21 ตุลาคม 2556

BUS 6010 : บทที่ 5 การวิเคราะห์การผลิต Micro(5)

บทที่ 5 การวิเคราะห์การผลิต

การผลิต หมายถึง กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตที่ผ่านเข้าไปในกระบวนการผลิตออกมาเป็นผลผลิต

ปัจจัยการผลิต
1. ปัจจัยคงที่ (Fixed factors)
2. ปัจจัยผันแปร (Variable factors)

ระยะเวลาที่ใช้ในการผลิต
1. ระยะสั้น (Short run period)
2. ระยะยาว (Long run period)

ฟังก์ชั่นการผลิต หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิตกับผลผลิต

     Q  =  f(X1, X2, ... , Xn)

ฟังก์ชั่นการผลิต อาจเขียนให้อยู่ในรูปสมการ
หรือ

ฟังก์ชั่นการผลิตอาจเขียนให้อยู่ในรูปของตาราง
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิตกับผลผลิตในระยะสั้น


ผลผลิตหน่วยสุดท้าย (Marginal Product : MP)
หมายถึง ปริมาณผลผลิตที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ปัจจัยการผลิตผันแปรไปหนึ่งหน่วย

ผลผลิตเฉลี่ย (Average Product : AP)
หมายถึง  ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยของปัจจัยการผลิตผันแปร
AP  =   TP
            VF
โดยที่  AP  =  ผลผลิตเฉลี่ย
           TP   =  ผลผลิตรวม
           VF   = ปัจจัยผันแปรที่ใช้ในการผลิต

ผลผลิตหน่วยสุดท้าย (Marginal Product : MP)
หมายถึง ปริมาณผลผลิตที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ปัจจัยการผลิตผันแปรไปหนึ่งหน่วย
MP  =  ΔTP
            ΔVF
โดยที่  ΔTP  = ปริมาณการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตทั้งหมด
            ΔVF = ปริมาณการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยผันแปร

ถ้าฟังก์ชั่นการผลิต คือ

Q  =  ∂0  +  ∂1K  +  ∂2L

โดยที่ Q = ปริมาณการผลิต
           K = ปัจจัยทุนซึ่งคงที่
           L  = ปัจจัยแรงงานซึ่งผันแปรได้
MP   =  ∂Q
             ∂L

การผลิตในระยะสั้น
ในระยะสั้นผู้ผลิตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตได้ทุกชนิด ดังนั้นในการผลิต จึงมีทั้งปัจจัยคงที่และปัจจัยผันแปร ถ้าเราให้ K (ทุน) และ L (แรงงาน) คือปัจจัยการผลิตที่ใช้อยู่ โดยกำหนดให้ทุนมีจำนวนคงที่ Q คือผลผลิต ดังนั้นเราอาจเขียนฟังก์ชั่นการผลิตได้ว่า

Q  =  f(L,K)
Q  =  f(L)

                               เส้นฟังก์ชั่นการผลิต   


กฎการลดลงของผลที่ได้หรือกฎการลดน้อยถอยลง (Law of diminishing returns)
 "เมื่อมีการใช้ปัจจัยการผลิตชนิดใดชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น ร่วมกับการใช้ปัจจัยการผลิตอื่นที่มีจำนวนคงที่ ผลผลิตที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มการใช้ปัจจัยการผลิตที่ผันแปร (MP) ในระยะแรกจะเพิ่มขึ้น ต่อมาจะลดลง และในที่สุดก็จะติดลบ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิตและผลผลิตในระยะสั้นจะเป็นไปตามกฎการลดลงของผลได้ (Law of diminishing returns)"


เส้น MP  ค่า MP ได้จากค่ามุม Tan ของเส้นสัมผัสกับเส้น AP
เส้น AP   ค่า AP ได้จากค่ามุม Tan ของเส้นที่ลากจากจุด O ไปตัดกับเส้น TP

การผลิตในระยะยาว
หมายถึง การผลิตที่หน่วยธุรกิจสามารถเปลี่ยนแปลงขนาดหรือปัจจัยการผลิตทุกชนิด

