บทที่ 3 ความยืดหยุ่น
--------------------------
ความยืดหยุ่น
- ความยืดหยุ่นของอุปสงค์
- ความยืดหยุ่นของอุปทาน
- ประโยชน์จากการศึกษาเรื่องความยืดหยุ่น
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of demand)
หมายถึง เปอร์เซนต์หรืออัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าที่มีผู้ต้องการซื้อในขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อตัวแปรอื่นๆ ที่เป็นตัวกำหนดปริมาณเสนอซื้อนั้นๆ เปลี่ยนแปลงไปหนึ่งเปอร์เซนต์
Ed = เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอซื้อ
เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า
Ed = ∆Q x P = Q2 - Q1 x P1
∆P Q P2 - P1 Q1
Ed = dQ x P1
dP Q1
การคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
1). ความยืดหยุ่นแบบจุด (Point elasticity of demand)
เป็นการคำนวนณหาค่าความยืดหยุ่น ณ จุดใดจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ซึ่งเป็นกรณีที่ราคาเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย แต่ในทางทฤษฎีถือว่ามีผลทำให้ปริมาณเสนอซื้อเปลี่ยนแปลงไปด้วย
เป็นการคำนวนณหาค่าความยืดหยุ่น ณ จุดใดจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ซึ่งเป็นกรณีที่ราคาเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย แต่ในทางทฤษฎีถือว่ามีผลทำให้ปริมาณเสนอซื้อเปลี่ยนแปลงไปด้วย
สูตรที่ใช้ในการคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นแบบจุดคือ
Ed = ∆Q x P = Q2 - Q1 x P1
∆P Q P2 - P1 Q1
ตัวอย่างเช่น
กำหนดให้ Qx = 600 - 50 Px ถ้าราคาสินค้า x เปลี่ยนจากชิ้นละ 5 บาท เป็น 6 บาท จงคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่่อราคาสินค้า x ณ ระดับราคา 5 บาท
Px1 = 5 บาท : Qx1 = 600 - 50(5)
= 600 - 250
= 350
ณ ระดับ
Px2 = 6 บาท : Qx2 = 600 - 50(6)
= 600 - 300
= 300
จากสูตร
Ed = Q2 - Q1 x P1
P2 - P1 Q1
Ed = 300 - 350 x 5
6 - 5 350
= -50 ( 1 )
70
= -0.71
ถ้าราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากจนมีค่าใกล้ 0 เราสามารถใช้วิธีอนุพันธ์ โดยการหาค่าความยืดหยุ่นได้ดังนี้
Ed = dQx x Px
dPx Qx
จากสมการอุปสงค์ต่อราคา Qx = 600 - 50Px ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา เมื่อราคาสินค้า X เท่ากับ 5 คำนวณได้ดังนี้
Ed = d(600 - 50Px) x Px
dPx Qx
= d(-50Px) x Px
dPx Qx
600 - 50(5)
= -0.71
คำอธิบาย:
ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาเมื่อราคาสินค้า X เท่ากับ คือ 0.71 (ไม่คิดเครื่องหมายลบ) ซึ่งแสดงว่าถ้าราคาสินค้า X เปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 1 ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า X จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามเท่ากับร้อยละ 0.71
ในกรณีที่สมการอุปสงค์ประกอบด้วยตัวแปรอิสระหลายตัว เช่น Qx = 2000 - 100Px + 150Py + 300Y + 200A เราสามารถคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของเส้นอุปสงค์ต่อราคาได้โดยวิธีอนุพันธ์ย่ิอย
Ed = ∂Qx x Px
∂Px Qx
2). ความยืดหยุ่นแบบช่วง (Are elasticity of demand)
เป็นการคำนวณค่าความยืดหยุ่น ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งบนเส้นอุปสงค์
สูตรที่ใช้ในการคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นแบบช่วงคือ
Ed = ∆Q/Q
∆P/P
Q2 - Q1
(Q2 + Q1) /2
= ------------------
P2 - P1
(P2 + P1) /2
Ed = Q2 - Q1 x P2 + P1
Q2 + Q1 P2 - P1
Ed = ∆Q x P2 + P1
∆P Q2 + Q1
Ed = dQ x P2 + P1
dP Q2 + Q1
ตัวอย่างเช่น
สมมติให้ราคาสินค้า X 1ลดลงจาก 10 บาท เป็น 6 บาท ปริมาณซื้อที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้า X เพิ่มขึ้นจาก 1,400 หน่วย เป็น 1,800 หน่วย เราสามารถคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์จากราคา 10 บาท เป็น 6 บาท ดังนี้
Ed = Q2 - Q1 x P2 + P1
Q2 + Q1 P2 - P1
= 1,800 - 1,400 x 6 + 10
1,800 + 1,400 6 - 10
= 400 x 16
3,200 (-4)
= -0.5
คำอธิบาย:
ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา = -0.5 หมายความว่าในช่วงราคา 10 บาท ถึง 6 บาท โดยเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า X ร้อยละ 1 จะมีผลทำให้อุปสงค์ต่อสินค้า X เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามเท่ากับร้อยละ 0.5 เมื่อกำหนดให้ตัวแปรอื่นๆคงที่
ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
