30 กรกฎาคม 2557

BUS 6015 : สรุปบทที่ 8 ทรัพยากรบุคคล (เฉพาะส่วนคำนวณ)


หนังสือ การจัดการดำเนินงาน (Operations Managements) เขียนโดย Russell & Taylor เรียบเรียงโดย ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล

บทที่ 8 ทรัพยากรมนุษย์สำหรับการจัดการดำเนินงาน (Human Resource)
** Final เฉพาะส่วนคำนวณ ***

วิธีการมอบหมายงาน (Assignment Method) : วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ

ตัวอย่าง1: การมอบหมายงาน

ต้นทุนการทำงาน @50 บาท/ชั่วโมง

ขั้นที่ 1 ลดแถว ดูตัวเลขน้อยสุด แล้วนำไปลบทุกตัวในแถวนั้นๆ

วิธีคิดแต่ละแถว:
แถวที่1: เลือกเลข 1 น้อยสุด แล้วนำไปลบทุกตัวในแถวที่1 จะได้
8-1=7,  4-1=3,  1-1=0,   8-1=7
แถวที่2: เลือกเลข 1 น้อยสุด แล้วนำไปลบทุกตัวในแถวที่2 จะได้
9-1=8,  2-1=1,  1-1=0,  7-1=6
แถวที่3: เลือกเลข 2 น้อยสุด แล้วนำไปลบทุกตัวในแถวที่3 จะได้
11-2=9, 2-2=0,  3-2=1,  8-2=6
แถวที่4: เลือกเลข 2 น้อยสุด แล้วนำไปลบทุกตัวในแถวที่4 จะได้
10-2=8, 5-2=3,  2-2=0,  7-2=5

ขั้นที่ 2 ลดคอลัมน์ ดูตัวเลขน้อยสุด แล้วนำไปลบทุกตัวในคอลัมน์นั้นๆ

วิธีคิดแต่ละคอลัมน์:
คอลัมน์1: เลือกเลข 7 น้อยสุด แล้วนำไปลบทุกตัวในคอลัมน์1 จะได้
7-7=0,  8-7=1,  9-7=2,  8-7=1
คอลัมน์2: เลือกเลข 0 น้อยสุด แล้วนำไปลบทุกตัวในคอลัมน์2 จะได้
3-0=3,  1-0=1,  0-0=0,  3-0=3
คอลัมน์3: เลือกเลข 0 น้อยสุด แล้วนำไปลบทุกตัวในคอลัมน์3 จะได้
0-0=0,  0-0=0,  1-0=1,  0-0=0
คอลัมน์4: เลือกเลข 5 น้อยสุด แล้วนำไปลบทุกตัวในคอลัมน์4 จะได้
7-5=2,  6-5=1,  6-5=1,  5-5=0

ขั้นที่ 3 ลากเส้นทับเลขศูนย์ แนวนอนหรือแนวตั้ง ให้มากสุดก่อน

วิธีลากเส้นทับศูนย์:
เลือกคอลัมน์3 ก่อน เพราะมีเลขศูนย์ใหม่มากสุด(ไม่ถูกลากเส้นทับมาก่อน)
เลือกแถว1 มีศูนย์ใหม่ 1 ตัว ศูนย์เดิม 1 ตัว
เลือกแถว3 มีศูนย์ใหม่ 1 ตัว ศูนย์เดิม 1 ตัว
เลือกคอลมน์4 มีศูนย์ใหม่ 1 ตัว

พิจารณาจำนวนเส้นที่ลากได้ 4 เส้น เท่ากับจำนวนงานคือ 4 งาน สามารถมอบหมายงานได้
ถ้าจำนวนเส้นที่ได้ไม่เท่ากับจำนวนงาน ไม่สามารถมอบหมายงานได้

วิธีมอบหมายงาน: มอบหมายงานแต่ละคนโดยดูจากศูนย์ที่ไม่ลากเส้นตัดกันก่อน
A มอบหมายงาน 1 ดูจากศูนย์ที่เส้นทับแต่ไม่มีเส้นตัดกัน
B มอบหมายงาน 3 ดูจากศูนย์ที่เส้นทับ
C มอบหมายงาน 2 ดูจากศูนย์ที่เส้นทับ
D มอบหมายงาน 4 ดูจากศูนย์ที่เส้นทับ เพราะศูนย์ที่มีเส้นตัดถูกเลือกไปแล้ว

สรุป
พนักงาน งานที่มอบหมาย ระยะเวลา(ชม.)
A 1 8
B 3 1
C 2 2
D 4 7
จำนวนชั่วโมงทั้งหมด
18
ดังนั้น ต้นทุนในการทำงานทั้งหมดคือ 18 x 50 = 900 บาท


ตัวอย่าง2: การมอบหมายงานของบริษัท U Software
บริษัท เว็บสตาร์ มีงานจำนวน 4 โครงการและพนักงานรับผิดชอบจำนวน 4 คนเพื่อทำเว็บไซต์ให้กับลูกค้าซึ่งจะต้องทำให้เสร็จ และมีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกันในการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับธุรกิจต่างๆ โดยประมาณการเวลาของการจัดทำ (เป็นชั่วโมง) แต่ละโครงการ แต่ละพนักงาน แสดงตารางที่ 1 ต้นทุนการจ้างพนักงานในการพัฒนาเฉลี่ย 100 บาทต่อชั่วโมง จงมอบหมายงานให้แต่ละคนไปทำโครงการ โดยมีตุ้นทุนรวมของทุกโครงการต่ำที่สุด


วิธีทำ
ขั้นที่ 1 ลดแถว ดูตัวเลขน้อยสุด แล้วนำไปลบทุกตัวในแถวนั้นๆ
ขั้นที่ 2 ลดคอลัมน์ ดูตัวเลขน้อยสุด แล้วนำไปลบทุกตัวในคอลัมน์นั้นๆ
ขั้นที่ 3 ลากเส้นทับเลขศูนย์ แนวนอนหรือแนวตั้ง ให้มากสุดก่อน
ขั้นที่ 4 เลือกตัวเลขน้อยสุด (กรณีจำนวนเส้นไม่เท่ากับจำนวนงาน)

