- เข้าเรียน 10 คะแนน
- การบ้าน 20 คะแนน
- สอบ 70 คะแนน
* ในนำ A4 เข้าสอบได้ 5 แผ่นสามารถจดอะไรเข้าสอบได้ทั้งหมด
สรุปบทที่ 1-3 (อ.มนตรี ผู้สอน)
(บทที่1 การบัญชี:ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ, บทที่2 งบการเงินเบื้องต้น, บทที่3 วงจรบัญชี:การจับประเด็นเหตุการณ์ทางธุรกิจ)
ประเภทธุกิจมี 3 ประเภท
1. ธุรกิจพาณิชยกรรม (บทที่ 6, 8)
2. ธุรกิจบริการ (บทที่ 1-5)
3. ธุรกิจอุตสาหกรรม (ไม่เรียน, เรียนใน BUS 6014)
แบ่งธุกิจที่แแสดงความเป็นเจ้าของ
1. กิจการเจ้าของคนเดียว *เรียน* A = L + C
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด *ไม่เรียน*
3. บริษัทจำกัด *เรียน* A = L + OE
บัญชีมี 5 ประเภท
1. สินทรัพย์ (Assets) => A
2. หนี้สิน (Liabilities) => L
3. ทุน(กิจการคนเดียว) / ส่วนของเจ้าของ(บริษัท) (Capital / Owner Equity) => OE
OE = ทุนเรือนหุ้น, ส่วนเกินมูลค่าหุ้น, กำไรสะสม (R/E)
4. รายได้ (Revenues) => R
5. ค่าใช้จ่าย (Expenses) => E
Dr. | Cr. | เพิ่ม | ลด | |
A (Dr.) | X | Dr. | Cr. | |
L (Cr.) | X | Cr. | Dr. | |
C (Cr.) | X | Cr. | Dr. | |
R (Cr.) | X | Cr. | Dr. | |
E (Dr.) | X | Dr. | Cr. |
แบ่งกลุ่มตาม Nature(ธรรมชาติ) ของประเภทบัญชี
กลุ่มด้านซ้ายมือ (Dr.) => A, E
กลุ่มด้ายขวามือ (Cr.) => L, C, R
หลักการบันทึกบัญชี
** ถ้าเพิ่มขึ้น=> เพิ่มขึ้นทางด้านเดียวกัน, ถ้าลดลง =>ลดลงด้านตรงข้าม **
งบการเงิน
- งบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) (Statement of Financial Position) => F/P บทที่ 1-5
- งบกำไรขาดทุน (Statement of Income) หรือ (Profit & Loss Statement) => P/S หรือ P/L
- งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flows)
การจัดกลุ่ม
A, L, C => งบแสดงฐานะทางการเงิน
R, E => งบกำไรขาดทุน
T Account => ชื่อบัญชี(แต่ละกิจการตั้งชื่อเองขึ้นมา) <> ประเภทบัญชี (มี 5 ประเภทเท่านั้น)
บทที่ 4 วงจรบัญชี : เงินค้างและเงินล่วงหน้า (อ.พรรณา ผู้สอน)
ณ วันสิ้นงวด จะต้องปรับปรุงรายการต่างๆ (adjusting entries) เพื่อให้ยอดคงเหลือ ในบัญชีแยกประเภทเป็นยอดคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดที่จะทำเป็นงบการเงิน ( เรียนใช้รอบบัญชีปีปฎิทิน ณ 31 ธ.ค. xx )
ประเภทการปรับปรุงมี 4 ประเภท
1. การปรับปรุงสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่าย (A => E)
2. การปรับปรุงหนี้สินเป็นรายได้ (L => R)
3. การบันทึกค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (L)
4. การบันทึกรายได้ค้างรับ (A)
1. การปรับปรุงสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่าย (A => E, E=>A)
Ex1 บจ.ข้าวปั้น จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับรอบระยะเวลา 1 ปี จำนวน 48,000 บาท เมื่อ 1 เม.ย. xx
สมุดรายวันทั่วไป *** ใช้หลักบันทึกบัญชีคู่ ด้านซ้าย=ด้านขวา เสมอ
25xx
เม.ย. 1 Dr. ..ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า 48,000
