25 กันยายน 2557

BUS 6016 : สรุปสอบ FINAL วิธีการวิจัยทางธุรกิจ


ตำรา : Zikmund, W., Babin, B. J., Carr, J. C. and Griffin, M. (2010).
Business Research Methods (8 ed.) South-western Cengage Learning
         สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฎิบัติ. กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สรุปสอบ FINAL วิธีการวิจัยทางธุรกิจ

Part: ผศ.ดร. ณรัฐ วัฒนาพานิช (20 คะแนน)
1. นำ A4 เข้าได้ 1 แผ่นช๊อตโน๊ตด้วยลายมือหน้าหลัง (5 คะแนน)
    แนะนำให้ short note ส่วน อ.กฤดษา ลงไปเพื่อใช้ให้ห้องสอบ, และ Abs งานวิจัย 3 กลุ่ม
2. ให้หัวข้อวิจัยมา 5 เรื่อง (5 คะแนน)
    ในหัวข้อวิจัยแต่ละเรื่องให้ดูว่ามีตัวแปรต้นอะไร, ตัวแปรตามอะไร
    และอาจจะมีอยู่ 1 เรื่องให้เขียนกรอบแนวคิด
    เช่น หัวข้อวิจัย: ปัจจัยในการเลือกใช้รถไฟฟ้า BTS
    ตัวแปรต้น : ประชากรศาสตร์ (ไม่ต้องบอกรายละเอียด) และ ส่วนประสมทางการตลาด
    ตัวแปรตาม : การเลือกใช้รถไฟฟ้า BTS
3. ให้ Abstract มาจากงานวิจัยกลุ่ม 1 ใน 3 เรื่อง... คุณจะทำวิจัยเรื่องอะไร  (10 คะแนน)
    เขียนประมาณ 1 หน้า
     - วัตถุประสงค์ (เขียนมาสัก 2 ข้อ)
     - ตัวแปรต้น, ตัวแปรตาม  (ระบุ Information)
        เช่น ประชากรศาสตร์ เป็น Information : เพศ อายุ เพศ  การศึกษา รายได้  เป็น Data
     - กรอบแนวคิด (ตัวแปรต้องเป็น Information เท่านั้น)
        เช่น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อแฮมเบอร์เกอร์ของผู้บริโภคในห้างเซ็นทรัลเวิล์ด
              ตัวแปรต้น : ปัจจัยส่วนบุคคล และ ส่วนประสมทางการตลาด
              ตัวแปรตาม  : การตัดสินใจซื้อแฮมเบอร์เกอร์ของผู้บริโภคในห้างเซ็นทรัลเวิล์ด
     - สมมติฐาน (เขียนมาสัก 2 ข้อ)
     - ประโยชน์  (เขียนมาสัก 2 ข้อ

Note: วิธีหาตัวแปรอิสระ, ตัวแปรตาม, วัตถุประสงค์ จาก Abstract งานวิจัย
  1. หาตัวแปรอิสระ (ตัวแปรต้น)
    - หาประโยค "กลุ่มตัวอย่าง" หรืืือ "ลักษณะส่วนบุคคล" จะได้กลุ่มประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา สถานภาพ ..
    - ถ้าในวัตถุประสงค์มีคำว่า "ปัจจัย.." ให้ดูว่าเป็นตัวแปรอิสระด้วยไหม
  2. หาตัวแปรตาม
    - ดูจากชื่องานวิจัย เช่น กระบวนการ , การตัดสินใจ ...
    - ดูจากประโยคผลวิจัยพบว่า ...
    - ดูจากประโยค "ผลจากการวิเคราะห์สสมติฐาน" ..
  3. หาวัตถุประสงค์
    - ให้สังเกตุย่อหน้าประโยค "การศึกษามีวัตถุประสงค์..."
    - หลังประโยคนี้จะเป็นวัตถุประสงค์งานวิจัย ให้แยกเป็นข้อๆ
 จุดสังเกตว่าตัวแปรหมดหรือยัง ให้ดูคำว่า " และ .." ก่อนจบประโยค
 ตััวอย่าง Abstract งานวิจัย1 , Abstract งานวิจัย2 , Abstract งานวิจัย3

Note: กระบวนการวิจัย
Step1: ค้นหาและกำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไข
Step2: การออกแบบการวิจัย (Research Design)
Step3: การสุ่มตัวอย่าง (Sampling)
Step4: เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลและการสร้างแบบสอบถาม (Data Gathering)
Step5: การใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล:สถิติอนุมาน (Data Analysis)
Step6: สรุปและอภิปรายผล (Conclusions and Recommendations)

Part: ผศ.ดร. กฤดษา ตั้งชัยศักดิ์ ( 20 คะแนน)
1. มาตรวัดตัวแปร 4 แบบ และการเลือกมาตรวัดให้ยกตัวอย่าง  (10 คะแนน)
    และแต่ละมาตรวัดสัมพันธ์อย่างไรกับสถิติ เช่น
    - ตัวหน้า Nominal, ตัวหลัง Ordinal ใช้สูตรอะไร?
      สูตรที่เหมาะสมมีกรณีไหนบ้าง อธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง
    - ตัวหน้า Ordinal, ตัวหลัง Nominal ใช้สูตรอะไร?
      สูตรที่เหมาะสมมีกรณีไหนบ้าง อธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง
    - ตัวหน้า Nominal, ตัวหลัง Interval ใช้สูตรอะไร?
      สูตรที่เหมาะสมมีกรณีไหนบ้าง อธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง
    - สูตร T-Test / F-Test (Anova) / Pearson / Chi-Square

2. การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing(10 คะแนน)
1. ตั้งสมมติฐาน H1 และ H0
2. สร้างแบบสอบถามและเก็บข้อมูล
3. กำหนดเกณฑ์ในการทดสอบสมมติฐาน
    - กำหนดระดับนัยสำคัญที่จะยอมรับ (significance Level) (e.g., .01,  .05)
    - If the null hypothesis(H0) can be rejected ,
       the resaerch hypothesis(H1) can be accepted.
4. คำนวณค่าสถิติจากสูตรที่เหมาะสม (e.g., t value, F value)
5. เปรียบเทียบค่าความน่าจะเป็น (p value) ที่จะสุ่มตัวอย่างได้ค่าสถิติตามที่คำนวณได้ในข้อ 4 หากข้อสันนิษฐานว่าง(H0) เกี่ยวกับประชากรเป็นจริง
    - หากต่ำกว่าค่านัยสำคัญที่กำหนดไว้ในข้อ 3 (significance value .01 or .05) ปฎิเสธ สมมติฐาน H0 ยอมรับ H1 มีโอกาสน้อยที่ข้อสันนิษฐานว่าง (H0) จะเป็นจริง
Note: 
t value ใช้กัับตัวแปร 2 กลุ่ม
F value ใช้กับตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่ม
Falsification เป็นกระบวนการที่ใช้ในการทดสอบถูกต้องของสมมติฐานหรือทฤษฎีในวิทยาศาสตร์ เกี่ยวข้องกับระบุบางผลจากทฤษฎีในกรณีตรงกันข้ามเฉพาะ และค้นหาผู้ที่ทดลองหรือสังเกต

สรุป Final A4 2 หน้า






________________________________________________-

แนวข้อสอบเก่า วิธีการวิจัยทางธุรกิจ จากที่อื่นๆ

(1) ขั้นตอนการวิจัย ประกอบด้วยกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง?
ตอบ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1) ความสำคัญของปัญหา 
    1. ปัญหาสำคัญ
    2. วัตถุประสงค์ในการวิจัย
    3. ประโยชน์ในการวิจัย
    4. ขอบเขตของการวิจัย
2) การตรวจเอกสาร/บททวนบทวรรณกรรม 
    1. การตรวจเอกสาร คือ ศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎี เอกสารที่เกี่ยวข้องในการทำวิจัย
    2. กำหนดตัวแปร = ในการทำวิจัย
    3. นิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ (Operational Definition.)
    4. ตั้งสมมติฐาน (Hypothesis) = คำตอบที่นักวิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้น
    5. สร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Frame work) คือ หลังจากตรวจสอบเอกสารเสร็จผู้วิจัยรวบรวมความคิดรวบยอดสรุป 1 แผ่น
3) วิธีการวิจัย คือ ระเบียบวิธีของการวิจัยที่ผู้วิจัยต้องแสดงให้ชัดเจนก่อนว่าจะเริ่มทำกับใคร เมื่อใด
   1.ประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
   2.การเก็บข้อมูล เช่น ใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง เป็นต้น
   3.การวัดตัวแปร ส่วนนี้จะต้องสัมพันธ์กันกับส่วนที่ 2 ข้อ 2.2
   4.การทดสอบและการหาค่าความเชื่อมั่น
   5.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ให้สอดคล้องกับการวัดตัวแปรและการตั้งสมมติฐาน
4) ผลการวิจัยและข้อวิจารณ์ 
ข้อนี้ได้ผลจากข้อ 3.5 ผลวิจัย ได้โดยการแปรข้อมูลสถิติที่ได้ ของตัวแปรเหตุที่มีต่อตัวแปรผลว่า การศึกษาครั้งนี้พบอะไร อะไรคือประเด็นที่สำคัญที่สุด ข้อวิจารณ์ ต้องมีการวิจารณ์ว่าผลของเราที่ได้ มีจุดเด่นอยู่ที่ใด ที่จะนำไปสู่ข้อเสนอแนะใน
บทที่ 5 (ที่จะกล่าวต่อไป)
5) สรุปและข้อเสนอแนะ 
จะต้องเขียนให้เข้าใจว่า ตั้งแต่เริ่มแรกผลที่ศึกษาได้ทั้งหมดเป็นอย่างไรเขียนโดยสรุป เป็นการสรุปย่อผลการศึกษาทั้งหมด
   1. สรุปผลการวิจัย
   2.ข้อเสนอแนะ มี 2 ส่วน คือ
      - ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัย = ได้อะไร สิ่งที่ควรสนับสนุน พัฒนา ปรับปรุง
      - ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป = แสงสว่างทางปัญญาที่จะนำไปทำครั้งต่อไป
6) เอกสารอ้างอิง 
   - ตัวแปร ข้อเท็จจริง ความเป็นเหตุ เป็นผล เกี่ยวกับสิ่งที่เราศึกษา
   - หากเป็นกรณีตัวบุคคล เช่น การสัมภาษณ์ หรือข้อมูลจาก Web Internet ก็ใส่ลงไปด้วย
7) ภาคผนวก 

(2) ประเภทของการวิจัย มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ ตามระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) แบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
1.การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ = ศึกษาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต
2.การวิจัยเชิงบรรยายหรือพรรณา = ศึกษาปรากฏการณ์ของสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร เป็นการ ศึกษาสำรวจ หรือหาความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของปัจจัยที่ทำให้เกิดผลขึ้น (จะบอกอะไรในปัจจุบัน “What is”)
3.วิจัยเชิงทดลอง = เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของปรากฏการณ์ต่าง ๆ จะต้องมีการ ควบคุมตัวแปรประเภทนี้ต้องมีทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง การวิจัยประเภทนี้จะบอกว่า “อะไรอาจจะเกิดขึ้น”