หลังจากลากเส้นทับศูนย์ จำนวนเส้นที่ได้ไม่เท่ากับจำนวนพนักงาน ยังมอบหมายงานไม่ได้

ขั้นที่ 4 เลือกตัวเลขน้อยสุด (คือเลข 2)
ไปลบตัวเลขนอกเส้นทับศูนย์ทุกตัว
ไปบวกตัวเลขที่จุดตัดของเส้นทับศูนย์ทุกตัว
ตัวเลขอยู่บนเส้นคงเดิม


ทำซ้ำขั้นที่ 3 ลากเส้นทับศูนย์


พิจารณาจำนวนเส้นที่ลากได้ 4 เส้น เท่ากับจำนวนงานคือ 4 งาน สามารถมอบหมายงานได้
ถ้าจำนวนเส้นที่ได้ไม่เท่ากับจำนวนงาน ไม่สามารถมอบหมายงานได้ (ต้องทำซ้ำขั้นที่ 4)



สรุป
พนักงานงานที่มอบหมายระยะเวลา(ชม.)
ไบรอัน25
แครี่16
นอช46
คริส34
จำนวนชั่วโมงทั้งหมด
21
ดังนั้น ต้นทุนในการทำงานทั้งหมดคือ 21x100 = 2,100 บาท



27 กรกฎาคม 2557

BUS 6015 : สรุปบทที่ 12 การบริหารสินค้าคงคลัง (เฉพาะส่วนคำนวณ)


หนังสือ การจัดการดำเนินงาน (Operations Managements)
เขียนโดย Russell & Taylor เรียบเรียงโดย ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล

บทที่ 12 การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
** Final เฉพาะส่วนคำนวณ ***

ต้นทุนสินค้าคงคลัง (Inventory Costs) --> EOQ, ROP
  • ต้นทุนจัดเก็บ (Carrying or Holding Cost) : Cc , ACc --> ต้นทุนจัดเก็บสินค้าต่อปี
  • ต้นทุนสั่งซื้อ (Ordering Cost) : Co , ACo --> ต้นทุนสั่งซื้อบ่อย
  • ต้นทุนสินค้าขาด (Shortage Cost) : Cs , ACs (ไม่คิด,ไม่สอน)
  • ต้นทุนรายการสินค้า (Item Cost) : Ci , ACi --> ต้นทุนซื้อสินค้าบ่อยไหมต่อปี
TC  =  ACc + ACo + ACi

** ถ้าโจทย์ไม่กำหนดวันมา ให้ใช้ 300 วัน **

ปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด (Economic Order Quantity : EOQ)
Model1 : ตัวแบบพื้นฐาน EOQ (The Basic EOQ Model) --> TC ต่ำสุด  ** Quiz **
Model2 : ตัวแบบปริมาณการผลิต (The Production Quantity Model) ** Final **
Model3 : ตัวแบบส่วนลดปริมาณ (The Quantity Discounts Model) ** Final **

เปรียบเทียบ Model แบบต่างๆ
EOQ


Q



Model1
Basic



Model2
Production



Model3
Discount

Q --> Price
เทียบ Q
ต่ำสุด,สูงสุด
ACo CoD
     Q
CoD
     Q
CoD
     Q
ACc CcQ
     2
CcD[ 1 - d ]
      2         p
CcQ
     2
ACi = CiD = CiD = CiD
TC = ACo+ACc+ACi = ACo+ACc+ACi = ACo+ACc+ACi
#Order D
   Q
D
   Q
D
   Q
MaxQ = Q = Q[1- d]
          p
= Q
จุดสั่งซื้อซ้ำ (Reorder Point : ROP)
ROP = dL  = (  D ) L
                      Day

จุดสั่งซื้อซ้ำ ถ้าบริษัทต้องการมีสินค้าสำรอง
ROP = dL + Safety Stock

Model1 : ตัวแบบพื้นฐาน EOQ (The Basic EOQ Model)
  1. ระดับความต้องการ(Demand) ที่กำหนดจะต้องมีค่าแน่นอนและคงที่ตลอดระยะเวลา
    แทนด้วย D (ตัวดีใหญ่)
  2. ไม่มีสินค้าขาด หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า
    ไม่คิด ACs และ ไม่สอน
  3. ระยะเวลาการส่งมอบ(Lead time) แต่ละครั้งต้องคงที่
    ตั้งแต่ สั่งซื้อ --> รับสินค้า แทนด้วย L (ตัวแอลใหญ่)
  4. การรับสินค้าแต่ละครั้งได้เท่ากับจำนวนที่สั่ง ไม่มีการทยอยรับสินค้า
    เป็นตัวแยก Model1 ไม่ทยอยรับ กับ  Model2 ทยอยรับ
  5. ไม่ส่วนลดปริมาณ
    เป็นตัวแยก Model1 กับ  Model3 ส่วนลดปริมาณ
ตัวอย่าง
บริษัทเรามีความต้องการสินค้าคงคลัง 1,000 ชิ้นต่อปี เราสั่งครั้งละ 200 ชิ้นต่อครั้ง
คำถาม สั่ง Order กี่ครั้งต่อปี? บริษัทเรามีต้นทุนในการสั่งแต่ละครั้ง 300 บาทต่อครั้ง
คำถามหา ACo ได้เท่าไร? มีต้นทุนในการเก็บรักษาชิ้นละ 15 ต่อชิ้นต่อปี
คำถามหา ACc ได้เท่าไร? สินค้าที่ซื้ิอมาชิ้นละ 20 บาทต่อชิ้น คำถามหา ACi ได้เท่าไร?
จากโจทย์
D = 1,000 ชิ้นต่อปี ; Q = 200 ชิ้นต่อครั้ง ;
Co = 300 บาทต่อครั้ง ; Cc = 15 บาทต่อชิ้นต่อปี ; Ci = 20 บาทต่อชิ้น

#Order = 1,000  = 5 ครั้งต่อปี
                 200
หาต้นทุนการสั่งซื้อต่อปี
ACo  =  CoD   (บาทต่อปี)
               Q
ACo = 5 x 300 = 1,500 บาทต่อปี

