BUS 7097 ประมวลความรู้(ข้อเขียน) ประเด็นสำคัญในปัจจุบันทางการตลาดตัวอย่างกรณีศึกษา รองเท้านักเรียนคึกคักในรอบ 10 ปี “นันยาง-เบรกเกอร์” อัดสินค้าใหม่กระตุ้นตลาด
** ยินดีกับทุกท่านที่สอบผ่านครับ ** พี่หมู
ขอบคุณบทความ รองเท้านักเรียนคึกคักในรอบ 10 ปี “นันยาง-เบรกเกอร์” อัดสินค้าใหม่กระตุ้นตลาด
จากเว็บไซต์ Positioning (โดย Admin - May 9, 2016)
http://positioningmag.com/1090997/
ตลาดรองเท้านักเรียนเป็นอีกหนึ่งตลาดที่ไม่ค่อยมีการเติบโตเท่าไหร่นัก เพราะด้วยในตลาดไม่ได้มีลูกเล่น หรือนวัตกรรมอะไรใหม่ๆ และกลุ่มเป้าหมายก็เป็นกลุ่มเดิมที่ในแต่ละปีก็มีการเพิ่ม การลดไปตามการจบการศึกษาของนักเรียน ในปี 2558 ที่ผ่านมาตลาดรองเท้านักเรียนมีมูลค่าราว 5,000 ล้านบาท ไม่มีการเติบโต โดยที่สัดส่วนสินค้ายังแบ่งเป็นรองเท้าผ้าใบ 60% รองเท้าหนังสำหรับผู้หญิง 35% และรองเท้าอื่นๆ 5%
แต่ในปีนี้ดูท่าว่าจะคึกคักเป็นพิเศษจากปัจจัยหลักก็คือผู้เล่นในตลาดขยับตัวอย่างรุนแรงในการออกสินค้าใหม่ทั้ง “นันยาง” และ “เบรกเกอร์” ถือว่าเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ตลาดคึกคัก และเติบโตได้ โดยที่การออกสินค้าใหม่ของทั้งสองค่ายจะช่วยขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ที่นอกเหนือจากกลุ่มนักเรียนด้วย
ซึ่งในช่วง 5 ปีหลังที่ผ่านมานี้ทำให้นันยางต้องปรับตัวอยู่พอสมควร เพราะต้องทำให้องค์กรทันสมัยอยู่เสมอ และต้องก้าวขาออกจากคอมฟอร์ตโซนด้วย จึงมีการทำในเรื่องดิจิตอล มาร์เก็ตติ้งมากขึ้นโดยสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย ในการทำคอนเทนต์เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
ส่วนทิศทางของสินค้าก็มีความชัดเจนมากขึ้น โดยมีจุดยืนอยู่ที่การโฟกัสที่ “รองเท้านักเรียน” แต่ใช้กลยุทธ์ในการแตกเซ็กเมนต์ขยายตลาดไปยังกลุ่มย่อยมากขึ้น โดยที่ในปี 2558 ได้แตกเซ็กเมนต์สำหรับ “เด็กเล็ก” อายุ 6-9 ขวบ ครั้งแรกในแบรนด์ นันยาง แฮฟ ฟัน (Nanyang Have Fun) หลังจากที่ทำตลาดรองเท้านันยางพื้นเขียว และรองเท้าเตะนันยาง (ช้างดาว) มาช้านาน
ส่วนในปีนี้นันยางก็ได้สร้างกระแสในวงการรองเท้านักเรียนให้เป็นที่ฮือฮาอย่างมากบนโลกออนไลน์ ด้วยการออกรองเท้าผ้าใบในแบรนด์ “นันยาง ชูก้าร์ (Nanyang Suger)” ที่เจาะกลุ่ม “ผู้หญิง” โดยเฉพาะ โดยทางนันยางเองได้ใช้เวลาในการคิดโปรเจ็คต์นี้เป็นเวลา 6 เดือน และใช้งบลงทุนในการ R&D ทั้งหมด 3 ล้านบาท
และล่าสุดการการสร้างทางเลือกให้กับเด็กนักเรียนยุคนี้ที่มีขนาดเท้าใหญ่ขึ้น เป็นการเพิ่มขนาดรองเท้าต่อยอดจากผ้าใบพื้นเขียวเดิม มาเป็นรุ่น “บิ๊กฟุต (Big foot)” ที่มีขนาดตั้งแต่เบอร์ 46-49
