31 สิงหาคม 2557

BUS 6016 : บทที่ 3 Research Proposal


ตำรา : Zikmund, W., Babin, B. J., Carr, J. C. and Griffin, M. (2010).
Business Research Methods (8 ed.) South-western Cengage Learning
         สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฎิบัติ. กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

BUS 6016 : บทที่ 3 Research Proposal

การเขียนเค้าโครงการวิจัย(Research Proposal) 

โดยทั่วไปการเขียนเค้าโครงการวิจัย มีหลักการใหญ่ ๆ คือ
  1. กำหนดปัญหาและความจำเป็นที่ต้องพัฒนา
  2. สร้างเครื่องมือในการแก้ปัญหา/พัฒนา
  3. การจัดกิจกรรมการแก้ปัญหา/การพัฒนา
  4. การวัดและประเมินผล 
ส่วนการเขียนเค้าโครงการวิจัยชั้นเรียนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มีหัวข้อสำคัญที่จะต้องเขียน ดังนี้
  1. ชื่อเรื่องการวิจัย
  2. หลักการและเหตุผล
  3. วัตถุประสงค์การวิจัย
  4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  5. แนวคิด/หลักการที่ใช้แก้ปัญหา/การพัฒนา
  6. วิธีดำเนินการวิจัย
  7. ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย (Gantt Chart) 
  8. ผู้รับผิดชอบโครงการ 
หลักเกณฑ์ในการกำหนด / การเขียนเค้าโครงงานวิจัย
  1. การตั้งชื่อเรื่อง
    1.1 กะทัดรัด ชัดเจน ให้สามารถสื่อได้ว่าจะศึกษาเรื่องอะไร กับใคร
    1.2 แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรของปัญหา
    1.3 ภาษาชัดเจน อ่านง่าย ถ้าเป็นศัพท์เทคนิคต้องเป็นที่ยอมรับกันในสาขานั้น
    1.4 ระมัดระวังมิให้ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น
  2. การคัดเลือกเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    2.1 ทันสมัย
    2.2 ชี้นำและให้ข้อมูลเพียงพอ
    2.3 มีบรรณานุกรมให้สืบค้น
    2.4 เสนอแนวคิดที่เป็นประโยชน์
    2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องพิจารณาจาก
           - ชื่อเรื่อง
           - ตัวแปรที่ศึกษา
           - ประชากรที่ศึกษา
  3. ตัวแปร
    Concept Variable ตัวแปรที่คนทั่วไปเข้าใจและรับรู้ตรงกัน เช่น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ฯ
    Construct Variable ตัวแปรเฉพาะที่คนทั่วไปอาจรับรู้ไม่ตรงกัน เช่น ความวิตกกังวล เจตคติ เป็นต้น

    แต่โดยทั่วไปแล้วงานวิจัยมักจะกำหนดตัวแปรและเรียกชื่อตัวแปรต่าง ๆ ดังนี้
    3.1 ตัวแปรต้น/ตัวแปรอิสระ(Independent Variable) หมายถึงตัวแปรที่เกิดก่อนหรือที่เรียกว่า ตัวแปรเหตุ
    3.2 ตัวแปรตาม/ตัวแปรผล(Dependent Variable) หมายถึงตัวแปรที่เกิดเนื่องมาจากตัวแปรอิสระ
    3.3 ตัวแปรแทรกซ้อน/ตัวแปรเกิน(Extraneous Variable) เป็นตัวแปรที่สามารถส่งผลต่อตัวแปรอิสระได้ เช่น สติปัญญา ความถนัด วิธีการคิด ฯ เป็นต้น
    3.4 ตัวแปรสอดแทรก(Intervening Variable) เป็นตัวแปรที่อาจส่งผลต่อตัวแปรตามได้ เช่น ความคับข้องใจ ภาวะของสุขภาพ ความวิตกกังวล ฯ
  4. สมมติฐาน สมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
    4.1 สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย
    4.2 ตอบคำถามได้ครอบคลุมและอยู่ในรูปแบบที่ลงสรุปได้ว่าสนับสนุนหรือคัดค้าน
    4.3 แต่ละสมมติฐานควรตอบคำถามประเด็นเดียว
    4.4 สอดคล้องกับสภาพเป็นจริงและยอมรับกันโดยทั่วไป
    4.5 สมเหตุสมผลทางทฤษฎีและความรู้พื้นฐาน
    4.6 ตรวจสอบได้ มีข้อมูลสนับสนุนหรือคัดค้านได้
    4.7 มีขอบเขตพอเหมาะไม่กว้างจนเกินไป
  5. แบบการวิจัย แบบการวิจัย หมายถึง แผน(Plan) โครงสร้าง(Structure) และยุทธวิธี(Strategy) ในการวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของการวิจัย
    แผน(Plan) หมายถึง ขอบข่ายการดำเนินงานวิจัยโดยส่วนรวม
    โครงสร้าง(Structure) หมายถึง เค้าโครงหรือแบบจำลอง(Model) ของตัวแปรในการวิจัย
    ยุทธวิธี(Strategy) หมายถึง วิธีการจัดเก็บข้อมูลและวิธีวิเคราะห์ข้อมูล

    ในการออกแบบงานวิจัยควรยึดหลัก Max Min Con เพื่อให้งานวิจัยนั้นเกิดความเที่ยงตรงทั้งภายในและภายนอกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    Max : Maximization : Maximization of Systematic Varience หมายถึง ทำให้ตัวแปรอิสระที่จะนำมาทดลองแตกต่างกันมากที่สุด
    Min : Minimization : Minimization of Error Varience หมายถึง ทำให้ความแปรปรวนจากความคลาดเคลื่อนต่ำสุด โดยใช้การควบคุมเงื่อนไขและสภาพการทดลองให้เป็นระบบ
    Con : Control Extraneous Systematic Varience ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน โดย
    1. การสุ่ม
    2. การเพิ่มเข้าไป
    3. การจับคู่
    4. การใช้สถิติ
    5. ออกแบบการวิจัยให้ดี
  6. จุดประสงค์การวิจัย ควรเขียนดังนี้
    1. เขียนในรูปแบบประโยคบอกเล่า หรือประโยคคำถามก็ได้
    2. ใช้ภาษากะทัดรัด อ่านเข้าใจง่ายและตรงประเด็นที่จะศึกษา
  7. ข้อตกลงเบื้องต้น
    เป็นการเขียนขึ้นเพื่อทำความตกลงให้เกิดความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและผู้อ่านงานวิจัย ซึ่งเป็นการตกลงในข้อเท็จจริงพื้นฐานที่เป็นเงื่อนไขสำคัญของการศึกษา เช่น ข้อตกลงเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการศึกษา เช่น
    - การวิจัยครั้งนี้ถือว่าคุณลักษณะภายในของตัวบุคคลสามารถกำหนดค่าด้วยจำนวนตัวเลขและนำไปวิเคราะห์ทางสถิติได้
    - การวิจัยครั้งนี้มิได้ควบคุมแสงสว่าง ความชื้นและอุณหภูมิ
    - ผู้ตอบแบบสอบถามตอบด้วยความจริงใจ ปราศจากอคติ

เค้าโครงย่อการวิจัย (Research Prospectus) 

ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ……………………………………………………………………….. 
(ภาษาอังกฤษ) ……………………………………………………………………………...
ภูมิหลัง (ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย) ………………………………………………………………………………………………
กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย………………………………………………………………………………………………
ความมุ่งหมายของการวิจัย………………………………………………………………………………………………
สมมุติฐานของการวิจัย (ถ้ามี)
………………………………………………………………………………………………
ความสำคัญของการวิจัย
………………………………………………………………………………………………
ขอบเขตของการวิจัย
  ประชากร
  กลุ่มตัวอย่าง
  ตัวแปร
  วิธีการวิจัย
  เนื้อหา
  ระยะเวลาที่จะทำวิจัย 
สถิติที่ใช้ในการวิจัย
………………………………………………………………………………………………
 1. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย
 2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล (สถิติพื้นฐาน)
 3. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานการวิจัย (การศึกษาค้นคว้าอิสระ) 
นิยามศัพท์เฉพาะ
………………………………………………………………………………………………
บรรณานุกรม………………………………………………………………………………………………

BUS 6016 : Business Research Methodology


ตำรา : Zikmund, W., Babin, B. J., Carr, J. C. and Griffin, M. (2010).
Business Research Methods (8 ed.) South-western Cengage Learning
         สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฎิบัติ. กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

BUS 6016 : วิธีวิจัยทางธุรกิจ (Business Research Methodology)
ศึกษาถึงวิธีการดำเนินการวิจัยทางธุรกิจ การเน้นความสำคัญที่เหตุผล และวิธีการในการออกแบบงานวิจัย นับตั้งแต่การกำหนดปัญหา การสร้างสมมุติฐาน การกำหนดโครงร่างการวิจัย การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานผล ซึ่งจะนำมาประยุกต์ให้ในเชิงธุรกิจ ทั้งนี้รวมถึงการออกแบบโครงการวิจัย การเตรียม การเขียนรายงาน และนำเสนอผลงานวิจัย

อาจารย์ผู้บรรยาย
1. ผศ.ดร. กฤดษา ตั้งชัยศักดิ์
2. ผศ.ดร. ณรัฐ วัฒนาพานิช

การวัดผล 100%  คะแนนเก็บ 65%, Final 35%
1. Research Proposal                   30%
2. งานในชั้นเรียนและการสอบย่อย    20%
3. นำเสนอการวิจัยฯ                       10%
4. การสอบประเมินผล 5 ต.ค. 2557   40%

- Final สามารถนำ A4 ช๊อตโน๊ตด้วยมือเข้าได้ 1 แผ่น (5 คะแนน)
- เข้าเรียน 10 คะแนน ขาด 1 คาบตัด 3 คะแนน

ผศ.ดร. กฤดษา ตั้งชัยศักดิ์  50%
ผศ.ดร. ณรัฐ วัฒนาพานิช   50%

หัวข้อบรรยาย
บทที่ 1 Introduction and overview
บทที่ 2 การสร้างทฤษฎี
บทที่ 3 Research Proposal
บทที่ 4 กระบวนการวิจัยทางธุรกิจ
บทที่ 5 การกำหนดปัญหาการวิจัย
บทที่ 6 การวิจัยเชิงคุณภาพ
บทที่ 7 Focus group and Interview
บทที่ 8 ข้อมูลทุติยะภูมิ
บทที่ 9 การสำรวจ
บทที่ 11 การสังเกตการณ์
บทที่ 12 การวิจัยเชิงทดลอง
บทที่ 13 การวัดตัวแปร
บทที่ 14 การออกแบบ แบบสอบถาม
บทที่ 15 การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
บทที่ 16 Descriptive Statistics: Means and Normal Curve
บทที่ 17 สถิติตัวแปรคู่ - การทดสอบความแตกต่าง
บทที่ 18 สถิติตัวแปรคู่ - การทดสอบความสัมพันธ์
บทที่ 19 สรุป

แนวข้อสอบ Final
สรุปสอบ FINAL วิธีการวิจัยทางธุรกิจ
วิธีหาตัวแปรอิสระ, ตัวแปรตาม, วัตถุประสงค์ จาก Abstract งานวิจัย

วิธีหาตัวแปรอิสระ,ตัวแปรตาม,วัตถุประสงค์ จาก Abstract งานวิจัย
ข้อมูลอ้างอิง
1. Thai E Journal วารสาร การเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ
2. ผลงานวิจัยนิสิตปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา
3. คลังข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
4. Bangkok University Research
5. วิทยานิพนธ์ไทย
6. ThaiLIS

20 สิงหาคม 2557

BUS 6015 : สรุป FINAL บรรยายส่วน ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล


หนังสือ การจัดการดำเนินงาน (Operations Managements)
เขียนโดย Russell & Taylor เรียบเรียงโดย ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล

BUS 6015 : การจัดการการดำเนินงาน (Operations Management)
**  Final Open books **

สรุป FINAL บรรยายในส่วนของ ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล (10 คะแนน)
บทที่ 2, 3, 5, 7, 14, 15 (เติม คำ วลี หรือ ตัวเลขในช่องว่าง 10 ข้อย่อย)

