10 มกราคม 2557

BUS 6011 : แนวข้อสอบ บทที่ 16 การควบคุมในการจัดการ

บทที่ 16  การควบคุมในการจัดการ (Managerial Control)

แนวข้อสอบ ดร.นารินี : ให้อธิบายลักษณะพิเศษของการควบคุมแบบ Bureaucratic Control, Market Control และ Clan Control อย่างละเอียด
1.1  ให้วิเคราะห์ Bureaucratic Control System อย่างละเอียด
1.2  ให้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง Bureaucratic Control, Market Control และ Clan Control พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

1.1 ให้วิเคราะห์ Bureaucratic Control System อย่างละเอียด [Bureaucratic อ่าน บูเรอคูติก]
คือการควบคุมที่เป็นทางการ(ทุกองค์การจำเป็นต้องใช้) ใช้กฎระเบียบ ข้อบังคับ เป็นเกณฑ์ในการทำงาน กำหนดให้บุคลากรทำงาน ในหน่วยงานจะใช้บุคคลที่มีระดับความรู้เท่าไร จำนวนกี่คน อัตรางานอย่างไร ทำงาน 1  วันใช้เวลากี่ชั่วโมง ได้ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าดอกเบี้ย ค่าตอบแทนอย่างไร ใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ เพราะจะเกิดประสิทธิภาพมากกว่า เพราะจำนวนที่มีมาก ต้องใช้ระบบ Bureaucratic เพื่อที่จะควบคุมประชากรหรือพนักงานที่มีจำนวนมากให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน

วัฏจักรการควบคุมของ Bureaucratic มี 4 ขั้นตอนดังนี้
Step 1 : Set Performance standard
การกำหนดมาตรฐาน(เป้าหมาย) ที่ชัดเจน โดยเป็นค่าหรือปริมาณที่วัดได้ เช่น จำนวน, ปริมาณ, %, ค่าใช้จ่าย, วัน เป็นต้น

Step 2 : Measure Performance
การวัดผลงาน  เป็นการวัดผลจากตัวชี้วัดโดยดูจากผลงานที่เกิดขึ้นจริง เช่น KPI ผลที่ได้อาจ รายงานในรูปการเขียนรายงาน, การรายงานปากเปล่า, การเข้าไปสังเกตุการณ์ หรือข้อมูลสถิติ

Step 3 : Comparing performance with the standard
การเปรียบเทียบ  เป็นการเปรียบเทียบกับ Std. ที่ตั้งไว้ โดยในขั้นนี้ต้องมีการตัดสินใจความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นว่ายอมรับได้หรือไม่ ซึ่งแบ่งเป็น
- อยู่ในเกณฑ์ หรือมาตรฐาน : ยอมรับได้ ==> ให้ทำการผลิตต่อเนื่อง
- ไม่อยู่ในเกณฑ์ หรือมาตรฐาน : ยอมรับไม่ได้เกณฑ์ ==> ไปขั้นตอนที่ 4

Step 4 : Taking corrective action
ดำเนินการแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้การผลิตสามารถทำการผลิตได้ตามที่กำหนดตามเป้าหมาย

The Control Cycle

ประเภทการควบคุมของ Bureaucratic มี 3 ประเภทดังนี้
1)  Feed forward control : การควบคุมขั้นต้น
เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นเป็นการล่วงหน้า ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการจริง แต่ต้องใช้เวลามากและต้องมีข้อมูลที่ละเอียดถูกต้อง เช่น การฝึกอบรมวิธีปฎิบัติ
ข้อเสีย: การลงทุน การป้องกันในอนาคตอาจไม่เกิดปัญหาจริง

2) Concurrent control : การควบคุมที่คู่ไปกับการปฎิบัติงาน
การควบคุมขณะกิจกรรมดำเนินงานอยู่ สามารถทำการแก้ไขได้ทันที ก่อนเกิดความเสียหายรุนแรง
ข้อเสีย: สูญเสียเวลาเกิดความล่าช้า ต้นทุนเพิ่มขึ้น

3) Feedback control : การควบคุมหลังการทำงานเสร็จ
ได้รับทราบข้อมูลเมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้ทันที แต่นำข้อมูล ความผิดพลาดไปใช้หาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ
ข้อเสีย: ไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขในอดีตได้

ข้อบกพร่องของ Bureaucratic
1) พฤติกรรมที่เข้มงวดเป็นทางการ เป็นวิธีที่ไม่ยืดหยุ่น ใช้การกำหนดมาตราฐานเป็นวิธีควบคุม พฤติกรรมต้องเป็นไปตามกฎระเบียบ

2) พฤติกรรมที่แหวกกฎ พฤติกรรมที่ต่อต้านระบบ แทรกแซงการควบคุมและให้ข้อมูลเท็จ ให้ความสำคัญเรื่องส่วนตัวมากกว่าการดำเนินงานขององค์กร

3) การต่อต้านการควบคุม ระบบควบคุมช่วยเพิ่มความแม่นยำของข้อมูล การปฎิบัติการของสมาชิกมากกว่าพฤติกรรม ความรับผิดชอบ ระบบควบคุมสามารถเปลี่ยนความรู้ ความชำนาญ และโครงสร้างาน เปลี่ยนโครงสร้างทางสังคม ทำให้สมาชิกรู้สึกถูกควบคุม