หาต้นทุนในการเก็บรักษา
ACc = CcQ     (บาทต่อปี)
               2
ACc = 15 x 200  = 1,500  บาทต่อปี
                   2
หาต้นทุนรายการสินค้าต่อปี
ACi  = CiD      (บาทต่อปี)
ACi  = 20 x 1,000 = 20,000 บาทต่อปี

ต้นทุนสินค้าคงคลังทั้งหมด
TC = ACo + ACc + ACi
      = 1,500 + 1,500 + 20,00  =  23,000 บาทต่อปี

ถ้าเปลี่ยน Q = 200 เป็น Q = 500 ; คำถาม
ACo จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ? ACo จะลดลง
ACc จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง?  ACc จะเพิ่มขึ้น
ACi  จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง?  ACi จะคงที่


โจทย์ถาม ต้องหา:
1. หา Q ปริมาณสั่งซื้อ


2. หา ต้นทุนสั่งซื้อต่อปี


3. หา ต้นทุนจัดเก็บต่อปี


4. หา ต้นทุนรายการสินค้าต่อปี


5. หา TC ผลรวมของต้นทุนบริหารสินค้าคงคลังทั้งหมด


ตัวอย่าง1: Model1 ปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด
ร้านอีเพนต์สโตร์ เป็นร้านขายสีทาอาคารผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยร้านจะมีสีหลายยี่ห้อแต่ที่ได้รับความนิยมคือสี Sharman-Wilson Ironcoat ดังนั้น ทางบริษัทต้องการคำนวณหาปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดและต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลังทั้งหมดของสียี่ห้อนี้ โดยมีปริมาณความต้องการต่อปีเท่ากับ 20,000 แกลลอน ต้นทุนจัดเก็บต่อปีเท่ากับ 0.75 บาทต่อแกลลอน ต้นทุนสั่งซื้อเท่ากับ 150 บาทต่อครั้ง ต้นทุนสี 40 บาทต่อแกลลอน นอกจากนี้ บริษัทต้องการหาปริมาณการสั่งซื้อในหนึ่งปีและระยะเวลาในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง กำหนดให้บริษัทดำเนินการสั่งซื้อ 311 วันในหนึ่งปี
จากโจทย์:
D = 20,000 แกลลอนต่อปี ;
Co = 150 บาทต่อครั้ง;  Cc = 0.75 บาทต่อแกลอน;  Ci = 40 บาทต่อแกลลอน

วิธีทำ:
1. หา Q ปริมาณสั่งซื้อ

Q = 2828.43 แกลอน

2. หา ต้นทุนสั่งซื้อต่อปี

ACo = 150 x 20,000   =  1,061 บาทต่อปี
                2828.43

3. หา ต้นทุนจัดเก็บต่อปี

ACc  =  0.75 x 20,000  = 1,061 บาทต่อปี
                     2
ณ  EOQ --> ACo = ACc ตัวเลขเท่ากัน

4. หา ต้นทุนรายการสินค้าต่อปี

ACi  =  40 x 20,000 = 800,000 บาทต่อปี

5. หา TC ผลรวมของต้นทุนบริหารสินค้าคงคลังทั้งหมด

TC  =   ACo + ACc + ACi

TC  =  1,061 + 1,061 + 800,000
       =  802,122 บาทต่อปี

#Order D    =  20,000    = 7.07 ครั้งต่อปี
                 Q        2828.43


ระยะเวลาการสั่งซื้อ (Order Cycle Time)
=   Day      =  311   = 43.99  วัน
   #Order       7.07


Model2 : ตัวแบบปริมาณการผลิต (The Production Quantity Model)
p  =  อัตราการผลิต (Production Rate)
d  =  อัตราความต้องการ (Demand Rate)

หมายเหตุ อัตราการผลิตต้องมากกว่าหรือเท่ากับอัตราความต้องการ นั่นแสดงว่าอัตราการได้รับสินค้าต่อวันต้องมากกว่าอัตราความต้องการต่อวัน หรือ p ≥ d



ตัวอย่าง1: Model2 ตัวแบบปริมาณการผลิต
สมมติว่าร้านอีเพนต์สโตร์มีโรงงานผลิตสี Ironcoat ด้วยตัวเอง โดยมีต้นทุนสั่งซื้อเป็นต้นทุนในการติดตั้งกระบวนการผลิตสี = 150บาท มีต้นทุนจัดเก็บ = 0.75 บาทต่อแกลลอนและมีความต้องการ 10,000 แกลลอนต่อปี โดยโรงงานทำการผลิตทั้งหมด 311 วัน และผลิตได้ 150 แกลลอนต่อวัน ต้นทุนสี 40 บาทต่อแกลลอน จงหา
1. ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดด้วยรูปแบบปริมาณการผลิต
2. ต้นทุนสินค้าคงคลังทั้งหมด
3. ระยะเวลาการผลิต (Production Time)
4. จำนวนคำสั่งซื้อต่อปี
5. ระดับสินค้าคงคลังสูงสุด
6. จุดสั่งซื้อซ้ำ ถ้าระยะเวลาส่งมอบสินค้าเท่ากับ 10 วัน

จากโจทย์
D = 10,000 แกลลอนต่อปี;
Co = 150 บาทต่อครั้ง;  Cc = 0.75 บาทต่อแกลอน;  Ci = 40 บาทต่อแกลอน
p = 150 แกลอนต่อวัน; Day = 311 วัน

วิธีทำ
หาอัตราความต้องการ
d  =   D    =  10,000   = 32.15  แกลอนต่อวัน
       Day          311

1. หา Q ปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด สำหรับตัวแบบปริมาณการผลิต


Q   =  2,254.94 แกลลอน


2. หา TC ผลรวมของต้นทุนบริหารสินค้าคงคลังทั้งหมด

TC  =   ACo  +  ACc  +  ACi

หา ต้นทุนสั่งซื้อต่อปี

 ACo  =  150 x 10,000  =  665.21 บาทต่อปี           
                  2,254.94

หา ต้นทุนจัดเก็บต่อปี


ACc  =    1,691.2 [ 1 - 0.21 ]
                    2
         =   845.6(0.79)  =  668.03 บาทต่อปี

