บทที่ 2 ปัจจัยแวดล้อมภายนอก (The External Environment)
แนวข้อสอบ ดร.ประไพทิพย์ : ให้วิเคราะห์ และยกตัวอย่างประกอบ
- Macroenvironment (ปัจจัยแวดล้อมมหภาค)
- Competitive environment (ปัจจัยแวดล้อมในการแข่งขัน)
Mind Map The External Environment
- ผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีอิทธิพลต่อ องค์การ และองค์การมีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมสภาพแวดล้อมภายนอกประเด็นต่าง ๆ ที่มีอิทธิพล ต่อองค์การ เช่น อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น หรือราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
- ปัจจัยที่ทำให้ผู้บริหารต้องให้ความสนใจ ( relevant : พลังที่เกี่ยวข้อง – ผู้บริหารต้องให้ความสนใจ)
ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและสิ่งแวดล้อม
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย
1. สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน ( Competitive environment) เป็นสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นทันที และใกล้ชิดกับองค์การ เช่น การอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
2. สภาพแวดล้อมทั่วไปหรือปัจจัยแวดล้อมมหภาค (Macro environment) ปัจจัยพื้นฐานทั่ว ๆ ไปซึ่งมีผลกระทบต่อองค์การ ถ้าเกิดผลกระทบนี้ขึ้นต้องส่งผลกระทบต่อทุกๆ บริษัท เช่น อัตราแลกเปลี่ยน สภาวะอากาศ
Macro Environmental และ Competitive Environmental
- ใช้วิเคราะห์โอกาส เช่น บริษัทได้รับการสนับสนุนด้านกฎหมายจากรัฐบาล เพื่อการเปิดการค้าเสรี หรือบริษัทได้รับการลดหย่อนภาษีจากกรมศุลกากร
- ใช้วิเคราะห์อุปสรรค เช่น การที่บริษัทมีคู่แข่งขันรายหลาย ทำให้บริษัทต้องหากลยุทธ์ใหม่เพื่อต่อสู้
ประกอบด้วย
1 . สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน (Competitive Environment) เป็นสภาพแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับองค์การ เป็นสิ่งที่องค์การต้องเผชิญ ได้แก่ Five Force Model (เวลาสอบต้องดูว่าอาจารย์ให้วิเคราะห์ case อะไร บริษัทนั้นอยู่ในประเทศหรืออยู่ต่างประเทศ เพราะถ้าอยู่ต่างประเทศจะต้องวิเคราะห์ให้กว้างขึ้น)
1 . สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน (Competitive Environment) เป็นสภาพแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับองค์การ เป็นสิ่งที่องค์การต้องเผชิญ ได้แก่ Five Force Model (เวลาสอบต้องดูว่าอาจารย์ให้วิเคราะห์ case อะไร บริษัทนั้นอยู่ในประเทศหรืออยู่ต่างประเทศ เพราะถ้าอยู่ต่างประเทศจะต้องวิเคราะห์ให้กว้างขึ้น)
1.1 คู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือคู่แข่งขันในธุรกิจ (Rivals) คือ คู่แข่งขันรายเก่า (competitors)
- สิ่งที่องค์การต้องรู้ใครคือคู่แข่งขัน วิเคราะห์ว่าคู่แข่งใช้กลยุทธ์อย่างไรโต้ตอบและลงมือกระทำก่อนคู่แข่ง
- การแข่งขันจะรุนแรงเมื่อคู่แข่งจำนวนมาก อุตสาหกรรมเจริญเติบโตช้า ผลิตภัณฑ์และบริการไม่มีความแตกต่าง
