20 กันยายน 2556

BUS 6010 : เอกสารบรรยาย Micro(2) 18/09/2556

ครั้งที่ 1 18/09/2556
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
บทที่ 2 การวิเคราะห์อุปสงค์ อุปทานและดุยลภาพ, การประยุกต์เพื่อใช้ในการตัดสินใจ


บทที่ 2 
การวิเคราะห์อุปสงค์ อุปทานและดุยลภาพ,
 การประยุกต์เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
-----------------------
การวิเคราะห์อุปสงค์
- อุปสงค์ (Demand)
- อุปทาน (Supply)
- ภาวะดุลยภาพ
- การประยุกต์วิธีการวิเคราะห์ดุลยภาพไปใช้ในกรณีต่างๆ

อุปสงค์ (Demand) 
อุปสงค์ หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้า หรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภค ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีอำนาจซื้อหรือมีความสามารถในการตอบสนองความต้องการนั้นๆ

ประเภทของอุปสงค์
1. อุปสงค์ที่เกิดขึ้นจริง (Effective Demand)
หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าที่เกิดขึ้นจริงๆ อันเนื่องจาก
- ความเต็มใจที่จะซื้อ
- ความสามารถที่จะซื้อ
- สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

2. อุปสงค์ศักยภาพ (Potential Demand)
หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าที่เป็นไปได้ ตามศักยภาพหรือความสามารถในการซื้อ คือ การที่มีอำนาจซื้อ แต่ยังไม่มีความต้องการซื้อในขณะนี้

3. อุปสงค์ทางตรง (Direct Demand)
หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าขั้นสุดท้ายของผู้บริโภค

4. อุปสงค์สืบเนื่อง (Derived Demand)
หมายถึง ความต้องการซื้อวัตถุดิบไปผลิตสินค้าที่ผู้บริโภคมีความต้องการ

5. อุปสงค์ส่วนบุคคล (Individual Demand)
เป็นความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคแต่ละคน ณ ระดับราคาใด ราคาหนึ่ง

6. อุปสงค์ของตลาด (Market Demand)
เป็นความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคในตลาดรวมกัน ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง

7. อุปสงค์ที่มีต่อหน่วยธุรกิจ (Firm Demand)
เป็นความต้องการซื้อสินค้าในตลาดที่ผลิตโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่ง

ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ 
- PA     ราคาสินค้าชนิดนั้น
- PB     ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง
- T      รสนิยม
- Y     รายได้
- Pop จำนวนประชากร
- A     การโฆษณาประชาสัมพันธ์

ฟังก์ชั่นอุปสงค์ (Demand function)
หมายถึง สมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการ กับปัจจัยต่างๆ ที่กำหนดความต้องการซื้อ

อุปสงค์ที่มีต่อสินค้า A = f(ราคาสินค้าA, ราคาสินค้าB, รสนิยม, รายได้, จำนวนประชากร, ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์)

DA = f(PA, PB, T, Y, Pop, A)

DA = f(PA) ฟังก์ชั่นอุปสงค์ต่อราคา

DA = f(Y) ฟังก์ชั่นอุปสงค์ต่อรายได้

DA = f(PB) ฟังก์ชั่นอุปสงค์ไขว้

กฎของอุปสงค์ (Law of Demand)
หมายถึง กฎที่ว่าด้วยระบบความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับปริมาณความต้องการซื้อสินค้านั้น ซึ่งกฎนี้จะกล่าวไว้ว่า "ราคาและปริมาณความต้องการซื้อสินค้าจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม"
ราคาสินค้า => ความต้องการซื้อ 
ราคาสินค้า => ความต้องการซื้อ 

ตารางอุปสงค์ (Demand Schedule)
ตารางอุปสงค์ คือ ตารางที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ในเวลาใดเวลาหนึ่ง
ราคา (P) ความต้องการซื้อ (Q)
10 40
20 30
30 20
40 10

เส้นอุปสงค์ (Demand Curve)
หมายถึง เส้นที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับปริมาณความต้องการซื้อ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่
การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ (Change in quantity demand)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความต้องการซึ่ง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยน แปลงราคาสินค้านั้นๆ เป็นการเปลี่ยนแปลงบนเส้นอุปสงค์เส้นเดียวกัน

การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ (Change in quantity demand)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความต้องการซื้อ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้านั้นๆ เป็นการเปลี่ยนแปลงบนเส้นอุปสงค์เส้นเดียวกัน

การเปลี่ยนแปลงเส้นอุปสงค์ (Change in demand)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความต้องการซื้อสินค้าโดยที่ราคาสินค้ามิได้เปลี่ยนไปแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงปัจจัยอื่นๆ ตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัวมีผลให้เส้นอุปสงค์เปลี่ยนๆปทั้งเส้น

ปัจจัยที่ทำให้เส้นอุปสงค์เปลี่ยนแปลง
1. ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง
   1) สินค้าทดแทนกัน (Substitution goods)

  2) สินค้าที่ต้องใช้ประกอบกัน (Complementary goods)
2. รายได้
  1) สินค้าปกติ (Normal goods)

 2) สินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior goods)

3. รสนิยม

4. จำนวนปะชากร

5. ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา

อุปสงค์ส่วนบุคคล (Individual demand)
หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคคนใดคนหนึ่ง ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง ในเวลาใดเวลาหนึ่ง

อุปสงค์ตลาด (Market demand)
หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคทุกคนรวมกัน ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง ในเวลาใดเวลาหนึ่ง

อุปสงค์ต่อราคา (Price demand)
ความสัมพันธ์ของปริมาณซื้อและราคาจะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามตามกฎอุปสงค์

อุปสงค์ต่อรายได้ (Income demand)
หมายถึง ปริมาณสินค้าที่มีผู้ต้องการซื้อ ณ ระดับต่างๆ กันของรายได้ โดยกำหนดให้สิื่งอื่นๆ คงที่

QA   =  f(Y)
QA   = ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า A
Y     =  รายได้

ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการซื้อสินค้ากับรายได้ จะมีลักษณะอย่างไร ขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้านั้นๆ

สินค้าปกติ (Normal goods)

สินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior goods)

อุปสงค์ไขว้ (Cross demand)
อุปสงค์ไขว้ หรืออุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น หมายถึงปริมาณสินค้าที่มีผู้ต้องการซื้อในขณะใดขณะหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ ของสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกัน โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆคงที่

QA  =  f(PB)
QA  =  ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า A
P  =  ราคาสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกันในที่นี้คือสินค้า B

สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (Complementary goods)

สินค้าที่ใช้ทดแทนกัน (Substitution goods)

อุปทาน (Supply)
หมายถึง ปริมาณ ความต้องการเสนอขายสินค้า ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง ในเวลาใดเวลาหนุ่ง โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆคงที่

ปัจจัยกำหนดอุปทาน
- PA   ราคาสินค้าชนิดนั้น
- PB   ราคาปัจจัยการผลิต
- C    ต้นทุนการผลิต
- T     เทคโนโลยี
- W   ปัจจัยอื่นๆ เช่น ธรรมชาติ

ฟังก์ชั่นอุปทาน (Supply function)
ฟังก์ชั่นอุปทาน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการกับปัจจัยที่กำหนดปริมาณที่กำหนดปริมาณความต้องการเสนอขาย

SA  = f(PA,  PB,  C,  T,  W)

SA  = f(PA)

กฎของอุปทาน (Law of Supply)
กฎของอุปทานเป็นกฎที่กล่าวถึงตวามสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับปริมาณการเสนอขายสินค้า "ปริมาณความต้องการขายสินค้าและราคาสินค้ามีความสัมพันธ์ไปในทศทางเดียวกัน"

ตารางอุปทาน (Supply Schedule)
เป็นตารางที่แสดงความสัมพันธ์ของราคาสินค้าและปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้า เมื่อกำหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่

ความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าและปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้า
ราคา (PA)ปริมาณเสนอขาย (QA)
220
425
630
835

เส้นอุปทาน (Supply Curve)
หมายถึง เส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าและปริมาณความต้องการขาย ณ เวลาใดเวลาหนึ่งโดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่