หา ต้นทุนรายการสินค้าต่อปี

ACi  = 40 x 10,000  =  400,000  บาทต่อปี

TC  =   ACo  +  ACc  +  ACi
       =   665.21 + 668.03 + 400,000
       =   401,333.24  บาทต่อปี

3. ระยะเวลาการผลิต (Production Time)
 Q   =  2,254.94   = 15.03 วันต่อครั้ง
     p           150

4. จำนวนคำสั่งซื้อต่อปี
#Order  =  D   =   10,000     =  4.43 ครั้งต่อปี
                Q        2,254.94
ระยะเวลาการสั่งซื้อ (Order Cycle Time)
  Day      =  311   = 70.2  วัน
   #Order       4.43

5. ปริมาณสินค้าคงคลังสูงสุด
MaxQ  =  Q[1- d]
                       p
            = 2,254.94(1 - 32.15)
                                    150
            = 1,782 แกลอน


6. จุดสั่งซื้อซ้ำ ถ้าระยะเวลาส่งมอบสินค้าเท่ากับ 10 วัน
ROP = dL =    D (L)  =  10,000 (10) = 321.54 แกลอน
                     Day              311
จุดสั่งซื้อซ้ำ ถ้าบริษัทต้องการมีสินค้าสำรอง 120 ชิ้น (Safety Stock : SS)
ROP = dL + SS =  321.54 + 120 = 441.54 แกลอน

ถ้าโจทย์ให้ SS เป็น % เช่น ถ้า 90% SS = 10, ถ้า 1% SS=99 

Model3 : ตัวแบบส่วนลดปริมาณ (The Quantity Discounts Model)
ราคารายการสินค้าจะเปลี่ยนแปลงตามปริมาณที่สั่งซื้อ

ตัวอย่างModel3 ตัวแบบส่วนลดปริมาณ
บริษัทเอวีเทคเป็นผู้จัดจำหน่ายโทรทัศน์เสนอขายโดยมีส่วนลดปริมาณดังในตารางที่ 1

โทรทัศน์มีต้นทุนการจัดเก็บต่อปี 190 บาท มีต้นทุนการสั่งซื้อ 2,500 บาท และมีความต้องการปีละ 200 เครื่อง ซึ่งปริมาณการสั่งซื้อนี้โทรศัพท์มีราคา 1,100 บาทต่อเครื่อง ราคานี้ถูกนำมาคำนวณต้นทุนทั้งหมด บริษัทควรพิจารณาซื้อโทรทัศน์ที่ปริมาณเท่าใดเพื่อให้มีต้นทุนสินค้าคงคลังที่ต่ำที่สุด
จากโจทย์
D = 200 เครื่องต่อปี;
Co = 2,500 บาท ; Cc = 190 บาทต่อเครื่อง ; Ci ขึ้นอยู่กับปริมาณสั่งซื้อ ; Ci = 1,100

วิธีทำ
1. หา Q ปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด


Q = 72.5 เครื่อง

คำนวณต้นทุนรวมที่ปริมาณการสั่งซื้อ 72.5 หน่วย โทรทัศน์มีราคา 1,100 บาทต่อเครื่อง
หา TCQ=72.5  = ACo  + ACc  +  ACi
                    = CoD  +  CcQ +  CiD
                         Q            2
                   = 2,500 x 200  +  190 x 72.5  +  1,100 x 200
                            72.5                  2
                   = 6,897  +  6,887  +  220,000
                   = 233,784

คำนวณต้นทุนรวมที่ปริมาณการสั่งซื้อ 90 หน่วย โทรทัศน์มีราคา 900 บาทต่อเครื่อง
หา TCQ=90   =  ACo  + ACc +  ACi
                   =  CoD  + CcQ +  CiD
                         Q          2
                   = 2,500 x 200  +  190 x 90   +  900 x 200
                             90                   2
                   = 5,555 + 8,550 + 180,000
                   = 194,105

ต้นทุนทั้งหมดของปริมาณการสั่งซื้อที่ 90 เครื่อง ต่ำกว่าต้นทุนทั้งหมดของปริมาณการสั่งซื้อที่ 72.5 เครื่อง (194,105 < 233,784) ดังนั้นบริษัทควรสั่งซื้อที่ปริมาณ 90 เครื่อง

ตัวอย่าง: Model3 เพิ่มเติม ถ้าโจทย์เปลี่ยน Co = 1,000 บาท บริษัทควรพิจารณาซื้อโทรทัศน์ที่ปริมาณเท่าใดเพื่อให้มีต้นทุนสินค้าคงคลังที่ต่ำที่สุด

วิธีทำ

1. หา Q ปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด

คำนวณ Q ได้ 45.88 เครื่อง อยู่ในช่วง 1-49 ทำให้ต้องหา TC ทั้ง 3 ช่วง เพื่อเปรียบเทียบ

คำนวณต้นทุนรวมที่ปริมาณการสั่งซื้อ 45.88  หน่วย โทรทัศน์มีราคา 1,400 บาทต่อเครื่อง
หา TCQ=45.88  = ACo  + ACc  +  ACi
                     = CoD  +  CcQ +  CiD
                         Q            2
                     = 1,000 x 200  +  190 x 45.88  +  1,400 x 200
                            45.88                  2
                     = 4,359.20  +  4,358.60  +  280,000
                     = 228,718

คำนวณต้นทุนรวมที่ปริมาณการสั่งซื้อ 50 หน่วย โทรทัศน์มีราคา 1,100 บาทต่อเครื่อง
หา TCQ=50   =  ACo  + ACc +  ACi
                   =  CoD  + CcQ +  CiD
                         Q          2
                   = 1,000 x 200  +  190 x 50   +  1,100 x 200
                             50                   2
                   = 4,000 + 4,750 + 220,000
                   = 228,750

คำนวณต้นทุนรวมที่ปริมาณการสั่งซื้อ 50 หน่วย โทรทัศน์มีราคา 900 บาทต่อเครื่อง
หา TCQ=90   =  ACo  + ACc +  ACi
                   =  CoD  + CcQ +  CiD
                         Q          2
                   = 1,000 x 200  +  190 x 90   +  900 x 200
                             90                   2
                   = 2,222 + 8,550 + 180,000
                   = 190,772

