ตำรา : Zikmund, W., Babin, B. J., Carr, J. C. and Griffin, M. (2010).
Business Research Methods (8 ed.) South-western Cengage Learning
สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฎิบัติ. กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สรุปสอบ FINAL วิธีการวิจัยทางธุรกิจ
Part: ผศ.ดร. ณรัฐ วัฒนาพานิช (20 คะแนน)
1. นำ A4 เข้าได้ 1 แผ่นช๊อตโน๊ตด้วยลายมือหน้าหลัง (5 คะแนน)
แนะนำให้ short note ส่วน อ.กฤดษา ลงไปเพื่อใช้ให้ห้องสอบ, และ Abs งานวิจัย 3 กลุ่ม
2. ให้หัวข้อวิจัยมา 5 เรื่อง (5 คะแนน)
ในหัวข้อวิจัยแต่ละเรื่องให้ดูว่ามีตัวแปรต้นอะไร, ตัวแปรตามอะไร
และอาจจะมีอยู่ 1 เรื่องให้เขียนกรอบแนวคิด
เช่น หัวข้อวิจัย: ปัจจัยในการเลือกใช้รถไฟฟ้า BTS
ตัวแปรต้น : ประชากรศาสตร์ (ไม่ต้องบอกรายละเอียด) และ ส่วนประสมทางการตลาด
ตัวแปรตาม : การเลือกใช้รถไฟฟ้า BTS
3. ให้ Abstract มาจากงานวิจัยกลุ่ม 1 ใน 3 เรื่อง... คุณจะทำวิจัยเรื่องอะไร (10 คะแนน)
เขียนประมาณ 1 หน้า
- วัตถุประสงค์ (เขียนมาสัก 2 ข้อ)
- ตัวแปรต้น, ตัวแปรตาม (ระบุ Information)
เช่น ประชากรศาสตร์ เป็น Information : เพศ อายุ เพศ การศึกษา รายได้ เป็น Data
- กรอบแนวคิด (ตัวแปรต้องเป็น Information เท่านั้น)
เช่น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อแฮมเบอร์เกอร์ของผู้บริโภคในห้างเซ็นทรัลเวิล์ด
ตัวแปรต้น : ปัจจัยส่วนบุคคล และ ส่วนประสมทางการตลาด
ตัวแปรตาม : การตัดสินใจซื้อแฮมเบอร์เกอร์ของผู้บริโภคในห้างเซ็นทรัลเวิล์ด
- สมมติฐาน (เขียนมาสัก 2 ข้อ)
- ประโยชน์ (เขียนมาสัก 2 ข้อ
Note: วิธีหาตัวแปรอิสระ, ตัวแปรตาม, วัตถุประสงค์ จาก Abstract งานวิจัย
1. หาตัวแปรอิสระ (ตัวแปรต้น)
- หาประโยค "กลุ่มตัวอย่าง" หรืืือ "ลักษณะส่วนบุคคล" จะได้กลุ่มประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา สถานภาพ ..
- ถ้าในวัตถุประสงค์มีคำว่า "ปัจจัย.." ให้ดูว่าเป็นตัวแปรอิสระด้วยไหม
2. หาตัวแปรตาม
- ดูจากชื่องานวิจัย เช่น กระบวนการ , การตัดสินใจ ...
- ดูจากประโยคผลวิจัยพบว่า ...
- ดูจากประโยค "ผลจากการวิเคราะห์สสมติฐาน" ..
3. หาวัตถุประสงค์
- ให้สังเกตุย่อหน้าประโยค "การศึกษามีวัตถุประสงค์..."