การเปลี่ยนแปลงเส้นอุปทาน (Change in Supply)
หมายถึง สภาวะที่อุปทานของสินค้าเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากปัจจัยอื่น นองจากราคาเปลี่ยนแปลงไปทีผลทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนไปทั้งเส้น


ปัจจัยที่ทำให้อุปทานเปลี่ยนแปลงไปทั้งเส้น
1. เทคโนโลยี (T)
     T ดีขึ้น เส้น S จะ shift ไปทางขวา

2. ราคาปัจจัยการผลิต (P)
    PF เพิ่ม เส้น S จะ shift ไปทางซ้าย
    PF ลด  เส้น S จะ shift ไปทางขวา

3. ต้นทุนการผลิต (C)
    C เพิ่ม เส้น S จะ shift ไปทางซ้าย
    C ลด เส้น S จะ shift ไปทางขวา

4. สภาพดินฟ้าอากาศ (W)
    W เพิ่ม เส้น S จะ shift ไปทางขวา
    W  ลด เส้น S จะ shift ไปทางซ้าย

อุปทานของหน่วยผลิตและอุปทานของตลาด
อุปทานของหน่วยผลิต หมายถึง ปริมาณต่างๆของสินค้าที่หน่วยผลิตหน่วยในหน่วยหนึ่ง ผลิตขึ้นมาหรือเสนอขาย ณ ระดับราคาสินค้าในขณะใดขณะหนึ่ง โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่ และเมื่อรวมปริมาณการเสนอขายของหน่วยผลิตทุกหน่วย ณ แต่ละระดับราคาก็จะได้อุปทานของตลาด

ภาวะดุลยภาพ (Equilibrium)
ปริมาณเสนอซื้อและปริมาณเสนอขายเท่ากันพอดีเรียกว่า ราคาดุลยภาพ (equilibrium price) และปริมาณดุลยภาพ(equilibrium quaintly)

ดุลยภาพของตลาด (Market equilibrium)
หมายถึง สภาพสมดุลที่เกิดขึ้น ณ ระดับราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อขายแล้ว ปริมาณเสนอซื้อเท่ากับปริมาณเสนอขายพอดี

 อุปทานส่วนเกิน (Excess supply) หรืออุปสงค์ส่วนขาด (Shortage Demand)


อุปสงค์ส่วนเกิน (Excess demand) หรืออุปทานส่วนขาด (Supply shortage)


การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพ
1. การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเส้นอุปสงค์


2. การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเส้นอุปทาน


3. การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทาน



การนำวิธีการวิเคราะห์ดุลยภาพไปประยุกต์ใช้ในกรณีต่างๆ
1. นโยบายการกำหนดราคาขั้นต่ำ (Minimum price policy)
เป็นนโยบายที่ช่วยสินค้าเกษตร และตลาดแรงงาน
 
 การประกันราคาขั้นต่ำ (หน้า37)
นโยบายการประกันราคาสินค้าเกษตร

รัฐบาลประกาศราคาประกันให้เท่ากับ OP1 ณ ระดับราคาประกันนี้ จะมีผู้เสนอซื้อเพียง QQ1 ขณะที่มีผู้เสนอขายเป็นจำนวนถึง OQ2 เกิดอุปทานส่วนเกินหรือสินค้่าเหลือขายจำนวน Q1Q
แก้ไขโดยวิธีการเพิ่มอุปสงค์ DDให้สูงขึ้น โดยการหาตลาดในประเทศและต่างประเทศ หรือรัฐบาลซื้อผลผลิตส่วนเกินเอง จำนวน Q1Q2 ในราคา P2P1

การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ  (หน้า38)
นโยบายการกำหนดอัตราค่าจ้่างขั้นต่ำ

รัฐบาลกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ระดับ OW2 ณ ระดับค่าจ้าง OW2 นายจ้างต้องการแรงงานจำนวน OL2 ขณะที่มีแรงงานต้องการทำงานถึง QL3 ทำให้เกิดการว่างงานขึ้นจำนวน L2L3
แก้ปัญหาโดยรัฐบาลต้องออกมาตราการแก้ไขปัญหาว่างงานที่จะเกิดขึ้น คือการพยายามเพิ่มอุปสงค์ DD1 ของแรงงาน โดยการหางานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ฝึกอบรมแรงงานให้มีความรู้ ความชำนาญมากขึ้น