ต้นทุนทั้งหมดของปริมาณการสั่งซื้อที่ 90 เครื่อง ต่ำกว่าต้นทุนทั้งหมดของปริมาณการสั่งซื้อที่ 45.88 เครื่อง (190,772 < 228,750 < 228,718) ดังนั้นบริษัทควรสั่งซื้อที่ปริมาณ 90 เครื่อง



BUS 6015 : QUIZ บทที่ 2 การจัดการคุณภาพ



QUIZ บทที่ 2 (27.07.2014)

บริษัทผลิตสินค้าด้วยการนำเข้าปัจจัยการผลิตจำนวน 700 ชิ้น โดยมีต้นทุนชิ้นละ 15 บาท กระบวนการผลิตมีความสามารถในการผลิตสินค้าคุณภาพ 70% ขณะที่สินค้าพี่พกพร่องสามารถนำไปผลิตใหม่เป็นสินค้าคุณภาพได้ 60% ด้วยต้นทุนการแก้ไข 4 บาทต่อชิ้น บริษัทต้องการปรับปรุงคุณภาพด้วย
(1) ปรับปรุงความสามารถกระบวนการให้ผลิตสินค้าคุณภาพ 80%
(2) ปรับปรุงวิธีการแก้ไขสินค้าบกพร่องเป็น 80%
จงเลือกแนวทางในการปรับปรุงที่ดีที่สุด และมีต้นทุนต่อชิ้นแตกต่างก่อนการปรับปรุงกี่บาทต่อชิ้น

จากโจทย์;  I = 700 ชิ้น, %G=70, %R=60, Kd = 15 บาท/ชิ้น, Kr = 4 บาท/ชิ้น
หา
Yield        = (700 x 70%)  +  (700 x 30% x 60%)
                = 490  +  126  =  616 ชิ้น
Cost/Unit  = (700 x 15) + (126 x 4)
                              616
                =  10,500 + 504  =  17.86 บาท/ชิ้น
                            616
QPR  =               616              x 1000
             (700 x 15) + 126 x 4)
          =     616    x 100   =  5.59% 
              11,004

(1) เพิ่ม %G =80; ตัวแปรอื่นๆจากโจทย์คงเดิม
หา
Yield         = (700 x 80%)  +  (700 x 20% x 60%)
                 = 560  +  84  = 644 ชิ้น
Cost/Unit  = (700 x 15) + (84 x 4)
                              644
                = 10,500 + 336   = 16.83 บาท/ชิ้น
                         644
QPR  =                644             x 100
              (700 x 15) + (84 x 4)
          =    644    x 100  = 5.94%
              10,836

(2) เพิ่ม %R=80ตัวแปรอื่นๆจากโจทย์คงเดิม
หา
Yield         =  (700 x 70%) + (700 x 30% x 80%)
                 =   490 + 168  =  658 ชิ้น
Cost/Unit   = (700 x 15) + (168 x 4)
                               658
                = 10,500 + 672   =  16.98 บาท/ชิ้น
                         658
QPR  =                658                x 100
              (700 x 15) + (168 x 4)
          =   658   x 100  = 5.89%
            11,172

แนวทางในการปรับปรุงที่ดีที่สุดคือ ปรับปรุงความสามารถกระบวนการให้ผลิตสินค้าคุณภาพ 80%
และมีต้นทุนต่อชิ้นแตกต่างก่อนการปรับปรุง 17.86 - 16.83 = 1.03 บาทต่อชิ้น


QUIZ บทที่ 2 (27.07.2014)
สินค้าครีมกันแดด ให้อธิบายในเชิงมิติคุณภาพสินค้า (Dimensions of Products Quality)

  1. คุณสมบัติ (Performance) เป็นสินค้าสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่น กันแดด
  2. คุณลักษณะพิเศษ (Features) เป็นลักษณะพิเศษของสินค้าที่แตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน เช่น มีครีมรองพื้น
  3. ความน่าเชื่อถือ (Reliability) เป็นสินค้านั้นสามารถใช้งานได้ทุกครั้งตามที่ต้องการ เช่น ...
  4. ความสอดคล้อง (Conformance) เป็นคุณลักษณะสินค้าที่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น ..
  5. ความคงทน (Durability) เป็นสินค้ามีอายุการใช้งานที่ยาวนานในระดับหนึ่ง เช่น ...
  6. ความสามรถในการบริการ (Serviceability) เป็นความสามารถในการให้บริการโดยเฉพาะการบริการหลังการขาย เช่น ...
  7. สุนทรียภาพ (Aesthetics)  มีรูปลักษณ์ภายนอกของสินค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น รูป รส กลิ่น เสียง
  8. ความปลอดภัย (Safety) เป็นสินค้าต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคในการใช้งาน เช่น มี อย.
  9. การรับรู้ (Perceptions) เป็นสินค้าควรมีภาพลักษณ์ที่ดีในมุมมองของลูกค้า เช่น ... 



23 กรกฎาคม 2557

BUS 6015 : สรุปบทที่ 2 การจัดการคุณภาพ


หนังสือ การจัดการดำเนินงาน (Operations Managements)
เขียนโดย Russell & Taylor เรียบเรียงโดย ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล

บทที่ 2 การจัดการคุณภาพ (Quality Management)

ความหมายคุณภาพ [P.14] --> Final ออกบ่อย
คุณภาพ คือ คุณลักษณะของสินค้าหรือบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการโดยปราศจากข้อบกพร่อง กำหนดได้ใน 2 มุมมองคือ
  1. มุมมองของลูกค้า ได้แก่ การสร้างความพึงพอใจและเหมาะสมต่อการใช้งาน
  2. มุมมองของผู้ผลิต ได้แก่ การออกแบบและผลิตได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้