Ed >1 เรียกกรณีนี้ว่าอุปสงค์มีความยืดหยุ่นมาก (Relatively elastic) หมายความว่า เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อมากกว่าเปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า
Ed < 1 เรียกกรณีนี้ว่าอุปสงค์มีความยืดหยุ่นน้อย (Relatively inelastic) หมายความว่าเปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อน้อยกว่าเปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า
Ed = 1 เรียกกรณีนี้ว่าอุปสงค์มีความยืดหยุ่นคงที่ (Unitary elastic) หมายความว่า เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อเท่ากับเปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า
Ed = 0 เรียกกรณีนี้ว่าอุปสงค์ไม่มีความยืดหยุ่นเลยหรือไม่ยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ (Perfectly inelastic) หมายความว่าปริมาณเสนอซื้อไม่เปลี่ยนแปลงเลย แม่ว่าราคาจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม
Ed = ∞ เรียกกรณีนี้ว่าอุปสงค์มีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ (Perfectly elastic) หมายความว่า ณ ระดับราคานั้นๆ ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าไม่จำกัดจำนวน แต่ถ้าราคาสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยจะไม่ซื้อเลย
การหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาโดยวิธีเรขาคณิต
ถ้าเราต้องการหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงราคาจาก OE เป็น OA หรือหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา ณ จุด C เราจะได้ว่า
Ed = ∆Q x P
∆P Q
= -OD x OE
AE OD
= -OE
AE
= -CD
AE
= -BC
AC
ลักษณะของเส้นอุปสงค์ต่อราคากับค่าความยืดหยุ่น
เส้นอุปสงค์มีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ (Perfectly elastic : Ed = ∞ )
เส้นอุปสงค์ในกรณีนี้ จะมีลักษณะเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับแกนราคาทุกๆจุดบนเส้นอุปสงค์จะมีค่าความยืดหยุ่นต่อราคาเท่ากับ ∞ ตลอดทั้งเส้น
เส้นอุปสงค์ต่อราคาที่มีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์
กรณีนี้เส้นอุปสงค์จะเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับแกนปริมาณทุกๆ จุดบนเส้นอุปสงค์ จะมีค่าความยืดหยุ่นต่อราคาเท่ากับศูนย์ตลอดทั้งเส้น
เส้นอุปสงค์ต่อราคาไม่มีความยืดหยุ่นเลย
กรณีนี้เส้นอุปสงค์จะมีลักษณะเป็นเส้นโค้ง Rectangular hyperbola ทุกๆจุดบนเส้ิุนอุปสงค์มีค่าความยืดหยุ่นต่อราคาเท่ากับหนึ่งตลอดทั้งเส้น
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาและรายรับรวม (Total revenue : TR)
ความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่นของอุปสงค์กับรายรับรวมเมื่อราคาเปลี่ยนแปลง
ราคา | Ed = 1 | Ed < 1 | Ed > 1 |
สูงขึ้น | TR คงที่ | TR เพิ่มขึ้น | TR ลดลง |
ลดลง | TR คงที่ | TR ลดลง | TR เพิ่มขึ้น |
Ed > 1 => %∆Q > %∆P
P↑Q↓ => TR↓
P↓Q↑ => TR↑
Ed < 1 => %∆Q < %∆P
P↑Q↓ => TR↑
P↓Q↑ => TR↓
D ต่อราคา
ทดแทนกันได้มาก => Ed > 1
สัดส่วนต่อรายได้น้อย => Ed < 1
สินค้าจำเป็น => Ed < 1
เวลาน้อย => Ed < 1
** ขาดตัวอย่าง **
ปัจจัยกำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
1) ความสามารถในการใช้ทดแทนกันของสินค้า
2) มูลค่าสินค้าคิดเป็นสัดส่วนของรายได้
3) สินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าจำเป็น
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Income elasticity of demand) : Ey
หมายถึง เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าที่มีผู้ต้องการซื้อ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อรายได้ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปหนึ่งเปอร์เซ็นต์โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆคงที่
Ey = เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอซื้อ
เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงรายได้
Ey = ∆Q/Q
∆y/y
= ∆Q x Y
∆y Q
หรือ Ey = dQ x Y
dy Q
Ey = Q2 - Q1 x y2 - y1
Q2 + Q1 y2 - y1
Ey = dQ x y2 + y1
dy Q2 + Q1
ตัวอย่างเช่น สมมติให้บริษัทที่ปรึกษาทางด้านวิจัยแห่งหนึ่ง สำรวจข้อมูลการตลาดย้อยหลังเมื่อ 2 ปีก่อนพบว่าในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อปีของผู้บริโภคเท่ากับ 60,000 บาท ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าของบริษัท A จำนวน 90,000 ชิ้นต่อปี แต่ปลายปีนี้พบว่า ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อปีของผู้บริโภคเท่ากับ 64,000 บาท บริษัท A ขายสินค้าได้ถึง 100,000 ชิ้นต่อปี ถ้าให้ปัจจัยอื่นๆคงที่ เราสามารถหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อหน่วยรายได้ ได้ดังนี้
