หนังสือ การจัดการดำเนินงาน (Operations Managements)
เขียนโดย Russell & Taylor เรียบเรียงโดย ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล
บทที่ 2 การจัดการคุณภาพ (Quality Management)
ความหมายคุณภาพ [P.14] --> Final ออกบ่อย
คุณภาพ คือ คุณลักษณะของสินค้าหรือบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการโดยปราศจากข้อบกพร่อง กำหนดได้ใน 2 มุมมองคือ
- มุมมองของลูกค้า ได้แก่ การสร้างความพึงพอใจและเหมาะสมต่อการใช้งาน
- มุมมองของผู้ผลิต ได้แก่ การออกแบบและผลิตได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
มิติคุณภาพสินค้า (Dimensions of Products Quality) [P.14] --> Final ออกบ่อย
- คุณสมบัติ (Performance) หมายถึง สินค้าสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
- คุณลักษณะพิเศษ (Features) หมายถึง ลักษณะพิเศษของสินค้าที่แตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน
- ความน่าเชื่อถือ (Reliability) หมายถึง สินค้านั้นสามารถใช้งานได้ทุกครั้งตามที่ต้องการ
- ความสอดคล้อง (Conformance) หมายถึง คุณลักษณะสินค้าที่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
- ความคงทน (Durability) หมายถึง สินค้ามีอายุการใช้งานที่ยาวนานในระดับหนึ่ง
- ความสามรถในการบริการ (Serviceability) หมายถึง ความสามารถในการให้บริการโดยเฉพาะการบริการหลังการขาย
- สุนทรียภาพ (Aesthetics) หมายถึง รูปลักษณ์ภายนอกของสินค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น รูป รส กลิ่น เสียง
- ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง สินค้าต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคในการใช้งาน
- การรับรู้ (Perceptions) หมายถึง สินค้าควรมีภาพลักษณ์ที่ดีในมุมมองของลูกค้า
- ความทันเวลาหรือเวลาในการรอคอย (Time and Timeliness) หมายถึง ระยะเวลาที่ลูกค้ารอคอยในการใช้บริการ
- ความสมบูรณ์ (Completeness) หมายถึง บริการที่ลูกค้าร้องขอหรือทุกขั้นตอนในการบริการที่ลูกค้าต้องได้รับการจัดหาหรือบริการได้อย่างครบถ้วน
- ความสุภาพหรือเอาใจใส่ (Courtesy) หมายถึง การเอาใจ่ใส่ การพูดจา และการปฎิบัติตัวขณะให้บริการกับลูกค้าที่ดี
- ความสม่ำเสมอ (Consistency) หมายถึง ความสม่ำเสมอในการบริการและให้บริการลูกค้าในระดับเดียวกัน ไม่ว่าลูกค้าคนนั้นจะเป็นใคร
- การเข้าถึงได้ง่ายและความสะดวก (Accessibility and Convenience) หมายถึง ความง่ายและความสะดวกที่ลูกค้าจะเข้าไปใช้บริการ
- ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง การบริการต้องมีความแม่นยำและถูกต้องเสมอ
- การตอบสนองอย่างทันท่วงที (Responsiveness) หมายถึง การที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันทีทันใดในสภาวะการบริการที่ปกติและไม่ปกติ
คือ ต้นทุนการพัฒนาคุณภาพและป้องกันข้อบกพร่องของสินค้า แบ่งเป็น
- ต้นทุนจากคุณภาพที่ดี ได้แก่
- ต้นทุนการป้องกัน (Prevention Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายหรือความบกพร่องในการทำงาน เช่น ต้นทุน การออกแบบสินค้า, การผลิต, ฝึกอบรม, วางแผน
- ต้นทุนการตรวจวัดและประเมิน (Appraisal Costs) เป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและการวัดคุณภาพของสินค้า เช่น ค่าตรวจสอบเครื่องจักร, เงินเดือน, ค่าบำรุงรักษา - ต้นทุนจากคุณภาพไม่ดี ได้แก่
- ต้นทุนความบกพร่องภายใน (Internal Failure Costs) เป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขงานใหม่ก่อนส่งสินค้าหรือบริการถึงลูกค้าเพราะคุณภาพงานไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น ค่าจ้างแรงงาน, ค่าวัตถุดิบ, ค่าพลังงาน