ต้องดูว่า ณ ปัจจุบันบริษัทมีคือใครบ้างที่ทำธุรกิจในอุตสากรรมเดียวกับบริษัทเรา เพราะเขาคือคู่แข่งขันของเรา เราต้องหาวิธีในการเจาะคู่แข่งขันให้ได้ เช่น เราต้องทราบว่าคู่แข่งขันมีเงินลงทุนเท่าไร มีเครือข่ายอย่างไร มี segment อะไรบ้าง (มีการแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างไร) มีกลุ่มเป้าหมายให้การขายผลิตภัณฑ์ให้แก่ใคร เป็นส่วนแบ่งการตลาดเท่าไร มีใครเป็นพันธมิตร การที่บริษัทเรามีคู่แข่งขันจำนวนมาก จะทำให้อุตสาหกรรมเจริญเติบโตช้า เนื่องจากผลิตภัณฑ์และบริการไม่มีความแตกต่าง เช่น AIS กับ DTAC
- อุปสรรคของการเข้าสู่ธุรกิจ
- เงื่อนไขที่ปิดกั้นการเข้ามาของคู่แข่งขันใหม่
- นโยบายของรัฐ ข้อกำหนดของเงินทุน เอกลักษณ์ของตรายี่ห้อ ข้อเสียเปรียบด้านต้นทุน และช่องทางการจำหน่าย
ภัยคุกคามจากคู่แข่งขันรายใหม่ บริษัทต้องกีดกันไม่ให้เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดได้ ต้องพยายามสร้างเงื่อนไขที่ปิดกั้นการเข้ามาของคู่แข่งขันใหม่ เช่น การใช้นโยบายของรัฐมาช่วย ได้แก่ การจดสิทธิบัตร หรือลิขสิทธิ์ต่างๆ หรือการสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง หรือการลงทุนในธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูง มี Know-how มีความโดดเด่น เช่น เดิม AIS กับ DTAC แต่ปัจจุบัน มี True มาแบ่งส่วนแบ่งการตลาด
1.3 สินค้าทดแทน (Substitutes) ก่อให้เกิดภัยคุกคามของสินค้าทดแทน (Threat of Substitutes)
- อุปสรรคของสิ่งทดแทน
- ข้อได้เปรียบทางเทคโนโลยี และประสิทธิภาพ ทางด้านเศรษฐกิจทำให้สินค้าทดแทนเข้ามาแทนที่
- สินค้าทดแทนสามารถทำให้รายได้ใน อุตสาหกรรมอื่นลดลง
- บริษัทจำเป็นต้องคิดเกี่ยวกับสินค้าทดแทนด้วย
ถ้ามีสินค้าทดแทนส่งผลให้การแข่งขันสูง เราต้องป้องกันโดยพยายามพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดเวลา ทำให้เป็นผู้นำด้านสินค้า กลายเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียง เช่น BTS หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่เข้ามาแย่งลูกค้าจาก ขสมก. หรือ รถ taxi ดังนั้น รถtaxi ก็ปรับปรุงกลยุทธ์โดยการให้บริการอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น มีศูนย์ taxi ให้ลูกค้าสามารถเรียกรถผ่านศูนย์ได้ ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ เพราะมีความรวดเร็ว
1.4 ผู้จัดส่งสินค้าหรือวัตถุดิบ (Supplier) ก่อให้เกิดภัยคุกคามของผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิต (Threat of Suppliers)
- เป็นผู้จัดส่งทรัพยากรที่จำเป็นหรับการผลิต
- อำนาจการต่อรองของผู้จัดส่งสินค้าหรือ วัตถุดิบสามารถลดกำไรขององค์การได้การตั้งข้อสังเกตของสภาพแรงงานระหว่างประเทศ
- อำนาจการต่อรองของผู้จัดส่งสินค้าหรือวัตถุดิบทำให้เสียเปรียบในการแข่งขัน
- อำนาจการต่อรองของผู้จัดส่งกำหนดโดย
- สามารถหาผู้จัดส่งรายอื่น ๆ ได้ง่ายหรือไม่