[P.13] บทที่ 2 การจัดการคุณภาพ
ความหมายคุณภาพ  [P.14] คือ คุณลักษณะของสินค้าหรือบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการโดยปราศจากข้อบกพร่อง
มุมมองของคุณภาพ [P.14]
1. มุมมองของลูกค้า ได้แก่ การสร้างความพึงพอใจและเหมาะสมต่อการใช้งาน
2. มุมมองของผู้ผลิต ได้แก่ การออกแบบแบะผลิตได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
มิติคุณภาพสินค้า  [P.14]
มีการกำหนดคุณภาพของสินค้าไว้ 9 ประการ ได้แก่
1. คุณสมบัติ (Performance) หมายถึง สินค้าสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
2. คุณลักษณะพิเศษ (Features) หมายถึง ลักษณะพิเศษของสินค้าที่แตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน
3. ความน่าเชื่อถือ (Reliability) หมายถึง สินค้านั้นสามารถใช้งานได้ทุกครั้งตามที่ต้องการ
4. ความสอดคล้อง (Conformance) หมายถึง คุณลักษณะสินค้าที่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
5. ความคงทน (Durability) หมายถึง สินค้ามีิายุการใช้งานที่ยาวนานในระดับหนึ่ง
6. ความสามารถในการบริการ (Serviceability) หมายถึง ความสามารถในการให้บริการ โดยเฉพาะการบริการหลังการขาย
7. สุทรียภาพ (Aestbetics) หมายถึง รูปลักษณ์ภายนอกของสินค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
8. ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง สินค้าต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคในการใช้งาน
9. การรับรู้ (Perceptions) หมายถึง สินค้าควารมีภาพลักษณ์ที่ดีในมุมมองของลูกค้า
มิติคุณภาพบริการ [P.15]
กำหนดคุณภาพของบริการไว้ 7 ประการ ได้แก่
1. ความทันเวลาหรือเวลาในการรอคอย (Time and Timeless) หมายถึง ระยะเวลาที่ลูกค้ารอคอยในการใช้บริการ
2. ความสมบูรณ์ (Completeness) หมายถึง บริการที่ลูกค้าร้องขอหรือทุกขั้นตอนในการบริการที่ลูกค้าต้องได้รับการจัดหาหรือบริการได้อย่างครบถ้วน
3. ความสุภาพหรือเอาใจใส่ (Courtesy) หมายถึง การเอาใจใส่ การพูดจา และการปฎิบัติตัวขณะให้บริการกับลูกค้าที่ดี
4. ความสม่ำเสมอ (Consistency) หมายถึง ความสม่ำเสมอในการบริการและให้บริการลูกค้าในระดับเดียวกัน ไม่ว่าลูกค้าคนนั้นจะเป็นใคร
5. การเข้าถึงได้ง่ายและความสะดวก (Accessibility and Convenience) หมายถึง ความง่ายและความสะดวกที่ลูกค้าจะเข้าไปใช้บริการ
6. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง การบริการต้องมีความยำและถูกต้องเสมอ
7. การตอบสนองอย่างทันท่วงที (Responsiveness) หมายถึง การที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันทีทันใด
วิวัฒนาการในการจัดการคุณภาพ  [P.15]
W. Edwards Deming [P.16] 
เป็นบิดาด้านการจัดการคุณภาพ
วัฏจักรการควบคุมกระบวนการ 4 ขั้นตอน [P.16]  คือ PDCA Cycle (Plan, Do, Check, Action)
1. การวางแผน (Plan) การศึกษากระบวนการค้นหาปัญหา กำหนดเป้าหมาย และพัฒนาแผนการพัฒนา
2. การปฎิบัติ (Do) การนำแผนไปลงมือปฎิบัติ และการวัดการพัฒนา
3. การตรวจสอบ (Check) การประเมินผลว่าเป็นไปตามแผนและเป้าหมายหรือไม่
4. การแก้ไข (Action) ดำเนินการแก้ไขข้อผิดผลาด และพัฒนาต่อเนื่องสำหรับปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนที่ 1
ปรัชญาการจัดการคุณภาพ 14 ประการ [P.16] 
1. สร้างเป้าหมายระยะยาวขององค์กรที่มุ่งการปรับปรุงคุณภาพสินค้าหรือบริการอย่างต่อเนื่อง
2. เปิดรับแนวคิดและปรัชญาการทำงานที่เน้นไปที่การป้องกันคุณภาพสินค้าที่ไม่ดี แทนที่การกำหนดระดับของข้อบกพร่องที่ยอมรับได้
3. เปลี่ยนระบบการควบคุมคุณภาพจากที่เน้นไปที่การตรวจสอบเพื่อสร้างคุณภาพ ไปเป็นการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติในการสร้างคุณภาพให้กับสินค้าและกระบวนการ
4. คัดเลือกผู้จัดหาวัตถุดิบหรือผู้ผลิตวัตถุดิบบนพื้นฐานของคุณภาพสินค้ามากกว่าราคาที่ต่ำ
5. ปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นไปที่ระบบและพนักงาน
6. มีการฝึกอบรมกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ให้เรียนรู้การป้องกันปัญหาคุณภาพ และการใช้เทคนิคการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ
7. สร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นกับหัวหน้างานเพื่อให้สามารถช่วยเหลือพนักงานให้ทำงานได้ดีขึ้น
8. ขจัดความกลัวของพนักงานในการระบุปัญหาและเสนอความคิดเห็นในการปรับปรุงคุณภาพด้วยการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
9. ทำลายอุปสรรคในการติดต่อประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ ในองค์กร โดยมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม
10. ลดการใช้คำขวัญหรือเป้าหมายเชิงตัวเลขที่ปราศจากแนวทางการปฏิบัติหรือตัวอย่างการทำงาน
11. ขจัดเป้าหมายที่เป็นจำนวนตัวเลขเพื่อให้พนักงานพยายามทำให้ได้ตามต้นทุนที่กำหนด โดยไม่ได้พิจารณาด้านคุณภาพ
12. สร้างความภาคภูมิใจในการทำงานให้กับพนักงานทุกระดับ
13. จัดให้การศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงคุณภาพตลอดทั่วทั้งองค์กรทุกระดับและทุกฝ่าย ซึ่งจะส่งผลทำให้การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องสามารถเกิดขึ้นได้
14. ผู้บริหารระดับสูงต้องสนับสนุนปรัชญาการบริหาร 13 ประการที่กล่าวมาให้เกิดขึ้น
Philip Crosby [P.18] 
คุณภาพ คือ สิ่งที่ไม่ต้องเสียเงิน เพราะถ้าสินค้ามีคุณภาพที่ดี ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการแก้ไข แต่ถ้าคุณภาพสินค้าและบริการไม่ดีหรือมีคุณภาพต่ำ ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น
ความสำคัญกับการมุ่งลดข้อผิดพลาดของสินค้าและบริการให้เป็นศูนย์ โดยการผลิตสินค้าหรือบริการให้มีคุณภาพตั้งแต่ครั้งแรก ซึ่งเป็นวิธีการที่เน้นการป้องกันปัญหามากกว่าวิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนคุณภาพสินค้าและบริการลดลงนั่นเอง
Kaoru Ishikawa [P.18]
เสนอวัฏจักรคุณภาพ (Quality Cycles) และ เครื่องมือคุณภาพ (Quality Tools) 7QC Tools อีกทั้งยังเน้นให้ความสำคัญต่อการเข้าใจความต้องการของลูกค้าภายในองค์กร เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรคุณภาพ
เครื่องมือจัดการคุณภาพ (Quality Tools) [P.18]
1. แผ่นรายการตรวจสอบ (Check Sheet) [P.19]
แผ่นบันทึกข้อมูลรายละเอียดที่ต้องการเพื่อใช้ในการควบคุม ปรับปรุง และแก้ไขปัญหา 
ออกแบบให้ง่ายต่อการบันทึกข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 
เหมาะกับกิจกรรมที่เกี่ยวกับการค้นหาปัญหา แก้ปัญหา หรือการปรับปรุงคุณภาพ
2. การวิเคราะห์พาเรโต (Pareto Analysis)  [P.19]
คือ การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นหรือส่งผลกระทบมากที่สุด แล้วนำปัญหานั้นมาทำการแก้ไข จากนั้นก็นำปัญหาที่มีความสำคัญรองลงมามาแก้ไข
กฎ 80:20 หมายความว่า สิ่งที่สำคัญจะมีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ของสิ่งที่ไม่สำคัญอีก 80 เปอร์เซ็นต์
3. แผนผังการกระจาย (Scatter Diagram)
4. แผนผังแสดงสาเหตุและผล (Cause-and-Effect Diagram)
หรือ แผนผังก้างปลาตะเพียน (Fishbone Diagram) หรือ อิชิกาว่า ไดอะแกรม 
ช่วยให้มองเห็นสาเหตุต่างๆ ของปัญหาที่เกิดขึ้น
สาเหตุหลักเป็นกลุ่ม 4 กลุ่มหรือ 4M คือ บุคลากร วิธีการ วัตถุดิบ และเครื่องจักร + Management +2E (Environment, Energy)
5. แผนผังการไหลของกระบวนการ (Process Flowchart)
6. แผนภาพฮิสโตแกรม (Histogram)
7. แผนภูมิควบคุม  (Statistical Process Control Chart)
ระบบการจัดการคุณภาพ (Quality Management System) [P.22]
1. การจัดการคุณภาพองค์รวม (Total Quality Management : TQM)
2. การจัดการคุณภาพในห่วงโซ่อุปทาน (Quality Management in the Supply Chain)
3. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) [P.23]
เป็นระบบที่นิยมใช้กัน ซึ่งเป็นแนวคิดเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงพัฒนาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เป็นการทำงานร่วมกันของทุกคนในองค์กรที่ร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพกระบวนการหรือผลิตภัณฑ์ทีละเล็กละน้อย ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ประสานงานจากทุกฝ่าย
Continuous Improvement พัฒนาจากล่างสู่บน หรือ Bottom Up
4. ระบบ Six Sigma