- ต้นทุนความบกพร่องภายนอก (External Failure Costs) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากข้อบกพร่องของสินค้าหรือบริการหลังส่งถึงลูกค้า เช่น ต้นทุนซ่อมแซม, ความเสียหาย, การสูญเสีย
ผลกระทบของการจัดการคุณภาพกับความสามารถในการผลิต
(The Effect of Quality Management on Productivity)
การวัดปริมาณผลผลิตดีและผลิตภาพ
(Measuring Product Yield and Productivity)
ตัวอย่าง การหาปริมาณผลผลิตดี
บริษัท H&S มอเตอร์ จำกัด เริ่มการผลิตสำหรับแบบเฉพาะของมอเตอร์กับตัวครอบมอเตอร์ที่ทำจากเหล็กกล้า กระบวนการผลิตเริ่มจากมอเตอร์ 100 ตัวต่อวัน เปอร์เซ็นต์ของมอเตอร์ที่ดีที่ถูกผลิตในแต่ละวันโดยเฉลี่ยเท่ากับ 80% และ เปอร์เซ็นต์ของมอเตอร์บกพร่องที่แก้ไขได้เท่ากับ 50% บริษัทต้องการทราบผลผลิตต่อวันและผลกระทบต่อผลิตภาพ ถ้าเปอร์เซ็นต์ของมอเตอร์ที่ดีที่ถูกผลิตต่อวันเพิ่มขึ้นเป็น 90%
วิธีทำ
I = 100 --> กระบวนการผลิตเริ่มต่อวัน
%G = 80 --> เปอร์เซ็นต์ของดีถูกผลิตในแต่ละวันโดยเฉลี่ย
%R = 50 --> เปอร์เซ็นต์ของบกพร่องที่แก้ไขได้ในแต่ละวันโดยเฉลี่ย
ผลผลิตดี + ผลผลิตบกพร่องแก้ไขได้
ผลผลิตดี(Yield) = (100 x 80%) + (100 x 20% x 50%)
= 80 + 10 = 90 ตัว
ถ้าเพิ่ม %G = 90;
ผลผลิตดี(Yield) = (100 x 90%) + (100 x 10% x 50%)
= 90 + 5 = 95 ตัว
ดังนั้น คุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น 10% ส่งผลให้ผลผลิตดีเพิ่มขึ้น 5 ตัว
การหาต้นทุนผลิตภัณฑ์ต่อหน่วย
(Computing Product Cost per Unit)
การวัดปริมาณผลผลิตดีและผลิตภาพ
(Measuring Product Yield and Productivity)
ตัวอย่าง การหาต้นทุนผลิตภัณฑ์ต่อหน่วย
บริษัท H&S มอเตอร์ จำกัด มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยเท่ากับ $30 และต้นทุนงานแก้ไขมอเตอร์ที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่สามารถแก้ไขได้เท่ากับ $12 ต่อหน่วย จากตัวอย่างบริษัทผลิตมอเตอร์ 100 ตัวต่อวัน มีผลิตภัณฑ์คุณภาพดีโดยเฉลี่ย 80% และที่บกพร่องหรือต่ำกว่ามาตรฐาน 20% โดยจำนวนครึ่งหนึ่งของมอเตอร์ที่บกพร่องหรือต่ำกว่ามาตรฐานสามารถถูกแก้ไขเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพดีได้ แต่อย่างไรก็ตาม จากระบบการจัดการคุณภาพของบริษัทบริษัทมีการค้นพบปัญหาในกระบวนการผลิต และเมื่อทำการแก้ไข (ที่ต้นทุนต่ำที่สุด) จะเพิ่มผลิตภัณฑ์คุณภาพดีเป็น 90% บริษัทต้องการประมาณผลกระทบต่อต้นทุนทางตรงต่อหน่วยของการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์นี้
วิธีทำ
I = 100 --> กระบวนการผลิตเริ่มต่อวัน
%G = 80 --> เปอร์เซ็นต์ของดีถูกผลิตในแต่ละวันโดยเฉลี่ย
%R = 50 --> เปอร์เซ็นต์ของบกพร่องที่แก้ไขได้ในแต่ละวันโดยเฉลี่ย
เพิ่ม %G = 90
Kd = 30 --> ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย
Kr = 12 --> ต้นทุนงานแก้ไขต่อหน่วย
ผลผลิตดี(Yield) = (100 x 80%) + (100 x 20% x 50%)
= 80 + 10 = 90 ตัว
ต้นทุนผลิตภัณฑ์ต่อหน่วยเดิมของมอเตอร์Cost/Unit เดิม = (100 x 30) + (12 x 10)
90
= 3,000 + 120 = $34.67 ต่อตัว
Cost/Unit ใหม่ = (100 x 30) + (12 x 5)
95
= 3,000 + 60 = $32.21 ต่อตัว
95
การปรับปรุงกระบวนการผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพจะส่งผลในการลดต้นทุนผลิตภัณฑ์ต่อหน่วยลง 34.67-32.21 = $2.46 สำหรับต้นทุนการผลิตทางตรงต่อหน่วยคงเดิมและเพิ่มผลผลิตดีขึ้น 5 ตัว
การวัดปริมาณผลผลิตดีและผลิตภาพ
(Measuring Product Yield and Productivity)
อัตราส่วนระหว่างคุณภาพและผลิตภาพ