- จำนวนลูกค้าที่ต้องการผลิตภัณฑ์ของผู้จัดส่ง
- การเคลื่อนย้ายทุน ผู้จัดซื้อต้องเผชิญกับต้นทุนคงที่ เพื่อเปลี่ยนผู้จัด
- การสร้างความสัมพันธ์กับผู้จัดส่งเป็นวิธีการใหม่ที่ธุรกิจใช้
วัตถุดิบที่ใช้มีผลกระทบต่อกำไรขององค์การ เราต้องดูว่าเราจะต้องทำอย่างไรให้เรามีอำนาจต่อรองเหนือ supplier คือการแก้ไขคือ เราต้องมี supplier หลายๆ ราย อย่ามีเพียงเจ้าเดียว ต้องพยามสร้างความสัมพันธ์อันดี เป็นต้น
1.5 ลูกค้าหรือผู้บริโภค (Buyers) ก่อให้เกิดภัยคุกคามของลูกค้า (Threat of Customers)
- เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือบริการจากองค์การ
- ลูกค้าคนสุดท้าย เป็นผู้ซื้อสินค้าสำเร็จรูป
- ลูกค้าคนกลาง เป็นผู้ซื้อวัตถุดิบ หรือสินค้าส่งก่อนที่จะขายสินค้าให้กับลูกค้าคนสุดท้าย
- การบริการลูกค้า เป็นการมอบสิ่งที่ลูกค้าต้องการด้วยความรวดเร็วและความน่าเชื่อถือ
การบริการลูกค้า เป็นการมอบสิ่งที่ลูกค้าต้องการด้วยความรวดเร็ว และความน่าเชื่อถือ เราจะทำอย่างไรให้ลูกค้ามีอำนาจต่อรองน้อยที่สุด หรือไม่มีอำนาจต่อรองเลย เช่น บริษัทอาจมีการทำ customers service เช่น มีบริการส่งสินค้าถึงบ้าน มีบริการหลังการขาย มีของแถม มี gift voucher ให้แก่ลูกค้าเพื่อเป็นทางปิดกั้นไม่ให้ลูกค้าต่อรองขอลดราคาสินค้า รวมถึงเราต้องดูด้วยว่าลูกค้ามีความต้องการอะไร อย่างไร มีกลุ่มใหญ่หรือไม่ มีกำลังซื้อหรือไม่ เพื่อให้เราสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าได้ คุ้มกับการลงทุน เช่น ถ้าบริษัทเราเป็นบริษัทขนาดใหญ่ กลุ่มลูกค้าของเราก็ต้องกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหญ่ด้วย
2. สภาพแวดล้อมทั่วไป (Macro environment)
- ปัจจัยทั่ว ๆ ไปของสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งมีอิทธิพล ต่อการตัดสินใจทางกลยุทธ์
- ทุกองค์การมักได้รับผลกระทบจาก (ส่วนประกอบ) สภาพแวดล้อมทั่วไป
2.1 กฎหมายและกฎข้อบังคับ (Law and regulations) เช่น Iso 9001, Iso14001
- เงื่อนไขในการนำกลยุทธ์ ได้แก่อุปสรรค และโอกาส
- กฎข้อบังคับ (regulators)
- กฎข้อบังคับที่เกี่ยวกับองค์การ เป็นภาวะ ที่องค์การต้องให้ความสนใจมากเนื่องจากมีอำนาจในการ ไต่สวนการปฏิบัติงานของ องค์การ และองค์การต้องให้ความร่วมมือตามกฎหมาย
2.2 เศรษฐกิจ (Economy) เช่น อัตราดอกเบี้ย รายได้ของประชากร
- ความยุ่งยากซับซ้อนของสภาพเศรษฐกิจที่เกิดจากสภาพเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ
- ความสำคัญของปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ (inflation) อัตราการว่างงาน และตลาดหุ้น
- การเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ และความยุ่งยากในการพยากรณ์
2.3 เทคโนโลยี (Technology) เช่น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต
- ทำให้เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีทางด้านการผลิต การปรับปรุงวิธีการบริหารจัดการ และวิธีการติดต่อสื่อสาร