[P.35] บทที่ 3 ความสามารถของกระบวนการและการควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ
Statistical Process Control : SPC ใช้ป้องกันปัญหาด้านคุณภาพโดยการแก้ไขและหาวิธีการป้องกันของกระบวนการก่อนที่กระบวนการนั้นจะเริ่มผลิตของเสีย [P.36]
การวัดคุณภาพในเชิงลักษณะและเชิงตัวแปร [P.37]
1. การวัดเชิงลักษณะ (Attribute Measure)
เป็นวิธีการวัดเชิงคุณภาพ (Qualitative Classification)  สามารถประเมินได้อย่างรวดเร็วโดยเป็นการวัดที่แยกให้เห็นชัดเจน เช่น ของดีหรือของเสีย ยอมรับได้หรือยอมรับไม่ได้
2. การวัดเชิงตัวแปร (Variable Measure)
เป็นวิธีการวัดเชิงปริมาณ (Quantitative Classification) เป็นคุณลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะถูกวัดเป็นตัวเลขอย่างต่อเนื่อง เช่น ความยาว น้ำหนัก อุณหภูมิ หรือเวลา
แผนภูมิควบคุม (Control Charts) [P.38]
เป็นแผนภูมิที่แสดงค่าของตัวอย่างภายในขอบเขตควบคุมทางสถิติ
1. การสร้างขอบเขตควบคุมในกระบวนการ
2. ตรวจสอบกระบวนการเมื่อมีการออกนอกการควบคุม
กระบวนการถูกพิจารณาว่าอยู่ในการควบคุมเมื่อ [P.40]
1. ไม่มีจุดตัวอย่างใดๆ ออกนอกเส้นขอบเขตควบคุม
2. จุดส่วนใหญ่อยู่ใกล้ค่าเฉลี่ยของกระบวนการ หรือค่าเส้นกลาง (Center line) และไม่อยู่ใกล้เส้นขอบเขตควบคุม
3. จำนวนจุดตัวอย่างที่อยู่เหนือและใต้เส้นกลาง (Center line) มีปริมาณเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน
4. จุดต่างๆ ที่ปรากฏถูกกระจายตัวแบบสุ่มรอบเส้นกลาง (Center line) 
แผนภูมิควบคุมเชิงลักษณะ [P.40]
1. p-Chart
2. c-Chart

[P.103] บทที่ 5 การออกแบบการบริการ
คุณลักษณะของการบริการ (Characteristics of Service) [P.104]
ความหมายการบริการ คือ การกระทำ การปฏิบัติ พฤติกรรมหรือความสัมพันธ์ที่สร้างผลประโยชน์ด้านเวลา สถานที่ รูปแบบ หรือด้านจิตใจแก่ผู้บริโภค และการบริการยังสามารถเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปกับสินค้าต่างๆ ด้วย
การกำหนดคุณลักษณะของการบริการ [P.104]
1. การบริการเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้
2. การบริการมีการผันแปร
3. การบริการมีการพบปะลูกค้าอย่างมาก
4. การบริการไม่สามารถเก็บรักษาได้
5. การบริการและการส่งมอบการบริการไม่สามารถแยกจากกันได้
6. การบริการมีความโน้มเอียงที่จะเกิดความแตกต่าง
7. การบริการมีการบริโภคที่มากกว่าผลิตภัณฑ์
8. การบริการง่ายต่อการลอกเลียนแบบ
เครื่องมือสำหรับการออกแบบการบริการ (Tools for Service Design)  [P.109]
แบบพิมพ์การบริการ (Service Blueprint)  [P.109]
แบบหรือกลุ่มของภาพที่แสดงขั้นตอน กิจกรรม และการติดต่อกันในกระบวนการให้บริการ โดยการออกแบบพิมพ์นี้ต้องใช้ความรอบคอบและแสดงให้เห็นกิจกรรมต่างๆ อย่างละเอียด
1. เส้นอิทธิพล (Line of Influence)
2. เส้นปฏิสัมพันธ์ (Line of Interaction)
3. เส้นทัศนวิสัย (Line of Visibility)
4. เส้นการสนับสนุน (Line of Support)
กิจกรรมการบริการ (Service Activity)  [P.110]
1. กิจกรรมด้านหน้า (Front-office)
เป็นกิจกรรมที่ลูกค้ารับรู้ถึงคุณภาพการบริการซึ่งเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการกับลูกค้า
2. กิจกรรมด้านหลัง (Back-office)
เป็นกิจกรรมสนับสนุนกิจกรรมด้านหน้าทั้งในเรื่องข้อมูลและอุปกรณ์ที่ต้องการ
การวิเคราะห์แถวคอยการบริการ  [P.111]
โครงสร้างพื้นฐานของแถวคอย (Basic Waiting Line Structures)  [P.114]
1. ช่องทางเดียว ขั้นตอนเดียว (Single-Channel, Single-Phase) เช่น ร้านขายโดนัส 
2. ช่องทางเดียว หลายขั้นตอน (Single-Channel, Multiple-Phase) เช่น ล้างรถอัตโนมัติ
3. หลายช่องทาง ขั้นตอนเดียว (Multiple-Channel, Single-Phase) เช่น ร้าน 7-11
4. หลายช่องทาง หลายขั้นตอน (Multiple-Channel, Multiple-Phase) เช่น ทำบัตรประชาชน 

[P.143] บทที่ 7 การวางผังสิ่งอำนวยความสะดวก
การออกแบบแผนผังตามผลิตภัณฑ์ (Designing Product Layouts) [P.154]
การจัดสมดุลสายการผลิต (Line Balancing)  [P.155]
* การจัดกระบวนการให้เวลาที่ใช้ในการผลิตหรือประกอบในแต่ละ สถานี เท่ากัน
   - สถานี คือ พืนที่ใช้ในการผลิตหรือสายการประกอบซึ่งต้องการพนักงานอย่างน้อยหนึ่งคนหรือเครื่องจักรอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง
* ภายใต้เงื่อนไข
   - ข้อกำหนดลำดับงาน (Precedence Requirement) แสดงถึงความสัมพันธ์เชื่อมต่อระหว่างงานในกระบวนการประกอบ ว่างานใดต้องมาก่อนหรืองานใดต้องทำต่อจากงานใด
   - รอบเวลา (Cycle Time) รอบระยะเวลาที่สูงที่สุดที่ใช้ในแต่ละสถานี
การจัดสมดุลการผลิต
1. วาดผังความสัมพันธ์งานตามข้อกำหนดลำดับงาน
2. คำนวณค่ารอบระยะเวลาปราถนา Cd
3. คำนวณจำนวนสถานีต่ำสุดที่เป็นไปได้
4. จัดกลุ่มงานในแต่ละสถานี โดยเรียงลำดับตาม
    - ข้อกำหนดงาน
    - ระยะเวลารวมต้องไม่เกิน Cd
    - ต้องได้อย่างน้อย n สถานี
5. หาจำนวนสถานีจริง และรอบระยะเวลาจริง
6. คำนวณประสิทธิภาพการจัดสมดุลการผลิต
แผนผังแบบผสม (Hybrid Layouts)
1. การจัดแผนผังแบบเซลล์ (Cellular Layouts)  [P.158]
    การรวมกลุ่มเครื่องจักรหรือกิจกรรมที่ไม่เหมือนกันไว้ด้วยกัน ซึ่งเรียกว่าเซลล์ (Cell) เพื่อดำเนินการผลิตชุดของชิ้นส่วนที่มีข้อกำหนดคล้ายกัน
2. ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น
3. สายการประกอบแบบผสม

