11 ตุลาคม 2556

BUS 6010 : บทที่ 2 ระเบียบวิธีการคำนวณสถิติตัวเลขรายได้ประชาชาติและผลผลิต Macro(2)

BUS 6010 เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (Business Economics) : เศรษฐศาสตร์มหภาค
บรรยาย: รศ. สมรักษ์ รักษาทรัพย์

บทที่ 2 ระเบียบวิธีการคำนวณสถิติตัวเลขรายได้ประชาชาติและผลผลิต
(The Measurement of National Income and National Product)

ประเด็นสำคัญ
1. สถานะที่เป็นอยู่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
2. ระดับความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง
3. โครงสร้างสำคัญต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นเศรษฐกิจของชาติ (National economy) GDP, GNP, NNP at Current Market Price, NNP at Factor Cost, Disposable Income, Real and Market Price, Personal Income เป็นต้น

ความหมายของรายได้ประชาชาติ
มูลค่าของสินค้าบริการขั้นสุดท้ายที่ระบบเศรษฐกิจผลิตขึ้นมาได้ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ปกติก็คิดกันเป็น 1 ปี หรือหนึ่งไตรมาส หรือในอีกความหมายหนึ่ง รายได้ประชาชาติ คือ ผลรวมของรายได้ที่บุคคลต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจได้รับในฐานะที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตในรอบระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งปกติก็คิดกันที่ 1 ปี หรือ 1 ไตรมาส เช่นกัน

วิธีการคำนวณตัวเลขสถิติรายได้ประชาชาติ
ตามมาตรฐาน UNSNA (United Nations System of National Account)
1. Production Approach (การคำนวณรายได้ประชาชาติจากด้านผลผลิต)
2. Expenditure Approach (การคำนวณรายได้ประชาชาิติจากด้านรายจ่าย)
3. Income Approach (การคำนวณรายได้ประชาชาิติจากด้านรายได้)

การคำนวณโดยวิธี Production Approach
ปัญหาในด้านการนับซ้ำซ้อน (Double Counting) คำนวณจากมูลค่าเพิ่ม (Value added) ของสินค้าชั้นกลาง (Intermediate Product)

รายการมูลค่าเพิ่ม
1. เกษตรกรประเทศ ก ผลิตข้าวเปลือกแล้วขายให้โรงสี
    คิดเป็นเงิน 100,000 ล้านบาท
100,000 ล้านบาท
2. โรงสีซื้อข้าวเปลือกมาจากเกษตรกร 100,000 ล้านบาท สีเป็นข้าวสาร
    ขายเป็นข้าวสารได้ 130,000  ล้านบาท
30,000 ล้านบาท
3. บริษัทค้าข้าว ซื้อข้าวสารจากโรงสี 130,000 ล้านบาท มาบรรจุหีบห่อ
    ขายปลีกออกไปเป็นเงิน 180,000 ล้านบาท
50,000 ล้านบาท

สรุปการคำนวณสถิติรายได้ประชาชาติโดยวิธี Production Approach 
(1) เมื่อรวมมูลค่าเพิ่มของสินค้าบริการทุกชนิดที่ระบบได้ตัวเลขสถิติ GDP              

(2) ปรับตัวเลขสถิติ GDP ให้เป็น GNP ได้ดังนี้
       GNP = GDP + Net Factor Income form abroad or
                    Net Factor Income Payment form the Rest of the World

(3) ปรับค่าของ GNP ให้เป็น NNP at Current Market Price ได้ดังนี้
       NNP at current Market price  =  GNP - Provision for Consumption of Fixed Capital

(4) ปรับค่า NNP at current Market Price ให้เป็น NNP at Factor Cost ซึ่งจะทำได้ ดังนี้
      NNP at Factor Cost  =  NNP at Current Market Price  - Indirect tax-Subsidies

(5) NNP at Factor Cost = NI (National Income)

(6) ปรับ National Income ให้เป็นรายได้ต่อหัว (Per capita Income) ได้ดังนี้
      Per capita Income =      IN       
                                      Population
     
