30 พฤศจิกายน 2558

BUS 7097 Comprehensive : ประเด็นฯการตลาด ตัวอย่างกรณีศึกษา ไปรษณีย์ไทย รวมพลังด้วย Network และ Service



BUS 7097 ประมวลความรู้(ข้อเขียน) ประเด็นสำคัญในปัจจุบันทางการตลาดตัวอย่างกรณีศึกษา ไปรษณีย์ไทย รวมพลังด้วย Network และ Service

** ยินดีกับทุกท่านที่สอบผ่านครับ **  พี่หมู     

ขอบคุณบทความ รวมพลัง! ไปรษณีย์ไทย ด้วย Network และ Service
จากเว็บไซต์ Marketeer.co.th ; COVER STORY : รวมพลัง! : ไปรษณีย์ไทย ด้วยพลังของ NETWORK และ SERVICE ( MARKETEER / พ.ค. / 52 )
http://marketeer.co.th/2014/12/cover-story-รวมพลัง-ไปรษณีย์ไทย-ด้/

(ภาพประกอบจาก: http://marketeer.co.th/wp-content/uploads/2014/12/2419.jpg)

(ภาพประกอบจาก: http://marketeer.co.th/wp-content/uploads/2014/12/2620.jpg)
(ภาพประกอบจาก: http://marketeer.co.th/wp-content/uploads/2014/12/2819.jpg)
(ภาพประกอบจาก: http://marketeer.co.th/wp-content/uploads/2014/12/3018.jpg)
(ภาพประกอบจาก: http://marketeer.co.th/wp-content/uploads/2014/12/3221.jpg)
(ภาพประกอบจาก: http://marketeer.co.th/wp-content/uploads/2014/12/3418.jpg)
(ภาพประกอบจาก: http://marketeer.co.th/wp-content/uploads/2014/12/3620.jpg)

คำถาม จากกรณีศึกษา
1. ไปรษณีย์ไทยควรเลือก Demand แบบใดระหว่าง Primary หรือ Selective
2. ให้วิเคราะห์ว่าเป็นกรอบแนวคิดใดใน 3 ตัวนี้  Inovation, Partner suplier, Cumtomer share พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบ
3. New marketing thinking concept* คืออะไร ระหว่าง customization or customer share เพราะอะไร
(ยังมีต่อ อยู่ระหว่างการเขียนแนวตอบเคส)

New marketing thinking concept คือกรอบแนวคิดใหม่การตลาด สำหรับนักการตลาด (Marketer) มีการปรับปรุงแนวคิดใหม่ตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เหมาะสำหรับนักการตลาด

ผู้สนับสนุนหลัก
ก่อนที่จะเป็นตัวแทนขายประกัน เคยเป็นลูกจัาง เคยเป็นนายจ้าง เคยเป็น Freelance เคยเป็นโปรแกรมเมอร์ เคยเป็น Consultแม้จ...
โพสต์โดย Surat Sod-Ngam บน 26 มีนาคม 2016

14 พฤศจิกายน 2558

BUS 7097 Comprehensive : ประเด็นฯการตลาด ตัวอย่างกรณีศึกษา “ฟลูโอคารีล” Segment By Age สร้างเกมใหม่ในศึกออรัล แคร์



BUS 7097 ประมวลความรู้(ข้อเขียน) ประเด็นสำคัญในปัจจุบันทางการตลาดตัวอย่างกรณีศึกษา  “ฟลูโอคารีล” Segment By Age สร้างเกมใหม่ในศึกออรัล แคร์


** ยินดีกับทุกท่านที่สอบผ่านครับ **  พี่หมู     

ขอบคุณ บทความ “ฟลูโอคารีล” Segment By Age สร้างเกมใหม่ในศึกออรัล แคร์
จากเว็บไซต์ ผู้จัดการรายสัปดาห์ (22 กันยายน 2551)  http://info.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=73191

ฟลูโอคารีล เปิดเกม “Segment By Age” จับโพซิชันนิ่ง “ยาสีฟันเพื่อคนอายุ 40 ปีขึ้นไป” ล่าสุด ลอนช์ “ฟลูโอคารีล 40 พลัส” สร้างเซกเมนต์ด้วย “อายุ” เป็นรายแรก หวังคว้าเป็นจุดยืนแบรนด์ การซุ่มพัฒนาสตาร์โปรดักส์ตัวนี้นานกว่า 3 ปี พร้อมผลการสำรวจที่พบว่า คนวัย 40 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสกลับมาฟันผุเพิ่มขึ้น 34% ทำให้แบรนด์นี้มั่นใจว่าจะสามารถขยับส่วนแบ่งจาก 4% เป็น 8% ได้ภายในปีนี้ แต่เป้าหมายสำคัญในการขยับของฟลูโอคารีลครั้งนี้ นั้นอยู่ที่ การหาพื้นที่ชัดเจนให้แบรนด์อีกครั้ง หลังจากคู่แข่งโดดเล่นสูตร “ฟลูออไรด์” เต็มตลาด กลบภาพความเชี่ยวชาญด้านฟลูออไรด์กลายเป็นยาสีฟันทั่วไปที่ป้องกันฟันผุ

(ภาพประกอบจาก: http://www.positioningmag.com/sites/default/files/vaf/pictures/593/59324n_1l.jpg)

การตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดยาสีฟันมูลค่า 5,200 ล้านบาท ของแบรนด์ “ฟลูโอคารีล” ที่ต้องการขยับตัวเลขแบบก้าวกระโดดจาก 4 - 5% เป็น 7 – 8% ให้ได้ภายในปีนี้ นับเป็นความท้าทายที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะเมื่อดูผลงานที่ผ่านมา แบรนด์นี้จะค่อนข้างทรงตัวและอยู่ในฐานะที่ทำได้เพียงการรักษาพื้นที่ของตนเองเท่านั้น และเป็นที่ชัดเจนว่า ตลาดยาสีฟัน “คอลเกต” ของค่าย คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ คือ เบอร์ 1 ที่แข็งแกร่งในตลาดนี้อย่างมากมีส่วนแบ่งกว่า 35% ซึ่งยากที่แบรนด์ใดจะเข้ามาต่อกรหรือช่วงชิงตำแหน่ง ไม่ว่าแบรนด์นั้นจะเป็นคู่แข่งอย่าง “ใกล้ชิด” ของยูนิลีเวอร์ฯ ที่มีวาสนาเพียงแค่ “รองแชมป์” หรือแม้แต่ “ออรัล-บี” และ “ฟลูโอคารีล” จากค่ายพีแอนด์จีก็ยังไม่ใช่แบรนด์ที่ติด Top 5

ทว่า นับจากนี้ผู้บริโภคในบ้านเราจะได้เห็นการขยับครั้งสำคัญของ “ฟลูโอคารีล” ที่แม้จะไม่ได้ติดอันดับ 1 ใน 5 แบรนด์ของตลาดยาสีฟันบ้านเรา ทว่า การเป็นแบรนด์ภายใต้ร่มเงาของ “พีแอนด์จี” ผนวกกับการมีตัวแทนจำหน่ายที่แข็งแกร่งและทีมบริหารอย่าง “ดีสแฮล์ม” ผู้ได้รับไลเซ่นส์ให้ทำตลาดในเมืองไทย ก็เชื่อว่าจะสร้างสีสันให้กับตลาดได้ไม่มากก็น้อย

ล่าสุด กับการเปิดตัว “ฟลูโอคารีล 40 พลัส” ยาสีฟันที่ใช้เวลาพัฒนานาน 3 ปี เพื่อผู้บริโภคอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเป็นนวัตกรรมที่ชูจุดขายเรื่องการเสริมสุขภาพในช่องทาง เช่น ลดอาการเสียวฟัน การดูแลสุขภาพเหงือก ลดคราบแบคทีเรีย ซึ่งหากเทียบกับคุณสมบัติของยาสีฟันแบรนด์อื่นจะพบว่าไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อมองไปที่โพซิชันนิ่งที่แบรนด์นี้เลือกวางตนเองเป็น “ยาสีฟัน เพื่อคนวัย 40 ปีขึ้นไป” ถือว่า เรียกความน่าสนใจได้ดีทีเดียว เพราะที่ผ่านมา ตลาดยาสีฟันบ้านเราส่วนใหญ่จะแบ่งตลาดตาม “คุณสมบัติของยาสีฟัน” คือ ครอบครัว 26% ไวท์เทนนิ่ง 6% เด็ก 3% เซนซิทีฟ หรือแก้เสียวฟัน 7% กลุ่มเฮอร์เบิล หรือสารสกัดจากธรรมชาติ 26% และกลุ่มเพื่อลมหายใจหอมสดชื่น 31% ตามมาด้วย การแบ่งเซกเมนต์ตาม “ช่วงเวลา” เช่น ยาสีฟันสำหรับแปรงก่อนนอน โดยมี “เดนทิสเต้” เป็นผู้เล่นที่เข้ามาจุดพลุเป็นแบรนด์แรก จากนั้นไม่นานก็มีคู่แข่งให้ความสนใจโดดขึ้นสังเวียนตามมาด้วย คือ “อะโลเด้นท์” ยาสีฟันสัญชาติอังกฤษ ซึ่งค่ายเอชทูโอนำเข้ามาให้บริโภคคนไทยได้ทดลองไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา นำร่องด้วย 4 สูตร คือ สูตรดั้งเดิม สูตรไวท์เทนนิ่ง สูตรเวคอัพ และสูตรก่อนนอน และนั่นยิ่งทำให้การแบ่งเซกเมนต์ด้วย “ช่วงเวลา” มีความชัดเจนและคึกคักขึ้น

กลับมาที่ “ฟลูโอคารีล 40 พลัส” ยาสีฟันสำหรับคนวัย 40 ปีขึ้นไป คือ สตาร์โปรดักส์ในปีนี้ ที่ทางดีสแฮล์มมั่นใจว่าจะเป็นนวัตกรรมตัวสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนและเข็นยอดขายให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เพราะนอกจากประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพในช่องปากที่เป็นจุดขายแล้ว การเลือกวางตนเองเป็นแบรนด์ “ยาสีฟันเพื่อคนวัย 40ปี” หรือการแบ่งเซกเมนต์ด้วยอายุ (Segment By Age” จะเป็นจุดแข็งในการสร้างโพซิชันนิ่งให้กับฟลูโอคารีลมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งการวางโพซิชันนิ่งแบรนด์ให้ผูกติดกับคนวัย 40 ปี ผู้บริหารดีทแฮล์ม เชื่อว่า ผู้บริโภคจะไม่มองว่าฟลูโอคารีลเป็นแบรนด์ยาสีฟันของคนอายุ 40 ปี เพราะจากการสื่อสารผ่านภาพยนตร์โฆษณา จะมีการตอกย้ำว่าผู้ที่มีอายุต่ำกว่าสามารถใช้ได้เพื่อป้องกันก่อนมีปัญหาสุขภาพในช่องปาก โดยเฉพาะคนวัย 30 ปีขึ้นไป ที่มีโอกาสพบปัญหาเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นที่สังเกตว่าฟลูโอคารีลไม่เลือกผูกแบรนด์ไปกับคนวัย 30 ปีขึ้นไป ทั้งนี้เพราะการสำรวจพบว่า ผู้หญิงไม่อยากยอมรับว่าตนเองมีอายุเข้าสู่หลัก 3 และไม่ต้องการหยิบสินค้าที่บ่งบอกว่าสำหรับวัย 30 ปีขึ้นไป ขณะที่คนวัย 40 ปี จะให้การยอมรับในเรื่องดังกล่าวง่ายกว่า

“บริษัทไม่เลือกเจาะตลาดแบบการแบ่งช่วงเวลา เพราะมีผู้เล่นในตลาดแล้ว แต่ฟลูโอคารีลต้องการนวัตกรรมที่เราเป็นผู้ผลักดันเป็นรายแรก เพื่อสร้างโพซิชันนิ่งพร้อมหาพื้นที่ให้แบรนด์ระยะยาว ซึ่งวันนี้ฟลูโอคารีลต้องการพื้นที่ชัดเจนว่าเราเป็นยาสีฟันที่พัฒนาเพื่อคนวัย 40ปี” เป็นคำกล่าวของ พนิดา วัฒนาปฐิมากุล ผู้จัดการแผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค บริษัท ดีทแฮล์ม

ที่ผ่านมา ฟลูโอคารีล เป็นยาสีฟันที่ถูกจัดอยู่ในตลาดพรีเมียม ซึ่งมีผู้เล่นที่ชัดเจนเพียงไม่กี่ราย อาทิ เซ็นโซดายน์ พาราดอนแทค แต่ในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา สังเกตเห็นว่า บรรยากาศการแข่งขันของตลาดยาสีฟันกลุ่มพรีเมียม กำลังได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้เล่นหลายราย เนื่องจากเป็นเซกเมนต์ที่มีการขยายตัวสูงถึง 10 – 15% มากสุดเมื่อเทียบกับเซกเมนต์อื่น แม้ตอนนี้ยาสีฟันระดับพรีเมียมจะมีสัดส่วนเพียง 15%จากตลาดยาสีฟันมูลค่า 5,200 ล้านบาทก็ตาม ที่สำคัญ “ราคา” ไม่ใช่กลยุทธ์สำคัญของตลาดนี้ ต่างจากการแข่งขันในตลาดแมสที่พบว่า “ราคา” คือ กลยุทธ์สำคัญที่ขาดไม่ได้

จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นผู้เล่นทั้งหน้าเก่ารายใหม่พยายามขยับขึ้นมาเล่นเซกเมนต์นี้มากขึ้น แม้แต่ “คอลเกต” ยาสีฟันที่มีภาพลักษณ์เป็นสินค้าระดับแมส ต้องโหมปั้นกลุ่ม “โททอล 12” เป็นหัวหอกในการเพิ่มส่วนแบ่งตลาด รวมทั้งขยายตลาดพรีเมี่ยมและซูเปอร์พรีเมี่ยม โดยชูจุดเด่นด้วยนวัตกรรมสูตรไตรโคลการ์ดที่พัฒนาร่วมกับทันตแพทย์ เพื่อตอบสนองลูกค้าที่ต้องการยาสีฟันที่เป็นมากกว่าการทำความสะอาดฟันทั่วๆไป ล่าสุด ได้จัดเดินสายเปิดคลินิกทันตกรรมเคลื่อนที่กว่า 400 จุด ตามออฟฟิศทั่วประเทศ ภายใต้โครงการ “Dentist Next Door Clinic” ซึ่งหากมองจากศักยภาพของแบรนด์ที่ผู้บริโภคให้ความเชื่อถือ จึงไม่ใช่เรื่องยากที่คอลเกตจะก้าวขึ้นมาแย่งซีนในตลาดพรีเมียม

จึงเป็นสาเหตุที่ฟลูโอคารีลต้องยอมทุ่มเม็ดเงินเพิ่มขึ้น 2 เท่า (เทียบกับสูตรเดิม) สำหรับการพัฒนานวัตกรรมตัวนี้ โดยหวังจะเขยิบหนีและรักษาพื้นที่มั่นของตนเองให้ชัดเจน เพื่อไม่เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย เมื่อครั้งที่ฟลูโอคารีลเป็นผู้เล่นในตลาดยาสีฟันรายแรกของโลกที่นำ “ฟลูออไรด์” มาเป็นส่วนประกอบในยาสีฟัน จนเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยม แต่เมื่อมีคู่แข่งเข้ามาเล่นและเอ็ดดูเคตผู้บริโภคในประเด็นดังกล่าวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้โพซิชันนิ่งความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านฟลูออไรด์ของฟลูโอคารีลถูกกลบไปโดยปริยาย

“เริ่มแรกโพซิชันนิ่งที่ชัดเจนของเรา คือ ฟลูออไรด์ แต่เมื่อคู่แข่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก ผู้บริโภคก็มองเราเป็นแค่ยาสีฟันทั่วไปสำหรับครอบครัวที่ป้องกันฟันผุ”

สำหรับ การสร้างโพซิชันนิ่งใหม่ให้กับตนเองในรอบนี้ Segment By Age คือ หมัดเด็ด ที่ดีทแฮล์มเชื่อว่าจะสามารถเข้าไปตอบโจทย์และสร้างการยอมรับได้ไม่ยาก โดยเฉพาะกับลูกค้าวัย 40 ปีขึ้นไปที่ถูกกำหนดให้เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก เนื่องจาก การสำรวจด้านสุขภาพฟัน พบว่า คนที่มีอายุ 35 -44 ปี มีโอกาสกลับมาฟันผุเพิ่มขึ้น 34% อีกทั้ง ลูกค้ากลุ่มนี้ยังใส่ใจสุขภาพตนเอง และศักยภาพในการใช้จ่ายสูง ดังนั้นการกำหนดราคาสินค้าตัวนี้สูงกว่าสินค้าสูตรเดิมราว 40% จึงไม่เป็นปัญหาในการตัดสินใจซื้อ

นอกจากนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสทดลองใช้สินค้า ดีทแฮล์มได้เตรียมสินค้าตัวอย่างจำนวน 3 แสนชุด ประกอบด้วย ยาสีฟันขนาด 15 มก. และ น้ำยาบ้วนปากขนาด 30 มล. โดยเป็นขนาดที่ใช้ได้ราว 7 วัน ซึ่งนอกจากเป็นระยะเวลาที่เห็นประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ได้ชัดเจนแล้ว เป็นไปได้ว่าจะสามารถสร้างความคุ้นเคยด้านรสชาติกับผู้บริโภคได้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องปรกติของผลิตภัณฑ์ออรัลแคร์ที่ต้องพัฒนารสชาติให้ถูกรสนิยมหรือเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ด้วย

ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าติดตาม เพราะหากฟลูโอคารีลจุดพลุเซกเมนต์นี้ได้เหมือนเมื่อครั้ง “ฟลูออไรด์” เชื่อว่า ผู้บริโภคบ้านเราคงมีโอกาสได้เห็นการแข่งขันที่ดุเดือดยิ่งขึ้น แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ดีแฮล์มคงต้องลุ้นตัวเลขส่วนแบ่งตลาดปีนี้ว่าจะเข็นไปถึง 8% ตามเป้าหรือไม่ และนั่นน่าจะเป็นตัวชี้ทิศทางของเซกเมนต์นี้ได้ไม่มากก็น้อย

คำถาม จากกรณีศึกษา
1. ยาสีฟันสำหรับวัย 40 ควรเลือก Demand แบบใดระหว่าง Primary หรือ Selective 
2. ให้วิเคราะห์ว่าเป็นกรอบแนวคิดใดใน 4 ตัวนี้ พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบ
     Customization, Convergence, Customer share, Market share 

แนวการเขียนตอบ
1. จากกรณีศึกษายาสีฟันสำหรับวัย40 เลือกว่าเป็น Selective Demand ใช้ทฤษฎี Market Cycle จากกรณีศึกษายาสีฟันสำหรับวัย40  โดยพิจารณาว่าเป็นยุคอิ่มตัว เพราะว่าการแข่งขันหนาแน่น คุณสมบัติของตลาดเป็น Selective Demand ใช้กลยุทธ์ Red Ocean วิธีการเลือกกลยุทธ์ ใช้ทฤษฎีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle: PLC) จากกรณีศึกษายาสีฟันสำหรับวัย40 อยู่ในช่วงเติบโต พิจารณาจาก ยอดขายขยายตัวสูง ต้นทุนต่อหน่วยลดลงและมีกำไรมากขึ้นและมีคู่แข่งขันเพิ่มมากขึ้นเป้าหมายทางการตลาดในขั้นนี้คือ การขยายส่วนครองตลาด (Market share) โดยใช้กลยุทธ์การเจาะตลาด (Product penetration) ยุทธวิธีที่ใช้คือ Promotion คือ ส่งเสริมการขาย เช่น ทดลองใช้สินค้าได้เตรียมสินค้าตัวอย่างจำนวน 3 แสนชุด  และบุคลากรการขาย 

(ยังมีต่อ อยู่ระหว่างการเขียนแนวตอบเคส)

BUS 7097 Comprehensive : ประเด็นฯการตลาด ตัวอย่างกรณีศึกษา "มาม่า"เปิดเซ็กเมนต์บะหมี่พรีเมี่ยม แก้ปมตลาด"อิ่มตัว"



BUS 7097 ประมวลความรู้(ข้อเขียน) ประเด็นสำคัญในปัจจุบันทางการตลาดตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างกรณีศึกษา "มาม่า"เปิดเซ็กเมนต์บะหมี่พรีเมี่ยม แก้ปมตลาด "อิ่มตัว"

** ยินดีกับทุกท่านที่สอบผ่านครับ **  พี่หมู     

ขอบคุณ บทความ "มาม่า" เปิดเซ็กเมนต์บะหมี่พรีเมี่ยม แก้ปมตลาด "อิ่มตัว"
จากเว็บไซต์ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1426440006


บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพ่ายพิษ ศก.-กำลังซื้อร่วง เจ้าตลาด "มาม่า" เผย 2 เดือนแรกยอดหด ประกาศลุยเซ็กเมนต์พรีเมี่ยม เจาะคนรุ่นใหม่ ทุ่มงบฯการตลาด 100 ล้าน อัดกิจกรรมครบเครื่อง หวังปลุกตลาด เจรจาพาร์ตเนอร์รุกธุรกิจใหม่ "ร้านอาหาร-เครื่องดื่ม" พร้อมเดินหน้าขยายตลาดส่งออก-ลงทุนต่างประเทศเพิ่ม ตั้งเป้าสิ้นปีโต 5%


(ภาพประกอบจาก: http://www.prachachat.net/online/2015/03/14264400061426440105l.jpg)

อาจจะต้องเผชิญหน้ากับมรสุมรอบทิศเลยก็ว่าได้ สำหรับตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่นอกจากจะตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะตลาดในประเทศที่อิ่มตัวแล้ว ยังต้องสู้กับปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวและกำลังซื้อซบเซา แม้แต่ "มาม่า" เจ้าตลาดยังเติบโตได้เพียง 2% ในปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่อาจนิ่งนอนใจได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ล่าสุดเตรียมส่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป "พรีเมี่ยม" มากระตุ้นตลาด พร้อมเพิ่มงบฯการตลาดย้ำแบรนด์ และขยายตลาดในต่างประเทศ

ลุยเซ็กเมนต์พรีเมี่ยมปลุกตลาด

นายสุชัย รัตนเจียเจริญ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบรนด์ "มาม่า" เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปีที่ผ่านมาตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท ไม่เติบโต หลัก ๆ มาจากปัญหาเศรษฐกิจที่มีผลต่อกำลังซื้อ และตลาดที่เริ่มอิ่มตัว สำหรับมาม่าเองเติบโตเพียง 2% ถึงวันนี้ เศรษฐกิจโดยรวมและกำลังซื้อก็ยังไม่ดีขึ้น ส่งผลให้ 2 เดือนแรกที่ผ่านมา ยอดขายเติบโตลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา จากนี้ไปยุทธศาสตร์ของมาม่า ในฐานะที่เป็นผู้นำตลาดด้วยมาร์เก็ตแชร์ประมาณ 51% จะมุ่งไปที่การกระตุ้นตลาดที่เริ่มอิ่มตัวให้กลับมาเติบโตอีกครั้ง ด้วยการออกรสชาติใหม่เพื่อนำมาเสริมรสชาติยอดนิยม หมูสับ ต้มยำกุ้ง ต้มยำกุ้งน้ำข้น เพื่อช่วยเพิ่มยอดขายแบบซองสำหรับเจาะกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป

ขณะเดียวกันก็จะส่งสินค้าในเซ็กเมนต์พรีเมี่ยมออกมาวางจำหน่าย เซ็กเมนต์นี้ตลาดยังมีช่องว่าง เนื่องจากจำนวนผู้เล่นยังมีไม่กี่ราย และมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก เมื่อพิจารณาจากสินค้าของบริษัทที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน มีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ซอง 6 บาท รูปแบบถ้วย 13 บาท โอเรียนทัล คิทเชนราคา 15 บาท และมาม่า ราเมง ราคา 20 บาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนา ต้องการจะเพิ่มเนื้อสัตว์ ผักเข้าไป เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้มากขึ้น ราคาประมาณ 30 บาท มุ่งเจาะกลุ่มวัยทำงานที่มีกำลังซื้อ ซึ่งจะมีออกมาทั้งในรูปแบบของถ้วย หรือคัพ (Cup) และแบบซอง คาดว่าจะสามารถช่วยเพิ่มยอดขายให้กับทั้งแบบถ้วยและซองได้ในอนาคต

นอกจากนี้ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา มาม่าได้ออกบะหมี่สำเร็จรูปแบบคัพมาใหม่ 3 รสชาติ ในลักษณะการทำเอ็กซ์คลูซีฟกับเซเว่นอีเลฟเว่น และปีนี้มีแผนจะขยายช่องทางจำหน่ายเพิ่มขึ้น

"ที่ผ่านมาแม้ตลาดรวมจะไม่เติบโต แต่เซ็กเมนต์ถ้วยที่คิดเป็นสัดส่วน 30% ของตลาด เติบโต 7-8% จากความต้องการความสะดวกในการรับประทาน ขณะที่เซ็กเมนต์ซองลดลง 1-2%"

นายสุชัยกล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตามปีนี้ บริษัทจะลงทุนเพิ่มประมาณ 400 ล้านบาท เพื่อเปลี่ยนเครื่องจักรสำหรับไลน์การผลิตบะหมี่แบบซอง 4 เครื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตจากเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เพิ่มไลน์การผลิตบะหมี่แบบคัพ ทำให้กำลังการผลิตคัพเพิ่มขึ้นอีก 30% ทั้งนี้ กำลังการผลิตในปัจจุบันทั้งแบบคัพและซองอยู่ที่ 6-7 ล้านชิ้นต่อวัน

ทุ่มงบฯทำตลาดรักษาแชมป์

นายสุชัยกล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนจะทุ่มงบประมาณในการจัดกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่อง ด้วยงบฯไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ทั้งอะโบฟเดอะไลน์และบีโลว์เดอะไลน์ ทั้งการโฆษณาทางโทรทัศน์ ที่จะใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ หลังจากที่ไม่ได้ใช้พรีเซ็นเตอร์มานาน เพื่อช่วยสร้างแบรนด์อะแวร์เนส การจัดโปรโมชั่นราคา โปรโมชั่นชิงโชค รวมทั้งการเพิ่มความถี่ในการจัดอีเวนต์ในต่างจังหวัด

ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับสื่อออนไลน์มากขึ้น โดยจะมุ่งการสื่อสารกับผู้บริโภค อาทิ แนะนำเมนูอาหารจากเส้นมาม่า รวมทั้งการเพิ่มช่องทางการขายผ่านออนไลน์เพื่อรับเทรนด์ในอนาคต เสริมช่องทางหลัก ทั้งโมเดิร์นเทรดและเทรดิชั่นนอลเทรด เพื่อรักษาและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในอนาคตด้วย

"การออกอีเวนต์ต่าง ๆ ตามต่างจังหวัด เราจะออกไปเปิดบูทเลย พวกนี้ต้องไปงานบุญงานดัง ๆ ของแต่ละจังหวัดที่มีคนเที่ยวเยอะ ๆ เราก็ต้องไปเปิดบูทและเพิ่มความถี่ให้เยอะขึ้น"

นายสุชัยยังระบุด้วยว่า อีกด้านหนึ่งจากสถานการณ์การแข่งขันในตลาดที่มีความรุนแรง และต้นทุนหลาย ๆ อย่างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถที่จะปรับราคาได้ บริษัทจึงให้ความสำคัญกับเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ด้วยการลงทุนเครื่องจักรใหม่ที่เป็นออโตเมติกมากขึ้น ควบคู่กับการหาแหล่งวัตถุดิบที่มีราคาไม่สูง แต่มีคุณภาพเหมือนเดิม
(ภาพประกอบจาก: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/5/56/Mama_MincePork.jpg)


คำถาม จากกรณีศึกษา มาม่า (45 คะแนน)
1. มาม่าใช้กลยุทธ์ใด ถึงสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาด (New Marketing Concept โจทย์ระบุมาชัดเจน อธิบายกรอบแนวคิดใหม่ ที่ทำให้มาม่ามีส่วนครองตลาดอันดับหนึ่ง)
2. ประยุกต์ใช้กรอบแนวความคิด Customer share แทน Market share ได้อย่างไร
3. ถ้ามาม่าจ้างท่านในการออกแบบผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใหม่ภายใต้กรอบแนวความคิด Customization ท่านจะทำอย่างไร (20 คะแนน)  

แนวการเขียนตอบ
(ยังมีต่อ อยู่ระหว่างการเขียนแนวตอบเคส)

23 ตุลาคม 2558

BUS 7097 Comprehensive : ประเด็นฯการตลาด ตัวอย่างกรณีศึกษา (Adult) Got Milk นมของคนโตแล้ว



BUS 7097 ประมวลความรู้(ข้อเขียน) ประเด็นสำคัญในปัจจุบันทางการตลาด ตัวอย่างกรณีศึกษา (Adult) Got Milk นมของคนโตแล้ว

** ยินดีกับทุกท่านที่สอบผ่านครับ **  พี่หมู     

ขอบคุณ บทความ (Adult) Got Milk นมของคนโตแล้ว
จากเว็บไซต์ http://marketeer.co.th/2014/12/marketing-war-adult-got-milk-นมของคนโตแล้ว-marketeer-พ-ค-52/


(ภาพประกอบจาก: http://marketeer.co.th/wp-content/uploads/2014/12/5626.jpg)

(ภาพประกอบจาก: hhttp://marketeer.co.th/wp-content/uploads/2014/12/5716.jpg)

(ภาพประกอบจาก: http://marketeer.co.th/wp-content/uploads/2014/12/5825.jpg)

(ภาพประกอบจาก: http://marketeer.co.th/wp-content/uploads/2014/12/5917.jpg)

(ภาพประกอบจาก: http://marketeer.co.th/wp-content/uploads/2014/12/6023.jpg)

จากกรณีศึกษา ภาพรวมตลาดนมของคนโตแล้ว ตลาดนม(วัว)เติบโตมีแนวโน้มลดลง  ตลาดนมถั่วเหลืองเติบโต 8.8% เพราะอัตราการดื่มนมของคนไทยมีปริมาณไม่สูง อัตราการดื่มนมของคนไทยมีเพียง 12.03 ลิตรต่อปี เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆอย่างออสเตรเลียที่ดื่มนมคนละ 102 ลิตรต่อปี

โฟร์โมสต์ : ดื่มได้ตลอด ดื่มเลย
- ผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดนม(วัว)ยูเอชที ส่วนแบ่งตลาด 54%
- ยกเลิกทำตลาดสินค้าประเภทนมถั่วเหลือง โฟร์โมสต์ไฮไฟว์
- Re-Lanch แบรนด์ใหม่ ให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์โฟร์โมสต์เป็นนมของทุกเพศทุกวัย
- โปรโมทสินค้าซับแบรนด์ เช่น แคลซีเม็กซ์ ไฮโมสต์ และคิตตี้ เจาะกลุ่มแต่ละเซ็กเมนท์
- ใช้กลยุทธ์เชิงรุกกระตุ้นการรับรู้ความสำคัญของการดื่มนมทุกวันทุกช่วงอายุ 4 ประการ
   หนึ่ง-ขยายฐานลูกค้าโดยการพัฒนาสินค้าใหม่ออกวางตลาดเจาะกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน
   สอง-สานต่อกลยุทธ์ Brand Engagement สานสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคม
   สาม-ส่งเสริมการดื่มนมในวัยรุ่น วัยทำงานเพิ่มขึ้น โดยแก้ไขทัศนคติของผู้บริโภคที่เลิกดื่มนมเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ภายใต้แนวคิด "โฟรโมสต์ ดื่มได้ตลอด ดื่มเลย"
   สี่-กระตุ้นยอดจำหน่ายให้เพิ่มขึ้นโดยชักจูงให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าของบริษัท สื่อโฆษณาและส่งเสริมการขายแบครบวงจร
- ลงทุน 1,000 ล้านบาท ขยายกำลังการผลิต จาก 10,000 ล้านแพ็คต่อวันเป็น 20,000 ล้านแพ็คต่อวัน