(The Quality – Productivity Ratio : QPR)
= 3,000 + 120 = $34.67 ต่อตัว
ถ้าเพิ่ม %G = 90;
ผลผลิตดี(Yield) = (100 x 90%) + (100 x 10% x 50%)
= 90 + 5 = 95 ตัว
ต้นทุนผลิตภัณฑ์ต่อหน่วยของมอเตอร์ภายหลังการปรับปรุงคุณภาพ คือCost/Unit ใหม่ = (100 x 30) + (12 x 5)
95
= 3,000 + 60 = $32.21 ต่อตัว
95
การปรับปรุงกระบวนการผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพจะส่งผลในการลดต้นทุนผลิตภัณฑ์ต่อหน่วยลง 34.67-32.21 = $2.46 สำหรับต้นทุนการผลิตทางตรงต่อหน่วยคงเดิมและเพิ่มผลผลิตดีขึ้น 5 ตัว
การวัดปริมาณผลผลิตดีและผลิตภาพ
(Measuring Product Yield and Productivity)
การหาปริมาณผลผลิตดีสำหรับกระบวนการผลิตที่มีกระบวนการผลิต n ขั้นตอน
Y = (I)(%G1)(% G2) . . . (%Gn)
เมื่อ
I = ปัจจัยนำเข้า
Gi = เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตที่ดีของขั้นตอน i ในกระบวนการ
(The Quality – Productivity Ratio : QPR)
ค่า QPR เพิ่มขึ้นถ้าต้นทุนการผลิตหรือต้นทุนงานแก้ไข หรือต้นทุนทั้งสองประเภทลดลง และค่า QPR จะเพิ่มขึ้นถ้าผลผลิตที่มีคุณภาพดีถูกผลิตมากขึ้น
** ออกสอบส่วน Final **
แนวการตอบ ดร.ภูษิต ให้อ้างทฤษฎีแล้วยกตัวอย่างประกอบ
วิวัฒนาการในการจัดการคุณภาพ (The Evaluation of Quality Management)
W. Edwards Deming [P.16]
ปรัชญาการจัดการคุณภาพ 14 ประการ -->เน้นข้อสีแดง
- สร้างเป้าหมายระยะยาวขององค์กรที่มุ่งการปรับปรุงคุณภาพสินค้าหรือบริการอย่างต่อเนื่อง
- เปิดรับแนวคิดและปรัชญาการทำงานที่เน้นไปที่การป้องกันคุณภาพสินค้าที่ไม่ดี แทนที่การกำหนดระดับของข้อบกพร่องที่ยอมรับได้
- เปลี่ยนระบบการควบคุมคุณภาพจากที่เน้นไปที่การตรวจสอบเพื่อสร้างคุณภาพ ไปเป็นการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติในการสร้างคุณภาพให้กับสินค้าและกระบวนการ
- คัดเลือกผู้จัดหาวัตถุดิบหรือผู้ผลิตวัตถุดิบบนพื้นฐานของคุณภาพสินค้ามากกว่าราคาที่ต่ำ
- Garbage in, Garbage out (ใส่ขยะเข้าไป ผลลัพธ์ก็เป็นขยะออกมา) - ปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นไปที่ระบบและพนักงาน
- มีการฝึกอบรมกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ให้เรียนรู้การป้องกันปัญหาคุณภาพ และการใช้เทคนิคการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ
- สร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นกับหัวหน้างานเพื่อให้สามารถช่วยเหลือพนักงานให้ทำงานได้ดีขึ้น
- ขจัดความกลัวของพนักงานในการระบุปัญหาและเสนอความคิดเห็นในการปรับปรุงคุณภาพด้วยการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
- กลัวการยอมรับผิด
- กลัวการเปลี่ยนแปลง - ทำลายอุปสรรคในการติดต่อประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ ในองค์กร โดยมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม
- ลดการใช้คำขวัญหรือเป้าหมายเชิงตัวเลขที่ปราศจากแนวทางการปฏิบัติหรือตัวอย่างการทำงาน
- ขจัดเป้าหมายที่เป็นจำนวนตัวเลขเพื่อให้พนักงานพยายามทำให้ได้ตามต้นทุนที่กำหนด โดยไม่ได้พิจารณาด้านคุณภาพ
- สร้างความภาคภูมิใจในการทำงานให้กับพนักงานทุกระดับ
- อย่าปล้นความภูมิใจไปจากลูกน้อง - จัดให้การศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงคุณภาพตลอดทั่วทั้งองค์กรทุกระดับและทุกฝ่าย ซึ่งจะส่งผลทำให้การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องสามารถเกิดขึ้นได้
- ผู้บริหารระดับสูงต้องสนับสนุนปรัชญาการบริหาร 13 ประการที่กล่าวมาให้เกิดขึ้น
- ระบุจำนวนข้ออธิบายมา เช่น 3 ประการ (ข้อ 4, 8, 12)