จักรพล จันทวิมล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด กล่าวว่า “จริงๆ ตลาดรองเท้านักเรียนเป็นตลาดใหญ่อยู่ มีนักเรียนในประเทศไทยอยู่ 15 ล้านคน แต่ตลาดก็เต็มแล้วเหมือนกันทำให้ต้องขยายตลาดเพิ่มเติมไปยังกลุ่มย่อยอย่างกลุ่มเด็ก กลุ่มผู้หญิง ต้องเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค เพราะส่วนใหญ่นักเรียนก็ซื้อรองเท้าปีละครั้ง ทำให้นันยางต้องปรับตัวตลอด นักเรียนในแต่ละยุคไม่เหมือนกัน แต่นันยางยังซ้ำชั้นอยู่ ต้องทำให้ดูทันสมัยเสมอ”
และจากกระแสของนันยาง ชูการ์ที่เรียกว่าเป็นคีย์สำคัญให้นันยางคึกคักแล้ว ยังส่งผลไปถึงตลาดรวมด้วย จักรพลเปิดเผยว่า ตลาดรองเท้านักเรียนในปีนี้คึกคักกว่าอีกก่อนๆ ลึกคักที่สุดในรอบ 10 ปี จากโปรโมชั่น “Back to School” ที่เลื่อนขึ้นมาเร็วขึ้นในช่วงเดือนเมษายน และติดช่วงวันหยุดยาว อีกทั้งเศรษฐกิจก็มีความนิ่งขึ้น ทำให้ผู้บริโภคพาลูกหลานไปซื้อรองเท้าก่อนเปิดเทอม จากเดิมที่ซื้อก่อนเปิดเทอมไม่นาน
นันยางเองก็มีการเพิ่มกำลังการผลิตในช่วงไตรมาส 1 และไตรมาส 2 เพิ่มอีก 30% จากปีก่อน เพื่อรองรับความต้องการของตลาด ทำให้มีกำลังการผลิต 50,000 คู่/วัน จากเดิมที่มีกำลังการผลิต 40,000 คู่/วัน
ทั้งปีนี้นันยางได้ใช้งบการตลาดรวม 75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10% แบ่งเป็นงบออนไลน์ราว 8% ตั้งเป้ารายได้เติบโต 5-8% จากปีที่แล้วที่ไม่มีการเติบโต และตั้งเป้าตลาดรองเท้านักเรียนเติบโต 5% เช่นกัน เพราะปีนี้มีสินค้าใหม่มาเขย่าตลาด
สัดส่วนรายได้ของนันยางแบ่งเป็น รองเท้าผ้าใบนันยางพื้นเขียว 70% นันยาง แฮฟ ฟัน 20% และนันยาง ชูการ์ 10%
ที่ผ่านมาในแบรนด์เบรกเกอร์ไม่ได้มีการบุกตลาดอย่างหวือหวาเช่นกัน มีเพียงแต่การใช้พรีเซ็นเตอร์ “โจอี้บอย” เพื่อในการสร้างแบรนด์สร้างการรับรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเท่านั้นในช่วงปีที่ผ่านมา
แต่ในสภาวะที่การแข่งขันเริ่มดุเดือดขึ้นจากที่แบรนด์คู่แข่งอย่างนันยางได้ออกสินค้าใหม่ออกมา และสร้างสีสันได้เป็นอย่างดี เบรกเกอร์เองก็คงอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ จึงออกสินค้าใหม่ “Breaker Super Black & Super White” เป็นรองเท้าผ้าใบที่ใส่ความเป็นแฟชั่น และ Unisex ผู้หญิงก็สามารถใส่ได้ และใส่ไปเรียน หรือใส่ไปเที่ยวก็ได้เช่นกัน
ภาพประกอบจาก: http://positioningmag.com/wp-content/uploads/2016/05/5_nanyang.jpg)
การออกสินค้าใหม่ในครั้งนี้ของเบรกเกอร์ ถือว่าเป้นการขยับตัวครั้งใหญ่ในรอบ 10 ปี หลังจากมีการทำตลาดในรองเท้า 2 รุ่นก็คือ 4X4 และ BK4 โดยรุ่นใหม่นี้ได้ใช้ระยะเวลาในการคิดค้น 2 ปี ใช้งบลงทุนในการ R&D จำนวน 10-20 ล้านบาท เพื่อดีไซน์ให้โดนใจผู้บริโภค