มิติคุณภาพสินค้า (Dimensions of Products Quality) [P.14] --> Final ออกบ่อย
  1. คุณสมบัติ (Performance) หมายถึง สินค้าสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
  2. คุณลักษณะพิเศษ (Features) หมายถึง ลักษณะพิเศษของสินค้าที่แตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน
  3. ความน่าเชื่อถือ (Reliability) หมายถึง สินค้านั้นสามารถใช้งานได้ทุกครั้งตามที่ต้องการ
  4. ความสอดคล้อง (Conformance) หมายถึง คุณลักษณะสินค้าที่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
  5. ความคงทน (Durability) หมายถึง สินค้ามีอายุการใช้งานที่ยาวนานในระดับหนึ่ง
  6. ความสามรถในการบริการ (Serviceability) หมายถึง ความสามารถในการให้บริการโดยเฉพาะการบริการหลังการขาย
  7. สุนทรียภาพ (Aesthetics) หมายถึง รูปลักษณ์ภายนอกของสินค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น รูป รส กลิ่น เสียง
  8. ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง สินค้าต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคในการใช้งาน
  9. การรับรู้ (Perceptions) หมายถึง สินค้าควรมีภาพลักษณ์ที่ดีในมุมมองของลูกค้า 
มิติคุณภาพบริการ (Dimensions of Services Quality) [P.15] --> Final ออกบ่อย
  1. ความทันเวลาหรือเวลาในการรอคอย (Time and Timeliness) หมายถึง ระยะเวลาที่ลูกค้ารอคอยในการใช้บริการ
  2. ความสมบูรณ์ (Completeness) หมายถึง บริการที่ลูกค้าร้องขอหรือทุกขั้นตอนในการบริการที่ลูกค้าต้องได้รับการจัดหาหรือบริการได้อย่างครบถ้วน
  3. ความสุภาพหรือเอาใจใส่ (Courtesy) หมายถึง การเอาใจ่ใส่ การพูดจา และการปฎิบัติตัวขณะให้บริการกับลูกค้าที่ดี
  4. ความสม่ำเสมอ (Consistency) หมายถึง ความสม่ำเสมอในการบริการและให้บริการลูกค้าในระดับเดียวกัน ไม่ว่าลูกค้าคนนั้นจะเป็นใคร
  5. การเข้าถึงได้ง่ายและความสะดวก (Accessibility and Convenience) หมายถึง ความง่ายและความสะดวกที่ลูกค้าจะเข้าไปใช้บริการ
  6. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง การบริการต้องมีความแม่นยำและถูกต้องเสมอ
  7. การตอบสนองอย่างทันท่วงที (Responsiveness) หมายถึง การที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันทีทันใดในสภาวะการบริการที่ปกติและไม่ปกติ
ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality) [P.24]
คือ ต้นทุนการพัฒนาคุณภาพและป้องกันข้อบกพร่องของสินค้า แบ่งเป็น
  1. ต้นทุนจากคุณภาพที่ดี ได้แก่
    - ต้นทุนการป้องกัน (Prevention Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายหรือความบกพร่องในการทำงาน เช่น ต้นทุน การออกแบบสินค้า, การผลิต, ฝึกอบรม, วางแผน
    - ต้นทุนการตรวจวัดและประเมิน (Appraisal Costs) เป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและการวัดคุณภาพของสินค้า เช่น ค่าตรวจสอบเครื่องจักร, เงินเดือน, ค่าบำรุงรักษา
  2. ต้นทุนจากคุณภาพไม่ดี ได้แก่
    - ต้นทุนความบกพร่องภายใน (Internal Failure Costs) เป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขงานใหม่ก่อนส่งสินค้าหรือบริการถึงลูกค้าเพราะคุณภาพงานไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น ค่าจ้างแรงงาน, ค่าวัตถุดิบ, ค่าพลังงาน
    - ต้นทุนความบกพร่องภายนอก (External Failure Costs) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากข้อบกพร่องของสินค้าหรือบริการหลังส่งถึงลูกค้า เช่น ต้นทุนซ่อมแซม, ความเสียหาย, การสูญเสีย



ผลกระทบของการจัดการคุณภาพกับความสามารถในการผลิต 
(The Effect of Quality Management on Productivity)



การวัดปริมาณผลผลิตดีและผลิตภาพ
(Measuring Product Yield and Productivity)

ตัวอย่าง การหาปริมาณผลผลิตดี
บริษัท H&S มอเตอร์ จำกัด เริ่มการผลิตสำหรับแบบเฉพาะของมอเตอร์กับตัวครอบมอเตอร์ที่ทำจากเหล็กกล้า กระบวนการผลิตเริ่มจากมอเตอร์ 100 ตัวต่อวัน เปอร์เซ็นต์ของมอเตอร์ที่ดีที่ถูกผลิตในแต่ละวันโดยเฉลี่ยเท่ากับ 80% และ เปอร์เซ็นต์ของมอเตอร์บกพร่องที่แก้ไขได้เท่ากับ 50% บริษัทต้องการทราบผลผลิตต่อวันและผลกระทบต่อผลิตภาพ ถ้าเปอร์เซ็นต์ของมอเตอร์ที่ดีที่ถูกผลิตต่อวันเพิ่มขึ้นเป็น 90%
วิธีทำ
I      = 100 --> กระบวนการผลิตเริ่มต่อวัน
%G =   80 --> เปอร์เซ็นต์ของดีถูกผลิตในแต่ละวันโดยเฉลี่ย
%R =   50 --> เปอร์เซ็นต์ของบกพร่องที่แก้ไขได้ในแต่ละวันโดยเฉลี่ย
                               
                               ผลผลิตดี     +  ผลผลิตบกพร่องแก้ไขได้
ผลผลิตดี(Yield)  = (100 x 80%) + (100 x 20% x 50%)
                       =  80 + 10  =  90 ตัว

ถ้าเพิ่ม %G = 90;
ผลผลิตดี(Yield) = (100 x 90%) + (100 x 10% x 50%)
                      = 90 + 5   =  95 ตัว

ดังนั้น คุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น 10% ส่งผลให้ผลผลิตดีเพิ่มขึ้น 5 ตัว

การหาต้นทุนผลิตภัณฑ์ต่อหน่วย 
(Computing Product Cost per Unit)


การวัดปริมาณผลผลิตดีและผลิตภาพ
(Measuring Product Yield and Productivity)

