28 กันยายน 2556

RAM 6000 สรุปกิจกรรมวันที่1-3

วัตถุประสงค์ของวิชา RAM 6000 ความรู้คู่คุณธรรม
- สำรวจชีวิต
- คิดเยี่ยงบัณฑิต
- สนิทแนบสัมพันธ์
- สร้างสรรค์สังคม
- ดำรงตนมีคุณภาพ

สรุป กิจกรรม "ตัวตนของฉัน"
- เหมือนมีความรู้สึกได้พูดกับตัวเอง หลังจากไม่ได้พูดกับตัวเองมานานแสนนาน
- ได้ทำความเข้าใจตนเองและเรียนรู้ผู้อื่น เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

- อย่าตัดสินใจผู้อื่นจากบุคลิกภายนอก
- ทำให้เรานึกถึงคนรอบข้างในชีวิตเรามากขึ้น
- สิ่งที่มีอิทธิพลต่อความเป็นตัวตนของทุกคน คือครอบครัว
- ความสุขของเราส่วนใหญ่เกิดจากครอบครัวเป็นสำคัญ
- ทุกคนมีอดีตที่แก้ไขไม่ได้แต่สามารถนำความผิดพลาดมาปรับปรุงได้

เส้นทางสู่ความสำเร็จ
- รู้ว่าเราคือใคร
- รู้ว่าเรามีความสามารถพิเศษอะไร
- รู้จักพัฒนาความสามารถของตัวเอง
- มีความคิดด้านบวก
- มีความมั่นใจในตนเอง
- เมื่อพัฒนาความสามารถแล้วต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แม้ก้อนอิฐที่มีวคามวิจิตรสวยงาม ทำจากวัตถุดิบราคาแพง
แต่กองอยู่รวมกันริมถนน
ก็มีค่าเทียบไม่ได้กับก้อนอิฐราคาต่ำที่อาจมีตำหนิอยู่บ้าง
แต่ถูกวางเรียงประสานกันตามแบบแผน
จนกลายเป็นอาคารใหญ่ใช้สอยประโยชน์มหาศาล

คุณลักษณะเด่นด้านคุณธรรม

ขยัน อดทน เกาหลี ไต้หวัน เวียดนาม อินเดีย เยอรมัน แคนาดา
กตัญญู เกาหลี เวียดนาม ญี่ปุ่น ศรีลังกา
รักชาติ เกาหลี เวียดนาม ญี่ปุ่น แคนาดา
อ่อนน้อม ไต้หวัน ศรีลังกา ญี่ปุ่น
ซื่อสัตย์ ศรีลังกา ไต้หวัน ญี่ปุ่น สวิส เยอรมัน นิวซีแลนด์
มีวินัย เกาหลี ฟินแลนด์ แคนาดา นิวซีแลนด์ อังกฤษ
รับผิดชอบ เกาหลี อินเดีย ญี่ปุ่น สวิส เยอรมัน
ตรงต่อเวลา ไต้หวัน ญี่ปุ่น สวิส เยอรมัน ฟินแลนด์ แคนาดา อังกฤษ
ละอายต่อการกระทำผิด  เกาหลี
เคารพคุณค่าความเป็นมนุษย์  ไต้หวัน แคนาดา นิวซีแลนด์
ใส่ใจในรายละเอียด ญี่ปุ่น สวิส

คุณสมบัติ 10 ประการของคุณญี่ปุ่น
1. ตรงต่อเวลา
2. รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3. ทำงานด้วยความกระตือรือร้น
4. สะอาดเป็นระเบียบ
5. อ่อมน้อมถ่อมตน ไม่พูดโอ้อวด
6. ประหยัด รู้คุณค่าของเงิน
7. พิถีพิถัน ใส่ใจในรายละเอียด
8. ซื่อสัตย์สุจริตไม่คดโกง ระลึกถึงบุญคุณผู้มีประคุณ
9. แยกแยะเรื่องส่วนตัวและความรับผิดชอบในหน้าที่
10. ทำงานเป็นทีม

การทำงานเป็นทีม ทำให้เกิดความรอบคอบในการตัดสินใจ
ทำให้สามารถมองเห็นข้อผิดผลาด ที่คนเดียวอาจมองไม่เห็น