สมฤกษ์ วงศ์วีระนนท์ชัย กรรมการบริหาร บริษัท เอส.ซี.เอส สปอร์ตสแวร์ จำกัด กล่าวว่า “เรานิ่งในการทำตลาดมานาน ทำให้ให้ต้องมองหาอะไรใหม่ๆ บ้าง ถือเป็นออกสินค้าใหม่ในรอบ 10 ปี ของเบรกเกอร์ และตลาดรองเท้าผ้าใบก็มีการเติบโตดี จากเทรนด์ของรองเท้าผ้าใบ และตลาดกว้างผู้ใช้คนอื่นที่ไม่ใช่นักเรียนก็ใส่ได้”
แต่ความ้ทาทายหลักของเบรกเกอร์ในปีนี้ไม่ได้อยู่ที่การออกสินค้าใหม่เท่าไหร่นัก แต่อยู่ที่การ “สร้างแบรนด์” ที่ถือว่ายังเป็นรองคู่แข่งที่มีแบรนด์แข็งแกร่งมาก ทำให้เบรกเกอร์ต้องใช้พรีเซ็นเตอร์เข้ามาช่วยในการสร้างภาพลักษณ์ จึงเลือกใช้ “โจอี้บอย” ทีเป็นพรีเซ็นเตอร์ตั้งแต่ปีที่แล้ว ยาวมาจนถึงปีนี้ เพราะต้องการให้เป็นตัวแทนเพื่อคุยกับคนรุ่นใหม่ และมีอิทธิพลกับกลุ่มวัยรุ่น “มัธยมปลาย” เป็นกลุ่มที่เบรกเกอร์ต้องการพูดคุยมากที่สุด
“โจทย์หลักของแบรกเกอร์ในปีนี้อยู่ที่การสร้างแบรนด์ สร้างภาพลักษณ์ให้ตรงใจผู้บริโภค เล่นกับกลุ่มวัยรุ่น และเข้าไปอยู่ในใจเขาให้ได้ การที่ใช้พรีเซ็นเตอร์ก็ได้ผลทำให้การรับรู้ และการตอบรับแบรนด์ดีขึ้น แต่ก่อนเบรกเกอร์จะไม่แข็งแกร่งในกลุ่มนักเรียนม.ปลาย แต่ในปัจจุบันถือว่าดีขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญที่เราต้องการจับมากขึ้น”
ในปีนี้เบรกเกอร์ได้ใช้งบการตลาดรวม 30 ล้านบาท แบ่งเป็นงบโฆษณา 20 ล้านบาท และทำกิจกรรม 10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ใช้งบรวม 25 ล้านบาท
สัดส่วนรายได้ของบริษัทแบ่งเป็นเบรกเกอร์ 40% รอเงท้านักเรียนผู้หญิง 30% และสินค้ากีฬาอื่นๆ 30% ตั้งเป้ารายได้ในปีนี้เติบโต 5% จากปีที่แล้วมีรายได้ 1,500 ล้านบาท
คำถาม จากกรณีศึกษา รองเท้านักเรียนคึกคักในรอบ 10 ปี “นันยาง-เบรกเกอร์” อัดสินค้าใหม่กระตุ้นตลาด
1. วิเคราะห์ Demands ของและแบรนด์ ว่ามองตลาดแบบ Primary หรือ Selective เพราะอะไร
2. อธิบาย 7'0 ของและแบรนด์ อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
3. เลือกแนวคิดที่เหมาะสมของและแบรนด์ ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
(ยังมีต่อ อยู่ระหว่างการเขียนแนวตอบเคส)
ผู้สนับสนุนหลัก
จากเว็บไซต์ Positioning (โดย Admin - May 9, 2016)
http://positioningmag.com/1090997/
(ภาพประกอบจาก: http://positioningmag.com/wp-content/uploads/2016/05/Open_nanyang.png)
ตลาดรองเท้านักเรียนเป็นอีกหนึ่งตลาดที่ไม่ค่อยมีการเติบโตเท่าไหร่นัก เพราะด้วยในตลาดไม่ได้มีลูกเล่น หรือนวัตกรรมอะไรใหม่ๆ และกลุ่มเป้าหมายก็เป็นกลุ่มเดิมที่ในแต่ละปีก็มีการเพิ่ม การลดไปตามการจบการศึกษาของนักเรียน ในปี 2558 ที่ผ่านมาตลาดรองเท้านักเรียนมีมูลค่าราว 5,000 ล้านบาท ไม่มีการเติบโต โดยที่สัดส่วนสินค้ายังแบ่งเป็นรองเท้าผ้าใบ 60% รองเท้าหนังสำหรับผู้หญิง 35% และรองเท้าอื่นๆ 5%