ไทย-เดนมาร์ค : วัยรุ่น คือ กลุ่มเป้าหมายใหม่
-มีส่วนแบ่งตลาดนมยูเอชที 31-32%
-เห็นแนวโน้มของการดื่มนมของคนไทยลดลง
-ขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ๆโดยเฉพาะวัยรุ่น
-วัยรุ่นมองแบรนด์ไทย-เดนมาร์ค เป็นแบรนด์ของคนรุ่นเก่า
-รีแบรนดิ้งและบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้มีความทันสมัย
-กระตุ้นให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนแบรนด์ที่อยู่มานานกับมาสดใสโดนใจวัยรุ่น
-ใช้งบการตลาด 60 ล้านบาท ผ่านกลยุทธ์ 5 ประการคือ
   หนึ่ง-นำเสนอภาพยนตร์โฆษณาชื่อชุด "ห่วงใยดูแลผ่านสิ่งดีๆ" สื่อไปยังกลุ่มวัยรุ่นกระตุ้นให้รับรู้ถึงแบรนด์ ไทย-เดนมาร์ค ที่มีความร่วมสมัยจากรุ่นสู่รุ่น
   สอง-เพิ่มสินค้าใหม่ และขนาดบรรจุภัณฑ์ใหม่เป็นทางเลือกกับกลุ่มเป้าหมาย เช่นนมช็อกโกแลต ขนาด 125 ml และสินค้ารสชาติใหม่ เพื่อลดช่องว่างของสินค้า
   สาม-เพิ่มตัวแทนจำหน่ายอีก 1 ราย ทำตลาดครอบคลุมในเขตกรุงเทพฯและภาคกลาง
   สี่-ใช้กลยุทธ์ด้านราคามาผลักดันยอดขายและแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด จัดโปรโมชั่น ส่งเสริมการขาย และโปรโมชั่นชิงโชค ลุ้นทองทุกสัปดาห์
   ห้า-นำจุดเด่นของนมโคแท้ 100% ที่ผลิตได้ในประเทศไทยไม่ผสมนมผงที่นำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาถูกกว่าเป็นจุดขาย
-งบลงทุน 320 ล้านบาท ปรับปรุงโรงงานและซื้อเครื่องจักรใหม่เพื่อขยายฐานการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 320 ตันต่อวันเป็น 500 ตันต่อวัน

ดัชมิลล์ : ความเชื่อมั่นต้องกลับมา
-มีความหลากหลายของสินค้า นมสดพาสเจอร์ไรซ์ นมถั่วเหลือง นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม และโยเกิร์ตแบบถ้วย
-เป็นสินค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่และวัยทำงานที่ใส่ใจสุขภาพ ตั้งเป้าโต 5%
-กลยุทธ์ในการทำตลาด 3 ประการ
  หนึ่ง-มุ่งเน้นความเชื่อมั่นกับผู้บริโภคถึงมาตรฐานความปลอดภัยของการผลิต
  สอง-ปรับโครงสร้างทำตลาดนมใหม่ โดยลดจำนวนรายการสินค้านม 71 รายการ เหลือ 50 รายการ 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ นมโยเกิร์ตพร้อมดื่ม โยเกิร์ตถ้วย นมสดพาสเจอไรซ์ และนมถั่วเหลืองดีน่า ลดจำนวนสินค้าที่ขายผ่านสาวดัชมิลล์เหลือ 30 รายการ
  สาม-ขยายจุดขายให้ครอบคลุม และสะดวกในการซื้อ เพิ่มสาวดัชมิลล์อีก 1,000 คน และเพิ่มช่องทางจำหน่ายผ่านรายย่อยหรือโชว์ห่วย 15,000 แห่ง
-ปรับภาพลักษ์ของโยเกิร์ตดัชมิลล์ใหม่ ให้กลุ่มวัยรุ่นมาทานโยเกิร์ตมากขึ้นเพื่อผิวพรรณและสุขภาพดีต้องตาเพศตรงข้าม สโลแกน "โยเกิร์ต เกิดแน่"

ไวตามิ้ลค์ : Segmentation Marketing
-ตลาดนมถั่วเหลืองเติบโตสูงสุด
-ไวตามิ้ลค์ เป็นผู้นำตลาดอันดับหนึ่งมีส่วนแบ่งตลาด 11.2% ในตลาดนมพร้อมดื่ม และ 40% ในตลาดนมถั่วเหลือง
-นำกลยุทธ์ Segmentation Marketing วางสินค้าเจาะตลาดแต่ละกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะตลาดนมสำหรับคนโตแล้ว
-ไวตามิ้ลค์โลว์ซูการ์ นมถั่วเหลืองปราศจากน้ำตาล เจาะกลุ่มผู้หญิงใส่ใจรูปร่าง น้ำหนัก
-ไวตามิ้ลค์ ทูโก อินแบล็ค เจาะกลุ่มเป้าหมายผู้ชาย และขยายไปยังกลุ่มครอบครัวและผู้หญิง
-ไวตามิ้ลค์ ทูโก อินแบล็ค เป็นหัวหอกในการทำตลาดผ่านแนวคิดการขยายตลาดในวงกว้าง เพิ่มปริมาณการดื่ม ควบคู่ไปกับการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ
-จุดเด่นไวตามิ้ลค์ ทูโก อินแบล็ค ที่ต่างจากคู่แข่ง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ชายอายุระหว่าง 20-35 ปี สื่อสารและการออกแบบแพ็คเกจจิ้งที่สื่อถึงความเป็นชาย
-ไวตามิ้ลค์นำกลยุทธ์ผลักดันตลาดและสร้างกระแสการดื่มนมถั่วเหลืองจากภาพยนตร์ชุด ไวตามิ้ลค์ โลว์ซูการ์ บอล
-จัดกิจกรรมโรดโชว์ Fit 5

บทสรุป: นมโตไม่โต?
-ผลิตภัณฑ์นมยังมีโอกาสเติบโต เนื่องจากความต้องการบริโภคยังมีแนวโน้มขยายตัว
-ปัจจัยสนับสนุนกระแสรักสุขภาพของผู้บริโภค
-อัตราการบริโภคนมของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำไม่ถึง 20 ลิตร/คน/ปี
-ผู้ประกอบการในธุรกิจมีการกระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง
-แนวโน้มความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์นมของไทยเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร
-การพัฒนาปรับปรุงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยตอบสนองความต้องการผู้บริโภค

คำถาม จากกรณีศึกษา (Adult) Got Milk นมของคนโตแล้ว  (40 คะแนน)
1. Demands ของนม(วัว)ยูเอชทีและนมถั่วเหลืองว่ามองตลาดแบบ Primary หรือ Selective เพราะอะไรและมีการเลือกกลุ่มลูกค้าแบบใด
2. ให้เลือกแนวคิด Mega trend มา 1 ตัวประยุกต์เข้ากับนมสำหรับผู้ใหญ่พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
3. ให้ประยุกต์แนวคิด Co-Creation Marketing เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นม ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวการเขียนตอบ
1. จากกรณีศึกษา (Adult) Got Milk เลือกว่าเป็น Selective Demand ใช้ทฤษฎี Market Cycle จากกรณีศึกษานม(วัว)ยูเอชทีและนมถั่วเหลือง โดยพิจารณาว่าเป็นยุคอิ่มตัว เพราะว่าการแข่งขันหนาแน่น คุณสมบัติของตลาดเป็น Selective Demand ใช้กลยุทธ์ Red Ocean วิธีการเลือกกลยุทธ์ ใช้ทฤษฎีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle: PLC) จากกรณีศึกษานม(วัว)ยูเอชทีและนมถั่วเหลือง อยู่ในช่วงเติบโต พิจารณาจาก ยอดขายขยายตัวสูง ต้นทุนต่อหน่วยลดลงและมีกำไรมากขึ้นและมีคู่แข่งขันเพิ่มมากขึ้นเป้าหมายทางการตลาดในขั้นนี้คือการขยายส่วนครองตลาด(Market Share) โดยใช้กลยุทธ์การเจาะตลาด(Product penetration) เจาะกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน สร้างกระแสการดื่มนมถั่วเหลือง ยุทธวิธีที่ใช้คือ Promotion คือ ส่งเสริมการขาย เช่น ชิงโชค ลุ้นทองทุกสัปดาห์ และ บุคคลการขาย เช่น พนักงานขายแนะนำสินค้า, เพิ่มสาวดัชมิลล์, เพิ่มตัวแทนจำหน่าย

2.(แก้ไขคำตอบที่ถูกสุด) เลือกแนวคิด Megatrends: การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (Rapid technology) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วที่มีผลต่อการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ดีขึ้นสำหรับผู้ใช้ ตัวอย่างกรณีศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการในธุรกิจนมควรเร่งกระตุ้นตลาดโดยการวางตลาดผลิตภัณฑ์นมรสชาติหลากหลาย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการเฉพาะกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ตลอดจนพัฒนาปรับปรุงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เช่น ลดขนาดบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับกำลังซื้อของผู้บริโภคในสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวรวมทั้งการปรับขนาด และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มมากขึ้นเป็นต้น
2. เลือกแนวคิด Megatrends: เน้นการตลาดเฉพาะกลุ่ม (Customization) ลูกค้ามีการแบ่งแยกย่อยมากขึ้น แต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกันมากขึ้น เพราะตลาดเริ่มมีตัวเลือกที่หลากหลาย ตัวอย่างกรณีศึกษา ไวตามิ้ลค์ : นำกลยุทธ์ Segmentation Marketing วางสินค้าเจาะตลาดแต่ละกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะตลาดนมสำหรับคนโตแล้ว ไวตามิ้ลค์โลว์ซูการ์ นมถั่วเหลืองปราศจากน้ำตาล เจาะกลุ่มผู้หญิงใส่ใจรูปร่าง น้ำหนัก ไวตามิ้ลค์ ทูโก อินแบล็ค เจาะกลุ่มเป้าหมายผู้ชาย และขยายไปยังกลุ่มครอบครัวและผู้หญิง, โฟร์โมสต์ :ใช้กลยุทธ์เชิงรุกกระตุ้นการรับรู้ความสำคัญของการดื่มนมทุกวันทุกช่วงอายุ เจาะกลุ่มแต่ละเซ็กเมนท์ เช่น แคลซีเม็กซ์ ไฮโมสต์ และคิตตี้ 

3. แนวคิด Co-Creation Marketing  คือการรังสรรค์ร่วมกันระหว่างผู้ผลิต (Producer) และผู้บริโภค (Consumer) ให้ผู้บริโภคมาร่วมผลิตด้วย เท่ากับเป็นการเปลี่ยนมุมมองจากผู้ผลิตอยากผลิต มาเป็นมุมมองของผู้ลบริโภคว่าตนเองอยากใช้สินค้าแบบไหน ตัวอย่างเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นม ประยุกต์ใช้แนวคิด Co-Creation Marketing เช่นใช้วัยรุ่นออกแบบผลิตภัณฑ์หรือรสชาดสำหรับวัยรุ่น เพราะคำพูดที่ว่ากันว่า ใครจะรู้จักความต้องการของวัยรุ่นดีไปกว่ากลุ่มวัยรุ่นด้วยกันเอง 


2 กันยายน 2558

BUS 7097 Comprehensive : ประเด็นฯการตลาด ตัวอย่างกรณีศึกษา By Hands International Co.,Ltd. ดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสา



BUS 7097 ประมวลความรู้(ข้อเขียน)ประเด็นสำคัญในปัจจุบันทางการตลาด
ตัวอย่างกรณีศึกษา By Hands International Co.,Ltd. ดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสา

ขอบคุณ บทความ By Hands International Co.,Ltd. ดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสา
จากเว็บไซต์ http://www.thaifranchisecenter.com/download_file/index.php?group=9&page=2

(ภาพประกอบจาก: http://paperflowerbyhands.com/portfolio/)

By Hands International Co.,Ltd. ดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสา

จากเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ครอบครัวเป็นเจ้าของกิจการร้านจิวเวอร์รี่โดยเธอได้ช่วยงานคัดเลือกพลอยสีในร้านซึ่งทำให้ชีวิตเธอต้องเกี่ยวข้องกับสีสรรของเพชร พลอย และอัญมณีชนิดต่าง ๆ ทุกวัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เธอได้ซึมซับความสามารถบางสิ่งบางอย่างไม่รู้ตัว แต่นำมาซึ่งประโยชน์ที่สำคัญสำหรับอาชีพของเธอในปัจจุบันนี้ ความสามารถของเธอที่ว่านั้น คือ การแยกสี แต่งแต้มสีสันซึ่งเธอสามารถนำมาใช้ในการผลิตดอกไม้กระดาษสา และนำมาซึ่งความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ของเธอจนทำให้ธุรกิจของเธอประสบความสำเร็จอย่างเช่นทุกวันนี้

จุดเริ่มต้นของความสำเร็จ
คงไม่มีใครนึกถึงว่าจากบัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์  เอกภาษาอังกฤษ  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลูกสาวเจ้าของร้านจิวเวอร์รี่ จะพลิกผันชีวิตของตนเองมาเป็นเจ้าของกิจการประดิษฐ์ดอกไม้กระดาษสาที่สวยงามอย่างทุกวันนี้  ชีวิตของคุณขนิษฐาจากหลังเรียนจบเธอได้ช่วยกิจการที่บ้านของเธอกิจการของครอบครัวเธอก็ได้ปิดตัวลงทำให้มีเวลาว่าง  จึงมองหาอาชีพใหม่ประจวบกับโรงเรียนสารพัดช่างเชียงใหม่เปิดรับสมัครนักเรียนที่สนใจด้านวิชาชีพรุ่นใหม่ เธอจึงไปสมัครเรียนหลักสูตรทำดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสา  ซึ่งใช้เวลาเรียนจนจบหลักสูตร 3 เดือน เธอเริ่มเห็นความเป็นไปได้ที่จะยึดเป็นอาชีพหลัก  จึงลงเรียนหลักสูตรเพิ่มเติมกับ DEP (DEP : Department of Export Promotion) เป็นหลักสูตรสำหรับ ผู้ประกอบการใหม่ 27 วัน เธอเรียนรู้การนำมาใช้จริง หลังจากเรียนสำเร็จทั้ง  2  หลักสูตร  เธอหันมาเอาจริงกับธุรกิจดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสา

ลู่ทางในการทำธุรกิจเริ่มจากการสังเกต      และความพยายามในการหาลู่ทางทำธุรกิจโดยคุณขนิษฐาได้สังเกตเห็นว่า  บ้านที่ตั้งอยู่ตรงข้ามนั้นได้เปิดเป็นโรงงานผลิตหมวกซึ่งเจ้าของเป็นชาวญี่ปุ่น  โดยสั่งผ้ามาจากญี่ปุ่นโดยตรง  เมื่อเศษผ้าเหลือจากกระบวนการผลิต  และทราบว่าคุณขนิษฐาสามารถทำดอกไม้ประดิษฐ์ได้จึงนำเศษผ้าเหล่านั้นมาให้ลองทำดอกไม้ประดับบนหมวก ซึ่งปรากฏว่าเป็นที่ถูกใจของผู้บริโภคเมื่อส่งไปขายเป็นอย่างมาก  แต่ก็ไม่ใช่ทุกคำสั่งซื้อที่จะมีดอกไม้ประดิษฐ์ฯ วางขาย ไม่นานก็ได้ทำเลที่ไนท์บาร์ซาร์  จังหวัดเชียงใหม่  ในช่วงแรกรับของที่ระลึกจากที่ต่าง ๆ  ของจังหวัดเชียงใหม่มาขายด้วย แต่ลูกค้าให้การตอบรับกับดอกไม้ของเธอเป็นอย่างดี ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้า  Walk in  เข้ามาโดยตรง  และพัฒนามาสู่การเป็นลูกค้าประจำในที่สุดซึ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เธอตัดสินใจที่จะผลิต  สุดท้ายเธอจึงมุ่งมั่นที่จะทำดอกไม้ประดิษฐ์ฯ เพื่อจำหน่ายเพียงอย่างเดียว ซึ่งต่อมาได้ขยายกิจการมาที่ชั้นล่างของคลีนิค คุณหมอเสรี (สามี) และเพิ่มจำนวนคนงานให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด

ก้าวสู่ความสำเร็จในตลาดต่างประเทศ
คุณขนิษฐา และคุณหมอเสรี  เริ่มสนใจและคิดว่ามีกำลังเพียงพอที่จะขยายตลาดสู่ต่างประเทศได้   จึงไปขอคำแนะนำกับศูนย์ส่งเสริมการส่งออก โดยเธอได้นำดอกไม้ประดิษฐ์ฯ    จัดเข้าช่อเป็นแจกันติดนามบัตรของบริษัทไปวางประดับที่ศูนย์แสดงสินค้าของศูนย์ส่งเสริมการส่งออก  ผู้เข้ามาชมสินค้าในศูนย์ฯ เห็นดอกไม้ดังกล่าว  จึงสนใจติดต่อเข้าไปทางบริษัทโดยตรง   ซึ่งบริษัทได้ลูกค้ามาด้วยวิธีนี้เป็นหลักในระยะแรก  และโอกาสสำคัญก็มาถึงเมื่อรัฐบาลเยอรมันส่งองค์กรพัฒนาด้านเทคนิคมาที่ประเทศไทยเพื่อหาผลิตใหม่ ๆ เข้าไปร่วมงานแสดงสินค้าที่ประเทศเยอรมนี  ซึ่งมีกระบวนการคัดเลือก และ By hands ฯ   ก็ได้รับการคัดเลือกร่วมกับผู้ประกอบการ  อื่นอีก 4 ราย ให้ไปออกงานแสดงสินค้าที่ประเทศเยอรมนี โดยทางผู้ประกอบการออกค้าใช้จ่ายเฉพาะค่าตั๋วเครื่องบินเท่านั้น ส่วนค่าที่พัก ค่าบูธแสดง สินค้า ประเทศเยอรมันเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ซึ่ง By hands ฯ  ได้รับโอกาสนี้ถึง 3 ครั้งใน 3 ปี ทำให้ได้ประสบการณ์มากมาย ได้ดูว่าผู้ประกอบการต่างประเทศเขาทำอะไรบ้าง และ มีอะไรบ้างที่เขาไม่ทำ โดยพิจารณาถึงช่องว่างที่มีอยู่และพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมเพื่อปิดช่องว่าง เหล่านั้น ซึ่งบริษัทได้ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่างอย่างมีคุณภาพ หลังจากครั้งนี้เธอยังได้โอกาสไปร่วมงาน Gift  ที่ประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งที่ประเทศสหรัฐฯ นั่นเองเธอได้รับคำแนะนำพร้อมทั้งข้อมูลจากศูนย์ส่งเสริมการส่งออกให้ไปพบลูกค้าที่อยู่ในประเทศสหรัฐฯ เธอและสามีจึงเดินทางไปติดต่อด้วยตนเองระหว่างช่วงว่างจากการออกงานแสดงสินค้านั้นซึ่งจะเห็นได้ว่าคุณขนิษฐา และสามีไม่ได้รับบทบาทเฉพาะการผลิต และการบริหารกิจการเพียงอย่างเดียวเจ้าของกิจการยังต้องรับผิดชอบทางด้านการหาตลาด  และการเข้าสู่ตลาดอีกด้วย  ซึ่งด้วยวิธีการนี้เจ้าของกิจการทราบถึงสภาวการณ์ของตลาดตลอดจนความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าด้วย

โครงสร้างกิจการ และ หลักในการบริหารงานสู่ความสำเร็จ
เนื่องจาก By Hands ฯ เป็นกิจการเจ้าของคนเดียวไม่มีหุ้นส่วนในการดำเนินงานหลักการบริหารงานจึงไม่ยุ่งยากซับซ้อน การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ จึงอยู่ที่คุณขนิษฐา และคุณหมอเสรีเท่านั้นทั้ง 2 มุมานะสร้างกิจการให้มั่นคงแข็งแรง โดยจัดวางระบบต่างๆ อย่างง่าย ตามลักษณะกิจการ

 การแบ่งโครงสร้างการบริหารงานนั้น ทางด้านการเงินและบัญชีคุณหมอเสรีเป็นผู้รับผิดชอบดูแล  โดยจ้างบริษัทภายนอกทำบัญชีทั้งหมด ส่วนด้านการติดต่อลูกค้าต่างประเทศ การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นคุณขนิษฐาจะดูแลในส่วนนี้ เนื่องจากมีความชำนาญส่วนตัว ในด้านการบริหารงานทั่วไป  อาทิ  การดูแลกำลังคน  การจัดสรรหน้าที่  การขยายตลาด ฯลฯ  นั้น ทั้ง 2 ท่าน จะช่วยกันพัฒนาดูแล

หลักในการบริหารการเงินนั้น By Hands ฯ  มีเงินหมุนเวียนมีสภาพคล่องสูง กล่าวคือ มีการกู้เงินน้อย  เฉพาะเวลาจำเป็นเท่านั้น และใช้คืนเต็มจำนวน รวมทั้งเลือกจ่ายค่าวัตถุดิบให้กับซัพพลายเออร์ทันทีไม่มีการวางบิล การมุ่งสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ขายวัตถุดิบเหล่านี้ จึงไม่พบปัญหาด้านความล่าช้าในการส่งวัตถุดิบ หรือ ผิดแบบที่สั่งไป หรือ คุณภาพของวัตถุดิบ นอกจากนั้น By Hands ฯ ยังพิถีพิถันในการคัดเลือกวัตถุดิบ โดยมีนโยบายที่จะคัดเลือกวัตถุดิบจากแหล่งที่มีคุณภาพเท่านั้น เช่น กระดาษสาสั่งมาจากจังหวัดลำปาง, ลวดสั่งทำก้านดอกไม้มาจากจังหวัดอ่างทอง เป็นต้น โดยจำกัดมีซัพพลายเออร์เพียงไม่กี่รายเพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐานและคุณภาพที่ใกล้เคียงกัน สำหรับการชำนาญเรื่องสีสรรที่เป็นความสามารถพิเศษของคุณขนิษฐานั้น ปัจจุบันเวลาเธอผสมสีเธอจะจดสูตรไว้เพื่อสอนงานให้ลูกน้องที่เกี่ยวข้องเรียนรู้ต่อไป

นอกจากความใฝ่รู้ไม่หยุดนิ่ง ประสบการณ์ และ โอกาสของคุณขนิษฐา และสามีแล้วนั้นทั้ง 2 ท่านไม่เคยลืมเลยว่าคนงานนั้นเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้ทั้ง 2 จึงดูแลคนงานเป็นอย่างดีเหมือนญาติ พี่ น้อง มีการจัดอบรมคนงานก่อนการปฏิบัติงาน และแบ่งหน้าที่ตามความชำนาญของแต่ละคน แต่ก็พยายามให้ทุกคนเรียนรู้งานทั้งกระบวนการผลิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถของคนงาน ปัจจุบัน By Hands ฯ สร้างโรงงานในหมู่บ้านเป็นการนำงานเข้าไปให้คนในหมู่บ้านทำ เพราะนอกจากมาทำงานที่โรงงานแล้วยังสามารถรับงานไปทำที่บ้านได้ด้วย ซึ่งอัตราการจ้างงานระหว่างมาทำที่โรงงาน กับการรับงานไปทำที่บ้านนั้นอยู่ในอัตราส่วน 50:50 ในด้านสำหรับลูกจ้างประจำนั้นผู้ที่ไม่ได้อยู่ในหมู่บ้านทางบริษัทจะจัดที่พักอาศัย อาหาร ลานออกกังกายให้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพวกเขาตระหนักเสมือนญาติมิตรที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

เบื้องหลังความสำเร็จ "คุณภาพและความแตกต่าง"
By Hands ฯ คำนึงเสมอว่าสินค้าต้องมีคุณภาพ และสร้างความแตกต่างกับสินค้าในแบบเดียวกัน หรือ สินค้าทดแทนได้   จึงนำประสบการณ์ทั้งหมดที่ได้รับมาใช้ เริ่มจากการหาวัตถุดิบ มีการคัดเลือกเป็นอย่างดี แต่จะเพียงสีที่ใช้เท่านั้นที่ต้องสั่งมาจากต่างประเทศ เพราะต้องใช้สีคุณลักษณะเฉพาะซึ่งไม่สามารถหาได้ในประเทศไทยอาจจะเป็นโชคดีที่เธอเติบโตมาจากร้านจิวเวอร์รี่ และชอบเรื่องสีเป็นพิเศษ เธอจึงมีความชำนาญเรื่องการผสมสี และจากการที่ได้ไปออกงานต่างประเทศ เธอจึงเลือกสิ่งที่คนอื่นไม่ทำมาทำ คือ การใช้สีย้อมดอกไม้ที่ไม่สว่างจนเกินไป เลียนแบบสีธรรมชาติ ไม่ใช้สีสันฉูดฉาด ซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกที่ถูกต้อง เนื่องจากเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศ

ในด้านการขนส่งนั้น การบรรจุหีบห่อที่มีลักษณะ กล่าวคือ เวลาส่งจะพับดอกไม้ทั้งหมดเป็นมัดเพื่อเป็นประโยชน์ในการบรรจุ เมื่อถึงปลายทางลูกค้าจะนำดอกไม้เหล่านั้นออกมาจัดรูปทรงใหม่ตามความต้องการซึ่งมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน ทำให้ส่งออกได้ครั้งละจำนวนมาก ในแต่ละตู้คอนเทนเนอร์ และประหยัดต้นทุนในการส่งออก ซึ่งโดยปกตินั้นการส่งออกไม้สำเร็จรูปโดยทั่วไปจะสามารถวางจำหน่ายได้ทันทีเมื่อได้รับสินค้า  แต่เปลืองเนื่อที่ในกล่องและตู้คอนเทนเนอร์ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง

ปัจจุบันและอนาคต
ปัจจุบัน  By Hands ฯ  เลือกส่งออกตลาดต่างประเทศเพียงอย่างเดียว  ลูกค้ารายสำคัญมาจากการแสดงสินค้าในต่างประเทศทั้งหมด  แต่มีการวางแผนว่าในระยะเวลาอีกไม่นานประมาณ 1-2 ปีที่จะถึงนี้จะมีร้านแสดงสินค้าและจัดจำหน่ายในประเทศไทย สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่จากกระดาษสาที่กำลังเริ่มต้นจัดทำ ได้แก่  การ์ดอวยพร  ซึ่งกำลังออกแบบพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับในตลาด ควบคู่กับพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์ฯ ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งประยุกต์จากดอกไม้ประดิษฐ์ฯ ที่ใช้ปักแจกัน หรือเป็นช่อ มาเป็นดอกไม้ที่ประดับอยู่บนสิ่งของต่าง ๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น ดอกไม้ประดับบนสมุดบันทึกที่ทำจากกระดาษสา เป็นต้น และในอีก 3-4 เดือนข้างหน้านี้จะเปิดโรงเรียนสอนทำดอกไม้ประดิษฐ์ฯ ให้ชาวต่างชาติ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่งด้วย

จะเห็นได้ว่าความสำเร็จของ By Hands ฯ  ทุกวันนี้มาจากความขยัน อดทน และเปิดใจสำหรับสิ่งใหม่ ๆ  ที่มีขึ้นอย่างไม่หยุดนิ่งในปัจจุบัน ที่สำคัญ คือ ตระหนักถึงความสำคัญของความต้องการของลูกค้าเป็นที่หนึ่ง  ตั้งใจมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการตลอดเวลา และไม่ลืมที่จะดูแลคนงานให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี  รวมทั้งสภาพแวดล้อมของคนในชุมชนไม่ให้โรงงานเข้าไปสร้างปัญหากับคนในชุมชน  อาทิ ไ ม่ใช่เครื่องจักรเสียงดัง ไม่สร้างมลภาวะเป็นพิษให้ชุมชนเป็นต้น


คำถาม จากกรณีศึกษาให้วิเคราะห์และวิจารณ์ อธิบายเหตุผลตาม White Ocean และเสนอกรอบแนวคิดทุกตัวที่เกี่ยวข้อง

แนวการเขียนตอบกรอบแนวคิด
- ถ้าโจทย์พูดถึงคำว่า "วิเคราะห์" ให้ดูจากเนื้อเรื่อง เช่นให้นักศึกษาวิเคราะห์แล้วดูว่ากรอบแนวคิดที่ใช้คืออะไร อย่างนี้ไม่ใช่ให้สร้างกรอบแนวคิดใหม่ขึ้นมา แต่ให้ดูจากเนื้อเรื่องกรอบที่เขาใช้อยู่จากตัวอย่างในกรณีศึกษามาวิเคราะห์ ให้เขียนกรอบแนวคิดที่เขาทำอยู่แล้วในโจทย์ออกมา ... นี่เป็นการวิเคราะห์ ดังนั้นวิเคราะห์คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว 
- ถ้าโจทย์พูดถึงคำว่า "วิจารณ์" คือการเสนอแนะนั่นหมายความว่าให้เสนอกรอบแนวคิดในอนาคต เช่นการสร้างปริมาณการขาย กรอบแนวคิดนี้จะเป็นของอนาคตแล้ว นั่นเป็นสิ่งที่ต้องเสนอมา แต่อนาคตต้องมีความเป็นไปได้ด้วย โดยมีพื้นฐานการทำงานของปัจจุบัน
ดังนั้นต้องดูโจทย์ก่อนว่าโจทย์ถาม "วิเคราะห์" หรือ "วิจารณ์" หรือยกตัวอย่าง
การตอบกรอบแนวคิดที่ดีสุด
1. บรรทัดแรกตั้งกรอบแนวคิด ..(เลือกกรอบให้ตรงกับที่โจทย์ถาม) ..
2. อธิบายกรอบแนวคิด ...คืออะไร ..ใช้กับตัวอย่างอย่างไร ..
3. ประยุกต์ตัวอย่างใช้งานภายใต้กรอบแนวคิด (ให้ตรงกับที่โจทย์ให้มา)
(ควรตอบให้มีความยาว 5 บรรทัด ถึงครึ่งหน้ากระดาษคำตอบ)

จากกรณีศึกษาวิเคราะห์ตามกลยุทธ์ White Ocean
White Ocean Strategy กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว เป็นพื้นฐานในการบริหารงานและใช้ชีวิตที่ตั้งมั่นอยู่บนคุณงามความดี มีศีลธรรม และปรับมุมมองจากการตักตวงผลประโยชน์จากสังคม มาเป็นการช่วยเหลือ แบ่งปัน และเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม โดยไม่วาง ‘ตัวเอง’ เป็นศูนย์กลาง และไม่เห็น ‘ผลกำไร’ เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดจนละเลยมิติด้านอื่น จึงทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน บนความสมดุลย์ของ People (สังคม ประชาชน และกลุ่มเป้าหมายทุกภาคส่วน) Planet (ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมทั้งกายภาพและจิตภาพ) Profit (กำไรที่เหมาะสมและแบ่งปันกับส่วนรวม) โดยมี Passion ความมุ่งมั่นศรัทธาในการทำงานขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น
(ที่มา: http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=10248.0)

จากกรณีศึกษา By Hands ฯ  มุ่งสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ขายวัตถุดิบ จึงไม่พบปัญหาด้านความล่าช้าในการส่งวัตถุดิบ หรือ ผิดแบบที่สั่งไป หรือ คุณภาพของวัตถุดิบ นอกจากนั้นยังพิถีพิถันในการคัดเลือกวัตถุดิบ โดยมีนโยบายที่จะคัดเลือกวัตถุดิบจากแหล่งที่มีคุณภาพเท่านั้น เช่น กระดาษสาสั่งมาจากจังหวัดลำปาง, ลวดสั่งทำก้านดอกไม้มาจากจังหวัดอ่างทอง เป็นต้น โดยจำกัดมีซัพพลายเออร์เพียงไม่กี่รายเพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐานและคุณภาพที่ใกล้เคียงกัน

ประสบการณ์ และ โอกาสของคุณขนิษฐา และสามีแล้วนั้นทั้ง 2 ท่านไม่เคยลืมเลยว่าคนงานนั้นเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้ทั้ง 2 จึงดูแลคนงานเป็นอย่างดีเหมือนญาติ พี่ น้อง มีการจัดอบรมคนงานก่อนการปฏิบัติงาน และแบ่งหน้าที่ตามความชำนาญของแต่ละคน แต่ก็พยายามให้ทุกคนเรียนรู้งานทั้งกระบวนการผลิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถของคนงาน ปัจจุบัน By Hands ฯ สร้างโรงงานในหมู่บ้านเป็นการนำงานเข้าไปให้คนในหมู่บ้านทำ เพราะนอกจากมาทำงานที่โรงงานแล้วยังสามารถรับงานไปทำที่บ้านได้ด้วย ซึ่งอัตราการจ้างงานระหว่างมาทำที่โรงงาน กับการรับงานไปทำที่บ้านนั้นอยู่ในอัตราส่วน 50:50 ในด้านสำหรับลูกจ้างประจำนั้นผู้ที่ไม่ได้อยู่ในหมู่บ้านทางบริษัทจะจัดที่พักอาศัย อาหาร ลานออกกังกายให้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพวกเขาตระหนักเสมือนญาติมิตรที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

By Hands ฯ ตระหนักถึงความสำคัญของความต้องการของลูกค้าเป็นที่หนึ่ง  ตั้งใจมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการตลอดเวลา และไม่ลืมที่จะดูแลคนงานให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี  รวมทั้งสภาพแวดล้อมของคนในชุมชนไม่ให้โรงงานเข้าไปสร้างปัญหากับคนในชุมชน  อาทิ ไ ม่ใช่เครื่องจักรเสียงดัง ไม่สร้างมลภาวะเป็นพิษให้ชุมชนเป็นต้น 