สิ่งที่แตกต่างกันอยู่ด้วยกัน มักจะให้ประโยชน์มากกว่าสิ่งเดียวกันอยู่ร่วมกัน
หากเอาพวงมาลัย เครื่องยนต์ ล้อ ตัวถัง ฯลฯ มาประกอบกันเข้า จะเกิดเป็นรถยนต์
แต่ถ้าพวงมาลัยอยู่รวมกันสัก 10,000 ชิ้น มันก็เหมือนเป็นโกดังเก็บของดีๆนั่นเอง

สรุปกิจกรรม NASA EXERCISE
กฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการเกิดและดำรงอยู่ของทีม
1. ทุกคนในทีมต้องทราบเป้าหมายของทีมอย่างชัดเจน
2. ทุกคนในทีมต้องทราบ บทบาท และหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจน
3. มีการชี้แนะแนวทางปฎิบัติ
4. มีการสื่อความหมายให้ตรงกัน
5. เมื่อเกิดความขัดแย้งกัน ต้องรีบทำความเข้าใจกันใหม่
6. ถือว่าความสำเร็จของทีม มิใช่ของผู้ใดผู้หนึ่งในทีม
7. มีความไว้วางใจกัน และร่วมมือกันในระดับสูง
8. ต้องรับฟังความเห็นของผู้อื่น และให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) ซึ่งกันปละกัน

จงเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ อย่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา

ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้น ประโยคเหล่านี้ช่วยได้ไหม?
ทำไม่ได้หรอกยากเกินไป มาช่วยกันหาทางออกดีกว่า ไหนๆ ก็เกิดขึ้นแล้ว
ไม่ใช่เรื่องของฉัน ครั้งนี้ไม่สำเร็จลองพยายาม เลือกครั้งต่อไป
ไม่ใช่ปัญหาของฉัน จะติดต่อใครช่วยดี
ถ้าไม่เกิดเรื่องนี้ขึ้น ทุกอย่างจะดีกว่านี้ ลองหาทางเลือกใหม่ได้ไหม
เรื่องนี้ป่วนมากเลย เซ็งจริงๆ มาช่วยกันคนละไม่ละมือ

เพื่อความอยู่รอดของสังคมและองค์กร 
เกิดเป็นคนก็ต้องมีความผิดผลาดบ้าง
ผิดนิดผิดหน่อย ผิดน้อยผิดมากก็ว่ากันไป
ข้อสำคัญทำผิดเป็น ก็ต้องยอมรับข้อผิดผลาด

สรุปกิจกรรม "ปรอทอารมณ์"

เกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณโกรธ?

การวิเคราะห์ตามหลักพุทธศาสนา
เหตุการณ์ที่ 1 คิดตามหลักปัจเจกบุคคล
- ทำไมถึงทำกับฉันได้
- เป็นบุญของเราแล้วที่ไม่ถูกรถชน

เหตุการณ์ที่ 2 ด้านเวรกรรม และมนุษยธรรม
- กรรมมใดใครก่อ สมน้ำหน้า
- ต้องช่วยเหลือตามควร

เหตุการณ์ที่ 3 หลักเมตตาธรรม
- คงจะต้องทำทุกวิถีทางที่จะช่วยเหลือ
-  ...

จงอย่าโกรธเกลียดใคร       ถ้ารู้สึกเกลียดผู้อื่น
ที่ต้องพิษก่อนก็เป็นตัวเจ้า   ก่อนจะลามไปหาผู้อื่น
พิษเหล่านั้นจะทำลายหัวใจของเจ้าก่อนแน่

เปิดใจให้กว้าง ยอมรับฟังเหตุผลบ้าง
เราจะโกรธน้อยลง
แค่เปลี่ยนมุมคิดโลกก็เปลี่ยน
ลองมองสถานการณ์ที่เครียดและคับขัน
ในแง่สนุกบ้าง
การมองโลกในแง่ดี
คือกุญแจที่จะเปิดประตูแห่งความสุข

สรุปกิจกรรม "กระทรวง+งบประมาณ"

ทัศนคติ
 คือมุมมองที่สามารถเลือกให้กับชีวิต
- ทัศนคติที่มีต่อชีวิต เป็นตัวกำหนดว่าเรามองชีวิตอย่างไร
- ทัศนคติของเราที่มีต่อคนอื่น ก็จะกลายเป็นทัศนคติที่คนอื่นมีต่อเรา