แต่ในปีนี้ดูท่าว่าจะคึกคักเป็นพิเศษจากปัจจัยหลักก็คือผู้เล่นในตลาดขยับตัวอย่างรุนแรงในการออกสินค้าใหม่ทั้ง “นันยาง” และ “เบรกเกอร์” ถือว่าเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ตลาดคึกคัก และเติบโตได้ โดยที่การออกสินค้าใหม่ของทั้งสองค่ายจะช่วยขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ที่นอกเหนือจากกลุ่มนักเรียนด้วย
(ภาพประกอบจาก: http://positioningmag.com/wp-content/uploads/2016/05/01_nanyang.jpg)
“นันยาง” ส่ง “นันยาง ชูการ์–บิ๊ก ฟุต” ตีตลาดผ้าใบผู้หญิง และหนุ่มๆ เท้าใหญ่
แม้จะทำตลาดในประเทศไทยมากว่า 60 ปีแล้ว โดยมีสินค้าที่เป็นพระเอกหลักก็คือรองเท้าผ้าใบพื้นเขียว ที่เรียกว่าสร้างตำนานรองเท้านันยาง เก๋าตั้งแต่รุ่นพ่อได้ และสามารถครองใจเหล่านักเรียนวัยรุ่นไทยไปได้หลายยุคหลายสมัย แต่ด้วยธรรมชาติขององค์กรที่ค่อนข้าง Conservative ในการทำตลาด ทำให้นันยางไม่ค่อยแอคทีฟในการทำตลาดเท่าไหร่นัก มีการออกสินค้าใหม่ค่อนข้างน้อย
(ภาพประกอบจาก: http://positioningmag.com/wp-content/uploads/2016/05/1_nanyang.jpg)
ซึ่งในช่วง 5 ปีหลังที่ผ่านมานี้ทำให้นันยางต้องปรับตัวอยู่พอสมควร เพราะต้องทำให้องค์กรทันสมัยอยู่เสมอ และต้องก้าวขาออกจากคอมฟอร์ตโซนด้วย จึงมีการทำในเรื่องดิจิตอล มาร์เก็ตติ้งมากขึ้นโดยสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย ในการทำคอนเทนต์เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
(ภาพประกอบจาก: http://positioningmag.com/wp-content/uploads/2016/05/2_nanyang.jpg)
ส่วนทิศทางของสินค้าก็มีความชัดเจนมากขึ้น โดยมีจุดยืนอยู่ที่การโฟกัสที่ “รองเท้านักเรียน” แต่ใช้กลยุทธ์ในการแตกเซ็กเมนต์ขยายตลาดไปยังกลุ่มย่อยมากขึ้น โดยที่ในปี 2558 ได้แตกเซ็กเมนต์สำหรับ “เด็กเล็ก” อายุ 6-9 ขวบ ครั้งแรกในแบรนด์ นันยาง แฮฟ ฟัน (Nanyang Have Fun) หลังจากที่ทำตลาดรองเท้านันยางพื้นเขียว และรองเท้าเตะนันยาง (ช้างดาว) มาช้านาน
ส่วนในปีนี้นันยางก็ได้สร้างกระแสในวงการรองเท้านักเรียนให้เป็นที่ฮือฮาอย่างมากบนโลกออนไลน์ ด้วยการออกรองเท้าผ้าใบในแบรนด์ “นันยาง ชูก้าร์ (Nanyang Suger)” ที่เจาะกลุ่ม “ผู้หญิง” โดยเฉพาะ โดยทางนันยางเองได้ใช้เวลาในการคิดโปรเจ็คต์นี้เป็นเวลา 6 เดือน และใช้งบลงทุนในการ R&D ทั้งหมด 3 ล้านบาท
และล่าสุดการการสร้างทางเลือกให้กับเด็กนักเรียนยุคนี้ที่มีขนาดเท้าใหญ่ขึ้น เป็นการเพิ่มขนาดรองเท้าต่อยอดจากผ้าใบพื้นเขียวเดิม มาเป็นรุ่น “บิ๊กฟุต (Big foot)” ที่มีขนาดตั้งแต่เบอร์ 46-49