ตัวอย่างวิเคราะห์  Bureaucratic Control System
บริษัททำการเปิดสาขาใหม่โดยต้องการยอดขายที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยที่ 500 B. ยอดขายปกติที่ทำได้เฉลี่ยที่ 400 B. และมีการตรวจติดตามยอดการขายเป็นระยะ (กำหนดวัดชี้วัด(KPI) ที่ 500 B/บิล )
Step 1 Set Performance standard = ยอดขายที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยที่ 500 B.
Step 2 Measure Performance = การตรวจติดตามยอดการขายเป็นระยะ (กำหนดวัดชี้วัด(KPI) ที่ 500 B/บิล
Step 3 Comparing performance with the standard = เปรียบเทียบยอดขายในแต่ละช่วงเวลาว่ามียอดเฉลี่ยมากกว่า 500 B ?
      - มากกว่า 500 B แสดงว่า การปฏิบัติงานในการทำยอดขายดีแล้วให้ปฏิบัติต่อไป
      - น้อยกว่า 500 B แสดงว่า การปฏิบัติงานในการทำยอดขายมีข้อบกพร่องในการปฏิบัติ หรือไม่ก็เป้าหมายที่ตั้งไว้มีค่าที่สูงเกินไป
Step 4 Taking corrective action = ดำเนินการแก้ไขยอดขายให้ได้ตามที่เป้าหมายกำหนด โดยการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การขาย หรือทำการปรับค่ายอดการขายใหม่ให้เป็นค่าที่มีความน่าจะเป็นในการทำ

1.2  ให้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง Bureaucratic Control, Market Control และ Clan Control พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

1) Bureaucratic control : การควบคุมที่เป็นทางการ(ทุกองค์การจำเป็นต้องใช้)
- เป็นการควบคุมโดยองค์การจะออกเป็นกฏ เป็นระเบียบ เป็นข้อบังคับ โดยเป็นการกำหนดอย่างเป็นทางการตามสายงาน เพื่อใช้ในการควบคุม เช่น กฏการลา กฏการขาดงาน
- เป็นการควบคุมโดยกำหนดเป็นมาตรฐานล่วงหน้าโดยตั้งเป้าหมายขึ้นมา เพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดการทำงาน เช่น KPI
- เป็นการควบคุมโดยกำหนดล่วงหน้าในเรื่องงบประมาณ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดสรรและใช้จ่ายในองค์การ

2) Market control : การควบคุมโดยใช้กลไกตลาด เหมาะกับองค์การที่มีสินค้าหลากหลาย มีการแข่งขันที่รุนแรง
- เป็นการควบคุมที่องค์การจะต้องตรวจติดตามยอดขายเพื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง เพื่อดูแลรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร  และเลือกรักษาผลิตสินค้าที่มีส่วนแบ่งตลาดที่ดีกว่าคู่แข่ง เช่น รถยนตร์ Honda ที่ยอดขายที่ >,< Toyota ในรถรุ่นเดียวกัน
   ถ้ามียอดขายที่มากกว่า  แสดงว่า สินค้าตัวนี้ดีสามารถผลิตเพิ่มได้ ลูกค้าพอใจในสินค้า
   ถ้ามียอดขายที่น้อยกว่า แสดงว่า สินค้าตัวนี้ไม่ดีพอกับความต้องการของลูกค้า ไม่ควรผลิตเพิ่ม
- เป็นการควบคุมโดนดูต้นทุนของสินค้าและบริการในสินค้าเดียวกัน เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกับคู่แข่งว่ามีต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้? (เป็นผู้นำทางด้านราคา = ต้นทุนต่ำ กำไรมากขึ้น องค์การได้เงินเพิ่มขึ้น)
- การควบคุมโดยดูการตั้งราคา ต้องตั้งราคาที่สามารถแข่งขันได้ต้องเหมาะสมกับคุณภาพสินค้าของเราไม่สูง&ต่ำจนเกินไป เช่น การตั้งราคาตามนวัตกรรม(เป็นการสร้างความโดดเด่น) ทำให้มีราคาที่สูง แต่ลูกค้ายอมรับ เช่นยาที่เป็นฟิลม์สำหรับคนที่กินยายาก
- ทำให้เราสามารถสำรวจตลาด เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาด ทำให้เรามีส่วนแบ่งที่มากขึ้นได้

3) Clan control : การควบคุมโดยเพื่อนร่วมงาน
เป็นการควบคุมสอดส่องดูแลกันเอง เนื่องจากผู้บริหารไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง จึงต้องอาศัยพนักงานดูแลกันเองเป็นทีมงาน โดยให้ทีมรับผิดชอบกันเอง และรายงานต่อผู้บริหาร หรือเป็นการมอบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด(Empowerment)
   Empowerment = ผู้บริหารให้อำนาจ เครื่องมือ ข้อมูล และการสนับสนุนต่างๆแก่ลูกน้องไปตัดสินใจกันเอง ทำกันเองทั้งหมด โดยให้เป้าหมายและแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งจะดูผลลัพธ์ของงานถ้า
   ดี ==> ให้รางวัล คำชมเชย เป้นผลตอบแทน
   ไม่ดี ==> ให้แก้ไขไม่ตำหนิ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อยากรู้เรื่องทฤษฎีการตลาดกับผู้เชี่ยวชาญ ผมแนะนำ M.B.A. (Marketing) Ramkhamkaeng .. แต่ถ้าอยากรู้ว่าเรียนการตลาดแล้วจะประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินได้อย่างไร คุณต้องมีโค้ชแนะนำ ครับ

วางแผนการเงินกับ #finadvisor #ความมั่งคั่งเริ่มต้นที่นี่ finadvisor.co
โค้ชส่วนตัว ช่วยวางแผน

×
News