สิ่งแวดล้อมรอบการจะดีหรือร้าย เราคือผู้สร้างขึ้นมาเอง
ความคิดที่ดีนี้แหละที่จะทำให้ทุกอย่างรอบกายมันดีขึ้นได้อย่างอัศจรรย์

คนที่มีทัศนคติไม่ดีจะเกิดผลร้าย
- ความคิดในแง่ลบทำให้สมองไม่แจ่มใส่
- การมองโลกในแง่ร้ายเป็นเหมือนโรคติดต่อ
- คนที่มองโลกในแง่ร้าย จะยิ่งทำให้เรื่องผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ

การปลูกฝังทัศนคติที่ดี
- ปฎิบัติกับคนอื่นอย่างดีที่สุด
- มองหาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวคนอื่น
- หลีกเลี่ยงเรื่องปลีกย่อยที่ไร้สาระ
- รู้จักให้
- อยากเห็นคนอื่นรอบกายมัความสุข

คุณธรรม 4 ประการ 
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย

ประการที่ 1 คือการรักษาความสัจ ความจริงใจ ต่อตัวเองที่จะปฎิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม

ประการที่ 2 คือการรู้จักข่มใจตัวเอง ฝึกใจตัวเองให้ประพฤติปฎิบัติในความดีนั้น

ประการที่ 3 คือการอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติปฎิบัติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใด

ประการที่ 4 คือการละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนโหญ่ของบ้านเมือง

สรุปกิจกรรมวันที่ 3
แบบทดสอบ MBIT
ผู้นำที่ดี
ผู้นำที่ดีต้องมีความรู้สำคัญ 2 ประการคือ
1) รู้จักตัวจริงของตนเอง
- รู้ไสต์การทำงานของตนเอง
- รู้นิสัยของตนเอง
- รู้ความสามารถของตนเอง

2) รู้จักตัวจริงของลูกน้อง
- รู้ไสต์การทำงาน
- อุปนิสัย และความสามารถ

19 แบบยอดผู้บริหาร
1. บินสูง
2. มุ่งการใหญ่
3. มองไกล
4. ใจกว้าง
5. ฟังความคิดเห็น
6. เน้นผลสัมฤทธิ์
7. คิดเป็นระบบ
8. คบหาคนดี
9. มีคุณธรรม
10. เป็นผู้นำปรับเปลี่ยน
11. เรียนรู้ต่อเนื่อง
12. ปราดเปรื่องฉลาด
13. ความสามารถโดดเด่น
14. เป็นสมองต้นคิด
15. มีจิตใจกล้าหาญ
16. มือประสานสิบทิศ
17. ดำเนินชีวิตตามแผน
18. ทดแทนคุณแผ่นดิน

สรุปกิจกรรม Vdo แมลง+กระบองเพชร
1. ปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากเรื่องอะไร
2. จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะแก้ไขอย่างไร
3. ท่านใช้หลักการอะไรในการแก้ไขปัญหา
4. เรื่องนี้ให้องค์ความรู้ในเรื่องใดบ้าง
5. จากเรื่องนี้ ท่านคิดว่าใครเป็นผู้สร้างปัญหา แบะท่านจะมีวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้สร้างปัญกาอย่าวไร
6. ในฐานะเราเป็นสมาชิกสังคมนี้ มีวิธีการตรวจสอบอย่างไร
7. ท่านประทับใจตัวละครใดมากสุด ด้วยเหตุผลใด
8. จากเรื่องนี้ท่านจะนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในการบริหารบ้านเมืองอย่างไร
9. ถ้าประเทศของเรามีปัญหาเช่นเดียวกับเรื่องนี้ ท่านคิดว่าบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร
10. จากเรื่องนี้ท่านจะสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมที่ดีอย่างไร
11. ถ้าเลือกท่านอยากเป็นตัวระครตัวใด เพราะเหตุใด
12. ถ้าไม่มีผู้นำการเปลี่ยนแปลง ท่านคิดว่าจะเป็นเช่นใด
13. จากตอนจบ ท่านคิดว่าสังคมกระบองเพชรจะเป็นเช่นใด
14. ท่านคิดว่าเรื่องนี้จะสื่อถึงเรื่องใดมากสุด
15. ท่านคิดว่าเราควรมีจิตสาธารณะอย่างไร