Cr. ..เงินสด 48,000
(จ่ายค่าเบี้ยประกันภัย) *** คำอธิบายลอกตามโจทย์
การปรับปรุง A=>E
ธ.ค. 31 Dr. .. ค่าเบี้ยประกันภัย (9 เดือน x 4,000 บาท/เดือน) 36,000
Cr. .. ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า 36,000
(ปรับปรุงค่าเบี้ยประกันภัย)
การปรับปรุงแบบ (Time line)
ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า (A) = 3 x 4,000 = 12,000 =>F/P
48,000
การปรับปรุง E=>A
สมุดรายวันทั่วไป25xx
เม.ย. 1 Dr. ..ค่าเบี้ยประกันภัย (E) 48,000
Cr. ..เงินสด 48,000
(จ่ายค่าเบี้ยประกันภัย)
ธ.ค. 31 Dr. .. ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า (A) 12,000
Cr. .. ค่าเบี้ยประกันภัย (3ด.x4,000) 12,000
(ปรับปรุงค่าเบี้ยประกันภัย)
Ex2. 1 ส.ค. xx บจ.ข้าวเจ้า ซื้อเครื่องใช้สำนักงานมาราคา 32,000 บาท อายุการใช้งาน 5 ปี มีมูลค่าซาก 2,000 บาท บริษัทฯคิดค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรง
*** จำสูตรค่าเสื่อม
สูตรค่าเสื่อมราคาต่อปี = ราคาทุน - ราคาซาก
อายุการใช้งาน
= 32,000 - 2,000 = 6,000 บาท/ปี (500 บาท/เดือน)
5
*** จำหลักปรับปรุงบัญชีค่าเสื่อม
25xx
ธ.ค. 31 Dr. ค่าเสือมราคา((E) xxx
Cr.ค่าเสื่อมราคาสะสม(-A) xxx
(บันทึกค่าเสื่อมราคา)
25xx
ธ.ค. 31 Dr. ค่าเสื่อมราคา (E) (5ด.x500) 2,500
Cr. ค่าเสื่อมราคาสะสม (-A) 2,500
(บันทึกค่าเสื่อมราคา)
25x1, x2, x3, x4
ธ.ค. 31 Dr. ค่าเสื่อมราคา 6,000
Cr. ค่าเสื่อมราคาสะสม 6,000
(บันทึกค่าเสื่อมราคา)
25x5
ก.ค. 31 Dr. ค่าเสื่อมราคา (7ด.x500) 3,500
Cr. ค่าเสื่อมราคาสะสม 3,500
2. การปรับปรุงหนี้สินเป็นรายได้ (L => R, R => L)
Ex. บจ.ข้าวสาร รับเงินค่าเช่าสำหรับรอบระยะเวลา 1 ปี จำนวน 90,000 บาท เมื่อ 1 มิ.ย. xx
(90,000 12 เดือน คิดต่อเดือน 7,500 บาท/เดือน)
สมุดรายวันทั่วไป
25xx
มิ.ย. 1 Dr. .. เงินสด 90,000
Cr. .. รายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้า(L) 90,000
ธ.ค. 31 Dr. รายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้า 52,000
Cr. รายได้ค่าเช่า (7ด.x7,500) 52,000
3. การบันทึกค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (L)
Ex. 31 ส.ค. xx บจ.ข้าวเหนียว มีเงินเดือนพนักงานค้างจ่าย 20,000 บาท
25xx
ธ.ค. 31 Dr. เงินเดือน(E) 20,000
Cr. เงินเดือนค้างจ่าย(L) 20,000
4. การบันทึกรายได้ค้างรับ (A)
Ex. 1 ธ.ค. xx บจ.ข้าวแกงให้ บจ.ข้าวเม่า กู้เงิน 600,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 1 ปี
ดอกเบี้ยต่อปี = 600,000 x 2% = 12,000 บาท/ปี (1,000 บาท/เดือน)
25xx
ธ.ค. 31 Dr. รายได้ดอกเบี้ยค้างรับ(A) 1,000
Cr. รายได้ดอกเบี้ย 1,000
สรุปคำศัพท์
1. ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า | A |
2. รายได้รับล่วงหน้า | L |
3. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย | L |
4. รายได้ค้างรับ | A |
สรุปบทที่ 4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น