[P.315] บทที่ 14 การวางแผนความต้องการทรัพยากร
การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning; MRP) [P.316]
การควบคุมสินค้าคงเหลือและระบบการวางแผนการผลิต
วางแผนความต้องการวัสดุ เป็นการจัดการสินค้าคงเหลือซึ่งประกอบด้วย
วัตถุดิบ, ส่วนประกอบ, สินค้าสำเร็จรูป
การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning) [P.316]
1. ความต้องการไม่อิสระ (Dependent Demand)
2. รายการความต้องการแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Demand Items)
3. สินค้าหลายส่วนประกอบ (Complex Product)
4. การผลิตแบบร้านค้า (Job Shop Production)
5. การประกอบตามคำสั่งซื้อ (Assemble-to-Order)
ตารางการผลิตแม่บท (Master Production Schedule; MPS) [P.320]
จะกำหนดผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์หน่วยสุดท้ายที่บริษัททำการผลิต รวมถึงจำนวนและเวลาที่ต้องการ ซึ่งครอบคลุมการผลิตตามตารางแม่บทจนเสร็จสิ้นกระบวนการ
ระยะเวลาทั้งหมดที่ต้องการในการผลิตสินค้า เรียกว่า ระยะเวลาการผลิตสะสม(Cumulative Lead Time)
กระบวนการวางแผนความต้องการวัสดุ  [P.324]
1. รายละเอียดรายการวัสดุที่ต้องการวางแผนในตารางการวางแผนความต้องการวัสดุ
2. ความต้องการขั้นต้น (Gross Requirements)
3. ตารางการรับ (Scheduled Receipt)
4. สินค้าคงเหลือปลายงวด (Ending Inventory)
5. ความต้องการสุทธิ (Net Requirement)
6. แผนการรับคำสั่งซื้อ (Planned Order Receipts)
7. แผนการสั่งซื้อ (Planned Order Releases)

[P.341] บทที่ 15 ระบบลีน
ความหมายและความสำคัญของระบบลีน (Definition and Importance of Lean System) [P.342]
ความสูญเปล่า (Muda) หมายถึง "การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องจักร วัตถุดิบ ชิ้นส่วน พื้นที่ และเวลาที่น้อยสุดเพื่อเพิ่มคุณค่าแก่ผลิตภัณฑ์"
1. การสูญเปล่าจากการผลิตมากเกินไป
2. การสูญเปล่าจากการรอคอย
3. การสูญเปล่าจากการขนส่ง
4. การสูญเปล่าจากกระบวนการผลิต
5. การสูญเปล่าเนื่องจากการมีสินค้าคงคลังมากเกินไป
6. การสูญเปล่าจากการเคลืิอนที่
7. การสูญเปล่าจากจากของเสีย
8. การสูญเปล่าจากพนักงานไม่มีทักษะการทำงาน

แนวทางการผลิตแบบลีน (The Basic Elements of Lean Production)  [P.344]

17 สิงหาคม 2557

BUS 6015 : สรุปบทที่ 13 การจัดการกำลังการผลิตและความต้องการ


หนังสือ การจัดการดำเนินงาน (Operations Managements)
เขียนโดย Russell & Taylor เรียบเรียงโดย ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล

บทที่ 13 การจัดการกำลังการผลิตและความต้องการ (Capacity and Demand Management) 
** Final ส่วนคำนวณ (6 คะแนน) **

ตัวแบบการขนส่ง (Transportation Model)
เริ่มต้นจากการนำต้นทุนที่เกี่ยวข้องใส่ในตารางการขนส่งและทำการวางแผนการผลิตจากทางเลือกต้นทุนที่ต่ำที่สุดในแต่ละช่วงเวลา

ตัวอย่าง1: ตัวแบบการขนส่งของการวางแผนการดำเนินงานองค์รวม
บริษัท เบอร์รุสส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตร่ม มีการคาดการณ์ปริมาณความต้องการกำลังการผลิตแบบปกติ แบบล่วงเวลา และแบบจ้างบริษัทภายนอก ในแต่ละไตรมาสดังตาราง

ทำการวางแผนการดำเนินงานองค์รวมให้กับบริษัท โดยไม่มีการรับคำสั่งซื้อและส่งมอบภายหลังภายใต้เงื่อนไขต้นทุนและค่าใช้จ่ายการผลิตดังนี้


โจทย์จะให้ตารางการขนส่งมาดังรูปด้านล่าง






วิธีทำ
ขั้นที่1: ใส่กำลังการผลิตจากโจทย์ให้มาลงในตารางการขนส่ง คอลัมน์ "กำลังการผลิต"
ให้ใส่กำลังการผลิตปกติ ไตรมาส 1, 2, 3, 4 แล้วจึงใส่กำลังการผลิตล่วงเวลา ไตรมาส 1, 2, 3, 4
และใส่กำลังการผลิตจ้างบริษัทภายนอก  ไตรมาส 1, 2, 3, 4


ขั้นที่2: ใส่จำนวนความต้องการจากโจทย์ให้มา ในแต่ละช่วงระยะเวลา บรรทัด "จำนวนความต้องการ"


ขั้นที่ 3: ใส่สินค้าลงเหลือยกมา โจทย์กำหนดให้มา ถ้าโจทย์ไม่กำหนดแสดงว่าไม่มีสินค้าลงเหลือ (0) ใส่บรรทัด "สินค้าคงเหลือยกมา" และคอลัมน์แรก


ขั้นที่4: ใส่ต้นทุนต่อหน่วย โจทย์กำหนดให้มา ลงในไตรมาส 1 และ ช่วงระยะเวลา 1


ขั้นที่5: ใส่ต้นทุนต่อหน่วยลงในไตรมาส 1 และ ช่วงระยะเวลา 2, 3, 4 โดยต้องบวกค่าใช้จ่ายการจัดเก็บสินค้าคงเหลือเข้าไปในต้นทุนต่อหน่วย ทุกๆรายการ เช่น 20+3=23, 25+3=28, 28+3=31


ขั้นที่6: ใส่ต้นทุนต่อหน่วยในไตรมาส 2 ให้เริ่มที่ช่วงระยะเวลา 2 และให้กา X ทับช่วงระยะเวลา 1


ขั้นที่7: ใส่ต้นทุนต่อหน่วยในไตรมาส 3 ให้เริ่มที่ช่วงระยะเวลา 3 และให้กา X ทับช่วงระยะเวลา 1 และ ช่วงระยะเวลา 2


ขั้นที่8: ใส่ต้นทุนต่อหน่วยในไตรมาส 4 ให้เริ่มที่ช่วงระยะเวลา 4 และให้กา X ทับช่วงระยะเวลา 1, ช่วงระยะเวลา 2 และ ช่วงระยะเวลา 3


ขั้นที่9: พิจารณาจำนวนความต้องการ "ช่วงระยะเวลา 1" ใน "ไตรมาส 1" คือ 900 มีสินค้าคงเหลือยกมา 300 แสดงว่าต้องผลิตเพิ่มเท่ากับ 900-300=600  พิจารณาเลือกต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด และมีกำลังลังการผลิตพอกับความต้องการผลิต หากยังไม่ครบให้เลือกต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุดถัดไป


ขั้นที่10: พิจารณาจำนวนความต้องการ "ช่วงระยะเวลา 2" คือ 1,500 ใน "ไตรมาส 1" และ "ไตรมาส 2"


ขั้นที่11พิจารณาจำนวนความต้องการ "ช่วงระยะเวลา 3" คือ 1,600 ใน "ไตรมาส 1" , "ไตรมาส 2และ "ไตรมาส 3"


ขั้นที่12พิจารณาจำนวนความต้องการ "ช่วงระยะเวลา 4" คือ 3,000 ใน "ไตรมาส 1" , "ไตรมาส 2" , "ไตรมาส 3" และ "ไตรมาส 4"