2. นโยบายกำหนดราคาขั้นสูง (Maximum price policy)
เป็นนโยบายของสินค้าที่ผู้บริโภคทุกระดับรายได้จำเป็นต้องซื้อ เช่น นมผงสำหรับทารก, น้ำตาลทราย, น้ำมัน เป็นต้น

การกำหนดราึคาขั้นสูง (หน้า 39)
นโยบายการกำหนดราคาขั้นสูง

รัฐบาลประกาศกำหนดราคาขั้นสูงที่ระดับ OP1 ณ ระดับราคาขั้นสูง OP1 จะมีผู้เสนอซื้อจำนวน OQ2 ขณะที่มีผู้เสนอขายเพียง OQ1 ทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกินขึ้นจำนวน Q1Q2 ผลที่คตามมาคือ
1) จะเิิกิดการขายในลักษณะใครมาก่อนได้ก่อน คิวรอซื้อยาว
2) อาจเกิดการลดลงในคุณภาพหรือให้บริการหลังการขาย
3) เกิดลักลอบการขายสินค้าหลังร้าน
เพื่อให้นโยบายการกำหนดราคาขั้นสูงดำเนินต่อไปได้ รัญบาลจึงต้องใช้นโยบายอื่นควบคู่ไป โดยการเพิ่มอุปทาน SS1 สินค้าชนิดนี้ให้มากขึ้น เช่น นำเข้าสินค้า ปันส่วนเพื่อกระจายสินค้า เป็นต้น

3. การเก็บภาษีสินค้า

กรณีการเก็บภาษีต่อหน่วยจากผู้ขาย (หน้า 41)
ผลการเก็บภาษีต่อหน่วยจากผู้ขาย

ก่อนเก็บภาษี จุดดุลยภาพอยู่ที่จุด E  เมื่อมีการเก็บภาษีต่อหน่วยจากผู้ขายจะมีผลให้เส้นอุปทานเคลื่อนจากเส้น S มาเป็นเส้น S1 (S=>S1) ผู้ขายยินดีที่จะขายก็ต่อเมื่อราคาขายต่อหน่วยสูงขึ้นกว่าเดิมเท่ากับภาษีต่อหน่วยที่สูงขึ้น ดังนั้นช่วงห่างของเส้นอุปทานเดิมกับเส้นอุปทานใหม่ ในแนวตั้งจะเท่ากับภาษีต่อหน่วย PP1  จำนวนภาษีต่อหน่วยที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผู้ขายคือ AE1 (ภาระของผู้ซื้อ BE1 และภาระผู้ขาย AB)

กรณีเก็บภาษีต่อหน่วยจากผู้ซื้อ (หน้า 42)
ผลของการเก็บภาษีต่อหน่วยจากผู้ซื้อ

ก่อนเก็บภาษี จุดดุลยภาพอยู่ที่จุด E เมื่อรัฐบาลเรียกเก็บภาษีต่อหน่วยจากผู้ซื้อ ทำให้เส้นอุปสงค์เลื่อนระดับต่ำลงมาจากเส้น D มาเป็นเส้น D1 โดยช่วงห่างตามแนวตั้งเท่ากับภาษีต่อหน่วยที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผู้ซื้อ BE1 (ภาระของผู้ขาย AE1 และภาระของผู้ซื้อ AB)












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อยากรู้เรื่องทฤษฎีการตลาดกับผู้เชี่ยวชาญ ผมแนะนำ M.B.A. (Marketing) Ramkhamkaeng .. แต่ถ้าอยากรู้ว่าเรียนการตลาดแล้วจะประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินได้อย่างไร คุณต้องมีโค้ชแนะนำ ครับ

วางแผนการเงินกับ #finadvisor #ความมั่งคั่งเริ่มต้นที่นี่ finadvisor.co
โค้ชส่วนตัว ช่วยวางแผน

×
News