      Per capita GNP    =      GNP       
                                      Population
             
      Per capita GDP     =    GDP       
                                      Population

การคำนวณโดยวิธี Expenditure Approach

GDP    =   Ca + Ia + Ga + Xa – Ma

GDP = Gross Domestic Product
Ca    = Private Consumption Expenditure
Ia      = Gross Private Investment Expenditure
Ga    = General Government Expenditure on Consumption and Investment
Xa    = Exports of Goods and Services
Ma   = Imports of Goods and Services

Actual Value เป็นค่าที่เกิดขึ้นแล้ว
Desired Value เป็นค่าที่ยังไม่เกิดขึ้น

การคำนวณโดยวิธี Income Approach
ผลตอบแทนของปัจจัยการผลิต
- ค่าจ้าง (Wages)
- ค่าเช่า (Rent)
- ดอกเบี้ย (Interest)
- กำไร (Profit)

รายจ่ายอื่นๆ ที่ไม่ได้จ่ายให้กับเจ้าของปัจจัยการผลิต (Non Factor Payments)
(1) ภาษีทางอ้อมของธุรกิจ (Indirect Business Taxes)
(2) เงินอุดหนุน (Subsidies)
     Net Domestic Product = Wages + Rent + Interest + Profit +  Indirect Business Taxes - Subsidies
(3) ค่าเสื่อมราคา
      GDP = NDP + Depreciation

รายได้สุทธิส่วนบุคคล (Disposable Personal Income)
รายได้สุทธิส่วนบุคคล = GNP รวมกับเงินโอนของรัฐบาล (Transfer received form the government)  รวมดอกเบี้ยที่จ่ายโดยรัฐบาลและหักด้วยภาษี (Taxes)

ค่าที่แท้จริงและค่าที่เป็นตัวเงิน (Real and Nominal Measure)
ค่า GDP ที่เป็นตัวเงิน (Nominal term) คือค่า GDP ณ ระดับราคาปัจจุบัน (Current Prices) หรือที่เรียกว่า  Nominal GDP คือค่าของ GDP ที่คำนวณตามราคาปีปัจจุบันของผลผลิตหรือคำนวณตามราคาตลาด
       
ค่า GDP ที่แท้จริง คือค่า GDP ณ ระดับราคาปีฐาน หรือที่เรียกว่า Real GDP ซึ่งประเทศไทย ณ ขณะนี้ (พ.ศ. 2547) ใช้ราคาปี ค.ศ. 1988 เป็นปีฐาน

สาเหตุสำคัญที่ทำให้รายได้ประชาชาติแท้จริง (Real GDP) เพิ่มขึ้นนั้น อาจเกิดจาก
(1) การเพิ่มขึ้นของปัจจัยการผลิต ซึ่งได้แก่ การเพิ่มขนาดของจำนวนที่ดินที่นำมาใช้ประโยชน์การเพิ่มขึ้นของแรงงานและทุนที่ใช้ในการผลิต
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งได้แก่ การเพิ่มผลผลิตต่อหนึ่งหน่วยของปัจจัยการผลิต (Increase in Productivity of Resources)

กิจกรรมที่ไม่นับรวมในรายได้ประชาชาติ
(1) กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย (Illegal Activities) 
(2) กิจกรรมที่ไม่ได้บันทึก (Unreported Activities) 
(3) กิจกรรมนอกตลาด (Non Market Activities)
(4) ผลเสียที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ (Economic “Bads”)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อยากรู้เรื่องทฤษฎีการตลาดกับผู้เชี่ยวชาญ ผมแนะนำ M.B.A. (Marketing) Ramkhamkaeng .. แต่ถ้าอยากรู้ว่าเรียนการตลาดแล้วจะประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินได้อย่างไร คุณต้องมีโค้ชแนะนำ ครับ

วางแผนการเงินกับ #finadvisor #ความมั่งคั่งเริ่มต้นที่นี่ finadvisor.co
โค้ชส่วนตัว ช่วยวางแผน

×
News