จักรพล จันทวิมล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด กล่าวว่า “จริงๆ ตลาดรองเท้านักเรียนเป็นตลาดใหญ่อยู่ มีนักเรียนในประเทศไทยอยู่ 15 ล้านคน แต่ตลาดก็เต็มแล้วเหมือนกันทำให้ต้องขยายตลาดเพิ่มเติมไปยังกลุ่มย่อยอย่างกลุ่มเด็ก กลุ่มผู้หญิง ต้องเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค เพราะส่วนใหญ่นักเรียนก็ซื้อรองเท้าปีละครั้ง ทำให้นันยางต้องปรับตัวตลอด นักเรียนในแต่ละยุคไม่เหมือนกัน แต่นันยางยังซ้ำชั้นอยู่ ต้องทำให้ดูทันสมัยเสมอ”
และจากกระแสของนันยาง ชูการ์ที่เรียกว่าเป็นคีย์สำคัญให้นันยางคึกคักแล้ว ยังส่งผลไปถึงตลาดรวมด้วย จักรพลเปิดเผยว่า ตลาดรองเท้านักเรียนในปีนี้คึกคักกว่าอีกก่อนๆ ลึกคักที่สุดในรอบ 10 ปี จากโปรโมชั่น “Back to School” ที่เลื่อนขึ้นมาเร็วขึ้นในช่วงเดือนเมษายน และติดช่วงวันหยุดยาว อีกทั้งเศรษฐกิจก็มีความนิ่งขึ้น ทำให้ผู้บริโภคพาลูกหลานไปซื้อรองเท้าก่อนเปิดเทอม จากเดิมที่ซื้อก่อนเปิดเทอมไม่นาน
นันยางเองก็มีการเพิ่มกำลังการผลิตในช่วงไตรมาส 1 และไตรมาส 2 เพิ่มอีก 30% จากปีก่อน เพื่อรองรับความต้องการของตลาด ทำให้มีกำลังการผลิต 50,000 คู่/วัน จากเดิมที่มีกำลังการผลิต 40,000 คู่/วัน
ทั้งปีนี้นันยางได้ใช้งบการตลาดรวม 75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10% แบ่งเป็นงบออนไลน์ราว 8% ตั้งเป้ารายได้เติบโต 5-8% จากปีที่แล้วที่ไม่มีการเติบโต และตั้งเป้าตลาดรองเท้านักเรียนเติบโต 5% เช่นกัน เพราะปีนี้มีสินค้าใหม่มาเขย่าตลาด
สัดส่วนรายได้ของนันยางแบ่งเป็น รองเท้าผ้าใบนันยางพื้นเขียว 70% นันยาง แฮฟ ฟัน 20% และนันยาง ชูการ์ 10%
“เบรกเกอร์” ขยับตัวครั้งใหญ่ ออกสินค้าใหม่ในรอบ 10 ปี
เป็นอีกแบรนด์รองเท้านักเรียนแบรนด์ใหญ่ที่ขับเคี้ยวมาตลอดกับแบรนด์นันยาง สำหรับ “เบรกเกอร์” โดยบริษัทบริษัท เอส.ซี.เอส สปอร์ตสแวร์ จำกัด ที่ได้ทำตลาดในไทยมากว่า 40 ปีแล้ว มีแบรนด์รองเท้านักเรียนในเครือได้แก่ รองเท้าผ้าใบเบรกเกอร์ รองเท้านักเรียนป๊อปทีน และแคทช่าที่ผ่านมาในแบรนด์เบรกเกอร์ไม่ได้มีการบุกตลาดอย่างหวือหวาเช่นกัน มีเพียงแต่การใช้พรีเซ็นเตอร์ “โจอี้บอย” เพื่อในการสร้างแบรนด์สร้างการรับรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเท่านั้นในช่วงปีที่ผ่านมา
(
ภาพประกอบจาก: http://positioningmag.com/wp-content/uploads/2016/05/4_nanyang.jpg)
ภาพประกอบจาก: http://positioningmag.com/wp-content/uploads/2016/05/4_nanyang.jpg)
แต่ในสภาวะที่การแข่งขันเริ่มดุเดือดขึ้นจากที่แบรนด์คู่แข่งอย่างนันยางได้ออกสินค้าใหม่ออกมา และสร้างสีสันได้เป็นอย่างดี เบรกเกอร์เองก็คงอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ จึงออกสินค้าใหม่ “Breaker Super Black & Super White” เป็นรองเท้าผ้าใบที่ใส่ความเป็นแฟชั่น และ Unisex ผู้หญิงก็สามารถใส่ได้ และใส่ไปเรียน หรือใส่ไปเที่ยวก็ได้เช่นกัน
