ให้บอกลักษณะ และวิเคราะห์ความแตกต่าง ถ้าเป็นผู้บริหารจะเลือกทำแบบไหน เพราะอะไร
ให้สอดคล้องกับลักษณะสินค้าที่เลือก ให้วิเคราะห์และยกตัวอย่างประกอบ
การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศที่ดีผู้บริหารจะต้องเผชิญกับสภาวะการแข่งขันในตลาดโลกดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยให้องค์กรได้รับความสำเร็จในระดับโลกควรมีการพิจารณาภาพรวมของการทำธุรกิจโลก (Global integration) และควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะกดดันในธุรกิจโลกในภาพรวม (pressures for global integration) ซึ่งหมายถึงการสร้างความพอใจให้แก่ผู้บริโภคในประเทศต่าง การทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นเป็นที่ต้องการของคนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สภาวะกดดันทางการแข่งขันช่วยลดต้นทุนได้โดยการใช้กลยุทธการประสานกันร่วมมือกันของคู่แข่งขัน (global strategic coordination)
ภาวะกดดันของการตอบสนองของท้องถิ่น (Pressures for Local Responsiveness) ทำให้บริษัทข้ามชาติต้องปรับตัวในการตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นที่แตกต่างจากเดิมในสถานที่ที่แตกต่างกัน ภาวะกดดันของท้องถิ่นเกิดขึ้นเมื่อ รสนิยมของลูกค้า และความแตกต่างของประเทศต่าง ๆ ในด้านของตัวสินค้า หรือตลาดลูกค้า ต่างกัน แรงกดดันนี้เกิดขึ้นเมื่อมีความแตกต่างในการปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ แตกต่างกัน ความแตกต่างในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และการขายในประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ภาวะกดดันของท้องถิ่นได้แก่ภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศนั้น
กลยุทธ์การทำธุรกิจระดับโลก 4 วิธีคือ
1. กลยุทธ์ระหว่างประเทศ (International Strategy) เช่น IBM , McDonald, Microsoft, Toy R Us, P&G
2. กลยุทธ์ข้ามชาติ (Multinational Strategy) เช่น KFC ข้าวลาบไก่
3. กลยุทธ์ระดับโลก (Global Strategy)
4. กลยุทธ์ส่งผ่านข้ามชาติ (Transnational Strategy)
กลยุทธ์ระหว่างประเทศ (International Strategy) หรืิอ Home Country : ยึดนโยบายบริษัทแม่เป็นหลัก
หมายถึง การบริหาร จัดการทางด้านธุรกิจทั้งด้านสินค้า และบริการ จากบริษัทประเทศแม่ไปยังประเทศที่บริษัทมีสาขาตั้งอยู่ โดยรูปแบบของการบริหารและการพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รวมถึงอำนาจการตัดสินใจส่วนใหญ่ไว้ตามที่บริษัทแม้วางไว้ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทหรือตัวแทนที่อยู่ในต่างประเทศอาจสามารถดำเนินการได้ในบางเรื่องที่ได้มีการตกลงกันไว้ได้ เช่น IBM , McDonald, Microsoft, Toy R Us และ P&G เป็นต้น
กลยุทธ์ข้ามชาติ (Multidomestic Strategy) หรือ Host Country : ปรับกลยุทธ์ตามสภาพแวดล้อม
หมายถึงกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของสาขาในแต่ละท้องถิ่น (Local responsiveness) การใช้กลยุทธ์นี้จะกระจายอำนาจการตัดสินใจให้กับผู้บริหารในสาขาต่างๆ เช่น การปรับเปลี่ยนสินค้า และบริการให้เข้ากับผู้บริโภคที่อยุในท้องถิ่น (Customization) ในประเทศนั้นๆ รวมถึงกลยุทธ์ การบริหารและการตลาด เช่น KFC ข้าวลาบไก่ เป็นต้น
กลยุทธ์ระดับโลก (Global Strategy)
หมายถึงกลยุทธ์ที่มุ่งเน้น ที่จะใช้ความได้เปรียบของประเทศต่างในการดำเนินการบริหารจัดการ ทั้งทางด้านต้นทุน การผลิตสินค้า การบริการ การตลาด การจักการทรัพยากรมนุษย์ และการเงิน โดยสินค้า และบริการนั้นจะต้องไดรับการยอบรับจากผู้ใช้สินค้าแลบริการ เนื่องจากสินค้าและบริการทีบริษัทข้ามชาติดำเนินการนั้น อยู่บนมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก เช่น การโฆษณา ก็ใช้พรีเซ็นเตอร์คนเดียวในทุกๆประเทศ ดังนั้น ผู้บริโภคจะเป็นผู้ปรับตัวเข้ากับสินค้าและบริการเอง เช่น น้ำหอม หรือ โรงแรม เป็นต้น
กลยุทธ์ส่งผ่านข้ามชาติ (Transnational Strategy)
หมายถึงกลยุทธ์ที่บริษัทข้ามชาติมุ่งเน้นไปที่การลดต้นทุนการผลิต และการทำให้สินค้าสามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปของแต่ละประเทศ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น แต่ต้องจำเป็นเพราะคู่แข่งขันที่อยู่ในตลาดเดิมแข่งแกร่งกว่า ทั้งนี้ บริษัทข้ามชาติจะต้องปรับสินค้าและบริการให้เข้ากับความต้องการของท้องถิ่นนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น