31 สิงหาคม 2557

BUS 6016 : บทที่ 3 Research Proposal


ตำรา : Zikmund, W., Babin, B. J., Carr, J. C. and Griffin, M. (2010).
Business Research Methods (8 ed.) South-western Cengage Learning
         สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฎิบัติ. กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

BUS 6016 : บทที่ 3 Research Proposal

การเขียนเค้าโครงการวิจัย(Research Proposal) 

โดยทั่วไปการเขียนเค้าโครงการวิจัย มีหลักการใหญ่ ๆ คือ
  1. กำหนดปัญหาและความจำเป็นที่ต้องพัฒนา
  2. สร้างเครื่องมือในการแก้ปัญหา/พัฒนา
  3. การจัดกิจกรรมการแก้ปัญหา/การพัฒนา
  4. การวัดและประเมินผล 
ส่วนการเขียนเค้าโครงการวิจัยชั้นเรียนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มีหัวข้อสำคัญที่จะต้องเขียน ดังนี้
  1. ชื่อเรื่องการวิจัย
  2. หลักการและเหตุผล
  3. วัตถุประสงค์การวิจัย
  4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  5. แนวคิด/หลักการที่ใช้แก้ปัญหา/การพัฒนา
  6. วิธีดำเนินการวิจัย
  7. ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย (Gantt Chart) 
  8. ผู้รับผิดชอบโครงการ 
หลักเกณฑ์ในการกำหนด / การเขียนเค้าโครงงานวิจัย
  1. การตั้งชื่อเรื่อง
    1.1 กะทัดรัด ชัดเจน ให้สามารถสื่อได้ว่าจะศึกษาเรื่องอะไร กับใคร
    1.2 แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรของปัญหา
    1.3 ภาษาชัดเจน อ่านง่าย ถ้าเป็นศัพท์เทคนิคต้องเป็นที่ยอมรับกันในสาขานั้น
    1.4 ระมัดระวังมิให้ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น
  2. การคัดเลือกเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    2.1 ทันสมัย
    2.2 ชี้นำและให้ข้อมูลเพียงพอ
    2.3 มีบรรณานุกรมให้สืบค้น
    2.4 เสนอแนวคิดที่เป็นประโยชน์
    2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องพิจารณาจาก
           - ชื่อเรื่อง
           - ตัวแปรที่ศึกษา
           - ประชากรที่ศึกษา
  3. ตัวแปร
    Concept Variable ตัวแปรที่คนทั่วไปเข้าใจและรับรู้ตรงกัน เช่น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ฯ
    Construct Variable ตัวแปรเฉพาะที่คนทั่วไปอาจรับรู้ไม่ตรงกัน เช่น ความวิตกกังวล เจตคติ เป็นต้น

    แต่โดยทั่วไปแล้วงานวิจัยมักจะกำหนดตัวแปรและเรียกชื่อตัวแปรต่าง ๆ ดังนี้
    3.1 ตัวแปรต้น/ตัวแปรอิสระ(Independent Variable) หมายถึงตัวแปรที่เกิดก่อนหรือที่เรียกว่า ตัวแปรเหตุ
    3.2 ตัวแปรตาม/ตัวแปรผล(Dependent Variable) หมายถึงตัวแปรที่เกิดเนื่องมาจากตัวแปรอิสระ
    3.3 ตัวแปรแทรกซ้อน/ตัวแปรเกิน(Extraneous Variable) เป็นตัวแปรที่สามารถส่งผลต่อตัวแปรอิสระได้ เช่น สติปัญญา ความถนัด วิธีการคิด ฯ เป็นต้น
    3.4 ตัวแปรสอดแทรก(Intervening Variable) เป็นตัวแปรที่อาจส่งผลต่อตัวแปรตามได้ เช่น ความคับข้องใจ ภาวะของสุขภาพ ความวิตกกังวล ฯ
  4. สมมติฐาน สมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
    4.1 สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย
    4.2 ตอบคำถามได้ครอบคลุมและอยู่ในรูปแบบที่ลงสรุปได้ว่าสนับสนุนหรือคัดค้าน
    4.3 แต่ละสมมติฐานควรตอบคำถามประเด็นเดียว
    4.4 สอดคล้องกับสภาพเป็นจริงและยอมรับกันโดยทั่วไป
    4.5 สมเหตุสมผลทางทฤษฎีและความรู้พื้นฐาน
    4.6 ตรวจสอบได้ มีข้อมูลสนับสนุนหรือคัดค้านได้
    4.7 มีขอบเขตพอเหมาะไม่กว้างจนเกินไป
  5. แบบการวิจัย แบบการวิจัย หมายถึง แผน(Plan) โครงสร้าง(Structure) และยุทธวิธี(Strategy) ในการวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของการวิจัย
    แผน(Plan) หมายถึง ขอบข่ายการดำเนินงานวิจัยโดยส่วนรวม
    โครงสร้าง(Structure) หมายถึง เค้าโครงหรือแบบจำลอง(Model) ของตัวแปรในการวิจัย
    ยุทธวิธี(Strategy) หมายถึง วิธีการจัดเก็บข้อมูลและวิธีวิเคราะห์ข้อมูล