การใช้ปัจจัยผันแปรมากกว่าหนึ่งชนิดผลิตสินค้าหนึ่งชนิด

Q   =   f(V1,  V2,  V3, .... , Vn)

เพื่อให้ง่ายต่อกาศึกษา ในการวิเคราะห์เรามักจะสมมติให้มีการใช้ปัจจัยผันแปรเพียงสองชนิดเท่านั้น แรงงานและทุน ฟังก์ชั่นการผลิตจะเขียนได้ว่า

Q   =   f(L,K)

เส้นผลผลิตเท่ากัน
คือ เส้นที่แสดงส่วนผสมต่างๆ ของปัจจัยการผลิตตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปที่ให้ผลผลิตจำนวนเดียวกัน

ลักษณะของเส้นผลผลิตเท่ากัน
- เส้นผลผลิตเท่ากัน จะเป็นเส้นต่อเนื่องลาดจากซ้ายลงมาทางขวา
- เส้นผลผลิตเท่ากัน จะไม่ตัดกันหรือสัมผัสกัน
- เส้นผลผลิตเท่ากัน จะสามารถแสดงการวัดออกมาในรูปของหน่วยผลิตที่แน่นอนได้
- เส้นผลผลิตเท่ากัน จะเป็นเส้นโค้งเว้าเข้าหาจุดกำเนิด

อัตราสุดท้ายของการใช้แทนกันทางเทคนิคของปัจจัยการผลิต (marginal rate of technical substitution : MRTS) คืออัตราส่วนระหว่าง จำนวนปัจจัยการผลิตชนิดหนึ่งที่ลดลง ต่อ จำนวนปัจจัยการผลิตอีกชนิดหนึ่งที่เพิ่มขึ้นจากการเคลื่อนตัวไปบนเส้นผลผลิตเท่ากันเส้นเดียวกันหมายถึง ค่าที่บอกให้รู้ว่า เมื่อเพิ่มปัจจัยการผลิตชนิดหนึ่งขึ้นหนึ่งหน่วยแล้ว จะสามารถการใช้ปัจจัยการผลิตอีกชนิดหนึ่งลงได้จำนวนเท่าใด โดยผลผลิตที่ได้รับมีจำนวนคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
                              การหาค่า MRTSLK

ถ้าให้ฟังก์ชั่นการผลิต
Q    =  f(L,K)
dQ  =  ∂f .dL  +  ∂f .dK
           ∂L           ∂K
MRTSLK  =   ΔK
                      ΔL
MPL         =  ΔTP  = dTP
                      ΔL       dL
MPK         =  ΔTP  = dTP
                     ΔK       dK

MRTSLK  =   MPL
                   MPK

ความสัมพันธ์ระหว่าง MRTS และ MP 
เมื่อผู้ผลิตเพิ่มการใช้ปัจจัยการผลิตชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นเื่รื่อยๆ เพื่อใช้แทนปัจจัยการผลิตอีกชนิดหนึ่งที่มีจำนวนลดลง โดยคงจำนวนผลผลิตไว้เท่าเดิม อัตราสุดท้ายของการใช้ปัจจัยแทนกันทางเทคนิคระหว่างปัจจัยการผลิตทั้งสองจะค่อยๆลดลง

(กราฟ)

กฎผลได้ต่อขนาด
ผลได้ต่อขนาด (returns to scales) หมายถึง ส่วนเปลี่ยนแปลงในการผลิตเมื่อปัจจัยการผลิตทุกชนิดที่ใช้เปลี่ยนแปลงไปในสัดส่วนเดียวกัน

1. ผลได้ต่อขนาดเพิ่มขึ้น (increasing returns to scales)
หมายถึง อัตราการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของปัจจัยการผลิต

2. ผลได้ต่อขนาดลดลง (decreasing returns to scales)
หมายถึง อัตราการเพิ่มขึ้นของผลผลิตต่ำกว่าอัตราเพิ่มขึ้นของปัจจัยการผลิต

3. ผลที่ได้ต่อเนื่องคงที่ (constant returns to scale)
หมายถึง อัตราการเพิ่มขึ้นของผลผลิตเท่ากับอัตราการเพิ่มขึ้นของปััจัยการผลิต