- หลังประโยคนี้จะเป็นวัตถุประสงค์งานวิจัย ให้แยกเป็นข้อๆ
จุดสังเกตว่าตัวแปรหมดหรือยัง ให้ดูคำว่า " และ .." ก่อนจบประโยค
ตััวอย่าง Abstract งานวิจัย1 , Abstract งานวิจัย2 , Abstract งานวิจัย3
Note: กระบวนการวิจัย
Step1: ค้นหาและกำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไข
Step2: การออกแบบการวิจัย (Research Design)
Step3: การสุ่มตัวอย่าง (Sampling)
Step4: เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลและการสร้างแบบสอบถาม (Data Gathering)
Step5: การใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล:สถิติอนุมาน (Data Analysis)
Step6: สรุปและอภิปรายผล (Conclusions and Recommendations)
Part: ผศ.ดร. กฤดษา ตั้งชัยศักดิ์ ( 20 คะแนน)
1. มาตรวัดตัวแปร 4 แบบ และการเลือกมาตรวัดให้ยกตัวอย่าง (10 คะแนน)
และแต่ละมาตรวัดสัมพันธ์อย่างไรกับสถิติ เช่น
- ตัวหน้า Nominal, ตัวหลัง Ordinal ใช้สูตรอะไร?
สูตรที่เหมาะสมมีกรณีไหนบ้าง อธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง
- ตัวหน้า Ordinal, ตัวหลัง Nominal ใช้สูตรอะไร?
สูตรที่เหมาะสมมีกรณีไหนบ้าง อธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง
- ตัวหน้า Nominal, ตัวหลัง Interval ใช้สูตรอะไร?
สูตรที่เหมาะสมมีกรณีไหนบ้าง อธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง
- สูตร T-Test / F-Test (Anova) / Pearson / Chi-Square
2. การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) (10 คะแนน)
1. ตั้งสมมติฐาน H1 และ H0
2. สร้างแบบสอบถามและเก็บข้อมูล
3. กำหนดเกณฑ์ในการทดสอบสมมติฐาน
- กำหนดระดับนัยสำคัญที่จะยอมรับ (significance Level) (e.g., .01, .05)
- If the null hypothesis(H0) can be rejected ,
the resaerch hypothesis(H1) can be accepted.
4. คำนวณค่าสถิติจากสูตรที่เหมาะสม (e.g., t value, F value)
5. เปรียบเทียบค่าความน่าจะเป็น (p value) ที่จะสุ่มตัวอย่างได้ค่าสถิติตามที่คำนวณได้ในข้อ 4 หากข้อสันนิษฐานว่าง(H0) เกี่ยวกับประชากรเป็นจริง
- หากต่ำกว่าค่านัยสำคัญที่กำหนดไว้ในข้อ 3 (significance value .01 or .05) ปฎิเสธ สมมติฐาน H0 ยอมรับ H1 มีโอกาสน้อยที่ข้อสันนิษฐานว่าง (H0) จะเป็นจริง
Note:
t value ใช้กัับตัวแปร 2 กลุ่ม
F value ใช้กับตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่ม
Falsification เป็นกระบวนการที่ใช้ในการทดสอบถูกต้องของสมมติฐานหรือทฤษฎีในวิทยาศาสตร์ เกี่ยวข้องกับระบุบางผลจากทฤษฎีในกรณีตรงกันข้ามเฉพาะ และค้นหาผู้ที่ทดลองหรือสังเกต
สรุป Final A4 2 หน้า
________________________________________________-
แนวข้อสอบเก่า วิธีการวิจัยทางธุรกิจ จากที่อื่นๆ
(1) ขั้นตอนการวิจัย ประกอบด้วยกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง?
ตอบ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1) ความสำคัญของปัญหา
1. ปัญหาสำคัญ
2. วัตถุประสงค์ในการวิจัย
3. ประโยชน์ในการวิจัย
4. ขอบเขตของการวิจัย
2) การตรวจเอกสาร/บททวนบทวรรณกรรม
1. การตรวจเอกสาร คือ ศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎี เอกสารที่เกี่ยวข้องในการทำวิจัย
2. กำหนดตัวแปร = ในการทำวิจัย
3. นิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ (Operational Definition.)