ขั้นสุดท้าย: สรุปผลลงตาราง 
คอลัมน์ "ความต้องการ" โจทย์ให้มาลอกมาใส่เลย
คอลัมน์ "ปกติ"  รวมตามแถวการขนส่งที่หาได้ 
    ไตรมาส 1 ทุกช่วงระยะเวลาจะได้ 600+300+100=1,000
    ไตรมาส 2 ทุกช่วงระยะเวลาจะได้ 1,200
    ไตรมาส 3 ทุกช่วงระยะเวลาจะได้ 1,300
    ไตรมาส 4 ทุกช่วงระยะเวลาจะได้ 1,300
คอลัมน์ "ล่วงเวลา"  รวมตามแถวการขนส่งที่หาได้ 
    ไตรมาส 1 ทุกช่วงระยะเวลาจะได้ 100
    ไตรมาส 2 ทุกช่วงระยะเวลาจะได้ 150
    ไตรมาส 3 ทุกช่วงระยะเวลาจะได้ 200
    ไตรมาส 4 ทุกช่วงระยะเวลาจะได้ 200
คอลัมน์ "จ้างภายนอก"  รวมตามแถวการขนส่งที่หาได้ 
    ไตรมาส 1 ทุกช่วงระยะเวลาจะได้  -
    ไตรมาส 2 ทุกช่วงระยะเวลาจะได้ 250
    ไตรมาส 3 ทุกช่วงระยะเวลาจะได้ 500
    ไตรมาส 4 ทุกช่วงระยะเวลาจะได้ 500
คอลัมน์ "สินค้าคงเหลือ" รวม [(ปกติ+ล่วงเวลา+จ้างภายนอก)-ความต้องการ]+คงเหลือ
    ไตรมาส 1 คือ [(1000+100)-900]+300 = 500
    ไตรมาส 2 คือ [(1200+150+250)-1500]+500 = 600
    ไตรมาส 3 คือ [(1300+200+500)-1600]+600 = 1,000
    ไตรมาส 4 คือ [(1300+200+500)-3000]+1000 = 0
บรรทัด "จำนวน" รวมตามคอลัมน์
     ปกติ คือ 1000+1200+1300+1300 = 4,800
     ล่วงเวลา คือ 100+150+200+200 = 650
     จ้างภายนอก คือ 250+500+500 = 1,250
     สินค้าคงเหลือ คือ 500+600+1000 = 2,100



ตัวอย่าง2: ตัวแบบการขนส่งของการวางแผนการดำเนินงานองค์รวม
สินค้าลงเหลือยกมา 200 คัน (ถ้าโจทย์ไม่กำหนดให้มีค่าเป็น 0)
ต้นทุนการผลิตแบบปกติ 12 บาทต่อคัน
ต้นทุนการผลิตแบบล่วงเวลา 15 บาทต่อคัน
ต้นทุนการผลิตแบบจ้างบริษัทภายนอก 20 บาทต่อคัน
ค่าใช้จ่ายการเก็บสินค้าลงเหลือ 4 บาทต่อคันต่อไตรมาส

QT ความต้องการ กำลังการผลิต
ปกติ
กำลังการผลิต
ล่วงเวลา
กำลังการผลิต
จ้างบริษัทภายนอก
1 1,200 1,000 300 200
2 1,500 1,000 400 200
3 1,900 1,500 500 200
4 2,800 1,500 500 200

โจทย์จะให้ตารางการขนส่งมาดังรูปด้านล่าง




วิธีทำ


ตารางสรุป



** Final ส่วนบรรยาย (4 คะแนน) **

ต้นทุนสินค้าคงคลัง (Inventory Costs) --> EOQ, ROP
ต้นทุนจัดเก็บ (Carrying or Holding Cost) : Cc , ACc --> ต้นทุนจัดเก็บสินค้าต่อปี
ต้นทุนสั่งซื้อ (Ordering Cost) : Co , ACo --> ต้นทุนสั่งซื้อบ่อย
ต้นทุนสินค้าขาด (Shortage Cost) : Cs , ACs (ไม่คิด,ไม่สอน)
ต้นทุนรายการสินค้า (Item Cost) : Ci , ACi --> ต้นทุนซื้อสินค้าบ่อยไหมต่อปี

การวางแผนกำลังการผลิต (Capacity Planning) [P.288]
กำลังการผลิต (Capacity) คือความสามารถในการผลิตสูงสุดของผู้ผลิตหรือให้บริการโดยการวางแผนกำลังการผลิตสามารถในหลายระดับ ซึ่งเน้นเรื่องการวางแผนกำลังการผลิตระยะยาว

กลยุทธ์การขยายกำลังการผลิต
  1. กลยุทธ์กำลังการผลิตแบบนำ (Capacity Lead Strategy)
    เป็นกลยุทธ์ที่ขยายกำลังการผลิตตามการคาดการณ์ความต้องการของผู้บริโภคที่เติบโตขึ้น
    ข้อเสีย: ACc
  2. กลยุทธ์กำลังการผลิตแบบตาม (Capacity Lag Strategy)
    เป็นกลยุทธ์ที่จะเพิ่มกำลังการผลิตก็ต่อเมื่อเกิดความต้องการที่เพิ่มขึ้นแล้ว
    ข้อเสีย: ACs, สูญเสียโอกาสในการขาย
  3. กลยุทธ์การเฉลี่ยกำลังการผลิต (Average Capacity Strategy)
    เป็นกลยุทธ์ที่ขยายกำลังการผลิตที่เกิดในเวลาเดียวกันกับค่าเฉลี่ยความต้องการที่คาดการณ์ไว้
    เช่น ปตท., ปูนซีเมนต์ไทย 
กลยุทธ์การปรับกำลังการผลิตมี 7 กลยุทธ์ [P.293]
  1. กลยุทธ์การผลิตด้วยระดับอัตราคงที่ (Level Production Strategy)
    ดำเนินงานผลิตด้วยอัตราการคงที่ และใช้สินค้าคงเหลือเพื่อดูดซับ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้า
    ข้อเสีย: ACc
  2. กลยุทธ์การผลิตตามความต้องการ (Chase Production Strategy)
    ดำเนินงานผลิตตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้า โดยมีการจ้างเพิ่มและปรับลดพนักงาน เพื่อจัดการกำลังการผลิตให้เท่ากับความต้องการที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามลำดับ
    ข้อดี: ไม่มี ACc , ACs
    ข้อเสีย: วางแผนยาก
  3. กลยุทธ์การผลิตที่ระดับความต้องการสูงสุด (Peak Demand Level Strategy)
    การดำเนินกลยุทธ์การผลิตที่ระดับความต้องการสูงสุด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
    ข้อดี: ใช้ในธุรกิจที่ระดับการบริการลูกค้ามีความสำคัญสูง หรือเมื่อลูกค้ายินดีที่จะจ่ายเพิ่มสำหรับพนักงานหรือเครื่องจักรที่มีความจำเป็น
    ข้อเสีย: มีต้นทุนที่สูงทั้งต้นทุนแรงงานและต้นทุนเครื่องจักร
  4. กลยุทธ์การใช้ล่วงเวลาและการลดเวลาทำงาน (Overtime and Undertime Strategy)
    เป็นกลยุทธ์ที่นิยมใช้เมื่อความต้องการมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักและเป็นการชั่วคราว เพื่อลดต้นทุนในการจ้างงานหรือลดพนักงาน
    ข้อเสีย: ต้นทุนของการใช้ล่วงเวลาสูงกว่าปกติ, มีแนวโน้มที่ประสิทธิภาพการทำงานต่ำกว่าปกติ, ไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงมาก
  5. กลยุทธ์การจ้างบริษัทภายนอก (Subcontracting Strategy)
    กลยุทธ์นี้เป็นทางเลือกที่นิยมในปัจจุบัน โดยบริษัทภายนอกต้องสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามที่กำหนดในช่วงเวลาที่ต้องการได้
    ข้อเสีย: มีต้นทุนสูง, อาจไม่สามารถควบคุมการผลิตและคุณภาพได้มาก, มีแนวโน้มที่บริษัทที่จ้างจะเป็นคู่แข่งของบริษัทในอนาคต
  6. กลยุทธ์พนักงานชั่วคราว (Parttime Workers Strategy)
    นำมาใช้สำหรับงานที่ไม่ต้องการทักษะที่สูง ซึ่งส่วนมากเป็นนักเรียนนักศึกษาบุคคลที่เกษียณอายุแล้ว พนักงานชั่วคราวมีต้นทุนต่ำกว่าการจ้างเต็มเวลา
    ข้อดี: มีความยืดหยุ่นสูงในการจ้างงาน, อุตสาหกรรมจานด่วนนิยมใช้พนักงานเหล่านี้
  7. กลยุทธ์ส่งมอบสินค้าภายหลัง (Backorder Strategy)
    บริษัททำการรับคำสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากลูกค้าและทำการส่งมอบภายหลัง โดยคำสั่งซื้อที่สะสมไว้จะทำให้เกิดงานคั่งค้าง(Backlog) ซึ่งจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่มีความต้องการสูงและทยอยส่งมอบในช่วงความต้องการลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสั่งซื้อที่ส่งมอบภายหลังมีความสำคัญต่อการวางแผนดำเนินงานองค์รวมของบริษัทในการกำหนดวันส่งมอบให้กับลูกค้า
    ข้อเสีย: ลูกค้าเต็มใจในการรอสินค้า ซึ่งอาจทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสในการขายได้, ถูกนำมาใช้สำหรับรองรับความต้องการในช่วงเวลาที่จะมาถึง