Concept Construction
- จิตสำนึกสาธรณะ
- หลักเศรษฐกิจพอเพียง
- หลักธรรมภิบาล

หลักธรรมภิบาล
- หลักนิติธรรม
- หลักคุณธรรม
- หลักความโปร่งใส
- การมีส่วนร่วม
- หลักความรับผิดชอบ
- หลักความคุ้มค่า

สรุปกิจกรรมแพชูชีพ

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ... เริ่มต้นที่ความคิด

คิดเป็น คิดดี คิดถูก

หากอยากทำการใดให้สำเร็จ ต้องพร้อมที่จะเปลี่ยน
- วิธีการติด
-วิธีการทำงาน
- วิธีการสื่อสาร

Self = อัตตา
- Self concept
- Ideal self
- Social self


20 กันยายน 2556

BUS 6010 : เอกสารบรรยาย Micro(2) 18/09/2556

ครั้งที่ 1 18/09/2556
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
บทที่ 2 การวิเคราะห์อุปสงค์ อุปทานและดุยลภาพ, การประยุกต์เพื่อใช้ในการตัดสินใจ


บทที่ 2 
การวิเคราะห์อุปสงค์ อุปทานและดุยลภาพ,
 การประยุกต์เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
-----------------------
การวิเคราะห์อุปสงค์
- อุปสงค์ (Demand)
- อุปทาน (Supply)
- ภาวะดุลยภาพ
- การประยุกต์วิธีการวิเคราะห์ดุลยภาพไปใช้ในกรณีต่างๆ

อุปสงค์ (Demand) 
อุปสงค์ หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้า หรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภค ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีอำนาจซื้อหรือมีความสามารถในการตอบสนองความต้องการนั้นๆ

ประเภทของอุปสงค์
1. อุปสงค์ที่เกิดขึ้นจริง (Effective Demand)
หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าที่เกิดขึ้นจริงๆ อันเนื่องจาก
- ความเต็มใจที่จะซื้อ
- ความสามารถที่จะซื้อ
- สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

2. อุปสงค์ศักยภาพ (Potential Demand)
หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าที่เป็นไปได้ ตามศักยภาพหรือความสามารถในการซื้อ คือ การที่มีอำนาจซื้อ แต่ยังไม่มีความต้องการซื้อในขณะนี้

3. อุปสงค์ทางตรง (Direct Demand)
หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าขั้นสุดท้ายของผู้บริโภค

4. อุปสงค์สืบเนื่อง (Derived Demand)
หมายถึง ความต้องการซื้อวัตถุดิบไปผลิตสินค้าที่ผู้บริโภคมีความต้องการ

5. อุปสงค์ส่วนบุคคล (Individual Demand)
เป็นความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคแต่ละคน ณ ระดับราคาใด ราคาหนึ่ง

6. อุปสงค์ของตลาด (Market Demand)
เป็นความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคในตลาดรวมกัน ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง

7. อุปสงค์ที่มีต่อหน่วยธุรกิจ (Firm Demand)
เป็นความต้องการซื้อสินค้าในตลาดที่ผลิตโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่ง

ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ 
- PA     ราคาสินค้าชนิดนั้น
- PB     ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง
- T      รสนิยม
- Y     รายได้
- Pop จำนวนประชากร
- A     การโฆษณาประชาสัมพันธ์

ฟังก์ชั่นอุปสงค์ (Demand function)
หมายถึง สมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการ กับปัจจัยต่างๆ ที่กำหนดความต้องการซื้อ

อุปสงค์ที่มีต่อสินค้า A = f(ราคาสินค้าA, ราคาสินค้าB, รสนิยม, รายได้, จำนวนประชากร, ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์)

DA = f(PA, PB, T, Y, Pop, A)

DA = f(PA) ฟังก์ชั่นอุปสงค์ต่อราคา

DA = f(Y) ฟังก์ชั่นอุปสงค์ต่อรายได้

DA = f(PB) ฟังก์ชั่นอุปสงค์ไขว้

กฎของอุปสงค์ (Law of Demand)
หมายถึง กฎที่ว่าด้วยระบบความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับปริมาณความต้องการซื้อสินค้านั้น ซึ่งกฎนี้จะกล่าวไว้ว่า "ราคาและปริมาณความต้องการซื้อสินค้าจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม"
ราคาสินค้า => ความต้องการซื้อ 
ราคาสินค้า => ความต้องการซื้อ 

