บรรยาย: รศ. สมรักษ์ รักษาทรัพย์
บทที่ 1 บทนำว่าด้วยเศรษฐศาสตร์มหภาค
(Introduction to Macroeconomic)
1. ทฤษฏีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติ
2. การเปลี่ยนแปลงรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
3. ขนาดการเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติ
4. การใช้เครื่องมือเชิงนโยบาย เช่น นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายรายได้ เพื่อควบคุมระดับกิจกรรมทางเศรษกิจ
เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomic)
เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างและปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจในระดับชาติ นโยบายของรัฐที่ถูกใช้ไปเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว
ปัญหาเศรษฐกิจมหาภาค (Macroeconomic Issue)
1) ปัญหาการเติบโตอย่างมีดุลยภาพในระยะยาว
2) ปัญหาวัฏจักรเศรษฐกิจ
3) ปัญหาการว่างงาน
4) ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพของระดับราคา
5) ปัญหาผลกระทบจากกระทบระบบโลกาภิวัตน์
6) ปัญหามาตรฐานการดำรงชีพ
7) ปัญหาการขาดดุลงบประมาณและดุลการค้า
8) ปัญหาว่านโยบายรัฐจะสามารถปรับปรุงยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้หรือไม่
1) ปัญหาการเติบโตอย่างมีดุลยภาพในระยะยาว
การเติบโตอย่างมีดุลยภาพภาพในระยะยาว หมายถึง สภาวะที่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริง (real GDP) มีการเติบโตอย่างเสม่ำเสมอและยั่งยืน สอดคล้องกับกำลังทรัพกรของประเทศ
ในข้อนี้อาจารย์ได้ยกตัวอย่างการเติบโตโดยการนำทรัพยากรมาใช้อย่างล้างผลาญ ซึ่งทำให้ทรัพยากรนั้นหมดไปในอนาคต แต่ทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้น ว่าเป็นการเติบโตที่ไม่มีดุลยภาพ
2) ปัญหาวัฏจักรเศรษฐกิจ
คือปัญหาที่ว่าด้วยความผันผวนของเศรษฐกิจ ที่มีการขึ้นๆลงๆ ตามเวลาที่เปลี่ยนไป เป็นวัฏจักร เจริญรุ่งเรือง-ถดถอย-ตกต่ำ-ฟื้นตัว
3) ปัญหาการว่างงาน
เป็นปัญหาที่ว่าด้วยภาวะที่คนไม่มีงานทำ หรือมีการจ้างงานต่ำกว่ากำลังแรงงาน ทำให้มีผู้ไม่มีรายได้ ทำให้เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม
4) ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพของระดับราคา
เป็นปัญหาที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจถดถอย ภาวะเงินเฟ้อเป็นภาวะที่เงินมีค่าน้อยลง ทำให้ต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อสินค้าที่มีปริมาณและคุณภาพเท่าเดิม การเกิดเงินเฟ้อในอัตรสูงถือเป็นปัญหาทาง
5) เศรษฐกิจที่กระทบต่อครัวเรือน
ปัญหาผลกระทบจากกระแสระบบโลกาภิวัตน์
ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด และมีสัดส่วนในภาคต่างประเทศสูงเมื่อเทียบกับ GDP ดังนั้นความผันแปรของสภาวะเศรษฐกิจโลกจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยค่อนข้างมาก
6) ปัญหามาตรฐานการดำรงชีพ
เป็นปัญหาที่ดกี่ยวกับมาตรฐานการดำรงชีพของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งไม่ได้ดีขึ้นตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศมากนัก เนื่องจากช่องว่างในการกระจายรายได้เพิ่มสูงขึ้น
7) ปัญหาการขาดดุลงบประมาณและดุลการค้า
เป็นปัญหาที่ว่าด้วยความไม่สมดุลระหว่างการใช้จ่ายเงินกับรายได้ ดุลงบประมาณหมายถึงความสมดุลระหว่างรายจ่ายกับรายได้ของภาครัฐ ซึ่งอาจวางแผนให้เกินดุลหรือขาดดุลได้ ตามแต่สถานการณ์ของประเทศ ส่วนดุลการค้านั้นหมายถึง ระดับของมูลค่าสินค้าที่ส่งอกไปขายกับสินค้าที่นำเข้า ซึ่งยิ่งเกินดุลมากเท่าไหร่ยิ่งป็นผลดี
8) ปัญหาว่านโยบายรัฐจะสามารถปรับปรุงยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้หรือไม่
เป็นปัญหาที่ว่าด้วยการประเมินว่า นโยบายของภาครัฐที่นำมาผลักดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น จะมีผลกระทบอย่างไร ประสบความสำเร็จมากน้อยขนาดไหน นโยบายหลักๆที่ประเทศต่างๆนำมาใช้ ส่วนใหญ่จะเป็น นโยบายการเงิน(Monetary policy) กับนโยบายการคลัง (Fiscal policy)
ดุลยภาพทั่วไปของระบบเศรษฐกิจ (General Equilibrium) และตัวบ่งชี้ (Indicator) ต่าง ๆ