(3)ประโยชน์หรือความสำคัญของการวิจัย มีอะไรบ้าง 
1.ส่งเสริมความรู้ทางวิชาการ
2.สิ่งบกพร่อง และหาวิธีการแก้ไขในงานต่าง ๆ
3.ทำนายปรากฏการณ์ และพฤติกรรมต่าง ๆ
4.ตอบสนองลักษณะธรรมชาติของมนุษย์

ดังกล่าวข้างต้น เพื่อนำความรู้และผลที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยไปพัฒนา ปรับปรุง และประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป 
(4) ทฤษฎี บอกอะไรบ้าง 
ทฤษฎี หมายถึง ความคิดเห็นตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์ หรือ
ข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ 
ทฤษฎี บอก หลักการ แนวคิด ที่มา ที่ผ่านการพิสูจน์ ผ่านการทดลอง 
ซึ่งสามารถหักล้างได้หากมีทฤษฎีอื่นเกิดขึ้นมาทดแทน เช่น ทฤษฎี ………

(5) Key Word สำคัญของการวิจัย บอกอะไรบ้าง หรือ โจทย์ให้ตัวอย่างมา ให้เราอ่าน แล้วจะถามว่า Key Word มีอะไรบ้าง หรือปัญหาสำคัญของเรื่องที่อ่านมีอะไรบ้าง หรือโจทย์ให้เฉพาะชื่อเรื่องมา ให้เราเขียนความสำคัญของปัญหา กำหนดตัวแปรเหตุ และตัวแปรผล เช่น ความหมายของ การวิจัย หมายถึง กระบวนการศึกษา ค้นคว้า หาข้อเท็จจริง ตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยหาความเป็นเหตุและเป็นผลของปัญหา แล้วนำผลการวิจัยไปสู่ การพัฒนาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข (นำไปใช้ประโยชน์) 
สรุป Key Word การวิจัยประกอบด้วยลักษณะใหญ่ ๆ 3 ประการดังนี้ 
1.เป็นการศึกษาค้นคว้า/ค้นหาข้อเท็จจริง 
2.เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน 
3.เป็นระบบตามหลักวิธี ซึ่งตั้งอยู่บนรากฐานของกระบวนการ/วิธีการวิทยาศาสตร์ (Scientific method) 

(6) ตัวแปร คืออะไร และประเภทของตัวแปรมีอะไรบ้าง 
ตอบ ตัวแปร คือ คุณลักษณะหรือคุณสมบัติ ของสิ่งที่เราจะศึกษาหรือปรากฏการณ์ที่เราสนใจจะศึกษา เช่นเราสนใจจะศึกษา “ปัจจัยที่ทำให้นิสิต SD 43 ทุกคน สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลา 2 ปี” ดังนั้น คุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่เราจะศึกษาก็คือ นิสิต SD 43
ประเภทของตัวแปรมี 2 ประเภท คือ 
1.ตัวแปรอิสระ 
2.ตัวแปรตาม 
ตัวแปรอิสระ หมายถึง สิ่งที่ทำให้เกิดผล 
ตัวแปรตาม หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากสาเหตุมากกว่า 1 เหตุ 

บรรณานุกรม
กฤษฎ์. (2557). แนวข้อสอบ การวิจัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2557 จาก
          http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/carnew/แนวข้อสอบ%20การวิจัย.htm


แนวข้อสอบ BUS 6016 (ดร.นีลนารา)
QUIZ 2: Research variables, hypothesis, and conceptual framework
1. ตัวแปร (Variables)คือ.........................................
2. ตัวแปรอิสระ (Independent variable) คือ ...............
3. ตัวแปรตาม (Dependent variable) คือ....................

อะไรคือตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม ???     
• การออกกำลังกายส่งผลให้สุขภาพแข็งแรง
• ชั่วโมงอ่านหนังสือมีผลต่อผลสอบ

4. สมมติฐาน (Hypothesis) คือ
คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผลหรือสมมติฐานคือ ข้อความที่อยู่ในรูปของการคาดคะเนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวแปร หรือมากกว่า 2 ตัวเพื่อใช้ตอบปัญหาที่ต้องการศึกษา สมมติฐานที่ดีมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. เป็นข้อความที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
2. เป็นสมมติฐานที่สามารถทดสอบได้โดยวิธีทางสถิติ

5. กรอบแนวคิดคือ ...............................................
6.  จงเขียนวัตถุประสงค์ สมมติฐาน (แบบไม่มีทิศทาง)  และกรอบแนวคิด กับหัวข้อต่อไปนี้
    6.1 ความพึงพอใจต่อการใช้บริการร้านกาแฟอเมซอนจังหวัดชลบุรี
    6.2 ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการธุรกิจร้านกาแฟอเมซอนกับความพึงพอใจของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี
    6.3  การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนทำธุรกิจปิ่นโตแบบบริการถึงบ้านฯ
    6.4 การบริหารจัดการของบริษัท True corporation ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงาน
7. คำนิยามศัพท์คือ ...............................................

