30 ธันวาคม 2556

BUS 6011 : เขียนแผนธุรกิจในฝัน

รายงาน : แผนธุรกิจ อ.ประไพทิพย์

1. คิดธุรกิจใหม่ขึ้นมา / ใส่ความแตกต่างลงไป / มีนวัตกรรมเข้ามาเสริม คิดเป็น business idea

2. คิดชื่อต้องน่าสนใจ ต้องดึงดูดให้อยากรู้

3. แรงบันดาลใจมาจากอะไร (บรรยายเป็นภาพประกอบด้วย)

4. ลักษณะธุรกิจ (ใช้รูปภาพประกอบผลิตภันณฑ์)
    - มีบริการอะไร ต้องมี logo / website / location / khow-how

5. Mission / Vision / Goal เป็นข้อๆ ไม่ต่ำกว่า 5 ข้อ
    - Mission ไม่ต่ำกว่า 5 ข้อ
    - Vision ไม่ต่ำกว่า 5 ข้อ
    - Goal ระยะสั้น 5 ข้อ, Goal ระยะยาว 5 ข้อ

6. เขียนวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) ต้องเขียนเป็นข้อๆ
    - จุดแข็ง ไม่ต่ำกว่า 10 ข้อ
    - จุดอ่อน ไม่ต่ำกว่า 5 ข้อ
    - โอกาส ไม่ต่ำกว่า 10 ข้อ
    - อุปสรรค ไม่ต่ำกว่า 5 ข้อ
   SWOT Analysis เป็นการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภาพในองค์กรระหว่างจุดแข็งกับจุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง รู้จักสภาพแวดล้อม และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกระหว่างโอกาสกับอุปสรรค เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์กร

7. นำผลวิเคราะห์มาใช้ในตาราง TOWS ต้องได้ Growth หรือ SO เท่านั้น
    TOWS Matrix คือการนำผลลัพธ์ของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis)
    ทั้งภายในและภายนอก มาวิเคราะห์รวมกันเพื่อเสริมจุดแข็งและขจัดจุดอ่อน

8. กลยุทธ์ for growth (หนังสือ 4 - 13)
    - กลยุทธ์แนวราบ 5 ข้อ
    - กลยุทธ์แนวดิ่ง 5 ข้อ
    - กลยุทธ์แยกไลน์ผลิตภัณฑ์ 5 ข้อ
    - กลยุทธ์ที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจเดิมแต่เอื้อต่อธุรกิจเดิม 5 ข้อ

9. - กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ 5 ข้อ    (หนังสือ 4-15, 4-16)
    - กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง 5 ข้อ
    - กลยุทธ์ระดับหน้าที่ทำงาน 5 ข้อ
    - กลยุทธ์ลงมือทำ 5 ข้อ

10. Organization charts


ข้อมูลเพิ่มเติม:
SWOT Analysis
เป็นการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภาพในองค์กรระหว่างจุดแข็งกับจุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง รู้จักสภาพแวดล้อม และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกระหว่างโอกาสกับอุปสรรค เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งการวิเคราะห์จะทำให้ผู้บริหารเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในขณะนั้นและแนวโน้มที่เกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ขององค์กรที่เหมาะสมต่อไป
(1) จุดแข็ง (Strengths) เป็นการวิเคราะห์ถึงข้อดี จุดเด่นหรือจุดแข็งของส่วนประสมทางการตลาด (4 P’s) และทรัพยากรขององค์กร เช่น จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านการบิรการงานและทรัพยากรบุคคล เป็นต้น
(2) จุดอ่อน (Weakness) เป็นการวิเคราะห์ถึงข้อเสีย จุดด้อยหรือจุดอ่อนของส่วนประสมทางการตลาด (4 P’s) และทรัพยากรขององค์กร เช่น จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านการบิรการงานและทรัพยากรบุคคล เป็นต้น
(3) โอกาส (Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ ข้อได้เปรียบ ปัจ จัยที่เอื้ออำนวยต่อบริษัทจากสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ คู่แข่ง ลูกค้า ผู้ขายปัจจัยการผลิต รวมถึง สภาพ PEST ซึ่งจุดอ่อนของคู่แข่งขันก็ถือว่าเป็นโอกาสของบริษัทที่จะตีจุดอ่อนของคู่แข่ง
(4) อุปสรรค (Threats) เป็นการวิเคราะห์ข้อเสียเปรียบ หรือปัญหาขององค์กร จากสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ คู่แข่ง ลูกค้า ผู้ขายปัจจัยการผลิต การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เทคโนโลยี เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องและขจัดอุปสรรคที่เกิดขึ้น

TOWS Matrix 
หลังจากที่มีการประเมินสภาพแวดล้อมโดยการวิเคราะห์ให้เห็นถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดแล้ว   ก็จะนำมาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ในรูปแบบความสัมพันธ์แบบแมตริกซ์โดยใช้ตารางที่เรียกว่า TOWS Matrix   โดย TOWS Matrix เป็นตารางการวิเคราะห์ที่นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด มาวิเคราะห์เพื่อกำหนดออกมาเป็นกลยุทธ์ประเภทต่าง ๆ