การออกสินค้าใหม่ในครั้งนี้ของเบรกเกอร์ ถือว่าเป้นการขยับตัวครั้งใหญ่ในรอบ 10 ปี หลังจากมีการทำตลาดในรองเท้า 2 รุ่นก็คือ 4X4 และ BK4 โดยรุ่นใหม่นี้ได้ใช้ระยะเวลาในการคิดค้น 2 ปี ใช้งบลงทุนในการ R&D จำนวน 10-20 ล้านบาท เพื่อดีไซน์ให้โดนใจผู้บริโภค
สมฤกษ์ วงศ์วีระนนท์ชัย กรรมการบริหาร บริษัท เอส.ซี.เอส สปอร์ตสแวร์ จำกัด กล่าวว่า “เรานิ่งในการทำตลาดมานาน ทำให้ให้ต้องมองหาอะไรใหม่ๆ บ้าง ถือเป็นออกสินค้าใหม่ในรอบ 10 ปี ของเบรกเกอร์ และตลาดรองเท้าผ้าใบก็มีการเติบโตดี จากเทรนด์ของรองเท้าผ้าใบ และตลาดกว้างผู้ใช้คนอื่นที่ไม่ใช่นักเรียนก็ใส่ได้”
แต่ความ้ทาทายหลักของเบรกเกอร์ในปีนี้ไม่ได้อยู่ที่การออกสินค้าใหม่เท่าไหร่นัก แต่อยู่ที่การ “สร้างแบรนด์” ที่ถือว่ายังเป็นรองคู่แข่งที่มีแบรนด์แข็งแกร่งมาก ทำให้เบรกเกอร์ต้องใช้พรีเซ็นเตอร์เข้ามาช่วยในการสร้างภาพลักษณ์ จึงเลือกใช้ “โจอี้บอย” ทีเป็นพรีเซ็นเตอร์ตั้งแต่ปีที่แล้ว ยาวมาจนถึงปีนี้ เพราะต้องการให้เป็นตัวแทนเพื่อคุยกับคนรุ่นใหม่ และมีอิทธิพลกับกลุ่มวัยรุ่น “มัธยมปลาย” เป็นกลุ่มที่เบรกเกอร์ต้องการพูดคุยมากที่สุด
“โจทย์หลักของแบรกเกอร์ในปีนี้อยู่ที่การสร้างแบรนด์ สร้างภาพลักษณ์ให้ตรงใจผู้บริโภค เล่นกับกลุ่มวัยรุ่น และเข้าไปอยู่ในใจเขาให้ได้ การที่ใช้พรีเซ็นเตอร์ก็ได้ผลทำให้การรับรู้ และการตอบรับแบรนด์ดีขึ้น แต่ก่อนเบรกเกอร์จะไม่แข็งแกร่งในกลุ่มนักเรียนม.ปลาย แต่ในปัจจุบันถือว่าดีขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญที่เราต้องการจับมากขึ้น”
ในปีนี้เบรกเกอร์ได้ใช้งบการตลาดรวม 30 ล้านบาท แบ่งเป็นงบโฆษณา 20 ล้านบาท และทำกิจกรรม 10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ใช้งบรวม 25 ล้านบาท
สัดส่วนรายได้ของบริษัทแบ่งเป็นเบรกเกอร์ 40% รอเงท้านักเรียนผู้หญิง 30% และสินค้ากีฬาอื่นๆ 30% ตั้งเป้ารายได้ในปีนี้เติบโต 5% จากปีที่แล้วมีรายได้ 1,500 ล้านบาท
คำถาม จากกรณีศึกษา รองเท้านักเรียนคึกคักในรอบ 10 ปี “นันยาง-เบรกเกอร์” อัดสินค้าใหม่กระตุ้นตลาด
1. วิเคราะห์ Demands ของและแบรนด์ ว่ามองตลาดแบบ Primary หรือ Selective เพราะอะไร
2. อธิบาย 7'0 ของและแบรนด์ อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
3. เลือกแนวคิดที่เหมาะสมของและแบรนด์ ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
(ยังมีต่อ อยู่ระหว่างการเขียนแนวตอบเคส)
ก่อนที่จะเป็นตัวแทนขายประกัน เคยเป็นลูกจัาง เคยเป็นนายจ้าง เคยเป็น Freelance เคยเป็นโปรแกรมเมอร์ เคยเป็น Consultแม้จ...
โพสต์โดย Surat Sod-Ngam บน 26 มีนาคม 2016