จากกรณีศึกษาวิจารณ์ตามกลยุทธ์ White Ocean
(คิดไม่ออก)

กรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้อง 
Innovation การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจเป็นแนวความคิด หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการดัดแปลงหรือพัฒนาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม และทันสมัยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ยังสามารถประหยัดทั้งแรงงานและเวลาได้อีกด้วย

จากกรณีศึกษา By Hands ฯ ใช้สีคุณลักษณะเฉพาะซึ่งไม่สามารถหาได้ในประเทศไทย  คือ การใช้สีย้อมดอกไม้ที่ไม่สว่างจนเกินไป เลียนแบบสีธรรมชาติ ไม่ใช้สีสันฉูดฉาด ซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกที่ถูกต้อง เนื่องจากเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศ


ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
Red Ocean Strategy กลยุทธ์น่านน้ำสีเลือด ถือเป็นหนทางหนึ่งที่เคยช่วยให้หลายธุรกิจประสบความสำเร็จ แต่ในความสำเร็จนั้นกลับก่อให้เกิดความรุนแรงในแวดวงธุรกิจ เพราะด้วยวิถีทางแห่งกลยุทธ์น่านน้ำสีเลือด การแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็น “เบอร์หนึ่ง” ถือเป็นจุดประสงค์หลักของกลยุทธ์นี้ แต่การมุ่งเอาชนะคู่แข่ง เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่าโดยไม่สนใจสิ่งอื่นใดนั้น นอกจากจะทำให้เกิดการแข่งขันที่ดุเดือดแล้ว ยังมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บทางธุรกิจด้วยกันทุกฝ่าย
(ที่มา: http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=10248.0)

Blue Ocean Strategy กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม จึงเป็นแนวทางดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้นตามมาเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันทางการ ตลาดแบบเดิม กลยุทธ์น่านน้ำสีครามจะไม่แข่งขันผลิตสินค้ารูปแบบเดียวกันป้อนสู่ตลาด ไม่เอาชนะกันด้วยสินค้าลอกเลียนแบบ แต่จะเลือกพัฒนาสินค้าของตนให้แหวกแนวไปจากที่มีอยู่ เน้นความเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดที่ไม่เคยมีมาก่อน ใช้ “นวัตกรรม” และ “ความต่าง” เป็นตัวดึงดูดความสนใจของลูกค้า ซึ่งกลยุทธ์นี้เคยสร้างยอดขายถล่มทลายมาแล้วในสินค้าหลายชนิด แต่กลยุทธ์น่านน้ำสีครามก็ทำให้ผู้ดำเนินธุรกิจต้องเหนื่อยกับการคิดค้น ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อวิ่งหนีคู่แข่ง ซึ่งนั่นคือการหนีที่ไม่มีวันสิ้นสุด!
(ที่มา: http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=10248.0)

31 สิงหาคม 2558

BUS 7097 Comprehensive : ประเด็นฯการตลาด ตัวอย่างกรณีศึกษา สตาร์บัคส์เตรียมขายเบียร์-ไวน์ทั่วโลก



BUS 7097 ประมวลความรู้(ข้อเขียน)ประเด็นสำคัญในปัจจุบันทางการตลาด
ตัวอย่างกรณีศึกษา สตาร์บัคส์เตรียมขายเบียร์-ไวน์ทั่วโลก

ขอบคุณ ภาพประกอบและบทความ สตาร์บัคส์เตรียมขายเบียร์-ไวน์ทั่วโลก
จากเว็บไซต์ http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/570280
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 21 มีนาคม 2557, 13:31


(ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/570280)

สตาร์บัคส์ เตรียมจำหน่ายเบียร์และไวน์ ในร้านสาขา หลังทดสอบมานานและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
สำนักข่าวดีพีเอ รายงานว่า สตาร์บัคส์ เชนร้านกาแฟใหญ่สุดของโลก เริ่มเล็งเห็นว่า การจำหนายแค่กาแฟอย่างเดียว ไม่เพียงพออีกต่อไป เตรียมเพิ่มเครื่องดื่มอีกสองชนิด คือ เบียร์และไวน์ จำหน่ายทุกสาขาทั่วทุกมุมโลก ที่มีอยู่หลายพันแห่ง เพื่อเพิ่มยอดขายในตลาดร้านกาแฟ

นอกจากนี้ สตาร์บัคส์ ยังประกาศในระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีว่า กำลังจับมือเป็นหุ้นส่วนกับเจ้าแม่ทอล์คโชว์ โอปราห์ วินฟรีย์ เพื่อเพิ่มสายการผลิตใหม่คือ ชาใส่เครื่องเทศ ที่ร้านสาขาในสหรัฐ

สตาร์บัคส์ เริ่มทดสอบจำหน่ายเบียร์และไวน์ หลังเวลา 22.00 น. เมื่อปี 2553 และนับจากนั้น ได้ขยายโครงการทดสอบออกไปเป็น 40 ร้านสาขาที่อยู่ศูนย์กลางเมืองใหญ่ แต่ล่าสุด นายทรอย อัลสตีด ประธานฝ่ายปฎิบัติการของสตาร์บั๊ค บอกว่า โครงการนี้ จะขยายไปทุกสาขาภายในอีกไม่กี่ปี หลังจากทำการทดสอบตลาดมานานแล้ว และพบว่าได้ผลดี


(ที่มา: http://www.starbucks.com/coffeehouse/starbucks-stores/starbucks-evenings)

อัลสตรีด บอกด้วยว่า การทดสอบนี้ เป็นโครงการยามเย็น ที่เพิ่มรายการอาหารพิเศษเข้าไป เช่น เบียร์และไวน์ โดยจะมุ่งเน้นสาขาในย่านบันเทิง ที่คนจะไปรวมตัวกันที่ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์และอื่น ๆ โดย ปัจจุบัน สตาร์บัคส์ มีสาขาทั่วโลกมากกว่า 20,000 แห่ง รวมทั้ง ในสหรัฐ 11,500 แห่ง

คำถาม จากกรณีศึกษา สตาร์บัคส์ หันมาทำร้านกาแฟที่มีทั้งอาหารและขายเหล้าไวน์ด้วย ใช้แนวคิดใหม่ทางการตลาดตัวไหนอธิบาย

แนวการเขียนตอบกรอบแนวคิด
- ถ้าโจทย์พูดถึงคำว่า "วิเคราะห์" ให้ดูจากเนื้อเรื่อง เช่นให้นักศึกษาวิเคราะห์แล้วดูว่ากรอบแนวคิดที่ใช้คืออะไร อย่างนี้ไม่ใช่ให้สร้างกรอบแนวคิดใหม่ขึ้นมา แต่ให้ดูจากเนื้อเรื่องกรอบที่เขาใช้อยู่จากตัวอย่างในกรณีศึกษามาวิเคราะห์ ให้เขียนกรอบแนวคิดที่เขาทำอยู่แล้วในโจทย์ออกมา ... นี่เป็นการวิเคราะห์ ดังนั้นวิเคราะห์คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว
- ถ้าโจทย์พูดถึงคำว่า "วิจารณ์" คือการเสนอแนะนั่นหมายความว่าให้เสนอกรอบแนวคิดในอนาคต เช่นการสร้างปริมาณการขาย กรอบแนวคิดนี้จะเป็นของอนาคตแล้ว นั่นเป็นสิ่งที่ต้องเสนอมา แต่อนาคตต้องมีความเป็นไปได้ด้วย โดยมีพื้นฐานการทำงานของปัจจุบัน
ดังนั้นต้องดูโจทย์ก่อนว่าโจทย์ถาม "วิเคราะห์" หรือ "วิจารณ์" หรือยกตัวอย่าง 
การตอบกรอบแนวคิดที่ดีสุด
1. บรรทัดแรกตั้งกรอบแนวคิด ..(เลือกกรอบให้ตรงกับที่โจทย์ถาม) ..
2. อธิบายกรอบแนวคิด ...คืออะไร ..ใช้กับตัวอย่างอย่างไร ..
3. ประยุกต์ตัวอย่างใช้งานภายใต้กรอบแนวคิด (ให้ตรงกับที่โจทย์ให้มา)
(ควรตอบให้มีความยาว 5 บรรทัด ถึงครึ่งหน้ากระดาษคำตอบ)

จากกรณีศึกษา ใช้แนวคิดใหม่ทางการตลาดคือ Customization
เน้นการตลาดเฉพาะกลุุ่ม ลูกค้ามีการแบ่งกลุ่มย่อยมากขึ้น แต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกันมากขึ้น เพราะตลาดเริ่มมีตัวเลือกที่หลากหลาย การแบ่งกลุ่มย่อยตลาดเป็น Niche Market จาก M, เป็น M11, M12, M13

จากกรณีศึกษา สตาร์บัคส์ เริ่มทดสอบจำหน่ายเบียร์และไวน์ หลังเวลา 22.00 น. เมื่อปี 2553 และนับจากนั้น ได้ขยายโครงการทดสอบออกไปเป็น 40 ร้านสาขาที่อยู่ศูนย์กลางเมืองใหญ่  เป็นโครงการยามเย็น ที่เพิ่มรายการอาหารพิเศษเข้าไป เช่น เบียร์และไวน์ โดยจะมุ่งเน้นสาขาในย่านบันเทิง ที่คนจะไปรวมตัวกันที่ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์และอื่น ๆ โดย ปัจจุบัน สตาร์บัคส์ มีสาขาทั่วโลกมากกว่า 20,000 แห่ง รวมทั้ง ในสหรัฐ 11,500 แห่ง


BUS 7097 Comprehensive : ประเด็นฯการตลาด ตัวอย่างกรณีศึกษาเครื่องชงกาแฟ Starbucks แบรนด์ "เวอริสโม"



BUS 7097 ประมวลความรู้ (ข้อเขียน) ประเด็นสำคัญในปัจจุบันทางการตลาด
ตัวอย่างกรณีศึกษาเครื่องชงกาแฟ Starbucks แบรนด์ "เวอริสโม" 

ขอบคุณ ภาพประกอบและบทความ "สตาร์บัคส์" เปิดเกมรบ รุกกาแฟสดชงเองที่บ้าน"
จากเว็บไซต์ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1348768982
คอลัมน์ Market Move ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

(ที่มา: http://store.starbucks.com/equipment/equipment-verismo-machines/)


ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าจับตา เมื่อ "สตาร์บัคส์" เข้ามาแข่งขันในธุรกิจกาแฟคั่วบดและเครื่องชงกาแฟสดทำเองที่บ้าน แบรนด์ "เวอริสโม" โดยชูกลยุทธ์ "ราคา" มาเป็นจุดขาย เพื่อชนกับคู่แข่งอย่าง "กรีนเมาน์เท่น" และ "เนสท์เล่" สองยักษ์ผู้นำในตลาดนี้แบบเต็ม ๆ

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ตลาดกาแฟคั่วบดสำเร็จรูปและเครื่องชงกาแฟมีมูลค่าถึง 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดย "ราคาใหม่" ของเวอริสโมแบบเบสิก จะอยู่ที่ 199 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่รุ่นที่อัพเกรดขึ้นมาซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิของน้ำและทำความสะอาดได้ด้วยตัวเอง ราคาจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 399 เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเริ่มวางขายตามร้านค้าปลีกในช่วงตุลาคมที่จะถึงนี้ แต่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาก็เริ่มวางขายในช่องทางออนไลน์ไปแล้ว

ปัจจุบันเครื่องชงกาแฟ Keurig จาก "กรีนเมาน์เท่น" มีสัดส่วนในตลาดอเมริกาถึง 3 ใน 4 ในขณะที่เนสท์เล่ที่มีเครื่องชงกาแฟเอสเพรสโซ่ "เนสเพรสโซ่" (Nesspresso) ครองสัดส่วนอยู่ที่ 35% ของตลาดทั่วโลก โดยมียุโรปเป็นตลาดหลัก หากเทียบราคากันแล้ว เครื่องชงกาแฟ Keurig ตัวใหม่ของกรีนเมาน์เท่นนั้น วางขายประมาณ 250 เหรียญสหรัฐ ขณะที่เครื่องชงเนสเพรสโซ่จะมีราคาระหว่าง 130-700 เหรียญสหรัฐ

ที่ผ่านมาเพื่อเข้าไปชิงส่วนแบ่งในตลาดกาแฟคั่วบดสำเร็จรูป "สตาร์บัคส์" ได้ร่วมกับกรีนเมาน์เท่น โดยผลิตกาแฟในรูปแบบ K-cup สำหรับใช้ในเครื่อง Keurig ของกรีนเมาน์เท่น ทำให้สามารถมีส่วนแบ่งตลาดในกาแฟ K-cup อยู่ที่ 15%

หุ้นในกรีนเมาน์เท่นร่วงลงเมื่อผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ของโลกมีแผนที่จะเปิดตัวเจ้าเครื่องเวอริสโมในเดือนมีนาคม และหุ้นของกรีนเมาน์เท่นได้หล่นลงมาอีกครั้งในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (20 กันยายน) เมื่อสตาร์บัคส์ออกมาประกาศราคาของเครื่องเวอริสโม โดยหุ้นลดลง 6.5% เหลือ 28.82 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่สตาร์บัคส์เพิ่มขึ้น 1.5% เป็น 50.85 เหรียญต่อหุ้น

นักวิเคราะห์กล่าวว่า เวอริสโมได้ถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่จะต่อกรกับเนสท์เล่ ซึ่งทำให้หุ้นของเนสท์เล่ลดลง 0.1% ในการซื้อขายของยุโรป  "โฮเวิร์ด ชูลทส์" ซีอีโอของสตาร์บัคส์ กล่าวว่า บริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นหุ้นส่วนกับกรีนเมาน์เท่น และจะเดินหน้าเพื่อให้เวอริสโมเติบโตเคียงคู่กันไปในธุรกิจนี้ด้วย

ผู้บริหารสตาร์บัคส์ยังกล่าวอีกว่า จากการสำรวจในตลาด กรีนเมาน์เท่นและเนสท์เล่ทิ้งพื้นที่ว่างไว้อีกมาก สำหรับสตาร์บัคส์จะเติบโตในฐานะผู้ทำเครื่องทำกาแฟของตัวเอง "75% ของลูกค้าสตาร์บัคส์ยังไม่มีเครื่องชงกาแฟเป็นของตัวเอง อาจจะเป็นเพราะเครื่องชงกาแฟจาก 2 แบรนด์นั้นไม่ได้ตรงกับความคาดหวังของลูกค้าก็เป็นได้ เรามั่นใจว่าเครื่องชงกาแฟนี้จะสามารถสร้างผลกำไรให้กับบริษัทได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้" ชูลทส์

คำถาม จากกรณีศึกษา เครื่องชงกาแฟ Starbucks แบรนด์ "เวอริสโม"
ให้วิเคราะห์ว่าเป็นกรอบแนวคิดใดใน 3 ตัวนี้ พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบ
 Customization, Customer share, Customer Relationship Management

แนวการเขียนตอบกรอบแนวคิด
- ถ้าโจทย์พูดถึงคำว่า "วิเคราะห์" ให้ดูจากเนื้อเรื่อง เช่นให้นักศึกษาวิเคราะห์แล้วดูว่ากรอบแนวคิดที่ใช้คืออะไร อย่างนี้ไม่ใช่ให้สร้างกรอบแนวคิดใหม่ขึ้นมา แต่ให้ดูจากเนื้อเรื่องกรอบที่เขาใช้อยู่จากตัวอย่างในกรณีศึกษามาวิเคราะห์ ให้เขียนกรอบแนวคิดที่เขาทำอยู่แล้วในโจทย์ออกมา ... นี่เป็นการวิเคราะห์ ดังนั้นวิเคราะห์คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว 
- ถ้าโจทย์พูดถึงคำว่า "วิจารณ์" คือการเสนอแนะนั่นหมายความว่าให้เสนอกรอบแนวคิดในอนาคต เช่นการสร้างปริมาณการขาย กรอบแนวคิดนี้จะเป็นของอนาคตแล้ว นั่นเป็นสิ่งที่ต้องเสนอมา แต่อนาคตต้องมีความเป็นไปได้ด้วย โดยมีพื้นฐานการทำงานของปัจจุบัน
ดังนั้นต้องดูโจทย์ก่อนว่าโจทย์ถาม "วิเคราะห์" หรือ "วิจารณ์" หรือยกตัวอย่าง
การตอบกรอบแนวคิดที่ดีสุด
1. บรรทัดแรกตั้งกรอบแนวคิด ..(เลือกกรอบให้ตรงกับที่โจทย์ถาม) ..
2. อธิบายกรอบแนวคิด ...คืออะไร ..ใช้กับตัวอย่างอย่างไร ..
3. ประยุกต์ตัวอย่างใช้งานภายใต้กรอบแนวคิด (ให้ตรงกับที่โจทย์ให้มา)
(ควรตอบให้มีความยาว 5 บรรทัด ถึงครึ่งหน้ากระดาษคำตอบ)

กรอบแนวคิดตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เหมาะสำหรับนักการตลาด (Marketer)
Customer Share เป็นการเพิ่มส่วนแบ่งลูกค้า เพิ่มสัดส่วนการใช้จ่ายของลูกค้าในสินค้าเรา (แย่งเม็ดเงินในกระเป๋า=ได้ส่วนแบ่งการใช้จ่ายจากลูกค้ามากขึ้น) cross-selling ทำอย่างไรให้ลูกค้าซื้อสินค้าตัวอื่นเพิ่มมากขึ้น

Customization เน้นการตลาดเฉพาะกลุุ่ม ลูกค้ามีการแบ่งกลุ่มย่อยมากขึ้น แต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกันมากขึ้น เพราะตลาดเริ่มมีตัวเลือกที่หลากหลาย การแบ่งกลุ่มย่อยตลาดเป็น Niche Market จาก M, เป็น M11, M12, M13 เช่น โรงพยาบาลเด็ก แบ่งออกเป็น ผิวพรรณเด็ก/จิตเวชเด็ก/อายุรเวชเด็ก จะต้องมี specialization ต้องอาศัยคุณภาพเชิงลึกตอบสนอง customize ก่อให้เกิดความภักดีเนื่องจากรู้ลึก รู้จริง มีความชำนาญ รักษาลูกค้าไว้ได้

Customer Relationship Management (CRM) คือ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหมายถึงวิธีการที่เราจะบริหารให้ลูกค้ามีความรู้สึกผูกพันธ์กับสินค้า ,บริการ หรือองค์กรของเรา เมื่อลูกค้าเค้ามีความผูกพันธ์ในทางที่ดีกับเรา แล้วก็ลูกค้านั้นไม่คิดที่จะเปลี่ยนใจไปจากสินค้าหรือบริการของเรา ทำให้เรามีฐานลูกค้าที่มั่้นคง และนำมาซึ่งความมั่นคงของบริษัท
(ที่มา http://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2072-crm-คืออะไร.html)

จากกรณีศึกษา กรอบแนวคิดที่ใช้คือ Customer Share

หมายถึง เป็นการเพิ่มส่วนแบ่งลูกค้า เพิ่มสัดส่วนการใช้จ่ายของลูกค้าในสินค้าเรา (แย่งเม็ดเงินในกระเป๋า=ได้ส่วนแบ่งการใช้จ่ายจากลูกค้ามากขึ้น) cross-selling ทำอย่างไรให้ลูกค้าซื้อสินค้าตัวอื่นเพิ่มมากขึ้น

จากกรณีศึกษา การเพิ่มส่วนแบ่งลูกค้า "สตาร์บัคส์" ส่งแบรนด์ "เวอริสโม" โดยชูกลยุทธ์ "ราคา" มาเป็นจุดขาย เพื่อชนกับคู่แข่งอย่าง "กรีนเมาน์เท่น" และ "เนสท์เล่" ซึ่งวางขายตามร้านค้าปลีก/ช่องทางออนไลน์  เวอริสโมได้ถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่จะต่อกรกับเนสท์เล่  และ cross-selling "สตาร์บัคส์" ได้ร่วมกับกรีนเมาน์เท่น โดยผลิตกาแฟในรูปแบบ K-cup สำหรับใช้ในเครื่อง Keurig ของกรีนเมาน์เท่น


26 สิงหาคม 2558

BUS 7097 Comprehensive : ประเด็นฯการตลาด ตัวอย่างกรณีศึกษารองเท้าสมุนไพรจากผักตบชวา จังหวัดบุรีรัมย์



BUS 7097 ประมวลความรู้ (ข้อเขียน) ประเด็นสำคัญในปัจจุบันทางการตลาด
ตัวอย่างกรณีศึกษา รองเท้าสมุนไพรจากผักตบชวา จังหวัดบุรีรัมย์

ขอบคุณ ภาพประกอบและบทความ "รองเท้าสมุนไพรจากผักตบชวา จังหวัดบุรีรัมย์"
จากเว็บไซต์ https://souvenirbuu.wordpress.com/ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย/ภูมิปัญญาภาคตะวันออกเฉ/ผ้าและเครื่องแแต่งกาย/รองเท้าสมุนไพรจากผักตบ/


ประวัติความเป็นมา ผักตบชวาเป็นพืชชนิดหนึ่งที่คนทั่วไปมองว่าเป็นพืชที่ไร้ค่า แต่ที่จริงแล้วมีประโยชน์หลายประการ เช่น ดอกใช้กินสดกับส้มตำ หรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ราก ล้ำต้น ใบ ใช้ทำปุ๋ยหมัก เส้นใยหรือก้านใบมีความเหนียวนุ่มนำมาใช้จักสานเป็นอุปกรณ์ต่างๆ ได้หลากหลายชนิด

รองเท้าสมุนไพรจากผักตบชวา เดิมที มีหมู่บ้านใกล้เคียงได้นำเส้นใยจากผักตบชวามาจักสานเป็นกระจากรูปไก่ พาน กล่อง ฯลฯ นำออกจำหน่ายและสามารถจำหน่ายได้ บ้านโนนมะงา เองก็ได้นำเส้นใยจากผักตบชวามาสานเป็นตะกร้า ออกจำหน่าย แต่ความนิยมของตลาดมีน้อย ประกอบกับถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา เลยหันมาดัดแปลงเป็นสินค้าประเภทอื่นๆ เช่น รองเท้า กระจาด เสื่อ ฯลฯ และจัดตั้งกลุ่มขึ้นบริหารงาน ทำการตลาดเอง ปรากฏว่าสินค้าที่อยู่ในความสนใจของลูกค้า คือ รองเท้าจากผักตบชวา ซึ่งในการทำรองเท้าของกลุ่มจะนำสมุนไพร เข้ามาเป็นส่วนผสมด้วย เช่น ตะไคร้ ทำให้เพิ่มคุณค่าของรองเท้าขึ้นมาระดับหนึ่ง เพราะโดยธรรมชาติ เส้นใยของผักตบชวาที่นำมาพันกับตะไคร้ จะมีคุณสมบัติในการนวดฝ่าเท้าไปในตัว ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น เหมาะสำหรับสวมใส่เป็นรองเท้าลำรอง ใช้ในสำนักงาน หรือใส่เดินภายในบ้านอาคารบ้านเรือน  --- Innovation

เอกลักษณ์/ จุดเด่นผลิตภัณฑ์ รองเท้าจากผักตบชวาบ้านโนนมะงา ที่ไม่เหมือนที่อื่นๆ คือ ส่วนประกอบที่เป็นสมุนไพร ความเป็นธรรมชาติที่เน้นใช้วัสดุที่ได้มาจากธรรมชาติให้มากที่สุดสวมใส่สบาย ช่วยนวดฝ่าเท้า ช่วยในการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น

วัตถุดิบและส่วนประกอบ ก้านผักตบชวาตากแห้ง, ใบตะไคร้, กำมะถัน, พื้นรองเท้า, กาวติดพื้นรองเท้า, แลกเกอร์เคลือบผิว

ขั้นตอนการผลิต คัดเลือกก้านใบผักตบชวา ที่มีความยาว และไม่แก่จัด ดูจากสี (มีสีเขียวเข้ม) นำผักตบชวาตากแดดให้แห้งประมาณ 5-7 วัน นำผักตบชวาที่แห้งดีแล้วมาอบด้วยกำมะถัน ป้องกันเชื้อรา ล้างผักตบชวาที่ผ่านการอบกำมะถันด้วยน้ำให้สะอาด นำไปผึ่งให้แห้ง เก็บไว้ใช้งาน ทำพื้นรองเท้า นำผักตบชวาที่เตรียมไว้ มาจักเป็นเส้นที่พอดีสำหรับสานเป็นพื้นรองเท้า โดยแกนของพื้นใช้ใบตะไคร้ที่ตากแห้งดีแล้วมาเป็นแกนพันด้วยเส้นผักตบชวา สานให้ได้รูปแบบของเท้า สายรองเท้า นำผักตบชวาทั้งลำมาพันให้เป็นเกลียวแล้วสานเป็นสายรองเท้า นำพื้นและสายมาประกอบเข้าด้วยกัน เพิ่มพื้นฟองน้ำเพื่อให้รองเท้าคงทน หรือถ้าต้องการให้คงทนและสวยงามเพิ่มมากขึ้น ให้เคลือบด้วยแลคเกอร์ แล้วผึ่งลมให้แห้ง ให้กลิ่นทินเนอร์ระเหยให้หมด แล้วเตรียมบรรจุภัณฑ์ รอการจำหน่าย

เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต ผักตบชวาต้องผ่านการอบด้วยกำมะถัน เพื่อป้องกันเชื้อรา

คำถาม จากกรณีศึกษา รองเท้าสมุนไพรจากผักตบชวา จังหวัดบุรีรัมย์
1. ให้วิเคราะห์ว่าเป็นกรอบแนวคิดใดใน 3 ตัวนี้ พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบ
     Customer Relationship Management, Innovation, Customization
2. ให้ประยุกต์การตลาดแบบ Red Ocean และ Blue Ocean กับกรณีศึกษาพร้อมอธิบายเหตุผลประกอบ

แนวการเขียนตอบกรอบแนวคิด
- ถ้าโจทย์พูดถึงคำว่า "วิเคราะห์" ให้ดูจากเนื้อเรื่อง เช่นให้นักศึกษาวิเคราะห์แล้วดูว่ากรอบแนวคิดที่ใช้คืออะไร อย่างนี้ไม่ใช่ให้สร้างกรอบแนวคิดใหม่ขึ้นมา แต่ให้ดูจากเนื้อเรื่องกรอบที่เขาใช้อยู่จากตัวอย่างในกรณีศึกษามาวิเคราะห์ ให้เขียนกรอบแนวคิดที่เขาทำอยู่แล้วในโจทย์ออกมา ... นี่เป็นการวิเคราะห์ ดังนั้นวิเคราะห์คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว 
- ถ้าโจทย์พูดถึงคำว่า "วิจารณ์" คือการเสนอแนะนั่นหมายความว่าให้เสนอกรอบแนวคิดในอนาคต เช่นการสร้างปริมาณการขาย กรอบแนวคิดนี้จะเป็นของอนาคตแล้ว นั่นเป็นสิ่งที่ต้องเสนอมา แต่อนาคตต้องมีความเป็นไปได้ด้วย โดยมีพื้นฐานการทำงานของปัจจุบัน
ดังนั้นต้องดูโจทย์ก่อนว่าโจทย์ถาม "วิเคราะห์" หรือ "วิจารณ์" หรือยกตัวอย่าง
การตอบกรอบแนวคิดที่ดีสุด
1. บรรทัดแรกตั้งกรอบแนวคิด ..(เลือกกรอบให้ตรงกับที่โจทย์ถาม) ..
2. อธิบายกรอบแนวคิด ...คืออะไร ..ใช้กับตัวอย่างอย่างไร ..
3. ประยุกต์ตัวอย่างใช้งานภายใต้กรอบแนวคิด (ให้ตรงกับที่โจทย์ให้มา)
(ควรตอบให้มีความยาว 5 บรรทัด ถึงครึ่งหน้ากระดาษคำตอบ)

กรอบแนวคิดตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เหมาะสำหรับนักการตลาด (Marketer)
Innovation การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจเป็นแนวความคิด หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการดัดแปลงหรือพัฒนาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม และทันสมัยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ยังสามารถประหยัดทั้งแรงงานและเวลาได้อีกด้วย

Customization เน้นการตลาดเฉพาะกลุุ่ม ลูกค้ามีการแบ่งกลุ่มย่อยมากขึ้น แต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกันมากขึ้น เพราะตลาดเริ่มมีตัวเลือกที่หลากหลาย การแบ่งกลุ่มย่อยตลาดเป็น Niche Market จาก M, เป็น M11, M12, M13 เช่น โรงพยาบาลเด็ก แบ่งออกเป็น ผิวพรรณเด็ก/จิตเวชเด็ก/อายุรเวชเด็ก จะต้องมี specialization ต้องอาศัยคุณภาพเชิงลึกตอบสนอง customize ก่อให้เกิดความภักดีเนื่องจากรู้ลึก รู้จริง มีความชำนาญ รักษาลูกค้าไว้ได้

Customer Relationship Management (CRM) คือ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหมายถึงวิธีการที่เราจะบริหารให้ลูกค้ามีความรู้สึกผูกพันธ์กับสินค้า ,บริการ หรือองค์กรของเรา เมื่อลูกค้าเค้ามีความผูกพันธ์ในทางที่ดีกับเรา แล้วก็ลูกค้านั้นไม่คิดที่จะเปลี่ยนใจไปจากสินค้าหรือบริการของเรา ทำให้เรามีฐานลูกค้าที่มั่้นคง และนำมาซึ่งความมั่นคงของบริษัท
(ที่มา http://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2072-crm-คืออะไร.html)

1. จากกรณีศึกษา กรอบแนวคิดที่ใช้คือ Innovation (นวัตกรรม)
หมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจเป็นแนวความคิด หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการดัดแปลงหรือพัฒนาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม และทันสมัยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ยังสามารถประหยัดทั้งแรงงานและเวลาได้อีกด้วย

จากกรณีศึกษา กลุ่มบ้านโนนมะงา ได้สร้างนวัตกรรมใหม่โดยการนำเส้นใยจากผักตบชวามาจักสาน “รองเท้าสมุนไพร” ที่ไม่เหมือนที่อื่นๆ คือ ส่วนประกอบที่เป็นสมุนไพรเข้ามาเป็นส่วนผสมด้วย เช่น ตะไคร้ ทำให้เพิ่มคุณค่าของรองเท้าขึ้นมาระดับหนึ่ง ความเป็นธรรมชาติที่เน้นใช้วัสดุที่ได้มาจากธรรมชาติให้มากที่สุดสวมใส่สบาย ช่วยนวดฝ่าเท้า ช่วยในการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น

2. ให้ประยุกต์การตลาดแบบ Red Ocean และ Blue Ocean
Red Ocean คือแข่งกันในตลาดที่ผู้ขายสินค้าอยู่แล้ว มากราย หรือมีคู่แข่งขันทางการตลาดมากราย แต่ละรายก็จะมุ่งเน้นจะเอาชนะคู่แข่งอื่นๆ เพื่อที่จะแย่งชิงลูกค้ามาให้ได้มากที่สุด และทำให้ได้กำไรมากที่สุด 
กลยุทธ์ Red Ocean: ย้ายลูกค้า การแข่งขัน cost leadership, product different, focus strategy
การประยุกต์การตลาดแบบ Red Ocean แนวทางที่สำคัญที่จะเอาชนะคู่แข่งให้ได้ก็คือ จะต้องดูว่าคู่แข่งของเราทำอะไรบ้าง สินค้าและบริการของคู่แข่งเป็นอย่างไร เมื่อคู่แข่งออกสินค้าหรือบริการอะไรใหม่ออกมา เราก็จะต้องทำตามและออกมาบ้าง เพื่อไม่ให้น้อยหน้าคู่แข่ง ตัวอย่างเช่น มีหมู่บ้านใกล้เคียงได้นำเส้นใยจากผักตบชวามาจักสานเป็นกระจากรูปไก่ พาน กล่อง ฯลฯ นำออกจำหน่ายและสามารถจำหน่ายได้ กลุ่มบ้านโนนมะงา เองก็ได้นำเส้นใยจากผักตบชวามาสานเป็นตะกร้า ออกจำหน่าย เช่นกัน

Blue Ocean คือตลาดที่ยังไม่เกิด ยังไม่มีการแข่งขัน หรือมีแต่น้อยมากๆ ทำให้ไม่จำเป็นต้องสนใจการแข่งขันเพราะไม่มีผู้เล่นในตลาด เพราะเป็นผู้สร้างตลาดและจับความต้องการนั้นไว้แต่เพียงผู้เดียว หรือจะไม่มุ่งเน้นที่จะตอบสนองต่ออุปสงค์ที่มีอยู่ แต่จะเน้นในการสร้างความต้องการหรืออุปสงค์ขึ้นมาใหม่ (Demand Creation) โดยไม่สนใจและให้ความสำคัญกับคู่แข่งเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรม เป็นการสร้างความต้องการของลูกค้า 
กลยุทธ์ Blue Ocean: สร้างตลาด “ขจัด-ลด-ยก-สร้าง”