- กลยุทธ์ที่ถูกละเลย การตามหลังคู่แข่งขันในด้าน เทคโนโลยีจะทำให้ธุรกิจต้องล้าหลัง และอาจต้องออกจากธุรกิจไป
2.4 ประชากรศาสตร์ (Demographics) เช่น จำนวนประชากร เพศชายหญิง ระดับการศึกษา ฯลฯ
- การวัดลักษณะต่าง ๆ ของประชากร ได้แก่ อายุ เพศ ขนาดของครอบครัว ระดับรายได้ ระดับการศึกษา อาชีพ
- กลุ่มแรงงาน ต้องถูกกำหนดขึ้นเพื่อการกำหนดแผน กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์
- อัตราการเจริญเติบโตของประชากรมีอิทธิพลต่อ ขนาดและผลิตผลของแรงงาน
- การเคลื่อนย้ายของประชากร เป็นปัจจัยที่มุ่งความแตกต่างที่เพิ่มขึ้นของแรงงานซึ่งมีทั้งผลดีและผลเสีย
2.5 สังคม และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ (Social issues and the natural environment) เช่น ความคาดหวังของสังคม ค่านิยม ความเชื่อ
- การบริหารจัดการต้องตระหนักถึงความคิด และพฤติกรรมของคน บทบาทของสตรีใน ที่ทำงาน
- การจัดสรรผลประโยชน์ (การจัดสวัสดิการสำหรับพนักงานที่อยู่ในท้องถิ่น)
- การปกป้องสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
- ประกอบด้วยองค์การต่าง ๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์กัน Michael Porter ได้กำหนด สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันไว้ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ
- สามารถต่อสู่กับสภาพการแข่งขัน
- การดำเนินการในสภาพที่เป็นจริง หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการแข่งขัน
3. ปัจจัยแวดล้อมในการแข่งขัน (Rival Firm) ประกอบด้วย
3.1 คู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกัน
- สิ่งที่องค์การต้องรู้ใครคือคู่แข่งขัน วิเคราะห์ว่าคู่แข่งใช้กลยุทธ์อย่างไรโต้ตอบและลงมือกระทำก่อนคู่แข่ง
- การแข่งขันจะรุนแรงเมื่อคู่แข่งจำนวนมากอุตสาหกรรมเจริญเติบโตช้าผลิตภัณฑ์และบริการไม่มีความแตกต่าง
3.2 อุปสรรคของผู้เข้ามาสู่ธุรกิจใหม่ (Threat of new entrants)
- อุปสรรคของการเข้าสู่ธุรกิจ
- เงื่อนไขที่ปิดกั้นการเข้ามาของคู่แข่งขันใหม่
- นโยบายของรัฐ ข้อกำหนดของเงินทุน เอกลักษณ์ของตรายี่ห้อ ข้อเสียเปรียบด้านต้นทุน และช่องทางการจำหน่าย
3.3 อุปสรรคของสินค้าทดแทน (Threat of Substitutes)
- อุปสรรคของสิ่งทดแทน
- ข้อได้เปรียบทางเทคโนโลยี และประสิทธิภาพ ทางด้านเศรษฐกิจทำให้สินค้าทดแทนเข้ามาแทนที่
- สินค้าทดแทนสามารถทำให้รายได้ใน อุตสาหกรรมอื่นลดลง
- บริษัทจำเป็นต้องคิดเกี่ยวกับสินค้าทดแทนด้วย
3.4 ผู้จัดส่งสินค้าหรือวัตถุดิบ (Supplier)
- เป็นผู้จัดส่งทรัพยากรที่จำเป็นหรับการผลิต
- อำนาจการต่อรองของผู้จัดส่งสินค้าหรือ วัตถุดิบสามารถลดกำไรขององค์การได้การตั้งข้อสังเกตของสภาพแรงงานระหว่างประเทศ
- อำนาจการต่อรองของผู้จัดส่งสินค้าหรือวัตถุดิบทำให้เสียเปรียบในการแข่งขัน
- อำนาจการต่อรองของผู้จัดส่งกำหนดโดย
- สามารถหาผู้จัดส่งรายอื่น ๆ ได้ง่ายหรือไม่
- จำนวนลูกค้าที่ต้องการผลิตภัณฑ์ของผู้จัดส่ง