10 สิงหาคม 2557

BUS 6015 : QUIZ บทที่ 12 การบริหารสินค้าคงคลัง



QUIZ บทที่ 12 Model1 : ตัวแบบพื้นฐาน EOQ  (08.08.2014)

บริษัทวางแผนการบริหารสินค้าคงคลัง โดยมีความต้องการ 51,000 ชิ้นต่อปี โดยหนึ่งปีมี 300 วัน ต้นทุนการจัดเก็บ 5 บาทต่อชิ้น ต้นทุนการสั่งซื้อ 2,500 บาทต่อครั้ง สินค้าชิ้นละ 18 บาท ระยะเวลาการส่งมอบ 4 วัน จงหา
1. ปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด
2. ต้นทุนการบริหารสินค้าคงคลังทั้งหมด
3. ปริมาณสินค้าคงคลังเฉลี่ย
4. จุดสั่งซื้อซ้ำ
5. จุดสั่งซื้อซ้ำ ถ้าบริษัทต้องการมีสินค้าสำรอง 120 ชิ้น

จากโจทย์
D = 51,000 ชิ้นต่อปี ; Co = 2,500 บาทต่อครั้ง ; Cc = 5 บาทต่อชิ้น ; Ci = 18 บาท
Day = 300 วันต่อปี ; L = 4 วัน

1. ปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด

Q  =  7,141.43  ชิ้น

2. ต้นทุนการบริหารสินค้าคงคลังทั้งหมด
TC =  ACo  +  ACc   +  ACi

TC =  CoD  +  CcQ  +  CiD
            Q            2
      = (2,500)(51,000)  +  (5)(7,141.43)  +  (18)(51,000)
               7,141.43                      2
      =  17,853.57  +  17,853.57  +  918,0000
      =   935,871.42  บาทต่อปี

3. ปริมาณสินค้าคงคลังเฉลี่ย
#Order =  D  =   51,000    =  7.14 ครั้งต่อปี
                Q       7,141.43
Order Cycle Time
=   Day     =  300  =  42.02  วัน
   #Order      7.14



4. จุดสั่งซื้อซ้ำ
ROP =  dL  = ( D)(L)  = (51,000) (4)  =  170(4)  = 680 ชิ้น
                       Day            300

5. จุดสั่งซื้อซ้ำ ถ้าบริษัทต้องการมีสินค้าสำรอง 120 ชิ้น
ROP = dL + SS  = 680 + 120  =  800  ชิ้น   ;  SS = Safety Stock


6 สิงหาคม 2557

BUS 6015 : สรุปบทที่ 11 การพยากรณ์ (เฉพาะส่วนคำนวณ)


หนังสือ การจัดการดำเนินงาน (Operations Managements)
เขียนโดย Russell & Taylor เรียบเรียงโดย ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล

บทที่ 11 การพยากรณ์ (Forecasting)
** Final เฉพาะส่วนคำนวณ ***

การวิเคราะห์อนุกรม (Time Series Methods)

  • มีสมมติฐานว่ารูปแบบที่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นรูปแบบเดียวกันกับรูปแบบข้อมูลในอดีต 
  • วิธีนี้จะให้ความสำคัญกับระยะเวลาของการพยากรณ์ คือรูปแบบที่เกิดขึ้นในอดีตนั้นเกิดขึ้นซ้ำได้ในอนาคต
สอบใช้วิธี
ค่าแนวโน้มเส้นตรง (Linear Trend Line) และ การปรับตามฤดูกาล (Seasonal Adjustment)

ตัวอย่าง1: แนวข้อสอบ Final
ให้ใช้ Linear Trend Line พยากรณ์ยอดขายของปี 2005 จากนั้นให้ระบุว่าเป็นอดขายแต่ละฤดูเท่าไร?
Sandwich Sales ($1,000)
Season 2001 2002 2003 2004
Fall 42.7 44.3 45.7 40.6
Winter 36.9 42.7 34.8 41.5
Spring 51.3 55.6 49.3 47.3
Summer 62.9 64.8 71.2 74.5

วิธีทำ
หาผลรวมของแต่ละปี และแต่ละฤดู
ดูโจทย์ให้พยากรณ์อะไรใช้เป็นแกน X เช่น พยากรณ์ยอดขายของปี 2005 ใช้เป็นแกน X
Season 2001 2002 2003 2004 Total
Fall 42.7 44.3 45.7 40.6 173.3
Winter 36.9 42.7 34.8 41.5 155.9
Spring 51.3 55.6 49.3 47.3 203.5
Summer 62.9 64.8 71.2 74.5 273.4
Total 193.8 207.4 201 203.9 806.1

วิธีคิด:
หาผลรวมของปี 2001 (Sum Col)จะได้ 42.7 + 36.9 + 51.3 + 62.9 = 193.8 (ทำซ้ำปี 2002, 2003,2004)

หาผลรวมของฤดู Fall (Sum Row)จะได้ 42.7 + 44.3 + 45.7 + 40.6 = 173.3 (ทำซ้ำฤดู winter, spring, summer)

หา Linear Trend Line
แทนค่าปี 2001 ด้วยเลข 1, ปี2002 ด้วยเลข 2, ...
X(year) Y=demand XY
1 193.8 193.8 1
2 207.4 414.8 4
3 201.0 603.0 9
4 203.9 815.6 16
10 806.1 2027.2 30



Y ปี 2005    = 195.58 + 2.38(5)
(แทน x=5)  = 195.58 + 11.9
                 = 207.48

หา Seasonal Factor


ดังนั้นยอดขายแต่ละฤดูคือ
Fall        = 207.48 x 0.22 = 45.65
Winter   = 207.48 x 0.19 = 39.42
Spring    = 207.48 x 0.25 = 51.87
Summer = 207.48 x 0.34 = 70.54



ตัวอย่าง2: แนวข้อสอบ Final
ให้ใช้ Linear Trend Line พยากรณ์ยอดขายของเดือนที่ 6 จากนั้นให้ระบุว่าจะเป็นยอดขายแต่ละสัปดาห์เท่าไร?
Week\Month 1 2 3 4 5
1 3 2 3 1 2
2 5 6 6 7 7
3 5 7 5 8 7
4 8 10 9 12 11

วิธีทำ
หาผลรวมของแต่ละเดือน และแต่ละสัปดาห์
Week\Month 1 2 3 4 5 Total
1 3 2 3 1 2 11
2 5 6 6 7 7 31
3 5 7 5 8 7 32
4 8 10 9 12 11 50
Total 21 25 23 28 27 124

หา Linear Trend Line
X(month) Y=demand XY
1 21 21 1
2 25 50 4
3 23 69 9
4 28 112 16
5 27 135 25
15 124 387 55