Ed = Q2 - Q1 x y2 - y1
Q2 + Q1 y2 + y1
= 100,000 - 90,000 x 64,000 - 60,000
100,000 + 90,000 64,000 + 60,000
= 10,000 x 124,000
190,000 4,000
= 1.63
ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Ey) เท่ากับ 1.63 หมายความว่าเมื่อรายได้ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปร้อยละหนึ่ง จะมีผลให้อุปสงค์ของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าของบริษัท A เปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 1.63 และเนื่องจากค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้มีเครื่องหมายบวก แสดงว่าสินค้านี้จัดได้ว่าเป็นสินค้าปกติ (Normal goods) เพราะการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์สนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของรายได้ในทิศทางเดียวกัน
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่นหรือความยืดหยุ่นไขว้ (Cross elasticity of demand) หมายถึง เปอรืเซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าที่มีผู้ต้องการซื้อในขณะใดขณะหนึ่งเมื่อราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนแปลงไปหนึ่งเปอร์เซ็นต์ โดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่
Exy = เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงปริมาณการเสนอซื้อสินค้า X
เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า Y
สูตรที่ใช้คำนวณหาค่าความยืดหยุ่นไขว้
ความยืดหยุ่นไขว้แบบจุด
เป็นการคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นไขว้ ณ จุดใดจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์หรือเรียกว่า ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ในสินค้า X ต่อราคาสินค้า y
Exy = ∆Qx x Py
∆Py Qx
หรือ
Exy = dQx x Py
dPy Qx
ความยืิดหยุ่นไขว้แบบช่วง
เป็นการคำนวณหาค่า ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ในสินค้า X ต่อราคาสินค้า y ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งบนเส้นอุปสงค์
Exy = Qx2 - Qx1 x Py2 + Py1
Qx2 + Qx1 Py2 - Py1
ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้า A และ B พบว่าเมื่อเขาตั้งราคาสินค้า B ชิ้นละ 7,000 บาท เขาจะขายสินค้า A ได้จำนวน 35,000 ชิ้นต่อเดือน แต่เมื่อบริษัทขึ้นราึคาขายสินค้า B เป็นชิ้นละ 7,700 บาท ยอดขายสินค้า A ของบริษัทลดลงเหลือเพียง 28,000 ชิ้นต่อเดือน โดยที่ปัจจัยอื่นๆที่มีอิทธิพลต่อยอดขายของสินค้า A ยังคงที่ จงคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้ของสินค้า A และอธิบายความสัมพันธ์ของสินค้าทั้งสอง
Ed = Qx2 - Qx1 x Py2 + Py1
Qx2 + Qx1 Py2 - Py1
= 28,000 - 35,000 x 7,700 - 7,000
28,000 + 35,000 7,700 + 7,000
= -7,000 x 14,700
63,000 700
= -2.33
ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์สินค้า A ต่อราคาสินค้า B เท่ากับ -2.33 หมายความว่า เมื่อราคาสินค้า A เปลี่ยนแปลงไปหนึ่งเปอร์เซ็นต์จะมีผลให้อุปสงค์สินค้า B เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม 2.33 เปอร์เซ็นต์ และเครื่องหมายลบแสดงให้เห็นว่าสินค้า A และ B มีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่เป็นสินค้าประกอบกัน
ความยืดหยุ่นของอุปทาน (Elasticity of supply)
หมายถึง ค่าทที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณเสนอขายของสินค้า โดยจะดูว่าเมื่อกำหนดให้สิ่งอื่นๆคงที่ ในขณะใดขณะหนึ่ง ผู้ขายจะเปลี่ยนแปลงปริมาณการเสนอขายสินค้านั้นไปกี่เปอร์เซ็นต์ หากราคาสินค้าชนิดนั้นเปลี่ยนแปลงไปหนึ่งเปอร์เซ็นต์
Es = เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอขายสินค้า
เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า
การคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน
1). ความยืดหยุ่นแบบจุด (Point elasticity of supply)
เป็นการคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน ณ จุดใดจุดหนึ่งบนเส้นอุปทาน สูตรที่ใช้ในการคำนวนณคือ
Es = ∆Q x P
∆P Q
หรือ
Es = dQ x P
dP Q
2). ความยืดหยุ่นแบบช่วง (Are elasticity of supply)
เป็นการคำนวนหาค่าความยืดหยุ่น ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งบนเส้นอุปทาน สูตรที่ใช้ในการคำนวน ได้แก่
Es = Q2 - Q1 x P2 + P1
Q2 + Q1 P2 - P1
ค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน
อุปทานที่มีความ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น