24 กันยายน 2557

BUS 6016 : การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing)


ตำรา : Zikmund, W., Babin, B. J., Carr, J. C. and Griffin, M. (2010).
Business Research Methods (8 ed.) South-western Cengage Learning
         สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฎิบัติ. กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing)
สมมติฐาน (Hypothesis) คือ คําตอบที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าอย่างสมเหตุสมผลต่อปัญหาที่ศึกษา หรือการเดาที่ใช้หลักเหตุผลใช้ปัญญา และเขียนอยู่ในลักษณะของข้อความที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่2 ตัวขึ้นไป คําตอบนี้อาจจะถูกต้องหรือไม่ก็ได้ จึงต้องมีการทดสอบ โดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ และวิธีการทางสถิติ (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540 : หน้า 46)

สมมติฐาน (Hypothesis) มี 2 ชนิด คือ สมมติฐานทางการวิจัย (Resaerch hypothesis) กับ สมมติฐานทางสถิติ (Statistical hypothesis) การวิจัยบางเรื่องอาจไม่มีสมมติฐานการวิจัยที่ มีสมมติฐานมักเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เช่น ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความถนัดทางการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นต้น  หรือเป็นการวิจัยที่อยู่ในลักษณะ ที่เป็นการเปรียบเทียบความมีวินัยในตนเองระหว่างนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยวิธีต่างกัน

คำศัพท์ที่ต้องทราบในการทดสอบสมมติฐาน
 - สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis) หมายถึงข้อความที่เกี่ยวกับลักษณะของประชากร เป็นต้นว่า ค่าเฉลี่ยของประชากร m ความแปรปรวนของประชากร σ2 หรือสัดส่วนของประชากร p
 - สมมติฐานว่าง (Null Hypothesis)  เขียนแทนด้วย H0
 - สมมติฐานแย้ง (Alternative Hypothesis) เขียนแทนด้วย  H1
 - สถิติที่ใช้ในการทดสอบ (Test Statistic) หมายถึงสถิติที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการปฏิเสธ H0
 - เขตการปฎิเสธ (Rejection Region) หมายถึง เซตของค่าของสถิติที่ใช้ในการทดสอบที่ทำให้
   เราปฏิเสธ H0
 - เขตการยอมรับ (Acceptance Region) หมายถึง เซตของค่าของสถิติที่ใช้ในการทดสอบที่ทำให้
   เรายอมรับ  H0
 - ค่าวิกฤต (Critical Value) หมายถึงค่าที่แบ่งเขตการปฏิเสธและเขตการยอมรับ
 - ความผิดพลาดชนิดที่ 1 (Type I Error) หมายถึงความผิดพลาดในการตัดสินใจปฏิเสธ
   ที่เป็นจริง เนื่องจากเราไม่ทราบล่วงหน้าจึงกำหนดในรูปของความน่าจะเป็น
       ให้   m  =   ความน่าจะเป็นที่จะทำความผิดพลาดชนิดที่ 1
                  =   P(Type I Error)
 - ความผิดพลาดชนิดที่ 2 (Type II Error) หมายถึงความผิดพลาดในการตัดสินใจยอมรับ H0
   ที่ไม่จริง เนื่องจากเราไม่ทราบล่วงหน้าจึงกำหนดในรูปของความน่าจะเป็น เช่นกัน
       ให้  β   =   ความน่าจะเป็นที่จะทำความผิดพลาดชนิดที่ 2
                  =   P(Type II Error)
 - ระดับนัยสำคัญ (Level of Significance) หมายถึงค่าของ a ที่เรากำหนดให้ เรามักกำหนดให้
    = 0.05 หรือ 0.01 เป็นต้น หรือบอกเป็นเปอร์เซ็นต์คือ 5% หรือ 1% เป็นต้น
 - การทดสอบทางเดียว (One-tailed Test) หมายถึง การทดสอบสมมติฐานที่มีเขตการปฏิเสธเพียงทางเดียว อาจอยู่ในรูปน้อยกว่า หรือมากกว่า ซึ่งจะดูได้จากสมมติฐาน  H1
 - การทดสอบสองทาง (Two-tailed Test)หมายถึง การทดสอบสมมติฐานที่มีเขตการปฏิเสธสองทางคือ ในรูปน้อยกว่า และมากกว่า ดูได้จากสมมติฐาน H1 เช่นกัน
 - ค่าพี (P value)

ขั้นตอนทั่วไปในการทดสอบสมมติฐาน
 1. พิจารณาข้อความที่ต้องการทดสอบ แล้วเปลี่ยนข้อความให้อยู่ในเทอมของพารามิเตอร์
 2. กำหนด H0 และ H1 ในเทอมของพารามิเตอร์
 3. กำหนดระดับนัยสำคัญ a
 4. เลือกสถิติที่ใช้ในการทดสอบ (Test Statistic)
 5. คำนวณค่าของสถิติที่ใช้ในการทดสอบ ซึ่งหาได้จากตัวอย่างสุ่มขนาด n
 6. กำหนดเขตการปฏิเสธ ที่ระดับนัยสำคัญในข้อ 3. ซึ่งหาได้จากตารางสถิติ
 7. ทำการสรุปผล ถ้าค่าของสถิติที่ใช้ในการทดสอบในข้อ 5.ตกอยู่ในเขตการปฎิเสธ เราจะปฎิเสธ H0  ถ้าเป็นอย่างอื่นจะไม่ปฏิเสธ H0