Philip Crosby [P.18]
คุณภาพ คือ สิ่งที่ไม่ต้องเสียเงิน เพราะถ้าสินค้ามีคุณภาพที่ดี ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการแก้ไข แต่ถ้าคุณภาพสินค้าและบริการไม่ดีหรือมีคุณภาพต่ำ ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น
- Free ให้รู้จักการป้องกัน จะได้ไม่ต้องเสียเงินแก้ไข
ความสำคัญกับการมุ่งลดข้อผิดพลาดของสินค้าและบริการให้เป็นศูนย์ โดยการผลิตสินค้าหรือบริการให้มีคุณภาพตั้งแต่ครั้งแรก ซึ่งเป็นวิธีการที่เน้นการป้องกันปัญหามากกว่าวิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนคุณภาพสินค้าและบริการลดลงนั่นเอง
- Zero Defect เป็นการตั้งเป้าหมายไว้ ให้ทำถูกตั้งแต่ขั้นแรก
Kaoru Ishikawa [P.18]
เสนอวัฏจักรคุณภาพ (Quality Cycles) และ เครื่องมือคุณภาพ (Quality Tools) อีกทั้งยังเน้นให้ความสำคัญต่อการเข้าใจความต้องการของลูกค้าภายในองค์กร เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรคุณภาพ
- 7 QC Tools
เครื่องมือการจัดการคุณภาพ (Quality Tools) ของ Kaoru Ishikawa [P.18]
- แผ่นรายการตรวจสอบ (Check Sheet)
- บันทึกข้อมูลรายละเอียดที่ต้องการเพื่อใช้ในการควบคุม ปรับปรุง และแก้ไขปัญหา
- ออกแบบให้ง่ายต่อการบันทึกข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
- เหมาะกับกิจกรรมที่เกี่ยวกับการค้นหาปัญหา แก้ปัญหา หรือการปรับปรุงคุณภาพ
- ตัวอย่างใช้เก็บข้อมูล ในห้องน้ำ, ลิฟท์ - การวิเคราะห์พาเรโต (Pareto Analysis)
- การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นหรือส่งผลกระทบมากที่สุด แล้วนำปัญหานั้นมาทำการแก้ไข จากนั้นก็นำปัญหาที่มีความสำคัญรองลงมามาแก้ไข
- กฎ 80/20 สิ่งที่สำคัญจะมีเพียง 20% ของสิ่งที่ไม่สำคัญอีก 80%
- เช่น ร้าน 7-11 มีสินค้าเป็นจำนวนมากหลายพันรายการ รายได้กว่า 80 %
มาจากรายการสินค้าเพียง 20 % จากรายการสินค้าทั้งหมดที่วางขายอยู่ในร้าน
- แผนผังการกระจาย (Scatter Diagram)
- ใช้ดูความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ต้องการทราบว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ถ้ามีความสัมพันธ์กัน จะมีความสัมพันธ์ในทิศทางใด
- ความสัมพันธ์เชิงบวก Aเพิ่ม , Bเพิ่ม
- ความสัมพันธ์เชิงลบ Aลด, Bลด
- แผนผังแสดงสาเหตุและผล (Cause-and-Effect Diagram)
- แผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram) --> ต้องเป็นปลาตะเพียน (ก้างกระจายปัญหาเยอะ)
- แผนผังอิชิกาว่า (Ishikawa Diagram)
- เน้นการตั้งคำถามว่า “ทำไม”
- ช่วยให้มองเห็นสาเหตุต่างๆ ของปัญหาที่เกิดขึ้น
- สาเหตุหลักเป็นกลุ่ม 4 กลุ่มหรือ 4M คือ บุคลากร, วิธีการ วัตถุดิบ และเครื่องจักร
+ 2E คือ สิ่งแวดลอม พลังงาน
- แผนผังการไหลของกระบวนการ (Process Flowchart)
- แผนภาพฮิสโตแกรม (Histogram)
- แผนภูมิควบคุม (Statistical Process Control Chart)
- การจัดการคุณภาพองค์รวม Total Quality Management, TQM
- การจัดการคุณภาพในห่วงโซ่อุปทาน Quality Management in the Supply Chain
- ระบบ Six Sigma
- การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) [P.23]
- นำมาใช้ปรับปรุงพัฒนาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เป็นการทำงานร่วมกันของทุกคนในองค์กรที่ร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพกระบวนการหรือผลิตภัณฑ์ทีละเล็กละน้อย ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ประสานงานจากทุกฝ่าย
- Continuous improvement พัฒนาจากล่างสู่บน bottom up
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น