ตัวอย่าง การหาต้นทุนผลิตภัณฑ์ต่อหน่วย
บริษัท H&S มอเตอร์ จำกัด มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยเท่ากับ $30 และต้นทุนงานแก้ไขมอเตอร์ที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่สามารถแก้ไขได้เท่ากับ $12 ต่อหน่วย จากตัวอย่างบริษัทผลิตมอเตอร์ 100 ตัวต่อวัน มีผลิตภัณฑ์คุณภาพดีโดยเฉลี่ย 80% และที่บกพร่องหรือต่ำกว่ามาตรฐาน 20% โดยจำนวนครึ่งหนึ่งของมอเตอร์ที่บกพร่องหรือต่ำกว่ามาตรฐานสามารถถูกแก้ไขเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพดีได้ แต่อย่างไรก็ตาม จากระบบการจัดการคุณภาพของบริษัทบริษัทมีการค้นพบปัญหาในกระบวนการผลิต และเมื่อทำการแก้ไข (ที่ต้นทุนต่ำที่สุด) จะเพิ่มผลิตภัณฑ์คุณภาพดีเป็น 90% บริษัทต้องการประมาณผลกระทบต่อต้นทุนทางตรงต่อหน่วยของการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์นี้
วิธีทำ
I      = 100 --> กระบวนการผลิตเริ่มต่อวัน
%G =   80 --> เปอร์เซ็นต์ของดีถูกผลิตในแต่ละวันโดยเฉลี่ย
%R =   50 --> เปอร์เซ็นต์ของบกพร่องที่แก้ไขได้ในแต่ละวันโดยเฉลี่ย
เพิ่ม %G = 90
Kd = 30   --> ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย
Kr  = 12   --> ต้นทุนงานแก้ไขต่อหน่วย

ผลผลิตดี(Yield)  = (100 x 80%) + (100 x 20% x 50%)
                       =  80 + 10  =  90 ตัว

ต้นทุนผลิตภัณฑ์ต่อหน่วยเดิมของมอเตอร์
Cost/Unit เดิม =  (100 x 30) + (12 x 10)   
                                      90
                      = 3,000 + 120   =  $34.67 ต่อตัว

ถ้าเพิ่ม %G = 90;
ผลผลิตดี(Yield) = (100 x 90%) + (100 x 10% x 50%)
                      = 90 + 5   =  95 ตัว
ต้นทุนผลิตภัณฑ์ต่อหน่วยของมอเตอร์ภายหลังการปรับปรุงคุณภาพ คือ
 Cost/Unit ใหม่ = (100 x 30) + (12 x 5)
                                    95
= 3,000 + 60  =  $32.21 ต่อตัว
                                 95
การปรับปรุงกระบวนการผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพจะส่งผลในการลดต้นทุนผลิตภัณฑ์ต่อหน่วยลง 34.67-32.21 = $2.46 สำหรับต้นทุนการผลิตทางตรงต่อหน่วยคงเดิมและเพิ่มผลผลิตดีขึ้น 5 ตัว 

การวัดปริมาณผลผลิตดีและผลิตภาพ 
(Measuring Product Yield and Productivity)
การหาปริมาณผลผลิตดีสำหรับกระบวนการผลิตที่มีกระบวนการผลิต n ขั้นตอน

Y  = (I)(%G1)(% G2) . . . (%Gn)

เมื่อ
I   =   ปัจจัยนำเข้า
Gi =   เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตที่ดีของขั้นตอน i ในกระบวนการ

อัตราส่วนระหว่างคุณภาพและผลิตภาพ
(The Quality – Productivity Ratio : QPR)


ค่า QPR เพิ่มขึ้นถ้าต้นทุนการผลิตหรือต้นทุนงานแก้ไข หรือต้นทุนทั้งสองประเภทลดลง และค่า QPR จะเพิ่มขึ้นถ้าผลผลิตที่มีคุณภาพดีถูกผลิตมากขึ้น

** ออกสอบส่วน Final **
แนวการตอบ ดร.ภูษิต ให้อ้างทฤษฎีแล้วยกตัวอย่างประกอบ

วิวัฒนาการในการจัดการคุณภาพ (The Evaluation of Quality Management)

W. Edwards Deming  [P.16]



ปรัชญาการจัดการคุณภาพ  14 ประการ -->เน้นข้อสีแดง
  1. สร้างเป้าหมายระยะยาวขององค์กรที่มุ่งการปรับปรุงคุณภาพสินค้าหรือบริการอย่างต่อเนื่อง
  2. เปิดรับแนวคิดและปรัชญาการทำงานที่เน้นไปที่การป้องกันคุณภาพสินค้าที่ไม่ดี แทนที่การกำหนดระดับของข้อบกพร่องที่ยอมรับได้
  3. เปลี่ยนระบบการควบคุมคุณภาพจากที่เน้นไปที่การตรวจสอบเพื่อสร้างคุณภาพ ไปเป็นการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติในการสร้างคุณภาพให้กับสินค้าและกระบวนการ
  4. คัดเลือกผู้จัดหาวัตถุดิบหรือผู้ผลิตวัตถุดิบบนพื้นฐานของคุณภาพสินค้ามากกว่าราคาที่ต่ำ
    Garbage in, Garbage out (ใส่ขยะเข้าไป ผลลัพธ์ก็เป็นขยะออกมา) 
  5. ปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นไปที่ระบบและพนักงาน
  6. มีการฝึกอบรมกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ให้เรียนรู้การป้องกันปัญหาคุณภาพ และการใช้เทคนิคการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ
  7. สร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นกับหัวหน้างานเพื่อให้สามารถช่วยเหลือพนักงานให้ทำงานได้ดีขึ้น
  8. ขจัดความกลัวของพนักงานในการระบุปัญหาและเสนอความคิดเห็นในการปรับปรุงคุณภาพด้วยการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ 
    - กลัวการยอมรับผิด
    - กลัวการเปลี่ยนแปลง
  9. ทำลายอุปสรรคในการติดต่อประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ ในองค์กร โดยมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม
  10. ลดการใช้คำขวัญหรือเป้าหมายเชิงตัวเลขที่ปราศจากแนวทางการปฏิบัติหรือตัวอย่างการทำงาน 
  11. ขจัดเป้าหมายที่เป็นจำนวนตัวเลขเพื่อให้พนักงานพยายามทำให้ได้ตามต้นทุนที่กำหนด โดยไม่ได้พิจารณาด้านคุณภาพ
  12. สร้างความภาคภูมิใจในการทำงานให้กับพนักงานทุกระดับ
    - อย่าปล้นความภูมิใจไปจากลูกน้อง
  13. จัดให้การศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงคุณภาพตลอดทั่วทั้งองค์กรทุกระดับและทุกฝ่าย ซึ่งจะส่งผลทำให้การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องสามารถเกิดขึ้นได้
  14. ผู้บริหารระดับสูงต้องสนับสนุนปรัชญาการบริหาร 13 ประการที่กล่าวมาให้เกิดขึ้น
    - ระบุจำนวนข้ออธิบายมา เช่น 3 ประการ (ข้อ 4, 8, 12)