4. ตั้งสมมติฐาน (Hypothesis) = คำตอบที่นักวิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้น
5. สร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Frame work) คือ หลังจากตรวจสอบเอกสารเสร็จผู้วิจัยรวบรวมความคิดรวบยอดสรุป 1 แผ่น
3) วิธีการวิจัย คือ ระเบียบวิธีของการวิจัยที่ผู้วิจัยต้องแสดงให้ชัดเจนก่อนว่าจะเริ่มทำกับใคร เมื่อใด
1.ประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
2.การเก็บข้อมูล เช่น ใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง เป็นต้น
3.การวัดตัวแปร ส่วนนี้จะต้องสัมพันธ์กันกับส่วนที่ 2 ข้อ 2.2
4.การทดสอบและการหาค่าความเชื่อมั่น
5.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ให้สอดคล้องกับการวัดตัวแปรและการตั้งสมมติฐาน
4) ผลการวิจัยและข้อวิจารณ์
ข้อนี้ได้ผลจากข้อ 3.5 ผลวิจัย ได้โดยการแปรข้อมูลสถิติที่ได้ ของตัวแปรเหตุที่มีต่อตัวแปรผลว่า การศึกษาครั้งนี้พบอะไร อะไรคือประเด็นที่สำคัญที่สุด ข้อวิจารณ์ ต้องมีการวิจารณ์ว่าผลของเราที่ได้ มีจุดเด่นอยู่ที่ใด ที่จะนำไปสู่ข้อเสนอแนะใน
บทที่ 5 (ที่จะกล่าวต่อไป)
5) สรุปและข้อเสนอแนะ
จะต้องเขียนให้เข้าใจว่า ตั้งแต่เริ่มแรกผลที่ศึกษาได้ทั้งหมดเป็นอย่างไรเขียนโดยสรุป เป็นการสรุปย่อผลการศึกษาทั้งหมด
1. สรุปผลการวิจัย
2.ข้อเสนอแนะ มี 2 ส่วน คือ
- ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัย = ได้อะไร สิ่งที่ควรสนับสนุน พัฒนา ปรับปรุง
- ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป = แสงสว่างทางปัญญาที่จะนำไปทำครั้งต่อไป
6) เอกสารอ้างอิง
- ตัวแปร ข้อเท็จจริง ความเป็นเหตุ เป็นผล เกี่ยวกับสิ่งที่เราศึกษา
- หากเป็นกรณีตัวบุคคล เช่น การสัมภาษณ์ หรือข้อมูลจาก Web Internet ก็ใส่ลงไปด้วย
7) ภาคผนวก
(2) ประเภทของการวิจัย มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ ตามระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) แบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
1.การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ = ศึกษาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต
2.การวิจัยเชิงบรรยายหรือพรรณา = ศึกษาปรากฏการณ์ของสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร เป็นการ ศึกษาสำรวจ หรือหาความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของปัจจัยที่ทำให้เกิดผลขึ้น (จะบอกอะไรในปัจจุบัน “What is”)
3.วิจัยเชิงทดลอง = เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของปรากฏการณ์ต่าง ๆ จะต้องมีการ ควบคุมตัวแปรประเภทนี้ต้องมีทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง การวิจัยประเภทนี้จะบอกว่า “อะไรอาจจะเกิดขึ้น”
(3)ประโยชน์หรือความสำคัญของการวิจัย มีอะไรบ้าง
1.ส่งเสริมความรู้ทางวิชาการ
2.สิ่งบกพร่อง และหาวิธีการแก้ไขในงานต่าง ๆ
3.ทำนายปรากฏการณ์ และพฤติกรรมต่าง ๆ
4.ตอบสนองลักษณะธรรมชาติของมนุษย์
ดังกล่าวข้างต้น เพื่อนำความรู้และผลที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยไปพัฒนา ปรับปรุง และประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
(4) ทฤษฎี บอกอะไรบ้าง
ทฤษฎี หมายถึง ความคิดเห็นตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์ หรือ
ข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ
ทฤษฎี บอก หลักการ แนวคิด ที่มา ที่ผ่านการพิสูจน์ ผ่านการทดลอง