ในการนำเทคนิคที่เรียกว่า TOWS Matrix มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดกลยุทธ์นั้น จะมีขั้นตอนการดำเนินการที่สำคัญ 2 ขั้นตอน ดังนี้
1. การระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด โดยที่การประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นการระบุให้เห็นถึงจุดแข็งและจุดอ่อนจะเป็นการประเมินภายในองค์การ ส่วนการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดจะเป็นการประเมินภายนอกองค์การ กล่าวได้ว่า ประสิทธิผลของการกำหนดกลยุทธ์ที่ใช้เทคนิค TOWS Matrix นี้จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด ที่ละเอียดในทุกแง่มุม เพราะถ้าวิเคราะห์ไม่ละเอียดหรือมองไม่ทุกแง่มุม จะส่งผลทำให้การกำหนดกลยุทธ์ที่ออกมาจะขาดความแหลมคม

2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจุดแข็งกับโอกาส จุดแข็งกับข้อจำกัด จุดอ่อนกับโอกาส และจุดอ่อนกับข้อจำกัด ซึ่งผลของการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในข้อมูลแต่ละคู่ดังกล่าว ทำให้เกิดกลยุทธ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
   1) กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy) ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์ในเชิงรุก ตัวอย่าง กรมธนารักษ์ มีจุดแข็ง คือ ความสามารถในการผลิตเหรียญ และมีโรงกษาปณ์ที่ทันสมัย มีโอกาส คือ สามารถหารายได้จากการผลิตเหรียญได้ ทั้งหมดสามารถนำมากำหนดกลยุทธ์ในเชิงรุก คือ กลยุทธ์การรับจ้างผลิตเหรียญทุกประเภททั้งในและต่างประเทศ
   2) กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy) ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นอกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน ทั้งนี้เนื่องจากองค์การมีจุดแข็ง ขณะเดียวกันองค์การก็เจอกับสภาพแวดล้อมที่เป็นข้อจำกัดจากภายนอกที่องค์การควบคุมไม่ได้ แต่องค์การสามารถใช้จุดแข็งที่มีอยู่ในการป้องกันข้อจำกัดที่มาจากภายนอกได้ ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีจุดแข็ง คือ เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดโอกาสการศึกษาให้แก่ประชาชนทั่วประเทศ ขณะเดียวกันมีข้อจำกัด คือ งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมีไม่เพียงพอที่จะสามารถจัดตั้งหน่วยงานของตนเองอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศได้     ทั้งหมดสามารถนำมากำหนดกลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ กลยุทธ์การสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนในพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
  3) กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy) ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข ทั้งนี้เนื่องจากองค์การมีโอกาสที่จะนำแนวคิดหรือวิธีใหม่ ๆ มาใช้ในการแก้ไขจุดอ่อนที่องค์การมีอยู่ได้ ตัวอย่าง ระบบราชการมักมีจุดอ่อน คือ มีขั้นตอนการทำงานที่ยาว ใช้เวลามาก ขณะเดียวกันก็มีโอกาส คือ โอกาสของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ ทั้งหมดสามารถนำมากำหนดกลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ กลยุทธ์การส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการบริหารจัดการและในกระบวนการทำงานของราชการให้มากขึ้น (e-Administration)
  4) กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy) ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์ในเชิงรับ ทั้งนี้เนื่องจากองค์การเผชิญกับทั้งจุดอ่อนและข้อจำกัดภายนอกที่องค์การไม่สามารถควบคุมได้ ตัวอย่าง ประเทศไทย จุดอ่อน คือ ต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ ประกอบกับพบข้อจำกัด คือ ราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งหมดนำมากำหนดกลยุทธ์ในเชิงรับ คือ กลยุทธ์การรณรงค์ประหยัดพลังงานทั่วประเทศอย่างจริงจัง และกลยุทธ์การหาพลังงานทดแทนที่นำทรัพยากรธรรมชาติในประเทศที่มีอยู่มาใช้มากขึ้น

KNOW-HOW 
คือสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการได้รับทราบมาโดยตลอดว่าเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ หรือประโยคที่ว่า  “ธุรกิจที่ดีต้องมี Know-how”  โดย Know-how นี้ คือการที่รู้ว่าจะทำอย่างไร (How) หรือรู้ว่าจะดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับความรู้ (knowledge) ที่มีอยู่หรือได้รับการถ่ายทอดมา

อยากรู้เรื่องทฤษฎีการตลาดกับผู้เชี่ยวชาญ ผมแนะนำ M.B.A. (Marketing) Ramkhamkaeng .. แต่ถ้าอยากรู้ว่าเรียนการตลาดแล้วจะประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินได้อย่างไร คุณต้องมีโค้ชแนะนำ ครับ

วางแผนการเงินกับ #finadvisor #ความมั่งคั่งเริ่มต้นที่นี่ finadvisor.co
โค้ชส่วนตัว ช่วยวางแผน

×
News