- การเคลื่อนย้ายทุน ผู้จัดซื้อต้องเผชิญกับต้นทุนคงที่ เพื่อเปลี่ยนผู้จัด
- การสร้างความสัมพันธ์กับผู้จัดส่งเป็นวิธีการใหม่ที่ธุรกิจใช้
3.5 ลูกค้า (Customers)
- เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือบริการจากองค์การ
- ลูกค้าคนสุดท้าย เป็นผู้ซื้อสินค้าสำเร็จรูป
- ลูกค้าคนกลาง เป็นผู้ซื้อวัตถุดิบ หรือสินค้าส่งก่อนที่จะขายสินค้าให้กับลูกค้าคนสุดท้าย
- การบริการลูกค้า เป็นการมอบสิ่งที่ลูกค้าต้องการด้วยความรวดเร็วและความน่าเชื่อถือ
4 . การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม มี concept คือ
4.1 การประเมินสภาพแวดล้อม เพื่อทราบถึง
-ความสามารถในการแข่งขัน
-ข้อมูลจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดว่าจะทำอย่างไรจึงจะแข่งขันได้
การพัฒนาแผนล่วงหน้า
-เพื่อเผชิญกับเงื่อนไขในอนาคต
-แผนล่วงหน้าที่ดีจะอำนวยประโยชน์ แผนล่วงหน้าไม่ดีก็จะส่งผลเสีย
การพยากรณ์
- ทำนายว่าอนาคตจะเปลี่ยนอย่างไร
- ความถูกต้องจะเปลี่ยนไปตามความเกี่ยวข้อง
4.2 การเปรียบเทียบเพื่อความเป็นเลิศ การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานขององค์การและเทคโนโลยีกับองค์การอื่น เช่น ค้นหาสาเหตุที่ทำให้ผลการปฏิบัติงานมีความแตกต่าง ซึ่งประกอบด้วย
1) การสอดส่องตรวจตราปัจจัยแวดล้อม (Environmental Scanning) คือ การประเมินสภาพแวดล้อม เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นจึงต้องมีการ Scanning เพื่อตรวจสอบว่าปัจจัยใดบ้างที่ผลกระทบต่อเรา ทางเป็นด้านบวก- ถือเป็นโอกาส และถ้าเป็นด้านลบ - ถือเป็นภัยคุกคาม
- ค้นหาและแยกประเภทของข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
- ความสามารถในการแข่งขัน การหาข้อมูลเชิงลับเกี่ยวกับการแข่งขัน
- ข้อมูลจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดว่าจะทำอย่างไร จึงจะแข่งขันได้
- ความสามารถในการแข่งขันในสภาพแวดล้อมที่ แตกต่าง
- สภาพแวดล้อมที่ดี(น่าสนใจ) จะช่วยให้องค์การ ได้เปรียบในการแข่งขัน
- สภาพแวดล้อมที่ไม่ดี (ไม่น่าสนใจ) จะทำให้องค์การเสียเปรียบในการแข่งขัน
2) การพัฒนาโครงการหรือแผนการล่วงหน้า (Scenario Development) เป็นการสร้างสถานการณ์จำลองหรือการมองภาพในอนาคต ถ้ามองในแง่ดี เรียกว่า good year แต่ถ้ามองในแง่ร้ายเรียกว่า bad year
- แผนการล่วงหน้า(Scenario) การเตรียมการเพื่อเผชิญ กับเงื่อนไขในอนาคต
- แผนการล่วงหน้าที่ดี ก็จะอำนวยประโยชน์ให้เกิดความมั่นคง แผนการล่วงหน้าไม่ดีก็จะส่งผลเสีย
3) การพยากรณ์หรือการคาดการณ์ล่วงหน้า (Forecasting) ใช้ตัวเลขทางสถิติเป็นปัจจัยพื้นฐาน เช่น ปัจจุบันมีการใช้รถยนต์ปริมาณเพิ่มขึ้นเท่าไร เพื่อใช้คาดการณ์ปริมาณการใช้น้ำมัน คาดการณ์การสร้างปั้มน้ำมันให้เพียงพอกับความต้องการ โดยต้องพิจารณาอัตราดอกเบี้ย และการลงทุนในภาคเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย เป็นต้น
- วิธีการทำนายว่าอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างไร
- ความถูกต้อง จะแปรเปลี่ยนไปตามความเกี่ยวข้อง