    ในการออกแบบงานวิจัยควรยึดหลัก Max Min Con เพื่อให้งานวิจัยนั้นเกิดความเที่ยงตรงทั้งภายในและภายนอกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    Max : Maximization : Maximization of Systematic Varience หมายถึง ทำให้ตัวแปรอิสระที่จะนำมาทดลองแตกต่างกันมากที่สุด
    Min : Minimization : Minimization of Error Varience หมายถึง ทำให้ความแปรปรวนจากความคลาดเคลื่อนต่ำสุด โดยใช้การควบคุมเงื่อนไขและสภาพการทดลองให้เป็นระบบ
    Con : Control Extraneous Systematic Varience ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน โดย
    1. การสุ่ม
    2. การเพิ่มเข้าไป
    3. การจับคู่
    4. การใช้สถิติ
    5. ออกแบบการวิจัยให้ดี
  6. จุดประสงค์การวิจัย ควรเขียนดังนี้
    1. เขียนในรูปแบบประโยคบอกเล่า หรือประโยคคำถามก็ได้
    2. ใช้ภาษากะทัดรัด อ่านเข้าใจง่ายและตรงประเด็นที่จะศึกษา
  7. ข้อตกลงเบื้องต้น
    เป็นการเขียนขึ้นเพื่อทำความตกลงให้เกิดความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและผู้อ่านงานวิจัย ซึ่งเป็นการตกลงในข้อเท็จจริงพื้นฐานที่เป็นเงื่อนไขสำคัญของการศึกษา เช่น ข้อตกลงเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการศึกษา เช่น
    - การวิจัยครั้งนี้ถือว่าคุณลักษณะภายในของตัวบุคคลสามารถกำหนดค่าด้วยจำนวนตัวเลขและนำไปวิเคราะห์ทางสถิติได้
    - การวิจัยครั้งนี้มิได้ควบคุมแสงสว่าง ความชื้นและอุณหภูมิ
    - ผู้ตอบแบบสอบถามตอบด้วยความจริงใจ ปราศจากอคติ

เค้าโครงย่อการวิจัย (Research Prospectus) 

ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ……………………………………………………………………….. 
(ภาษาอังกฤษ) ……………………………………………………………………………...
ภูมิหลัง (ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย) ………………………………………………………………………………………………
กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย………………………………………………………………………………………………
ความมุ่งหมายของการวิจัย………………………………………………………………………………………………
สมมุติฐานของการวิจัย (ถ้ามี)
………………………………………………………………………………………………
ความสำคัญของการวิจัย
………………………………………………………………………………………………
ขอบเขตของการวิจัย
  ประชากร
  กลุ่มตัวอย่าง
  ตัวแปร
  วิธีการวิจัย
  เนื้อหา
  ระยะเวลาที่จะทำวิจัย 
สถิติที่ใช้ในการวิจัย
………………………………………………………………………………………………
 1. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย
 2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล (สถิติพื้นฐาน)
 3. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานการวิจัย (การศึกษาค้นคว้าอิสระ) 
นิยามศัพท์เฉพาะ
………………………………………………………………………………………………
บรรณานุกรม………………………………………………………………………………………………

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อยากรู้เรื่องทฤษฎีการตลาดกับผู้เชี่ยวชาญ ผมแนะนำ M.B.A. (Marketing) Ramkhamkaeng .. แต่ถ้าอยากรู้ว่าเรียนการตลาดแล้วจะประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินได้อย่างไร คุณต้องมีโค้ชแนะนำ ครับ

วางแผนการเงินกับ #finadvisor #ความมั่งคั่งเริ่มต้นที่นี่ finadvisor.co
โค้ชส่วนตัว ช่วยวางแผน

×
News