ตัวอย่างการตั้งสมมติฐานทางสถิติ
ตัวอย่างที่ 1 สมมติว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนในเมืองแห่งหนึ่งซึ่งได้จากการสำมะโนเท่ากับ 25,000 บาท และอีกสามปีต่อมา เราต้องการตรวจสอบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ ถ้าเราไม่สามารถทำสำมะโนได้อีก เราสามารถใช้ตัวอย่างสุ่ม โดยสุ่มตัวอย่างของครัวเรือนมาศึกษา แล้วใช้สารสนเทศที่ได้จากตัวอย่างสุ่มไปสรุปผลข้างต้น
จะมีสมมติฐาน  2  แบบคือ
    H0 : รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนไม่เปลี่ยนแปลงจาก 25000 บาท : = 25000
    H1 : รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนเปลี่ยนแปลงจาก 25000 บาทm ≠ 25000
โดยที่ เป็นรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน
ในทางสถิติ เราตั้งสมมติฐาน ดังนี้
     H0= 25000
     H1≠ 25000

บรรณานุกรม
sc.kku.ac.th. (นามแฝง). (2557). การทดสอบสมมติฐาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2557 จาก
          http://www.sc.kku.ac.th/UserFiles/chapter 8 316 204.doc

BUS 6016 : หาความเชื่อมั่นค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Cronbach) โดยใช้โปรแกรม SPSS


ตำรา : Zikmund, W., Babin, B. J., Carr, J. C. and Griffin, M. (2010).
Business Research Methods (8 ed.) South-western Cengage Learning
         สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฎิบัติ. กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้สูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coefficient) ของครอนบัค (Cronbach 1970 : 161)

การวัดหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้สูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค (Cronbach 1970 : 161) ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (∝-Coefficient) กำหนดให้ค่าความน่าเชื่อถือได้ของสัมประสิทธิ์แอลฟ่าจำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 0.7  (ถ้าทดสอบได้น้อยกว่า 0.7 ต้องแก้ไขแบบสอบถาม ล้วทำการทดสอบแบบสอบถามที่แก้ไขกับกลุ่มตัวอย่างซ้ำใหม่จนกว่าค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ากกว่าหรือเท่ากับ 0.7)

1.เปิดโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS for Windows การสร้างข้อมูลทำได้  2 วิธีคือ สร้างจากโปรแกรม SPSS โดยตรง หรือโหลดข้อมูลมาจาก Excel ไฟล์


2. เลือกโหลดข้อมูลมาจาก Excel ไฟล์ เข้าโปรแกรม SPSS




3. หาค่าความน่าเชื่อถือได้ของสัมประสิทธิ์แอลฟ่า
เลือกเมนู Analyze -> Scale -> Reliability Analysis


4. เลือกตัวแปร และ Model ที่ต้องการทดสอบ
ในการทดสอบนี้เราทดสอบทุกตัวแปรให้เลือกทั้งหมดหรือกดคีย์บอร์ด Ctrl+A ย้ายมาทางขวามือ
เลือก Model: Alpha จากนั้นกด OK เพื่อทดสอบผล


5. ผลการทดสอบ




20 กันยายน 2557

BUS 6016 : How to find an independent variable, dependent variable, Abstract The purpose of the research


ตำรา : Zikmund, W., Babin, B. J., Carr, J. C. and Griffin, M. (2010).
Business Research Methods (8 ed.) South-western Cengage Learning
         สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฎิบัติ. กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิธีหาตัวแปรอิสระ,ตัวแปรตาม,วัตถุประสงค์ จาก Abstract งานวิจัย
1. หาตัวแปรอิสระ (ตัวแปรต้น)
    - หาประโยค "กลุ่มตัวอย่าง" หรืืือ "ลักษณะส่วนบุคคล" จะได้กลุ่มประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา สถานภาพ ..
    - ถ้าในวัตถุประสงค์มีคำว่า "ปัจจัย.." ให้ดูว่าเป็นตัวแปรอิสระด้วยไหม
2. หาตัวแปรตาม
    - ดูจากชื่องานวิจัย เช่น กระบวนการ , การตัดสินใจ ...
    - ดูจากประโยคผลวิจัยพบว่า ...
     - ดูจากประโยค "ผลจากการวิเคราะห์สสมติฐาน" ..
3. หาวัตถุประสงค์
    - ให้สังเกตุย่อหน้าประโยค "การศึกษามีวัตถุประสงค์..."
    - หลังประโยคนี้จะเป็นวัตถุประสงค์งานวิจัย ให้แยกเป็นข้อๆ

จุดสังเกตว่าตัวแปรหมดหรือยัง ให้ดูคำว่า " และ .." ก่อนจบประโยค

ตัวอย่าง4: Abstract การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการสื่อสารการตลาดออนไลน์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา www.weloveshopping.com


วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเปิดรับเว็บไซต์ กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา www.weloveshopping.com
2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการสื่อสารการตลาดออนไลน์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา www.weloveshopping.com

ตัวแปรอิสระ                                 ------------->

ปัจจัยส่วนบุคคล
- เพศ
- อายุ
- อาชีพ
- ระดับรายได้

การเปิดรับเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
- สถานที่เข้าเว็บไซต์
- ประเภทสินค้าที่ใช้บริการส่วนใหญ่
- มูลค่าในการซื้อแต่ละครั้ง

ปัจจัยการสื่อสารการตลาดออนไลน์
- ผลิตภัณฑ์ (Product)
- ราคา (Price)
- การจัดจำหน่าย (Place)
- การส่งเสริมการตลาด (Promotion)
- การให้บริการแบบเจาะจง (Personalization)
- การรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy)
ตัวแปรตาม

พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา www.weloveshopping.com



ตัวอย่าง5: Abstract ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับซิลเวอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษาเว็บไซต์เฟซบุ๊ก



วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาลักษณะประชากรของผู้ซื้อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับผ่านอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา เว็บไซต์เฟซบุ๊ก
2. เพื่อศึกษากลยุทธ์การโฆษณาผ่านทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับกรณีศึกษา เว็บไซต์เฟซบุ๊ก
3. เพื่อศึกษาความต้องการสินค้าประเภทเครื่องประดับที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับกรณีศึกษา เว็บไซต์เฟซบุ๊ก

ตัวแปรอิสระ                     --------------------->

ลักษณะประชากรศาสตร์
1. เพศ
2. อายุ
3. สถานะ
4. การศึกษา
5. รายได้
6. อาชีพ

กลยุทธ์กำรโฆษณำผ่ำนทำงพำณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. กลยุทธ์กำรออกแบบ
    - รูปแบบทันสมัย
    - ตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
    - เนื้อหาข่าวสารเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย
    - ตราสินค้า
2. กลยุทธ์กำรนำเสนอสื่อ
    -  เข้าใจง่ายและสะดวกในการเข้าถึง
    - มีเอกลักษณะเฉพาะตัวต่อการจดจา
    - มีข้อมูลที่สมบูรณ์

ความต้องการสินค้าประเภทเครื่อง
ประดับผ่านอินเทอร์เน็ต

ตัวแปรตาม

การตัดสินใจซื้อเครื่องประดับผ่านทาง
อินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา เว็บไซต์เฟซบุ๊ก




<< ก่อนหน้า  ตัวอย่าง Abstract  หน้าถัดไป >>


19 กันยายน 2557

BUS 6016 : How to find an independent variable, dependent variable, Abstract The purpose of the research


ตำรา : Zikmund, W., Babin, B. J., Carr, J. C. and Griffin, M. (2010).
Business Research Methods (8 ed.) South-western Cengage Learning
         สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฎิบัติ. กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิธีหาตัวแปรอิสระ,ตัวแปรตาม,วัตถุประสงค์ จาก Abstract งานวิจัย
1. หาตัวแปรอิสระ (ตัวแปรต้น)
    - หาประโยค "กลุ่มตัวอย่าง" หรืืือ "ลักษณะส่วนบุคคล" จะได้กลุ่มประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา สถานภาพ ..
    - ถ้าในวัตถุประสงค์มีคำว่า "ปัจจัย.." ให้ดูว่าเป็นตัวแปรอิสระด้วยไหม
2. หาตัวแปรตาม
    - ดูจากชื่องานวิจัย เช่น กระบวนการ , การตัดสินใจ ...
    - ดูจากประโยคผลวิจัยพบว่า ...
     - ดูจากประโยค "ผลจากการวิเคราะห์สสมติฐาน" ..
3. หาวัตถุประสงค์
    - ให้สังเกตุย่อหน้าประโยค "การศึกษามีวัตถุประสงค์..."
    - หลังประโยคนี้จะเป็นวัตถุประสงค์งานวิจัย ให้แยกเป็นข้อๆ

จุดสังเกตว่าตัวแปรหมดหรือยัง ให้ดูคำว่า " และ .." ก่อนจบประโยค

ตัวอย่าง3: Abstract ปัจจัยแรงจูงใจในการลาออกของพนักงานกรมการขนส่งทางบก


วัตถุประสงค์
1. ความแตกต่างทางด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อแรงจูงใจในการลาออกของพนักงานกรมการขนส่งทางบก
2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในองค์กรกับแรงจูงใจในการลาออกของพนักงานกรมการขนส่งทางบก
3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายนอกองค์กรกับแรงจูงใจในการลาออกของพนักงานกรมการขนส่งทางบก

ตัวแปรอิสระ               --------------------------->

ปัจจัยส่วนบุคคล
- เพศ
- อายุ
- ตำแหน่ง
- รายได้
- การศึกษา
- สถานภาพ

ปัจจัยภายใน
- ด้านสวัสดิการ
- ด้านเงินเดือน
- ด้านโครงสร้าง

ปัจจัยภายนอก
- ด้านเวลาที่ใช้ในการเดินทาง
- ด้านภาพลักษณ์ขององค์กร
- ด้านเศรษฐกิจ
ตัวแปรตาม

แรงจูงใจในการลาออกของ
พนักงานกรมการขนส่งทางบก




ตัวอย่าง4: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อซํ้าของผ้บริโภคกาแฟสด ยี่ห้อสตาร์บัคส์ ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล


วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดยี่ห้อสตาร์บัคส์ โดยจำแนกตามลักษณะด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ รายได้ ระดับการศึกษาและสถานภาพการสมรส ที่มีผลกับพฤติกรรมการซื้อซํ้าของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านราคา ด้านสถานที่จัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาดและ ด้านผลิตภัณฑ์ กับพฤติกรรมการซื้อซํ้าของผู้บริโภคกาแฟสดยี่ห้อสตาร์บัคส์ ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพการให้บริการ ได้แก่ การให้บริการที่เป็นพิเศษความรวดเร็วในการให้บริการและความเอาใจใส่ของพนักงาน กับพฤติกรรมการซื้อซํ้าของผู้บริโภคกาแฟสดยี่ห้อสตาร์บัคส์ ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

ตัวแปรอิสระ                   ------------------------>

ลักษณะประชากรศาสตร์
- เพศ
- อายุ
- อาชีพ
- รายได้
- ระดับการศึกษา
- สถานภาพการสมรส

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด
- ด้านราคา
- ด้านสถานที่จัดจำหน่าย
- ด้านการส่งเสริมการตลาด
- ด้านผลิตภัณฑ์

ปัจจัยคุณภาพการให้บริการ
- การให้บริการที่เป็นพิเศษ
- ความรวดเร็วในการให้บริการ
- ความเอาใจใส่ของพนักงาน
ตัวแปรตาม