- การพยากรณ์จะมีประโยชน์มาก เมื่อสามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงได้อย่างแม่นยำ
4) การเปรียบเทียบเพื่อความเป็นเลิศ (Benchmark) หรือการเปรียบเทียบกับผู้นำในอุตสาหกรรม
กระบวนการในการเปรียบเทียบการปฏิบัติงานขององค์การและเทคโนโลยีกับองค์การอื่น
- เลือกองค์การที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดีที่สุดเป็นต้นแบบ
- ทีมงานที่รับผิดชอบต้องรวบรวมข้อมูลด้านการปฏิบัติงานขององค์การเปรียบเทียบกับองค์การที่เลือกเป็นต้นแบบ และหาความแตกต่าง
- ค้นหาสาเหตุที่ทำให้ผลการปฏิบัติงานมีความแตกต่างกัน
5. การตอบสนองต่อปัจจัยแวดล้อม ( Responding to the Environment)
5.1 การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม (Adapting to the empowerment)
- ปรับโครงสร้างองค์การและกระบวนการทำงาน
- ความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมที่เกิดจากความซับซ้อนทำให้ธุรกิจมีแนวโน้มที่จะกระจายอำนาจในการตัดสินใจ
- การมอบอำนาจ (empowerment) กระบวนการในการมีส่วนร่วมของพนักงาน
- ทำให้พนักงานมีความเชื่อมั่นในความสามารถในการปฏิบัติงานของตนมากขึ้น
ระบบราชการ (Bureaucracy) เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมที่คงที่องค์การแบบมีชีวิต หรือองค์การที่ เคลื่อนไหว (organic) มีความยืดหยุ่นเหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
- การปรับตัวในเรื่องสำคัญ
1. Adapting at the boundaries (การปรับที่ supply / demand ) เป็นการปรับตัวตามความต้องการของลูกค้า
2. Adapting at the core ( การปรับตัวที่กระบวนการผลิต)
กระบวนการที่ยืดหยุ่น
- การยอมให้ปรับด้านเทคนิคที่สำคัญ ๆ ลูกค้าจำนวนมาก
- ใช้ระบบเครือข่ายในการดำเนินงานที่เป็นอิสระในแต่ละกระบวนการที่เจาะจง
ความแตกต่างกันของมาตรฐานในผลิตภัณฑ์ และบริการถูกกำหนดโดยลูกค้า
5.2 อิทธิพลของสภาพแวดล้อม
การตอบสนองเชิงรุก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
- กิจกรรมที่อิสระ (Independent action) ทำได้ด้วยตนเอง เป็นกลยุทธ์ที่องค์การได้เปลี่ยนทิศทางไปตามความเคลื่อนไหวของสภาพแวดล้อม
- การร่วมมือ ทำได้ด้วยการร่วมมือกับผู้อื่น เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เกิดจากการร่วมมือกันของสององค์การขึ้นไป เพื่อจัดการกับสภาพแวดล้อมภายนอก
กิจกรรมที่อิสระ (Independent Action)
กลยุทธ์หลีกเลี่ยง (Strategic Maneuvering)
5.3 การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
- กลยุทธ์หลีกเลี่ยง (strategic maneuvering) ความพยายามอย่างมีสติที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของการแข่งขัน
- ความก้าวหน้า (prospectors)หรือ ผู้ริเริ่ม - ธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ด้วยการ
- หาผลิตภัณฑ์และตลาดใหม่
- ทำให้เกิดความหลากหลาย และการรวมธุรกิจ
- เข้าสู่ธุรกิจใหม่
- การป้องกัน (defender) หรือ ผู้ป้องกัน