ซึ่งสามารถหักล้างได้หากมีทฤษฎีอื่นเกิดขึ้นมาทดแทน เช่น ทฤษฎี ………
(5) Key Word สำคัญของการวิจัย บอกอะไรบ้าง หรือ โจทย์ให้ตัวอย่างมา ให้เราอ่าน แล้วจะถามว่า Key Word มีอะไรบ้าง หรือปัญหาสำคัญของเรื่องที่อ่านมีอะไรบ้าง หรือโจทย์ให้เฉพาะชื่อเรื่องมา ให้เราเขียนความสำคัญของปัญหา กำหนดตัวแปรเหตุ และตัวแปรผล เช่น ความหมายของ การวิจัย หมายถึง กระบวนการศึกษา ค้นคว้า หาข้อเท็จจริง ตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยหาความเป็นเหตุและเป็นผลของปัญหา แล้วนำผลการวิจัยไปสู่ การพัฒนาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข (นำไปใช้ประโยชน์)
สรุป Key Word การวิจัยประกอบด้วยลักษณะใหญ่ ๆ 3 ประการดังนี้
1.เป็นการศึกษาค้นคว้า/ค้นหาข้อเท็จจริง
2.เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
3.เป็นระบบตามหลักวิธี ซึ่งตั้งอยู่บนรากฐานของกระบวนการ/วิธีการวิทยาศาสตร์ (Scientific method)
(6) ตัวแปร คืออะไร และประเภทของตัวแปรมีอะไรบ้าง
ตอบ ตัวแปร คือ คุณลักษณะหรือคุณสมบัติ ของสิ่งที่เราจะศึกษาหรือปรากฏการณ์ที่เราสนใจจะศึกษา เช่นเราสนใจจะศึกษา “ปัจจัยที่ทำให้นิสิต SD 43 ทุกคน สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลา 2 ปี” ดังนั้น คุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่เราจะศึกษาก็คือ นิสิต SD 43
ประเภทของตัวแปรมี 2 ประเภท คือ
1.ตัวแปรอิสระ
2.ตัวแปรตาม
ตัวแปรอิสระ หมายถึง สิ่งที่ทำให้เกิดผล
ตัวแปรตาม หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากสาเหตุมากกว่า 1 เหตุ
กฤษฎ์. (2557). แนวข้อสอบ การวิจัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2557 จาก
http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/carnew/แนวข้อสอบ%20การวิจัย.htm
แนวข้อสอบ BUS 6016 (ดร.นีลนารา)
QUIZ 2: Research variables, hypothesis, and conceptual framework
1. ตัวแปร (Variables)คือ.........................................
2. ตัวแปรอิสระ (Independent variable) คือ ...............
3. ตัวแปรตาม (Dependent variable) คือ....................
อะไรคือตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม ???
• การออกกำลังกายส่งผลให้สุขภาพแข็งแรง
• ชั่วโมงอ่านหนังสือมีผลต่อผลสอบ
4. สมมติฐาน (Hypothesis) คือ
คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผลหรือสมมติฐานคือ ข้อความที่อยู่ในรูปของการคาดคะเนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวแปร หรือมากกว่า 2 ตัวเพื่อใช้ตอบปัญหาที่ต้องการศึกษา สมมติฐานที่ดีมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. เป็นข้อความที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
2. เป็นสมมติฐานที่สามารถทดสอบได้โดยวิธีทางสถิติ
6. จงเขียนวัตถุประสงค์ สมมติฐาน (แบบไม่มีทิศทาง) และกรอบแนวคิด กับหัวข้อต่อไปนี้
6.1 ความพึงพอใจต่อการใช้บริการร้านกาแฟอเมซอนจังหวัดชลบุรี
6.2 ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการธุรกิจร้านกาแฟอเมซอนกับความพึงพอใจของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี
6.3 การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนทำธุรกิจปิ่นโตแบบบริการถึงบ้านฯ
6.4 การบริหารจัดการของบริษัท True corporation ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงาน
7. คำนิยามศัพท์คือ ...............................................