พฤติกรรมการซื้อซํ้าของผู้บริโภคกาแฟสด
ยี่ห้อสตาร์บัคส์ ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล




<< ก่อนหน้า  ตัวอย่าง Abstract  หน้าถัดไป >>


18 กันยายน 2557

BUS 6016 : How to find an independent variable, dependent variable, Abstract The purpose of the research


ตำรา : Zikmund, W., Babin, B. J., Carr, J. C. and Griffin, M. (2010).
Business Research Methods (8 ed.) South-western Cengage Learning
         สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฎิบัติ. กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิธีหาตัวแปรอิสระ,ตัวแปรตาม,วัตถุประสงค์ จาก Abstract งานวิจัย
1. หาตัวแปรอิสระ (ตัวแปรต้น)
    - หาประโยค "กลุ่มตัวอย่าง" หรืืือ "ลักษณะส่วนบุคคล" จะได้กลุ่มประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา สถานภาพ ..
    - ถ้าในวัตถุประสงค์มีคำว่า "ปัจจัย.." ให้ดูว่าเป็นตัวแปรอิสระด้วยไหม
2. หาตัวแปรตาม
    - ดูจากชื่องานวิจัย เช่น กระบวนการ , การตัดสินใจ ...
    - ดูจากประโยคผลวิจัยพบว่า ...
    - ดูจากประโยค "ผลจากการวิเคราะห์สสมติฐาน" ..
3. หาวัตถุประสงค์
    - ให้สังเกตุย่อหน้าประโยค "การศึกษามีวัตถุประสงค์..."
    - หลังประโยคนี้จะเป็นวัตถุประสงค์งานวิจัย ให้แยกเป็นข้อๆ

จุดสังเกตว่าตัวแปรหมดหรือยัง ให้ดูคำว่า " และ .." ก่อนจบประโยค

ตัวอย่าง1: Abstract กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เนตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร



วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกัน
3. ศึกษาถึงปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสำหรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

ตัวแปรอิสระ

ลักษณะประชากรศาสตร์
- เพศ
- อายุ
- อาชีพ
- รายได้
- การศึกษา
- สถานภาพ

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด
พาณิชย์อเล็กทรอนิกส์

- ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย
- ด้านการส่งเสริมการขาย
- ด้านผลิตภัณฑ์
- ด้านราคา
ตัวแปรตาม

กระบวนการตัดสินใจซื้อ
สินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต

- ด้านการรับรู้ปัญหา
- ด้านการแสวงหาข้อมูล
- การประเมินทางเลือก
- การตัดสินใจซื้อ
- ความรู้สึกหลังการซื้อ

ตัวอย่าง2: Abstract ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อ MBA ของพนักงานบริษัทเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร


วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อ MBA ของพนักงานประจำบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
2. ศึกษาปัจจัยด้านสถาบันการศึกษาที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ MBA ของพนักงานประจำบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร

ตัวแปรอิสระ

ลักษณะประชากรศาสตร์
- เพศ
- อายุ
- สถานภาพ
- อาชีพ
- รายได้ต่อเดือน
- ตำแหน่ง
- ประสบการณ์ในการทำงาน

ปัจจัยด้านสถาบันการศึกษา
- ด้านภาพลักษณ์
- ด้านหลักสูตร
- ด้านอาจารย์ผู้สอน
- ด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน
ตัวแปรตาม

การตัดสินใจศึกษาต่อ MBA
- ต้องการพัฒนาตัวเอง
- ต้องการพัฒนาสถานภาพทางสังคม
- ต้องการพัฒนาทางอาชีพ
- สนองความต้องการของบุคคลที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่าง Abstract  หน้าถัดไป >> 

14 กันยายน 2557

BUS 6016 : Types of Research


ตำรา : Zikmund, W., Babin, B. J., Carr, J. C. and Griffin, M. (2010).
Business Research Methods (8 ed.) South-western Cengage Learning
         สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฎิบัติ. กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประเภทของการวิจัย
      งานวิจัยแบ่งออกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เกณฑ์อะไรในการจัดประเภทในที่นี้ขอกล่าวถึงประเภทของงานวิจัยเมื่อใช้เกณฑ์  4  ประเภท ดังนี้
1. แบ่งตามประโยชน์ ที่ได้รับจากการวิจัยแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
          1.1 การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์(Pure Research)  เป็นการวิจัยที่ไม่ได้มุ่งที่จะนำผลของการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ทันทีในชีวิตจริงแต่มีความต้องการที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่ ข้อเท็จจริงพื้นฐานทางทฤษฎีหรือกฎที่เกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ที่ศึกษาเป็นการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆเพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์เป็นเป้าหมายหลัก
          1.2 การวิจัยประยุกต์(Applied Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งนำผลการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติเช่น เพื่อนำไปแก้ปัญหา เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจเพื่อนำไปพัฒนาโครงการเป็นต้น

2. แบ่งตามลักษณะวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งได้ 2 ประเภทคือ  
          2.1 การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งหาข้อเท็จจริงและข้อสรุปเชิงปริมาณ เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบ และสรุปต่างๆ มีการใช้เครื่องมือที่มีความเป็นปรนัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่น แบบสอบถามแบบทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น
         2.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่นักวิจัยจะต้องลงไปศึกษาสังเกต และกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดทุกด้านในลักษณะเจาะลึก ใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเป็นหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เชิงเหตุผลไม่ได้มุ่งเก็บเป็นตัวเลขมาทำการวิเคราะห์