- ธุรกิจจะอยู่อย่างคงที่มี ผลิตภัณฑ์และตลาดค่อนข้างจำกัด ใช้กลยุทธ์หลีกเลี่ยง
การเปลี่ยนแปลงปัจจัยให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม(Change appropriate elements of the environment)
มุ่งเน้นปัจจัย (Focus on elements)
- สาเหตุของปัญหาในองค์การ
- แสวงหาโอกาส
- ยอมปรับเปลี่ยนองค์การเพื่อความสำเร็จ
เลือกการตอบสนองโดยเน้นที่ปัญหาโดยตรง
- เน้นการแข่งขันที่รุนแรงและการสยบ
- เลือกตอบสนองที่ให้ผลประโยชน์สูงสุดและต้นทุนต่ำสุด
- เน้นการวางแผนทางการเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาว
สภาพแวดล้อมภายใน (ใช้วิเคราะห์ จุดอ่อน และ จุดแข็ง )
1. สถานะทางการเงิน ตัวชี้วัด ได้แก่ อัตราส่วนทางการเงิน
2. ตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ พิจารณาส่วนแบ่งทางการตลาด เปรียบเทียบราคากับคู่แข่งขัน ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อสินค้าของบริษัท
3. ความสามารถทางการตลาด มีช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างไร มีความพร้อมในการพัฒนาสินค้าหรือไม่
4. โครงสร้างองค์การ พิจารณาจากองค์การมีโครงสร้างอย่างไร อำนาจ ความรับผิดชอบมีการแบ่งชัดเจน หรือไม่ ขั้นตอนการตัดสินใจ เป็นต้น
5. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ พิจารณาจาก การฝึกอบรม ระบบการจ่ายค่าตอบแทน ระบบประเมินผล การช่วยเหลือพนักงาน (สวัสดิการ)
6. เครื่องมืออุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวก ความทันสมัยของเครื่องมืออุปกรณ์ ระบบการผลิตของบริษัทมีความทันสมัย และเหมาะสมหรือไม่ เป็นต้น
7. วัตถุประสงค์และกลยุทธ์เก่าของบริษัท พิจารณาจาก กลยุทธ์เก่าประสบผลสำเร็จหรือไม่ อะไรคือ วัตถุประสงค์เก่าที่ธุรกิจกำหนดในอดีต
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน โดยทำการวิเคราะห์ - 7Ss Model
1. กลยุทธ์ (Strategy) เพื่อสร้างข้อได้เปรียบคู่แข่งขัน
2. โครงสร้าง(Structure) ขององค์การ เพื่อการมอบหมายงาน และแบ่งงานการทำอย่างถูกต้องเหมาะสม
3. ระบบ(System) ต่างๆ ในองค์การ เช่น ระบบการผลิต ระบบการควบคุมคุณภาพ ระบบการเงิน
4. สไตส์ (Styte) ในการบริหารงานของผู้บริหารควรปรับปรุงหรือไม่
5. พนักงาน (Staff) ในองค์การมีศักยภาพมากน้อยเพียงใด
6. ค่านิยม (Shared Value) ร่วมกันของคนในองค์การ
7. ทักษะ (Skill) ขององค์การ และคนขององค์การ เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันเป็นอย่างไร
ขอบคุณ IT Smart5
ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมมหภาค (The external environment)
Macro Environment = ปัจจัยแวดล้อมมหภาค
Competitive Environment = ปัจจัยแวดล้อมในการแข่งขัน
ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมมหภาค (The external environment)
Macro Environment = ปัจจัยแวดล้อมมหภาค
Competitive Environment = ปัจจัยแวดล้อมในการแข่งขัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น