การประยุกต์การตลาดแบบ Blue Ocean จะเน้นในการสร้างความต้องการหรืออุปสงค์ขึ้นมาใหม่ (Demand Creation) โดยไม่สนใจและให้ความสำคัญกับคู่แข่งเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรม เป็นการสร้างความต้องการของลูกค้า ตัวอย่างเช่นกลุ่มบ้านโนนมะงา หันมาดัดแปลงเป็นสินค้ารองเท้าจากผักตบชวา ซึ่งในการทำรองเท้าของกลุ่มจะนำสมุนไพร เข้ามาเป็นส่วนผสมด้วย เช่น ตะไคร้ ทำให้เพิ่มคุณค่าของรองเท้าขึ้นมาระดับหนึ่ง เพราะโดยธรรมชาติ เส้นใยของผักตบชวาที่นำมาพันกับตะไคร้ จะมีคุณสมบัติในการนวดฝ่าเท้าไปในตัว ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น

อ้างอิง: 
https://pheerayoota.wordpress.com/2014/03/11/what-is-innovation/
http://jannarong-srisan.blogspot.com/2009/12/red-ocean-blue-ocean-white-ocean.html


23 กรกฎาคม 2558

BUS 7097 Comprehensive : สรุป การจัดการเชิงกลยุทธ์



BUS 7097 สรุปบรรยายสรุปการสอบประมวลความรู้(ข้อเขียน)
วิชา BUS 7017 การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
บรรยายโดย อาจารย์ ดร.ทรรศนะ บุญขวัญ - 23/7/2015

หลักเกณฑ์การสอบประมวลความรู้ (แผน ข)


คะแนนเต็ม 100 คะแนน 70 คะแนนขึ้นไปผ่าน(S) ต่ำกว่า 70 คะแนนไม่ผ่าน(U)
ข้อสอบเป็นกรณีศึกษา 2 เรื่อง (กลยุทธ์ระดับองค์กร, กลยุทธ์ระดับธุรกิจ) ** CLOSE BOOK **

สรุป การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
ข้อสอบเป็นกรณีศึกษา 2 เรื่อง  ** ต้องตอบทั้ง 2 เรื่อง **
1. กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate strategy)
2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy)
แนวข้อสอบเป็นกรณีศึกษา(Case) แล้วให้สร้างกลยุทธ์ระดับ Corporate และกลยุทธ์ระดับ Business

การจัดการเชิงกลยุทธ์แบ่ง 2 ส่วน
1. แนวคิดเชิงกลยุทธ์(Strategic Thinking) แนวคิดได้จาก อ่าน, เห็น, เกมส์, ประสบการณ์, กรณีศึกษา, สามก๊ก, โจโฉแตกทัพเรือ, ซุนวู: รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง, เลี่ยงจุดแข็ง โจมตีจุดอ่อน, การเข้าใจศัตรูคือสิ่งสำคัญสู่ชัยชนะ, แต่ได้ชัยโดยไม่รบนั้น เป็นสุดยอดแม่ทัพ เพราะไม่สูญเสียไพร่พลทั้งสองฝ่าย
2. กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management Process) หมายถึง แผนการการตัดสินใจที่จะทำให้ไปสู้เป้าหมายและประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว (Long term) หรือ "Above Average Returns" =>ได้เปรียบคู่แข่งในระยะยาวอย่างยั่งยืน



ตัวอย่างแนวข้อสอบ กรณีศึกษา(Case)...
หากคุณเป็นกรรมการผู้จัดการหรือ CEO ของบริษัทดังกล่าวข้างต้น ท่านจะมีแนวคิดเชิงกลยุทธ์และกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ ในการกำหนดกลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate strategy) และกลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) … (แนวคิดได้ .. กระบวนการถูก .. อย่างไรก็สอบผ่าน) 

แนวการตอบ การจัดการเชิงกลยุทธ์แบ่ง 2 ส่วน คือ
1. แนวคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
แนวคิดได้จาก อ่าน, เห็น, เกมส์, ประสบการณ์, กรณีศึกษา, สามก๊ก, โจโฉแตกทัพเรือ,
ซุนวู: รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง, เลี่ยงจุดแข็ง โจมตีจุดอ่อน, การเข้าใจศัตรูคือสิ่งสำคัญสู่ชัยชนะ, แต่ได้ชัยโดยไม่รบนั้น เป็นสุดยอดแม่ทัพ เพราะไม่สูญเสียไพร่พลทั้งสองฝ่าย


แนวคิดเชิงกลยุทธ์ที่ใช้ในกรณีศึกษานี้คือ “ซุนวู: รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”

การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นการคิดที่ว่า ผู้อื่นคิดอย่างไร แล้วเราจะต้องคิดนำหน้าเขาไปให้ได้อีกหนึ่งก้าวเสมอ หากเรารู้จักคิด จัดการเชิงกลยุทธ์ มันจะมีผลดี ต่อองค์กรธุรกิจ คือ
1) ทำให้เรารู้และมีทิศทางของตนเอง มีวิสัยทัศน์ มีวัตถุประสงค์ อย่างเป็นระบบ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2) เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันในเชิงธุรกิจ (รู้เขารู้เรา) เป็นการได้เปรียบในลักษณะเชิงป้องปราม เป็นการสร้างสรรค์และประยุกต์สิ่งใหม่ที่ดีสำหรับองค์กร 

อ่านเสริม .. เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
การจัดการเชิงกลยุทธ์ กับตำราพิชัยสงครามของ “ซุนวู” โดย.อ.พีรศักดิ์ วิลัยรัตน์ 

การจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับในทางธุรกิจ ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือ CEO ต้องคิดและหา เครื่องมือ มาทำการวิเคราะห์ธุรกิจของตนเอง เพื่อเลือกหนทางที่ดีที่สุด ที่จะเป็นแนวทางบริหารและกำหนดทิศทางของธุรกิจตน โดยอาจจะใช้กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management Process) ซึ่งประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic Analysis)
2. การกำหนดหรือสร้างกลยุทธ์ (Strategic Formulation)
3. การนำกลยุทธ์ไปใช้ (Strategic Implement)
4. การประเมินผลกลยุทธ์ (Strategic Evaluation)

2. กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management Process)


ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic Analysis)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม(SWOT Analysis) รู้เขารู้เรา” มีปัจจัย 2 ส่วนดังนี้
1) ปัจจัยภายใน วิเคราะห์ทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อกำหนดจุดแข็ง(S), จุดอ่อน(W) ตามแนวคิดเชิงกลยุทธ์ “รู้เรา” โดยใช้เครื่องมือ 7’S Model ของ McKinney
7’S Model : Strategy, Structure, System, Staff, Skill, Style, Share Value
                     (กลยุทธ์,โครงสร้าง,ระบบ,บุคลากร,ทักษะ,รูปแบบ,ค่านิยม)


2) ปัจจัยภายนอก วิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทั่วไป และสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม ที่จะมีผลต่อองค์กรธุรกิจ เพื่อมองหาโอกาส(O), อุปสรรค(T) ตามแนวคิดเชิงกลยุทธ์ “รู้เขา” โดยใช้เครื่องมือ PEST+DG และ Five-Forces Model ของ Michael E. Porter

PEST+DG : Political, Economic, Social, Technology, Demographic, Globalization
                     (การเมือง, เศรษฐกิจ, สังคม, เทคโนโลยี, ประชากร, โลกาภิวัฒน์)


Five Forces :คู่แข่งรายใหม่(เข้าง่าย- เข้ายาก+), อำนาจต่อรอง supplier(มาก- น้อย+), อำนาจต่อรองลูกค้า(มาก- น้อย+), สินค้าทดแทน(มาก- น้อย+), อุตสาหกรรมเดียวกัน(มาก- น้อย+)

วิเคราะห์ SWOT (STOW Analysis)


ประเมินปัจจัยภายในและภายนอก: IFE/EFE Matrix
นำสิ่งที่ได้จาก STOW มาประเมินปัจจัยภายในและภายนอกผ่านตัวกรอง IFE/EFE Matrix เลือกใช้ 3-5 Factor ที่สำคัญ ของจุดแข็ง, จุดอ่อน, โอกาส, อุปสรรค

IFE Matrix: ประเมินปัจจัยภายใน จุดแข็ง(S) , จุดอ่อน(W)
Internal Factor Evaluation matrix (เมตริกซ์การประเมินปัจจัยภายใน)
* Weight สิ่งใดมีความสำคัญกับองค์กรมากให้น้ำหนักมาก แต่ผลรวมต้องเท่ากับ 1.00
* Rating ประเมินใช้เกณฑ์ 1-4 โดย 1=จุดอ่อนหลัก, 2=จุดอ่อนรอง, 3=จุดแข็งรอง, 4=จุดแข็งหลัก




ค่ารวมของคะแนนมีค่าเท่ากับ 2.80 >= 2.50 แสดงว่า มีจุดแข็ง(S) > จุดอ่อน(W)

EFE Matrix: ประเมินปัจจัยภายนอก โอกาส(O) , อุปสรรค(T)
External Factor Evaluation matrix (เมตริกซ์การประเมินปัจจัยภายนอก)
* Weight สิ่งใดมีผลกระทบกับองค์กรมากให้น้ำหนักมาก แต่ผลรวมต้องเท่ากับ 1.00
* Rating ประเมินใช้เกณฑ์ 1-4 โดย 1=รับมือไม่ได้เลย, 2=รับมือไม่ได้, 3=รับมือได้, 4=รับมือได้เป็นอย่างดี



ค่ารวมของคะแนนมีค่าเท่ากับ 2.80 > 2.50 แสดงว่า มีโอกาส(O) > อุปสรรค(T)  

วิสัยทัศน์ (Vision) -> ภาพกว้างๆซึ่งผู้นำปราถนาให้องค์กรไปสู่

พันธกิจ (Mission) ->ขอบเขตหน้าที่ภารกิจที่องค์กรมุ่งหวัง

ขั้นที่ 2 สร้างกลยุทธ์ (Strategic Formulation)
จากผลการประเมินปัจจัย IFE/EFE พบว่าคะแนนถ่วงน้ำหนัก สำหรับปัจจัยภายนอกมีค่าเท่ากับ 2.80 และภายในเท่ากับ 2.80 ซึ่งมีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ย 2.5 แสดงว่าอยู่ในตำแหน่ง จุดแข็ง(S)และมีโอกาส(O) ดังนั้นกลยุทธ์ที่เลือกใช้จะเป็นกลยุทธ์ SO



การกำหนดกลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy)
องค์กร มีจุดแข็ง(S)และมีโอกาส(O) ในการดำเนินงาน ต้องใช้กลยุทธ์ SO (SO Strategies) คือ ใช้จุดแข็งประสานกับโอกาสจากภายนอก เรียกว่า “กลยุทธ์เชิงรุก” คือว่าเป็นสถานการณ์ดาวรุ่ง (star) มีส่วนแบ่งสูงและอัตราเติบโตของตลาดสูง ถ้าเปรียบจะอยู่ในช่วง Growth ของ business life cycle ตลาดมีความน่าสนใจและคู่แข่งเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น ใช้จึงเป็นกลยุทธ์ การเติบโต(Growth Strategy)


ใช้ BCG (BCG growth-share matrix) วิเคราะห์ความเจริญเติบโตของตลาด และส่วนครองตลาด ประเมินปัจจัยภายในและภายนอก IFE=2.80 >=2.50 และ EFE=2.80 >2.50 ทำให้ทราบถึงตำแหน่งขององค์กรอยู่ที่ Question Marks - Stars ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีอัตราการเติบโตของตลาด สูง เป็นธุรกิจที่กำลังเติบโต ดังนั้นกลยุทธ์ระดับองค์กรคือ กลยุทธ์เติบโต (Growth Strategy) มุ่งเน้นความเชี่ยวชาญ(Concentration) เติบโตตามแนวนอน(Horizontal) ขยายโรงงาน เพิ่มกำลังการผลิต ขยายสาขาทั้งในและต่างประเทศ(หา Target Market ใหม่) กลยุทธ์พัฒนาตลาด



การกำหนดกลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) 
-->ความสามารถในการแข่งขัน ดูจาก Case ที่ถาม ตอบอย่างเดียวเท่านั้น

ถ้าสินค้า Standardization (Convenience Goods) เลือก Cost Leadership เพราะฉะนั้นต้องผลิตเหมือนๆกัน ทีละเยอะๆ ต้องมีจุดเน้นอยู่ที่ การผลิต
ถ้าสินค้า Customization (Made to Order) เลือก Differentiation เพราะฉะนั้นจุดแข็งอยู่ที่ การตลาด
ถ้าสินค้า SME ขนาดเล็ก เลือก Cost Focus หรือ Focus Differentiation
--> ดูจาก Case ที่ถามตอบอย่างเดียวเท่านั้น

แล้วอธิบายด้วย Value Chain
--> อธิบายรวม เอาจุดแข็งมาเขียน ไม่ต้องแยก Primary กับ Support Activity
เป็นการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายใน เพื่อกำหนด จุดแข็ง(S) และจุดอ่อน(W) ขององค์กร และกำหนด Business Strategy


กิจกรรมหลัก
IB: กิจกรรมการได้รับ การขนส่ง การจัดเก็บและการแจกจ่ายวัตถุดิบ
OP: กิจกรรมการเปลี่ยนหรือแปรรูปวัตถุดิบให้ออกมาเป็นสินค้า เป็นขั้นตอนการผลิต
OB: กิจกรรมการจัดเก็บ รวบรวม จัดจำหน่ายสินค้าและบริการไปยังลูกค้า
M&S: กิจกรรมการชักจูงให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการ
Services: กิจกรรมการให้บริการเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและบริการหลังการขาย

กิจกรรมสนับสนุน
IF: โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร ได้แก่ ระบบบัญชี ระบบการเงิน บริหาร องค์กร
HR: กิจกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคล วิเคราะห์ สรรหา คัดเลือก
TD: กิจกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยในการเพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการ
P: กิจกรรมในการจัดซื้อ-จัดหา input เพื่อมาใช้ในกิจกรรมหลัก

ถ้าเลือก Cost Leadership --> เอาจุดแข็งด้านต้นทุนมาเขียน
- Inbound กิจกรรมการได้รับ การขนส่ง การจัดเก็บและการแจกจ่ายวัตถุดิบ
- Operation กิจกรรมการเปลี่ยนหรือแปรรูปวัตถุดิบให้ออกมาเป็นสินค้า เป็นขั้นตอนการผลิต
- Outbound กิจกรรมการจัดเก็บ รวบรวม จัดจำหน่ายสินค้าและบริการไปยังลูกค้า

ถ้าเลือก Differentiation --> เอาจุดแข็งด้านความแตกต่างมาเขียน
- Marketing and Sell กิจกรรมการชักจูงให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการ
- Service กิจกรรมการให้บริการเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและบริการหลังการขาย
- Technology กิจกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยในการเพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการ

NOTE
--> ถ้ายังมีเวลาเหลือพอให้เขียน ขั้นตอนที่ 3 และ 4 
--> ถ้าเวลาไม่พอ ให้เขียนเฉพาะหัวข้อขั้นตอนที่ 3 และ 4 

ขั้นที่ 3 การนำกลยุทธ์ไปใช้ (Strategic Implementation)
ใช้เครื่องมือ Strategy Map เปนเครื่องมือที่ทําใหผูบริหารและบุคลากรมีความเขาใจและชัดเจนในแผนกลยุทธ์ขององค์กรมากขึ้น

ขั้นที่ 4 การประเมิน/วัดผลกลยุทธ์ (Strategic Evaluation and Control)
การควบคุม ใช้ Balance Score Card : BSC โดย BSC จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุม

กรณีศึกษา-บริษัท เย็นศาสตร์ จำกัด


อ่านเสริม .. เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

แนวคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) 6 แนวคิด คือ
1. ความคิดในมุมมองขององค์รวม (Holistic Thinking) และ ความคิดในเชิงบริบท (Context Thinking)
เป็นแนวความคิดเพื่อตอบโจทย์ในเหตุการณ์ต่างๆ อย่างรอบคอบ หรือ หาแนวความคิดให้ครบ ให้ถ้วนถี่ เช่น การเดินหมากรุกแต่ละครั้ง ก็ต้องคิดไปถึงการเดินต่อไปของฝั่งตรงข้ามอีกหลายช๊อตว่าเขาจะเดินได้อย่างไรบ้าง และ เขากำลังต้องการทำอะไร หรือ แม้นแต่การศึกสงครามที่ใช้กลยุทธ์ในการวางแผนการรบ อย่างปรัชญาแบบตะวันออก ตำราพิชัยสงคราม (The Art of War) ของซุนวู เมื่อกว่า 2000 ปีมา ซึ่งได้นำมาใช้อ้างอิงอย่างกว้างขวางในแวดวงธุรกิจ ทั้งนี้ เพราะ การทำธุรกิจก็เปรียบเสมือนการทำสงคราม เป็นการคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อเอาชนะคู่แข่งให้ได้

2. การปรับเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) และ การคิดล่วงหน้า (Forward Thinking)
"องค์กรที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก็เปรียบเสมือนองค์กรที่กำลังจะตาย" คำกล่าวนี้ทำให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงขององค์กรในเรื่องต่างๆ ทั้งในการทำงานหรือในเชิงธุรกิจ ต้องมีอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดหรือ หรือ ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา หรือ แม้นแต่การเปลี่ยนแปลง เพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงต่างๆจำเป็นต้องมีผู้นำที่มีแนวคิด การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในเชิงกลยุทธ์ (Paradigm Shift) และ การคิดล่วงหน้า (Forward Thinking) ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงปัจจุบันให้เหมาะกับอนาคต ทั้งนี้ การมีวิสัยทัศน์ (Vision Shift) ว่าเราต้องการที่จะอยู่ในตำแหน่งใดให้ถูกต้องเหมาะสม การดำเนินการจัดการ (management Shift) วางแผน กำหนดทิศทางขององค์กร (Direction Shift) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์ จำเป็นต้องมีผู้นำที่มีศักยภาพทางด้านความคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อจัดทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ เปลี่ยนแปลงองค์กรไปในทิศทางที่ถูกต้อง และ สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะกับอนาคต (Corporate Culture Shift) ไปพร้อมๆกัน

3. การมีวิสัยทัศน์ (Vision) และ พันธกิจ (Mission)
องค์กรสมัยใหม่ (Modern Organization) เน้นหนักทางด้านการกำหนด วิสัยทัศน์ (Vision) และ พันธกิจ (Mission) ทั้งนี้ มีผุ้บริหารน้อยคนนัก ที่จะเข้าใจคำสองคำนี้ได้อย่างถ่องแท้ และ การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรที่มาจากผู้บริหารที่ไม่มีองค์ความคิด (Visionary Thinking) ก็จะกำหนดวิสัยทัศน์ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้น ผู้บริหารที่จะมีวิสัยทัศน์ และ สามารถกำหนดพันธกิจ ได้เหมาะสม จึงต้องมีความสามารถทางด้าน วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ทั้ง สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อองค์กร เพื่อกำหนดวิสัยทัศนื และ สภาพแวดล้อมภายใน เพื่อกำหนดพันธกิจ ให้เหมาะสมเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้

4. การมีความคิดในเชิงบูรณาการ (Innovative Thinking) และ ความคิดนอกกรอบ (Creative Thinking)
นักบริหารที่เกี่ยวข้องกับการผลิต หรือ นวัตกรรม ย่อมใส่ใจและให้ความสำคัญต่อ Strategic Innovation หรือ นวัตกรรมทางกลยุทธ์มากขึ้น ทั้งนี้ เพราะ หลีกเลี่ยงไม่ได้กับการพัฒนาเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในมุมมองเดียวกัน หากองค์กรทั่วไป มองว่า การสร้างให้ผู้บริหารของตนนั้น มีมุมมองในเช้งบูรณาการ และ การคิดนอกกรอบ ก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังเช่น องค์กรเก่าๆที่รอดมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ คอมพิวเตอร์ในสมัย 10-15 ปีที่ผ่านมา แต่องค์กรที่ล้มหายตายจากไป ก็จะมีมุมว่าเป็นสิ่งฟุ่มเฟืย เสียเงินเปล่า เป็นต้น ทั้งนี้ การสร้างความคิดที่เรียกว่า Strategic Innovation Thinking จะเป็นการสร้างมุมมองในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับ เทคนิคการพัฒนาเพื่อให้แตกต่าง (Creative Thinking & Innovation Thinking) รวมไปถึง การคิดแบบ Blue Ocean เพื่อหาหนทางในการตลาดแบบใหม่ๆ ที่ไม่แข่งขันกันมากเกินไป

5. การวางแผนทางเลือก (Scenario Planning) และ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจมีความผันผวน ธุรกิจต่างๆจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับความผันผวนที่เกิดขึ้น ทั้งจาก สังคม เศรษฐกิจ คู่แข่ง รวมทั้งความต้องการของลูกค้า การวางแผนขององค์กรต่างๆ จึงต้องพึ่งนักบริหารที่มีมุมมองแนวคิดในเชิงความเปลี่ยนแปลงในอนาคต (Future Thinking) และ จัดทำแผนทางเลือก (Scenario Planning) ที่หลากหลายเพื่อมารองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเหตุการณ์ต่างๆกัน ทั้งนี้
ภายใต้ภาวะความผันผวนของสภาพแวดล้อมปัจจุบัน การบริหารแผนงานต่างๆ จึงต้องเน้นการมองถึงอนาคตอยู่ตลอดเวลา (Future Thinking) และในเชิงการคิดเชิงกลยุทธ์นั้น ในการสร้างแผนทางเลือกต่างๆสำหรับอนาคต( Scenario Planning ) จึงเป็นรูปแบบแนวคิดเชิงกลยุทธ์อีกแบบหนึ่ง ที่หลายๆ องค์กรชั้นนำได้หยิบเครื่องมือนี้มาใช้ประยุกต์ต่อ การสร้างแผนเพื่อตอบสนองกับ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันนั่นเอง ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ถึง
- การคิดเชิงกลยุทธ์ในการมองอนาคต
- การสร้างทางเลือกเชิงกลยุทธ์จากวิธี Scenario
- เทคนิคการสร้างแผนกลยุทธ์ด้วยการสร้างภาพในอนาคต

6. Game Theory
Game Theory ของ John Nash เป็นวิธีคิดเชิงกลยุทธ์ที่ได้รับรางวัลโนเบล ถึง 2 ครั้ง หลักการแนวคิดเชิงกลยุทธ์ ที่คำนึงถีง บุคคล ส่วนได้ ส่วนเสีย ผลกระทบอื่นๆ เพื่อมองให้เห็นถึงความเป็นจริง ในความต้องการ และ ความเป็นไป เช่น ความต้องการของลูกค้า การทำตัวเป็นลูกค้า ประเมินความต้องการของทั้งสองฝ่าย เพื่อที่จะหาจุดที่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ นักบริหาร จำเป็นที่จะต้องสร้างให้มีขึ้นในแนวความคิดของตนเองทั้งสิ้น เพื่อใช้ทั้งในการ วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินสถานการณ์ ทั้งตัวเอง และ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะทราบว่า เราควรที่จะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดกลับเข้ามา
ทฤษฎีเกม แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
Zero Sum Game - มุมมองของความคิด มีคนได้ ก็มีคนเสีย หรือ มากที่สุดก็เสมอกัน เช่น การเล่นฟุตบอล จะมีทีมใดทีมหนึ่งที่จะชนะ เมื่อมีคนชนะ ก็จะมีคนแพ้ และที่สำคัญ ไม่มีใครที่อยากเป็นคนพ่ายแพ้ ดังนั้น ทุกคนจึงพยายามหลีกเลี่ยงความพ่ายแพ้ เพื่อให้เป็นฝ่ายชนะ
Negative Sum Game - หากมีเกมใดที่จะเข้าไปแล้วทำให้ผู้เล่นเสียผลประโยชน์ หรือ ใครก็ตามเข้ามาในเกมนี้ ก็จะเสียหาย ผู้เล่นที่เข้าเล่นในเกมส์นี้เหมือนคนบ้า ที่จะนำทั้งตัวเองและผู้เล่นอีกฝ่ายไปสู่การสูญเสีย ไม่มีใครได้ประโยชน์ ทุกคนเสียประโยชน์เท่ากัน เช่น การใช้สงครามราคา ที่ผู้ค้าแต่ละรายพยายามลดราคาลงให้ต่ำกว่าคู่แข่ง เพื่อหวังให้ยอดการจำหน่ายสูงขึ้น จนผู้ค้าในตลาดทั้งหมดต้องลดราคาลงตาม สถานการณ์แบบนี้ มีแต่สูญเสีย แข่งขันกัน ซึ่งถ้ามองในมุมของผู้ขาย ก็จะพบว่า ต่างฝ่ายต่างขายตัดราคา เพื่อพยายามยึดครองลูกค้าให้มากที่สุด แต่ไม่ได้คำนึงถึงกำไร-ขาดทุน จนบางครั้งขายขาดทุนไปจำนวนมาก เพื่อเอาชนะอีกฝ่าย และหากชนะ แต่ลูกค้าก็อยากที่จะได้ราคาถูกเช่นเดิม อาจจะหาคู่แข่งรายใหม่มาเป็นเพื่อนเล่นกับเราได้ ดังนั้น เกมที่เล่นแล้วมีแต่เสีย นักบริหารเชิงกลยุทธ์จะหลีกเลี่ยงเกมเหล่านี้ (Lose - Lose)
Positive Sum Game - เป็นเกมที่ผู้เล่นทุกคนได้ผลประโยชน์ จะมากหรือน้อยก็ยังได้ผลประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์ราคาน้ำมัน ประเทศผู้ผลิตน้ำมันยอมที่จะฮั้วกำลังการผลิตไม่ให้เกินโควต้าของแต่ละประเทศเพื่อควบคุมราคาน้ำมันในตลาดโลก มากกว่าที่จะเร่งกำลังการผลิตของตัวเองให้มากที่สุด เพราะการกระทำเช่นนั้น แม้ว่าตนเองจะขายน้ำมันได้มากขึ้น แต่ประเทศอื่นก็จะทำตามและส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อาจจะลดลง ผู้ชนะในเกมส์คือประเทศที่มีน้ำมันเหลืออยู่เป็นประเทศสุดท้ายที่อาจจะกลายเป็นประเทศที่ขายน้ำมันเป็นเจ้าสุดท้ายของโลก ดังนั้นทุกประเทศที่ผลิตน้ำมันจึงรวมหัวกันกำหนดโควต้าเพื่อควบคุมราคาและยอมรับผลประโยชน์ที่แน่นอนแต่ไม่ได้มากที่สุดของแต่ละประเทศ เป็นต้น

โดยอาจารย์ วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)
(ที่มา: https://sites.google.com/site/salesstrategythai/home/6-naewkhid-cheingkl-yuthth)


McKinney 7-S Framework แนวคิดปัจจัย 7 ประการในการประเมินองค์การ

1. กลยุทธ์ขององค์กร (Strategy)
การบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริหารตอบคำถามที่สำคัญ อาทิ องค์กรอยู่ที่ไหนในขณะนี้ องค์กรมีเป้าหมายอยู่ที่ไหน พันธกิจของเราคืออะไร พันธกิจของเราควรจะเป็นอะไร และใครเป็นผู้รับบริการของเรา การบริหารเชิงกลยุทธ์จะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การบริหารเชิงกลยุทธ์จะช่วยให้องค์กร กำหนดและพัฒนาข้อได้เปรียบทางการแข่งขันขึ้นมาได้และเป็นแนวทางที่บุคคลภายในองค์กรรู้ว่าจะใช้ความพยายามไปในทิศทางใดจึงจะประสบความสำเร็จ
2. โครงสร้างองค์การ (Structure)
คือโครงสร้างที่ได้ตั้งขึ้นตามกระบวนการ หรือหน้าที่ของงานโดยมีการรับบุคลากรให้เข้ามาทำงานร่วมกันในฝ่ายต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ หรือหมายถึง การจัดระบบระเบียบให้กับบุคคล ตั้งแต่ 2-คนขึ้นไป-เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้-เนื่องจากองค์กรในปัจจุบันมีขนาดใหญ่-การจัดองค์กรที่ดีจะมีส่วนช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ลดความซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งในหน้าที่ ช่วยให้บุคลากรได้ทราบขอบเขตงานความรับผิดชอบ มีความสะดวกในการติดต่อประสานงาน ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการบริหารจัดการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
3. ระบบการปฏิบัติงาน (System)
ในการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามที่กำหนดไว้นอกจากการจัดโครงสร้างที่เหมาะสมและมีกลยุทธ์ที่ดีแล้ว การจัดระบบการทำงาน (Working System) ก็มีความสำคัญยิ่ง อาทิ ระบบบัญชี/การเงิน (Accounting/Financial System) ระบบพัสดุ (Supply System) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology System) ระบบการติดตาม/ประเมินผล (Monitoring/Evaluation System) ฯลฯ
4. บุคลากร (Staff)
ทรัพยากรมนุษย์นับเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่ส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการวิเคราะห์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต โดยการตัดสินใจเกี่ยวกับบุคลากรนั้นควรมีการวิเคราะห์ที่อยู่บนพื้นฐานของกลยุทธ์องค์การที่เป็นสิ่งกำหนดทิศทางที่องค์การจะดำเนินไปให้ถึง ซึ่งจะเป็นผลให้กระบวนการกำหนดคุณลักษณะ และการคัดเลือกและจัดวางบุคลากรได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
5. ทักษะ ความรู้ ความสามารถ (Skill)
ทักษะในการปฏิบัติงานของทรัพยากรบุคคลในองค์การสามารถแยกทักษะออกเป็น 2 ด้านหลัก คือ ทักษะด้านงานอาชีพ (Occupational Skills) เป็นทักษะที่จะทำให้บุคลากรสามารถปฎิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ได้ ตามหน้าที่ และลักษณะงานที่รับผิดชอบเช่น ด้านการเงิน ด้านบุคคล ซึ่งคงต้องอยู่บนพื้นฐานการศึกษาหรือได้รับการอบรมเพิ่มเติม ส่วนทักษะ ความถนัด หรือความชาญฉลาดพิเศษ (Aptitudes and special talents) นั้นอาจเป็นความสามารถที่ทำให้พนักงานนั้นๆโดดเด่นกว่าคนอื่น ส่งผลให้มีผลงานที่ดีกว่าและเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้รวดเร็ว ซึ่งองค์การคงต้องมุ่งเน้นในทั้ง 2 ความสามารถไปควบคู่กัน
6. รูปแบบการบริหารจัดการ (Style)
แบบแผนพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของผู้บริหารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของสภาพแวดล้อมภายในองค์กร พบว่า ความเป็นผู้นำขององค์กรจะมีบทบาทที่สำคัญต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์กร ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะต้องวางโครงสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้วยการเชื่อมโยงระหว่างความเป็นเลิศและพฤติกรรมทางจรรยาบรรณให้เกิดขึ้น
7. ค่านิยมร่วม (Shared values)
ค่านิยมและบรรทัดฐานที่ยึดถือร่วมกันโดยสมาชิกขององค์กรที่ได้กลายเป็นรากฐานของระบบการบริหาร และวิธีการปฏิบัติของบุคลากรและผู้บริหารภายในองค์กร หรืออาจเรียกว่าวัฒนธรรมองค์กร รากฐานของวัฒนธรรมองค์กรก็คือ ความเชื่อ ค่านิยมที่สร้างรากฐานทางปรัชญาเพื่อทิศทางขององค์กร โดยทั่วไปแล้วความเชื่อจะสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกภาพและเป้าหมายของผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหารระดับสูง ต่อมาความเชื่อเหล่านั้นจะกำหนดบรรทัดฐาน เป็นพฤติกรรมประจำวันขึ้นมาภายในองค์กร เมื่อค่านิยมและความเชื่อได้ถูกยอมรับทั่วทั้งองค์กรและบุคลากรกระทำตามค่านิยมเหล่านั้นแล้วองค์กรก็จะมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง
(ที่มา: http://www.hrcenter.co.th/HRKnowView.asp?id=647)

อยากรู้เรื่องทฤษฎีการตลาดกับผู้เชี่ยวชาญ ผมแนะนำ M.B.A. (Marketing) Ramkhamkaeng .. แต่ถ้าอยากรู้ว่าเรียนการตลาดแล้วจะประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินได้อย่างไร คุณต้องมีโค้ชแนะนำ ครับ

วางแผนการเงินกับ #finadvisor #ความมั่งคั่งเริ่มต้นที่นี่ finadvisor.co
โค้ชส่วนตัว ช่วยวางแผน

×
News