3. แบ่งตามประเภทของศาสตร์ แบ่งได้2 ประเภท คือ  
          3.1 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์(Sciences Research) เป็นการวิจัยที่เน้นในเรื่องของการทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและวัตถุต่างๆ รวมทั้งมุ่งนำเอาความรู้ที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น งานวิจัยทางด้านการแพทย์อุตสาหกรรม เคมี ชีววิทยา เป็นต้น
          3.2 การวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Research) เป็นการวิจัยที่เน้นในเรื่องการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์รวมทั้งสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ เช่น การวิจัยทางการศึกษา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม  การเมืองการปกครอง เป็นต้น

4. แบ่งตามระเบียบวิธีวิจัย
          ระเบียบวิธีวิจัยหมายถึง แบบแผนในการวิจัยซึ่งประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล และ การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตอบปัญหาที่ทำการวิจัย
          การแบ่งประเภทของการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากซึ่งแบ่งได้ 3 ประเภทคือ
          4.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical  Research) เป็น การวิจัยที่มุ่งแสวงหาคำตอบให้กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตโดยศึกษาจากหลักฐานต่าง ๆ ที่ยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ผู้วิจัยจะต้องนำเอาข้อมูลที่เกี่ยวกับเหตุการณ์แนวคิดต่าง ๆ ที่ค้นพบ มาประมวล แปลความ วิเคราะห์และสังเคราะห์
          4.2 การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)   เป็น การวิจัยที่ค้นหาความจริงโดยอาศัยการทดลองเพื่อให้ได้คำตอบในเชิงเหตุผลว่ามี สิ่งใดเป็นเหตุ สิ่งใดเป็นผลที่เกิดตามมา  การวิจัยประเภทนี้จะมีการควบคุมตัวแปรที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทดลอง ตัวอย่างเช่น
               - การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์   ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยอ่านบทเรียนก่อนและหลังการเรียน (ธนัฐ  กรอบทอง.)
               - การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเรื่อง กฎและวงจรไฟฟ้ากระแสตรง   ที่เรียนจากหน่วยการ เรียนกับการสอนปกติ
          4.3 การวิจัยเชิงบรรยาย(Descriptive Research)  เป็นการวิจัยที่มุ่งค้นหาคำตอบ คำอธิบาย ของสภาพการณ์หรือเรื่องราวใด ๆ  ที่อยู่ในช่วงปัจจุบันที่กำลังมีการวิจัยโดยชี้ให้เห็นว่าปรากฏการณ์นั้นเป็นอย่างไร  เช่น เกิดขึ้นบ่อยครั้งเพียงใดมีลักษณะที่สำคัญ ๆ อะไรบ้าง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทย่อย คือ
                4.3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Studies)  เป็นการศึกษาเพื่อที่จะรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงปัจจุบันที่มีการเก็บข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงานในการวางแผนหรือปรับปรุงสภาพที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นตัวอย่างเช่น
                   - ความคิดเห็นของครู-อาจารย์ที่มีต่อการจัดโครงการ อาหารกลางวัน
                   - การสำรวจประชามติ (public opinion survey) เช่น สำรวจความนิยมของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล
                   - การวิเคราะห์งาน (job analysis)  เป็นการศึกษารายละเอียดของงาน
                   - การวิเคราะห์เอกสาร (documentary analysis) เป็นการศึกษารายละเอียดของเอกสารในปัจจุบันเช่น หนังสือแบบเรียน หลักสูตร
              4.3.2 การวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Correlational Studies) เป็นการวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมต่างๆ แบ่งเป็น 3 แบบ คือ
                   ก. การศึกษาเฉพาะกรณี (Case studies) เป็นการศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ  เพื่อให้ทราบรายละเอียดทุกแง่ทุกมุมเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
                   ข. การศึกษาเปรียบเทียบ (Causal comparative studies) การศึกษาแบบนี้ยังไม่เป็นการทดลองเป็นเพียงการศึกษาผลที่ปรากฏว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ไม่มีการควบคุมตัวแปร
                   ค. การศึกษาเชิงสหสัมพันธ์(Correlation studies) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร2 ตัวขึ้นไปว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่
              4.3.3 การศึกษาพัฒนาการ (Developmental Studies) เป็นการวิจัยในลักษณะเฝ้าติดตามดูความเจริญเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งใด ๆ ที่ฝันแปรไปตามเวลา แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
                   ก. การศึกษาภาวะการเจริญเติบโต (Growth studies) เช่นการศึกษาพัฒนาการทางร่างกายของเด็กก่อนวัยเรียนเป็นต้น
                   ข. การศึกษาแนวโน้ม (Trend Studies)   เช่น การศึกษาถึงแนวโน้มของอาชีพที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดสกลนครอีก15 ปีข้างหน้า การจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในทศวรรษหน้า เป็นต้น

บรรณานุกรม
พรหมพชร เกตดี. (2557). ประเภทของการวิจัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2557 จาก
          https://www.gotoknow.org/posts/218986

อยากรู้เรื่องทฤษฎีการตลาดกับผู้เชี่ยวชาญ ผมแนะนำ M.B.A. (Marketing) Ramkhamkaeng .. แต่ถ้าอยากรู้ว่าเรียนการตลาดแล้วจะประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินได้อย่างไร คุณต้องมีโค้ชแนะนำ ครับ

วางแผนการเงินกับ #finadvisor #ความมั่งคั่งเริ่มต้นที่นี่ finadvisor.co
โค้ชส่วนตัว ช่วยวางแผน

×
News