หนังสือ การจัดการดำเนินงาน (Operations Managements)
เขียนโดย Russell & Taylor เรียบเรียงโดย ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล
บทที่ 1 การจัดการดำเนินงานและห่วงโซ่อุปทาน
(Operations and Supply Chain Management Introduction)
กระบวนการดำเนินการ [P.2]
การดำเนินงาน หมายถึง กระบวนการแปรสภาพปัจจัยนำเข้า(Input) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ (Output) ที่มีมูลค่าเพิ่ม โดยมีข้อมูลย้อนกลับจากผลลัพธ์ไปสู่กระบวนการแปรสภาพและปัจจัยนำเข้าตามห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพื่อที่จะมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการต่างๆ เพื่อได้ผลผลิิตตามความต้องการของลูกค้า
กระบวนการแปรสภาพ
- ด้านกายภาพ --> สถานที่
- ด้านทำเลที่ตั้ง --> คูเรีย, DHL, ไปรษณีย์
- ด้านการแลกเปลี่ยน --> ค้าปลีก, ธนาคาร
- ด้านร่างกาย --> โรงพยาบาล, ฟิตเนส, สปา
- ด้านจิตใจ --> ศัลยกรรม, เสริมสวย, บันเทิง
- ด้านข้อมูลสารสนเทศ --> หนังสือพิมพ์, Internet
หน้าที่และความรับผิดชอบของการดำเนินงานและห่วงโซ่อุปทาน
(The Evolution of Operations and Supply Chain Management)
วิวัฒนาการของการจัดการการดำเนินงาน (The Evolution of Operations)
- หัตถกรรม
- การปฏิวัติอุตสาหกรรม
- การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
- ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- การวิจัยการดำเนินงาน
- การปฏิวัติคุณภาพ
- อินเตอร์เน็ต และโลกาภิวัฒน์
- การเชื่อมโยงธุรกิจ
- การดำเนินงานโดยไม่มีพรมแดน
- มีการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศ
การวัดความสามารถในการแข่งขัน [P.6]
(Productivity and Competitiveness)
การคำนวณค่าผลิตภาพ (Productivity)
** เน้น ต้องระบุหน่วยให้ชัดเจน **
ตัวอย่าง การคำนวณผลิตภาพ [P.7]
บริษัท อุตสาหกรรมออสบอน จำกัด ต้องการจัดทำรายงานผลิตภาพของการผลิตต่อคณะกรรมการบริหารบริษัท โดยต้องรายงาน 1) ผลิตภาพแรงงาน 2) ผลิตภาพเครื่องจักร 3) ผลิตภาพปัจจัยรวม โดยมีข้อมูลการผลิตดังนี้
จำนวนสินค้าที่ผลิต | 100,000 | ชิ้น |
ชั่วโมงแรงงาน | 10,000 | ชั่วโมง |
ชั่วโมงเครื่องจักร | 5,000 | ชั่วโมง |
ต้นทุนวัตถุดิบ | $35,000 | |
ต้นทุนพลังงาน | $15,000 | |
ค่าจ้างแรงงานชั่วโมงละ | $15 | |
ต้นทุนการใช้เครื่องจักรชั่วโมงละ | $10 |
(1) ผลิตภาพแรงงาน = จำนวนชิ้นที่ผลิต
จำนวนชั่วโมงแรงงาน
= 100,000 ชิ้น
10,000 ชั่วโมงแรงงาน
= 10 ชิ้น/ชั่วโมงแรงงาน <-- ต้องระบุหน่วยให้ชัดเจน
(2) ผลิตภาพเครื่องจักร = จำนวนชิ้นที่ผลิต
จำนวนชั่วโมงเครื่องจักร
= 100,000 ชิ้น
5,000 ชั่วโมงแรงงาน
= 20 ชิ้น/ชั่วโมงเครื่องจักร <-- ต้องระบุหน่วยให้ชัดเจน
(3) ผลิตภาพปัจจัยรวม = จำนวนชิ้นที่ผลิต
ต้นทุนแรงงาน + ต้นทุนเครื่องจักร + ต้นทุนวัตถุดิบ + ต้นทุนพลังงาน
= 100,000
(10,000 x 15) + (5,000 x 10) + 35,000 + 15,000
= 100,000
250,000
= 0.4 ชิ้น/บาท <-- ต้องระบุหน่วยให้ชัดเจน
โจทย์อาจให้เปรียบเทียบผลิตภาพกับคู่แข่ง
คู่แข่ง ผลิตภาพแรงงาน = 12 ชิ้น/ชั่วโมงแรงงาน
ดังนั้น คู่แข่งมีความสามารถในการแข่งขันสูงกว่า
คู่แข่ง ผลิตภาพเครื่องจักร = 15 ชิ้น/ชั่วโมงเครื่องจักร
ดังนั้น คู่แข่งมีวความสามารถในการแข่งขันด้วยกว่า
คู่แข่ง ผลิตภาพปัจจัยรวม = 1 ชิ้น/บาท
ดังนั้น คู่แข่งมีความสามารถในการแข่งขันสูงกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น