ตารางอุปสงค์ (Demand Schedule)
ตารางอุปสงค์ คือ ตารางที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ในเวลาใดเวลาหนึ่ง
ราคา (P) ความต้องการซื้อ (Q)
10 40
20 30
30 20
40 10

เส้นอุปสงค์ (Demand Curve)
หมายถึง เส้นที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับปริมาณความต้องการซื้อ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่
การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ (Change in quantity demand)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความต้องการซึ่ง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยน แปลงราคาสินค้านั้นๆ เป็นการเปลี่ยนแปลงบนเส้นอุปสงค์เส้นเดียวกัน

การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ (Change in quantity demand)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความต้องการซื้อ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้านั้นๆ เป็นการเปลี่ยนแปลงบนเส้นอุปสงค์เส้นเดียวกัน

การเปลี่ยนแปลงเส้นอุปสงค์ (Change in demand)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความต้องการซื้อสินค้าโดยที่ราคาสินค้ามิได้เปลี่ยนไปแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงปัจจัยอื่นๆ ตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัวมีผลให้เส้นอุปสงค์เปลี่ยนๆปทั้งเส้น

ปัจจัยที่ทำให้เส้นอุปสงค์เปลี่ยนแปลง
1. ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง
   1) สินค้าทดแทนกัน (Substitution goods)

  2) สินค้าที่ต้องใช้ประกอบกัน (Complementary goods)
2. รายได้
  1) สินค้าปกติ (Normal goods)

 2) สินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior goods)

3. รสนิยม

4. จำนวนปะชากร

5. ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา

อุปสงค์ส่วนบุคคล (Individual demand)
หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคคนใดคนหนึ่ง ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง ในเวลาใดเวลาหนึ่ง

อุปสงค์ตลาด (Market demand)
หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคทุกคนรวมกัน ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง ในเวลาใดเวลาหนึ่ง

อุปสงค์ต่อราคา (Price demand)
ความสัมพันธ์ของปริมาณซื้อและราคาจะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามตามกฎอุปสงค์

อุปสงค์ต่อรายได้ (Income demand)
หมายถึง ปริมาณสินค้าที่มีผู้ต้องการซื้อ ณ ระดับต่างๆ กันของรายได้ โดยกำหนดให้สิื่งอื่นๆ คงที่

QA   =  f(Y)
QA   = ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า A
Y     =  รายได้

ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการซื้อสินค้ากับรายได้ จะมีลักษณะอย่างไร ขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้านั้นๆ

สินค้าปกติ (Normal goods)

สินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior goods)

อุปสงค์ไขว้ (Cross demand)
อุปสงค์ไขว้ หรืออุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น หมายถึงปริมาณสินค้าที่มีผู้ต้องการซื้อในขณะใดขณะหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ ของสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกัน โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆคงที่

QA  =  f(PB)
QA  =  ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า A
P  =  ราคาสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกันในที่นี้คือสินค้า B

สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (Complementary goods)

สินค้าที่ใช้ทดแทนกัน (Substitution goods)

อุปทาน (Supply)
หมายถึง ปริมาณ ความต้องการเสนอขายสินค้า ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง ในเวลาใดเวลาหนุ่ง โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆคงที่

ปัจจัยกำหนดอุปทาน
- PA   ราคาสินค้าชนิดนั้น
- PB   ราคาปัจจัยการผลิต
- C    ต้นทุนการผลิต
- T     เทคโนโลยี
- W   ปัจจัยอื่นๆ เช่น ธรรมชาติ

ฟังก์ชั่นอุปทาน (Supply function)
ฟังก์ชั่นอุปทาน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการกับปัจจัยที่กำหนดปริมาณที่กำหนดปริมาณความต้องการเสนอขาย

SA  = f(PA,  PB,  C,  T,  W)

SA  = f(PA)

กฎของอุปทาน (Law of Supply)
กฎของอุปทานเป็นกฎที่กล่าวถึงตวามสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับปริมาณการเสนอขายสินค้า "ปริมาณความต้องการขายสินค้าและราคาสินค้ามีความสัมพันธ์ไปในทศทางเดียวกัน"

ตารางอุปทาน (Supply Schedule)
เป็นตารางที่แสดงความสัมพันธ์ของราคาสินค้าและปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้า เมื่อกำหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่

ความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าและปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้า
ราคา (PA)ปริมาณเสนอขาย (QA)
220
425
630
835

เส้นอุปทาน (Supply Curve)
หมายถึง เส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าและปริมาณความต้องการขาย ณ เวลาใดเวลาหนึ่งโดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่

การเปลี่ยนแปลงเส้นอุปทาน (Change in Supply)
หมายถึง สภาวะที่อุปทานของสินค้าเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากปัจจัยอื่น นองจากราคาเปลี่ยนแปลงไปทีผลทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนไปทั้งเส้น


ปัจจัยที่ทำให้อุปทานเปลี่ยนแปลงไปทั้งเส้น
1. เทคโนโลยี (T)
     T ดีขึ้น เส้น S จะ shift ไปทางขวา

2. ราคาปัจจัยการผลิต (P)
    PF เพิ่ม เส้น S จะ shift ไปทางซ้าย
    PF ลด  เส้น S จะ shift ไปทางขวา

3. ต้นทุนการผลิต (C)
    C เพิ่ม เส้น S จะ shift ไปทางซ้าย
    C ลด เส้น S จะ shift ไปทางขวา

4. สภาพดินฟ้าอากาศ (W)
    W เพิ่ม เส้น S จะ shift ไปทางขวา
    W  ลด เส้น S จะ shift ไปทางซ้าย

อุปทานของหน่วยผลิตและอุปทานของตลาด
อุปทานของหน่วยผลิต หมายถึง ปริมาณต่างๆของสินค้าที่หน่วยผลิตหน่วยในหน่วยหนึ่ง ผลิตขึ้นมาหรือเสนอขาย ณ ระดับราคาสินค้าในขณะใดขณะหนึ่ง โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่ และเมื่อรวมปริมาณการเสนอขายของหน่วยผลิตทุกหน่วย ณ แต่ละระดับราคาก็จะได้อุปทานของตลาด

ภาวะดุลยภาพ (Equilibrium)
ปริมาณเสนอซื้อและปริมาณเสนอขายเท่ากันพอดีเรียกว่า ราคาดุลยภาพ (equilibrium price) และปริมาณดุลยภาพ(equilibrium quaintly)

ดุลยภาพของตลาด (Market equilibrium)
หมายถึง สภาพสมดุลที่เกิดขึ้น ณ ระดับราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อขายแล้ว ปริมาณเสนอซื้อเท่ากับปริมาณเสนอขายพอดี

 อุปทานส่วนเกิน (Excess supply) หรืออุปสงค์ส่วนขาด (Shortage Demand)


อุปสงค์ส่วนเกิน (Excess demand) หรืออุปทานส่วนขาด (Supply shortage)


การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพ
1. การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเส้นอุปสงค์


2. การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเส้นอุปทาน


3. การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทาน



การนำวิธีการวิเคราะห์ดุลยภาพไปประยุกต์ใช้ในกรณีต่างๆ
1. นโยบายการกำหนดราคาขั้นต่ำ (Minimum price policy)
เป็นนโยบายที่ช่วยสินค้าเกษตร และตลาดแรงงาน
 
 การประกันราคาขั้นต่ำ (หน้า37)
นโยบายการประกันราคาสินค้าเกษตร

รัฐบาลประกาศราคาประกันให้เท่ากับ OP1 ณ ระดับราคาประกันนี้ จะมีผู้เสนอซื้อเพียง QQ1 ขณะที่มีผู้เสนอขายเป็นจำนวนถึง OQ2 เกิดอุปทานส่วนเกินหรือสินค้่าเหลือขายจำนวน Q1Q
แก้ไขโดยวิธีการเพิ่มอุปสงค์ DDให้สูงขึ้น โดยการหาตลาดในประเทศและต่างประเทศ หรือรัฐบาลซื้อผลผลิตส่วนเกินเอง จำนวน Q1Q2 ในราคา P2P1

การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ  (หน้า38)
นโยบายการกำหนดอัตราค่าจ้่างขั้นต่ำ

รัฐบาลกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ระดับ OW2 ณ ระดับค่าจ้าง OW2 นายจ้างต้องการแรงงานจำนวน OL2 ขณะที่มีแรงงานต้องการทำงานถึง QL3 ทำให้เกิดการว่างงานขึ้นจำนวน L2L3
แก้ปัญหาโดยรัฐบาลต้องออกมาตราการแก้ไขปัญหาว่างงานที่จะเกิดขึ้น คือการพยายามเพิ่มอุปสงค์ DD1 ของแรงงาน โดยการหางานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ฝึกอบรมแรงงานให้มีความรู้ ความชำนาญมากขึ้น

2. นโยบายกำหนดราคาขั้นสูง (Maximum price policy)
เป็นนโยบายของสินค้าที่ผู้บริโภคทุกระดับรายได้จำเป็นต้องซื้อ เช่น นมผงสำหรับทารก, น้ำตาลทราย, น้ำมัน เป็นต้น

การกำหนดราึคาขั้นสูง (หน้า 39)
นโยบายการกำหนดราคาขั้นสูง

รัฐบาลประกาศกำหนดราคาขั้นสูงที่ระดับ OP1 ณ ระดับราคาขั้นสูง OP1 จะมีผู้เสนอซื้อจำนวน OQ2 ขณะที่มีผู้เสนอขายเพียง OQ1 ทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกินขึ้นจำนวน Q1Q2 ผลที่คตามมาคือ
1) จะเิิกิดการขายในลักษณะใครมาก่อนได้ก่อน คิวรอซื้อยาว
2) อาจเกิดการลดลงในคุณภาพหรือให้บริการหลังการขาย
3) เกิดลักลอบการขายสินค้าหลังร้าน
เพื่อให้นโยบายการกำหนดราคาขั้นสูงดำเนินต่อไปได้ รัญบาลจึงต้องใช้นโยบายอื่นควบคู่ไป โดยการเพิ่มอุปทาน SS1 สินค้าชนิดนี้ให้มากขึ้น เช่น นำเข้าสินค้า ปันส่วนเพื่อกระจายสินค้า เป็นต้น

3. การเก็บภาษีสินค้า

กรณีการเก็บภาษีต่อหน่วยจากผู้ขาย (หน้า 41)
ผลการเก็บภาษีต่อหน่วยจากผู้ขาย

ก่อนเก็บภาษี จุดดุลยภาพอยู่ที่จุด E  เมื่อมีการเก็บภาษีต่อหน่วยจากผู้ขายจะมีผลให้เส้นอุปทานเคลื่อนจากเส้น S มาเป็นเส้น S1 (S=>S1) ผู้ขายยินดีที่จะขายก็ต่อเมื่อราคาขายต่อหน่วยสูงขึ้นกว่าเดิมเท่ากับภาษีต่อหน่วยที่สูงขึ้น ดังนั้นช่วงห่างของเส้นอุปทานเดิมกับเส้นอุปทานใหม่ ในแนวตั้งจะเท่ากับภาษีต่อหน่วย PP1  จำนวนภาษีต่อหน่วยที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผู้ขายคือ AE1 (ภาระของผู้ซื้อ BE1 และภาระผู้ขาย AB)

กรณีเก็บภาษีต่อหน่วยจากผู้ซื้อ (หน้า 42)
ผลของการเก็บภาษีต่อหน่วยจากผู้ซื้อ

ก่อนเก็บภาษี จุดดุลยภาพอยู่ที่จุด E เมื่อรัฐบาลเรียกเก็บภาษีต่อหน่วยจากผู้ซื้อ ทำให้เส้นอุปสงค์เลื่อนระดับต่ำลงมาจากเส้น D มาเป็นเส้น D1 โดยช่วงห่างตามแนวตั้งเท่ากับภาษีต่อหน่วยที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผู้ซื้อ BE1 (ภาระของผู้ขาย AE1 และภาระของผู้ซื้อ AB)












19 กันยายน 2556

BUS 6010 : เอกสารบรรยาย Micro(1) 18/09/2556

BUS 6010 : Business Economics (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)
ส่วนที่ 1 เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro) รศ.อติ ไทยานันท์ โทร.086-755-1680
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ (อาคารใหม่) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วิธีการประเมิน เข้าชั้นเรียน 10%  Quiz 20%  Final 20%  ข้อสอบอัตนัย(open book)

ครั้งที่ี 1
18/09/2556
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
บทที่ 2 การวิเคราะห์อุปสงค์ อุปทานและดุยลภาพ, การประยุกต์เพื่อใช้ในการตัดสินใจ

บทที่ 1 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
--------------------------