Y เดือนที่ 6  = 20.3 + (1.5)(6)
(แทน x=6)   = 20.3 + 9  =  29.3                                         (2 คะแนน)

หา Seasonal Factor


ดังนั้นยอดขายแต่ละสัปดาห์คือ
YWeek1 = SWeek1 x YMonth6
           = 0.09 x 29.3  = 2.64
YWeek2 = SWeek2 x YMonth6
           = 0.25 x 29.3  = 7.33
YWeek3 = SWeek3 x YMonth6
           = 0.26 x 29.3  = 7.62
YWeek4 = SWeek4 x YMonth6
           = 0.40 x 29.3  = 11.72                                 (2 คะแนน)

3 สิงหาคม 2557

BUS 6015 : สรุปบทที่ 9 การจัดการโครงการ (เฉพาะส่วนคำนวณ)


หนังสือ การจัดการดำเนินงาน (Operations Managements)
เขียนโดย Russell & Taylor เรียบเรียงโดย ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล

บทที่ 9 การจัดการโครงการ (Project Management)
** Final เฉพาะส่วนคำนวณ ***

การจัดการตารางเวลาโครงการ (Project Scheduling) [P.190]
Slack เป็นระยะเวลาที่กิจกรรมล่าช้าได้ โดยไม่กระทบต่อเวลาที่โครงการเสร็จ

ขั้นตอนทำ (10 คะแนน)
1. หา t เฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของแต่ละกิจกรรม  ( 2 คะแนน)
     t  =  a + 4m + b
                6
2. หาเส้นทางวิกฤติ Forward Pass และ Backward Pass (5 คะแนน)
เส้นทางวิกฤติจะประกอบไปด้วยกิจกรรมที่มี Slack = 0
Node กิจกรรมจะแบ่งข้อมูลเป็น 6 ส่วน นิยมใช้ Activity On Node (AON)

Forward Pass
- ข้อยกเว้น: สำหรับทุกกิจกรรมที่ออกจาก start ES = 0
- หา Earliest (เร็วที่สุด)
   (1) ES = max EF ของกิจกรรมที่อยู่ก่อนหน้าและติดกับกิจกรรมนั้น
   (2) EF = ES + t

Backward Pass
- ข้อยกเว้น : สำหรับทุกกิจกรรมที่ออกจาก finish LF ให้พิจารณา EF มากสุดทุกกิจกรรม
- หา Latest (ช้าที่สุด)
  (1) LF = min LS ของกิจกรรมที่เพิ่งถอยผ่านย้อนขึ้นมา และติดกับกิจกรรมนั้น
  (2) LS = LF - t

3. หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโครงการ (1 คะแนน)
ค่าความแปรปรวนของกิจกรรม
 



4. หา  Z (1 คะแนน)


5. เปิดตารางพื้นที่ Z (1 คะแนน)




ตัวอย่าง 1: ข้อสอบ Final การจัดการโครงการ (วัน)


โจทย์กำหนดโครงข่าย Activity on Node (AON) ดังนี้

จงหา
1. ความน่าจะเป็นที่โครงการจะเสร็จภายใน 13 วัน หรือ P(x <=28) = ?
2. ความน่าจะเป็นที่โครงการจะเสร็จภายใน 10 วัน หรือ P(x <=22) = ?

วิธีทำ
1. หา t เฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของแต่ละกิจกรรม


2. หาเส้นทางวิกฤติ Forward Pass และ Backward Pass


3. หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโครงการ
หา Slack  LS - ES ; LF - EF
S1 = 0 - 0 ; 9 - 9 = 0
S2 = 4 - 0 ; 14 - 10 = 4
S3 = 9 - 9 ; 14 - 14 = 0
S4 = 17 -9 ; 20 -12 = 8
S5 = 14 - 14 ; 20 -20 = 0
S6 = 21 -14 ; 24 - 17 = 7
S7 = 20 -20 ; 24 -24 = 0

Critical Path = 1 --> 3 --> 5 --> 7
ผลรวมเวลาบนเส้นวิกฤติ = 9 + 5 + 6 + 4 = 24 วัน



4. หา Z
P(X<=28) = ?
ความน่าจะเป็นที่โครงการจะเสร็จภายใน 28 วัน = ?

Z = 28 - 24  = 1.79
        2.23

เปิดตารางภาคผนวก พื้นที่โค้งปกติ [P.363]
พื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติ ณ Z = 1.79 คือ 0.4633

ดังนั้น P(X<=28) = 0.5 + พื้นที่ Z
                         = 0.5 + 0.4633 = 0.9633


P(X<=22) = ?
ความน่าจะเป็นที่โครงการจะเสร็จภายใน 22 วัน = ?

Z = 22 - 24  = -0.90
        2.23

เปิดตารางภาคผนวก พื้นที่โค้งปกติ [P.363]
พื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติ ณ Z = 0.90 คือ 0.3159


ดังนั้น P(X<=22) = 0.5 - พื้นที่ Z
                         = 0.5 - 0.3159 = 0.1841


ตัวอย่าง 2: ข้อสอบ Final การจัดการโครงการ (เดือน)


โจทย์กำหนดโครงข่าย Activity on Node (AON) ดังนี้

จงหา
1. ความน่าจะเป็นที่โครงการจะเสร็จภายใน 13 เดือน หรือ P(x <=13) = ?
2. ความน่าจะเป็นที่โครงการจะเสร็จภายใน 10 เดือน หรือ P(x <=10) = ?

วิธีทำ
1. หา t เฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของแต่ละกิจกรรม


2. หาเส้นทางวิกฤติ Forward Pass และ Backward Pass


3. หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโครงการ
หา Slack  LS - ES ; LF - EF
S1 = 0-0  ; 3-3 = 0
S2 = 2-0  ; 6-4 = 2
S3 = 3-3  ; 6-6 = 0
S4 = 6-6  ; 12-12 = 0
S5 = 7-4  ; 12-9 = 4

Critical Path = 1 --> 3 --> 4
ผลรวมเวลาบนเส้นวิกฤติ = 3 + 3 + 6 = 12 เดือน


4. หา Z
P(X<=13) = ?
ความน่าจะเป็นที่โครงการจะเสร็จภายใน 13 เดือน = ?

Z = 13 - 12  = 1.23
         0.81
เปิดตารางภาคผนวก พื้นที่โค้งปกติ [P.363]
พื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติ ณ  Z = 1.23 คือ 0.3907

ดังนั้น P(X<=13) = 0.5 + พื้นที่ Z
                           = 0.5 + 0.3907 = 0.8907

P(X<=12) = ?
ความน่าจะเป็นที่โครงการจะเสร็จภายใน 12 เดือน = ?

Z = 10 - 12  = -2.47
         0.81
เปิดตารางภาคผนวก พื้นที่โค้งปกติ [P.363]
พื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติ ณ  Z = 2.47 คือ 0.4932

ดังนั้น P(X<=10) = 0.5 - พื้นที่ Z
                           = 0.5 - 0.4932 = 0.0068


หมายเหตุ: ตารางภาคผนวก พื้นที่โค้งปกติ หน้า 363



อยากรู้เรื่องทฤษฎีการตลาดกับผู้เชี่ยวชาญ ผมแนะนำ M.B.A. (Marketing) Ramkhamkaeng .. แต่ถ้าอยากรู้ว่าเรียนการตลาดแล้วจะประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินได้อย่างไร คุณต้องมีโค้ชแนะนำ ครับ

วางแผนการเงินกับ #finadvisor #ความมั่งคั่งเริ่มต้นที่นี่ finadvisor.co
โค้ชส่วนตัว ช่วยวางแผน

×
News