Philip Crosby [P.18]

คุณภาพ คือ สิ่งที่ไม่ต้องเสียเงิน เพราะถ้าสินค้ามีคุณภาพที่ดี ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการแก้ไข แต่ถ้าคุณภาพสินค้าและบริการไม่ดีหรือมีคุณภาพต่ำ ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น
- Free ให้รู้จักการป้องกัน จะได้ไม่ต้องเสียเงินแก้ไข

ความสำคัญกับการมุ่งลดข้อผิดพลาดของสินค้าและบริการให้เป็นศูนย์ โดยการผลิตสินค้าหรือบริการให้มีคุณภาพตั้งแต่ครั้งแรก ซึ่งเป็นวิธีการที่เน้นการป้องกันปัญหามากกว่าวิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนคุณภาพสินค้าและบริการลดลงนั่นเอง
- Zero Defect เป็นการตั้งเป้าหมายไว้ ให้ทำถูกตั้งแต่ขั้นแรก

Kaoru Ishikawa [P.18]

เสนอวัฏจักรคุณภาพ (Quality Cycles) และ เครื่องมือคุณภาพ (Quality Tools) อีกทั้งยังเน้นให้ความสำคัญต่อการเข้าใจความต้องการของลูกค้าภายในองค์กร เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรคุณภาพ
- 7 QC Tools

เครื่องมือการจัดการคุณภาพ (Quality Tools) ของ Kaoru Ishikawa [P.18]
  1. แผ่นรายการตรวจสอบ (Check Sheet)
    - บันทึกข้อมูลรายละเอียดที่ต้องการเพื่อใช้ในการควบคุม ปรับปรุง และแก้ไขปัญหา
    - ออกแบบให้ง่ายต่อการบันทึกข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
    - เหมาะกับกิจกรรมที่เกี่ยวกับการค้นหาปัญหา แก้ปัญหา หรือการปรับปรุงคุณภาพ
    - ตัวอย่างใช้เก็บข้อมูล ในห้องน้ำ, ลิฟท์
  2. การวิเคราะห์พาเรโต (Pareto Analysis)
    - การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นหรือส่งผลกระทบมากที่สุด แล้วนำปัญหานั้นมาทำการแก้ไข จากนั้นก็นำปัญหาที่มีความสำคัญรองลงมามาแก้ไข
    - กฎ 80/20 สิ่งที่สำคัญจะมีเพียง 20% ของสิ่งที่ไม่สำคัญอีก 80%
    - เช่น ร้าน 7-11 มีสินค้าเป็นจำนวนมากหลายพันรายการ รายได้กว่า 80 %
    มาจากรายการสินค้าเพียง 20 % จากรายการสินค้าทั้งหมดที่วางขายอยู่ในร้าน




  3. แผนผังการกระจาย (Scatter Diagram)
    - ใช้ดูความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ต้องการทราบว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ถ้ามีความสัมพันธ์กัน จะมีความสัมพันธ์ในทิศทางใด
    - ความสัมพันธ์เชิงบวก Aเพิ่ม , Bเพิ่ม
    - ความสัมพันธ์เชิงลบ  Aลด,  Bลด
  4. แผนผังแสดงสาเหตุและผล (Cause-and-Effect Diagram)
    - แผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram) --> ต้องเป็นปลาตะเพียน (ก้างกระจายปัญหาเยอะ)
    - แผนผังอิชิกาว่า (Ishikawa Diagram)
    - เน้นการตั้งคำถามว่า “ทำไม”
    - ช่วยให้มองเห็นสาเหตุต่างๆ ของปัญหาที่เกิดขึ้น
    - สาเหตุหลักเป็นกลุ่ม 4 กลุ่มหรือ 4M คือ บุคลากร, วิธีการ วัตถุดิบ และเครื่องจักร
      + 2E คือ สิ่งแวดลอม พลังงาน

  5. แผนผังการไหลของกระบวนการ (Process Flowchart)
  6. แผนภาพฮิสโตแกรม (Histogram)
  7. แผนภูมิควบคุม (Statistical Process Control Chart)
ระบบการจัดการคุณภาพ (Quality Management System) [P.22]
  1. การจัดการคุณภาพองค์รวม Total Quality Management, TQM
  2. การจัดการคุณภาพในห่วงโซ่อุปทาน Quality Management in the Supply Chain
  3. ระบบ Six Sigma
  4. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) [P.23]
    - นำมาใช้ปรับปรุงพัฒนาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เป็นการทำงานร่วมกันของทุกคนในองค์กรที่ร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพกระบวนการหรือผลิตภัณฑ์ทีละเล็กละน้อย ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ประสานงานจากทุกฝ่าย
    - Continuous improvement พัฒนาจากล่างสู่บน bottom up



อยากรู้เรื่องทฤษฎีการตลาดกับผู้เชี่ยวชาญ ผมแนะนำ M.B.A. (Marketing) Ramkhamkaeng .. แต่ถ้าอยากรู้ว่าเรียนการตลาดแล้วจะประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินได้อย่างไร คุณต้องมีโค้ชแนะนำ ครับ

วางแผนการเงินกับ #finadvisor #ความมั่งคั่งเริ่มต้นที่นี่ finadvisor.co
โค้ชส่วนตัว ช่วยวางแผน

×
News