เป็นปัญหาที่ดกี่ยวกับมาตรฐานการดำรงชีพของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งไม่ได้ดีขึ้นตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศมากนัก เนื่องจากช่องว่างในการกระจายรายได้เพิ่มสูงขึ้น
7) ปัญหาการขาดดุลงบประมาณและดุลการค้า
เป็นปัญหาที่ว่าด้วยความไม่สมดุลระหว่างการใช้จ่ายเงินกับรายได้ ดุลงบประมาณหมายถึงความสมดุลระหว่างรายจ่ายกับรายได้ของภาครัฐ ซึ่งอาจวางแผนให้เกินดุลหรือขาดดุลได้ ตามแต่สถานการณ์ของประเทศ ส่วนดุลการค้านั้นหมายถึง ระดับของมูลค่าสินค้าที่ส่งอกไปขายกับสินค้าที่นำเข้า ซึ่งยิ่งเกินดุลมากเท่าไหร่ยิ่งป็นผลดี
8) ปัญหาว่านโยบายรัฐจะสามารถปรับปรุงยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้หรือไม่
เป็นปัญหาที่ว่าด้วยการประเมินว่า นโยบายของภาครัฐที่นำมาผลักดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น จะมีผลกระทบอย่างไร ประสบความสำเร็จมากน้อยขนาดไหน นโยบายหลักๆที่ประเทศต่างๆนำมาใช้ ส่วนใหญ่จะเป็น นโยบายการเงิน(Monetary policy) กับนโยบายการคลัง (Fiscal policy)
ดุลยภาพทั่วไปของระบบเศรษฐกิจ (General Equilibrium) และตัวบ่งชี้ (Indicator) ต่าง ๆ
1) ภาคการผลิต (Product Market)
2) ภาคตลาดแรงงาน (Labor Market)
3) ภาคการเงิน (Money Market)
4) ภาคต่างประเทศ (Foreign Market)
1) ภาคการผลิต (Product Market)
ภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) หรือบางครั้งเรียกว่า ตลาดสินค้า ตัวแปรสำคัญในภาคนี้ก็คือ ผลผลิตรวมของประเทศ (Total Output) หรือที่เราเรียกกันว่ารายได้ประชาชาติ ในสถานการณ์ที่มีดุลยภาพ อุปสงค์รวมของประเทศเท่ากับอุปทานรวมของประเทศ
ตัวแปรในภาคการผลิต
(1) ค่าใช้จ่ายในการบริโภคของครัวเรือน
(2) รายจ่ายในการลงทุนของหน่วยธุรกิจ
(3) รายจ่ายของภาครัฐบาลที่จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุน
(4) การส่งออก
(5) การนำเข้า
(6) การออมของหน่วยธุรกิจและครัวเรือน
(7) การออมของรัฐบาล
(8) อัตราภาษี
(9) ระดับราคา เป็นต้น
2) ภาคตลาดแรงงาน (Labor Market)
เป็นส่วนหนึ่งของภาคเศรษฐกิจจริง ( Real sector) ประกอบไปด้วยตัวแปรสำคัญ
(1) อุปสงค์แรงงาน (Demand for labor)
(2) อุปทานแรงงาน (Supply of labor)
(3) ค่าจ้างแรงงาน (Wage)
อุปสงค์แรงงาน = อุปทานแรงงาน => ภาวะดุลยภาพ
อุปสงค์แรงงาน > อุปทานแรงงาน => ขาดแคลนปัจจัยการผลิต
อุปสงค์แรงงาน < อุปทานแรงงาน => เกิดส่วนเกินแรงงงาน
อุปทานของเงิน อุปสงค์ของเงิน อัตราดอกเบี้ยหรือราคาของเงิน
(1) บทบาทและสถานะของสถาบันการเงินในระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง การระดมเงินทุนและให้ สินเชื่อแก่หน่วยธุรกิจและครัวเรือน
(2) บทบาทของเจ้าหน้าที่ทางการเงินที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกำกับการใช้เครื่องมือและนโยบายการเงิน (เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น)
(3) การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
(4) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
(5) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น
4) ภาคต่างประเทศ (Foreign Market)
ดุลการชำระเงินของประเทศมีความสมดุล
(1) ดุลบัญชีเงินสะพัด ซึ่งประกอบด้วย
(1.1) ดุลการค้า
(1.2) ดุลบริการ
(1.3) ดุลเงินโอนและบริจาค
(2) การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย
(2.1) การเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น
(2.2) การเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะยาว
(3) อัตราแลกเปลี่ยน
ดุลยภาพทั่วไป (General Equilibrium)
มาถึงตรงนี้แล้วก็จะสรุปความได้ว่าสิ่งที่เราปรารถนาก็คือ การเกิดดุลยภาพทั่วไป ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดดุลยภาพในทั้ง 4 ส่วนดังกล่าว พร้อม ๆ กัน และที่ปรารถนามากไปกว่านั้นอีกคือ เราต้องการให้เกิดดุลยภาพในภาวะที่มีการจ้างงานเต็มที่ (Full Employment) ด้วย
มาถึงตรงนี้แล้วก็จะสรุปความได้ว่าสิ่งที่เราปรารถนาก็คือ การเกิดดุลยภาพทั่วไป ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดดุลยภาพในทั้ง 4 ส่วนดังกล่าว พร้อม ๆ กัน และที่ปรารถนามากไปกว่านั้นอีกคือ เราต้องการให้เกิดดุลยภาพในภาวะที่มีการจ้างงานเต็มที่ (Full Employment) ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น