การเพิ่มขึ้นของผลได้ต่อขนาดเป็นผลมาจาก
1. ในขณะที่ขนาดการผลิตขนาดใหญ่ขึ้นๆ แรงงานแต่ละคนจะสามารถได้รับการฝึกอบรม และมอบหมายให้ทำหน้าที่การงานอันใดอันหนึ่งที่ตนมีความชำนาญเป็นพิเศษเฉพาะเนื่องจากขณะนี้ปริมาณงานแต่ละหน้าที่มีมากพอ ผลผลิตย่อมเพิ่มขึ้นได้มาก
2. ในการผลิตขนาดใหญ่นั้น ย่อมเป็นการคุ้มที่จะนำเครื่องจักรเครื่องมือที่มีลักษณะพิเศษเข้ามาใช้
3. ในกระบวนการผลิตโดยปกติ เรามักพบว่าการดำเนินการผลิตในขนาดใหญ่ จะให้ประสิทธิภาพทางเทคนิคที่สูงกว่าการดำเนินการในขนาดเล็ก

(กราฟ)

เส้นต้นทุนเท่ากัน (Isocost line)
คือ เส้นที่แสดงส่วนประกอบต่างๆกันของปัจจัยการผลิตตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ที่ซื้อได้ด้วยเงินทุนจำนวนเดียวกัน

ถ้าให้ราคาปัจจัย L คือ W และราคาปัจจัย K คือ r เป็นราคาที่คงที่โดยตลอดไม่ว่าผู้ผลิตจะซื้อปัจจัยทั้งสองชนิดเป็นจำนวนเท่าใดก็ตามจากเงินงบประมาณที่ผู้ผลิตมีอยู่จำนวนหนึ่ง (C) เราสามารถเขียนฟังก์ชั่นของเส้นต้นทุนเท่ากันได้ ดังนี้

WL + rK  =  C

หรือ    K  =  C  -  W . L
                     r       r        

การเปลี่ยนแปลงของเส้นต้นทุนเท่ากัน

ส่วนผสมที่ดีที่สุดจากการใช้ปัจจัยการผลิตสองชนิดผลิตสินค้าหนึ่งชนิด
ส่วนผสมที่ดีที่สุดที่กล่าวนี้ จะหมายถึงส่วนผสมของปัจจัยการผลิตสองชนิดที่ให้ต้นทุนต่ำสุดสำหรับปริมาณการผลิตจำนวนหนึ่งๆ หรือจะหมายถึงส่วนผสมของปัจจัยการผลิตสองชนิดที่ให้ผลผลิตสูงสุดสำหรับต้นทุนจำนวนหนึ่งๆ ก็ได้
Slop ของ Isocost   =    C/r 
                                   C/w
                              =   C . w
                                    r    C
                              =  
                                    r
ที่จุดสัมผัส             =  PL
                                   PK
MRTSLK                =   PL
                                   PK  
                      MPL =  PL
                      MPK     PK

ผลของการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิต ผลของการใช้แทนกัน และผลของราคา

C1 = อัตราค่าจ้างสูงขึ้น ใช้แรงงานได้น้อยลง ใช้ทุนเท่าเดิม
E1 = ทุนและค่าจ้างไม่เปลี่ยนแปลง
E2 =
E3 = ค่าจ้างสูงขึ้นใช้แรงงานได้น้อยลงใช้ทุนเพิ่มขึ้น

ผลของการใช้แทนกัน คือ
ลด L จาก OL1 =>  OL2

ผลของการลดการผลิต คือ
ลด L จาก OL =>  OL3

ผลของการใช้แทนกัน + ผลของการลดผลผลิต คือ ผลของราคา
L1L2  +  L2L3  =  L1L3



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อยากรู้เรื่องทฤษฎีการตลาดกับผู้เชี่ยวชาญ ผมแนะนำ M.B.A. (Marketing) Ramkhamkaeng .. แต่ถ้าอยากรู้ว่าเรียนการตลาดแล้วจะประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินได้อย่างไร คุณต้องมีโค้ชแนะนำ ครับ

วางแผนการเงินกับ #finadvisor #ความมั่งคั่งเริ่มต้นที่นี่ finadvisor.co
โค้ชส่วนตัว ช่วยวางแผน

×
News