ความหมายและลักษณะทั่วไปของวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัำพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปใช้ในทางเลือกต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความพอใจมากที่สุด

ความต้องการของมนุษย์
หมายถึง ความต้องการสินค้า บริการ และความสะดวกสบาย ความความต้องการนี้จะแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล ระยะทางและสถานที่ ความต้องการของมนุษย์เพื่อให้เกิดความพอใจ มักจะมีมากกว่าสินค้าและบริการที่มีอยู่

ทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์
หมายถึง ปัจจัยการผลิตที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ได้แก่
- ที่ดิน : รวมไปถึงปุ๋ยในดิน สภาพภูมิอากาศ ป่าไม้ แร่ธาตุ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ
- แรงงาน : รวมไปถึงความสามารถของมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจ
- ทุน : รวมไปถึงเครื่องมือ เครื่ิองจักร โรงงาน สิ่งประดิษฐ์ เงินทุน
- ผู้ประกอบการ : ผู้ทำหน้าที่ในการจัดหาทุน

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
- ผลิตสินค้าอะไร (What  to produce)
- ผลิตอย่างไร (How to produce)
- ผลิตเพื่อใคร (For whom to produce)

ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)
1. ระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการวางแผน (Unplanned Economy) 
หรือบางแห่งเรียกว่าระบบเศรษฐกิจเอกเชน (Private enterprise economy) เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีเอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
2. ระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนเต็มที่ (Planned Economy)
หรือบางแห่งเรียกว่าระบบสังคมนิยมภาคบังคับ (Authoritarian socialism) เป็นระบบที่มีการวางแผนจากส่วนกลางรัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Semi-Planned Economy)
หรือบางแห่งเรียกว่า Mixed Economy เป็นระะบที่รัฐบาลและเอกชนรับผิดชอบร่วมกัน

การแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1. ระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการวางแผน หรือระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
2. ระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนเต็มที่่หรือสังคมนิยม
3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม

วงจรเศรษฐกิจ
1. ตลาดปัจจัยการผลิต (Factor market)
    1) ครัวเรือนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
    2) หน่วยธุรกิจจะจ่ายค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย กำไร
2. ตลาดสินค้า (Product market)
   1) หน่วยธุรกิจจะรวบรวมซื้อปัจจัยการผลิต
   2) ครัวเรือนจะซื้อสินค้าเพื่อการบริโภค


รูปแบบการวิเคราะห์ทางเศรษฐาศาสตร์
1. เศรษฐาศาสตร์ที่เป็นจริงและเศรษฐาศาสตร์ที่ควรจะเป็น
    - เศรษฐาศาสตร์ที่เป็นจริง (Positive Economics)
    - เศรษฐาศาสตร์ที่ควรจะเป็น (Normative Economics)
2. การวิเคราะห์สภาพสถิต สภาพสถิตย์เปรียบเทียบ และสภาพพลวัต
    - การวิเคราะห์สภาพสถิตย์ (Static Analysis)
    - การวิเคราะห์สภาพสถิตเปรียบเทียบ (Comparative Static)
    - การวิเคราะห์สภาพพลวัต (Dynamic Analysis)
3. การวิเคราะห์เฉพาะส่วนและการวิเคราะห์คลุมทุกส่วน
    - การวิเคราะห์เฉพาะส่วน (Partial Analysis)
    - การวิเคราะห์ทุกส่วน (General Analysis)

ข้อสมมติทางเศรษฐาสตร์ (Economic assumptions)
1. มนุษย์จะดำเนินการตัดสินใจอย่่างทีเหตุผลทางเศรษฐกิจ (Economic rationality)
2. สิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากที่กำลังพิจารณาอยู่กำหนดให้คงที่ (Ceteris paribus)

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro economics)
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macro economics)


อยากรู้เรื่องทฤษฎีการตลาดกับผู้เชี่ยวชาญ ผมแนะนำ M.B.A. (Marketing) Ramkhamkaeng .. แต่ถ้าอยากรู้ว่าเรียนการตลาดแล้วจะประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินได้อย่างไร คุณต้องมีโค้ชแนะนำ ครับ

วางแผนการเงินกับ #finadvisor #ความมั่งคั่งเริ่มต้นที่นี่ finadvisor.co
โค้ชส่วนตัว ช่วยวางแผน

×
News