ส่วนที่ 1 เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro) รศ.อติ ไทยานันท์ โทร.086-755-1680
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ (อาคารใหม่) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วิธีการประเมิน เข้าชั้นเรียน 10% Quiz 20% Final 20% ข้อสอบอัตนัย(open book)
ครั้งที่ี 1 18/09/2556
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
บทที่ 2 การวิเคราะห์อุปสงค์ อุปทานและดุยลภาพ, การประยุกต์เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
--------------------------
--------------------------
ความหมายและลักษณะทั่วไปของวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัำพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปใช้ในทางเลือกต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความพอใจมากที่สุด
ความต้องการของมนุษย์
หมายถึง ความต้องการสินค้า บริการ และความสะดวกสบาย ความความต้องการนี้จะแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล ระยะทางและสถานที่ ความต้องการของมนุษย์เพื่อให้เกิดความพอใจ มักจะมีมากกว่าสินค้าและบริการที่มีอยู่
ทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์
หมายถึง ปัจจัยการผลิตที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ได้แก่
- ที่ดิน : รวมไปถึงปุ๋ยในดิน สภาพภูมิอากาศ ป่าไม้ แร่ธาตุ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ
- แรงงาน : รวมไปถึงความสามารถของมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจ
- ทุน : รวมไปถึงเครื่องมือ เครื่ิองจักร โรงงาน สิ่งประดิษฐ์ เงินทุน
- ผู้ประกอบการ : ผู้ทำหน้าที่ในการจัดหาทุน
ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
- ผลิตสินค้าอะไร (What to produce)
- ผลิตอย่างไร (How to produce)
- ผลิตเพื่อใคร (For whom to produce)
ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)
1. ระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการวางแผน (Unplanned Economy)
หรือบางแห่งเรียกว่าระบบเศรษฐกิจเอกเชน (Private enterprise economy) เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีเอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
2. ระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนเต็มที่ (Planned Economy)
หรือบางแห่งเรียกว่าระบบสังคมนิยมภาคบังคับ (Authoritarian socialism) เป็นระบบที่มีการวางแผนจากส่วนกลางรัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Semi-Planned Economy)
หรือบางแห่งเรียกว่า Mixed Economy เป็นระะบที่รัฐบาลและเอกชนรับผิดชอบร่วมกัน
การแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1. ระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการวางแผน หรือระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
2. ระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนเต็มที่่หรือสังคมนิยม
3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
วงจรเศรษฐกิจ
1. ตลาดปัจจัยการผลิต (Factor market)
1) ครัวเรือนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
2) หน่วยธุรกิจจะจ่ายค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย กำไร
2. ตลาดสินค้า (Product market)
1) หน่วยธุรกิจจะรวบรวมซื้อปัจจัยการผลิต
2) ครัวเรือนจะซื้อสินค้าเพื่อการบริโภค
รูปแบบการวิเคราะห์ทางเศรษฐาศาสตร์
1. เศรษฐาศาสตร์ที่เป็นจริงและเศรษฐาศาสตร์ที่ควรจะเป็น
- เศรษฐาศาสตร์ที่เป็นจริง (Positive Economics)
- เศรษฐาศาสตร์ที่ควรจะเป็น (Normative Economics)
2. การวิเคราะห์สภาพสถิต สภาพสถิตย์เปรียบเทียบ และสภาพพลวัต
- การวิเคราะห์สภาพสถิตย์ (Static Analysis)
- การวิเคราะห์สภาพสถิตเปรียบเทียบ (Comparative Static)
- การวิเคราะห์สภาพพลวัต (Dynamic Analysis)
3. การวิเคราะห์เฉพาะส่วนและการวิเคราะห์คลุมทุกส่วน
- การวิเคราะห์เฉพาะส่วน (Partial Analysis)
- การวิเคราะห์ทุกส่วน (General Analysis)
ข้อสมมติทางเศรษฐาสตร์ (Economic assumptions)
1. มนุษย์จะดำเนินการตัดสินใจอย่่างทีเหตุผลทางเศรษฐกิจ (Economic rationality)
2. สิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากที่กำลังพิจารณาอยู่กำหนดให้คงที่ (Ceteris paribus)
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro economics)
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macro economics)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น