ่านการอบรมหลักสูตรแล้ว
มีโลโก้หรือแบรนด์เนมซึ่งการันดีให้มากกว่า เพราะฉะนั้นก็จะดีมากขึ้น
คือมีระบบแน่นอน ผ่านการอบรมมาแล้ว ทั้งการเทรนนิ่ง การทำแมนนวล การทำต้นทุนสินค้า
การอบรมพนักงานสาขา การทำบัญชีต้นทุนสาขา และมีการออกโรดโชว์ต่างประเทศด้วย”
BUS6013, Quiz (04/05/2014)
1. นักศึกษาจะต้องวิเคราะห์ข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบ
รวมถึงอุปสรรคและโอกาสทางการตลาดของคุณอรินทร์ ในการทำตลาดสินค้า
เฉาก๊วยเพื่อสุขภาพ ด้วย 5-Force Model และให้นำเสนอแผนการขยายตลาดให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
โดยใช้ Decision Making Process ประกอบคำอธิบาย
2. ให้นักศึกษาอธิบายว่า Segmentation/ Targeting/ Positioning
(STP) คืออะไร และทำไมนักการตลาดจึงให้ความสำคัญต่อ STP และให้วิเคราะห์ว่า
พฤติกรรมของลูกค้าของคุณอรินทร์ควรใช้วิธีใดในการแบ่งกลุ่มตลาด (Segmentation)
และเลือกใครเป็นกลุ่มเป้าหมาย (Target Market) พร้อมทั้งให้นักศึกษาใช้ Perceptual Map ในการอธิบาย
Product Positioning ของผลิตภัณฑ์ของคุณอรินทร์
3. Integrated Marketing Communication คืออะไร และปัจจัยที่จะทำให้แผน IMC ของ ให้กับคุณอรินทร์เช่นไรให้ ประสบความสำเร็จ
และควรมีการกำหนดนโยบายผลัก (Push
strategy) และนโยบายดึง(Pull strategy)เช่นไร
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ตอบลบ