28 ตุลาคม 2556

BUS 6010 : Final @ 03/11/2013

สรุปแนวข้อสอบ Final BUS 6010 @ 03/11/2013

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (อ.อติ) 
ข้อสอบ 4 ข้อ (เลือกทำ 3 ข้อ) 20 คะแนน 
1. คำนวณจุดคุ้มทุน 1 ข้อ (บทที่ 7)
2. คำนวณกำไรสูงสุด 1 ข้อ (บทที่ 7)
3. อธิบายและวาดกราฟตลาดระยะสั้น 1 ข้อ (บทที่ 8)
4. อธิบายและวาดกราฟตลาดระยะยาว 1 ข้อ (บทที่ 8)

เศรษฐศาสตร์แนวมหภาค (อ.สมรักษ์) 
ข้อสอบ 3 ข้อ มีข้อย่อย ก และ ข (เลือกทำ 2 ข้อ) 50 คะแนน 
*** ที่อาจารย์เน้นคาบเรียนสุดท้าย ***
1. ทฤษฎีการคำนวนรายได้ประชาชาติ 4 วิธี คือ
     1) Y=AE
     2) I=S injection withdrawal
     3) AD AS
     4) IS LM 
2. เรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน เปรียบเทียบเงินบาทกับเงินดอลจะมีผลอย่างไรกับระบบเศรษฐกิจมีผลอย่างไร ต่อการนำเข้าส่งออกของประเทศ 
3. เรื่องวัฎจักรธุรกิจ business cycle ว่ามันมีกี่ระยะ และมันมีปัจจัยอะไรบ้าง

 สรุปเนื้อหาหลักๆมีประมาณนี้
 * อ่านชีสของนัท https://www.facebook.com/groups/266357016838338/ต_วอย_างแนวข_อสอบมหภาค.pdf
* อ่านชีสของจุ๊บแจง https://www.facebook.com/download/559638777441471/สร_ปเน__อหาส_วนของอาจารย_ค_ม.zip
* อ่านชีสของแมน https://www.facebook.com/download/1374724109435537/แนวข_อสอบมหภาคจากร__นพ__ลองด_คร_บ_จากน_องman.pdf

น่าจะเป็นแนวทางในการสอบได้พอสมควร เพราะในชีสเค้าสรุปเนื้อหาไว้ครอบคลุมมาก

ขอบคุณน้องแมน น้องแจง น้อง นัท และน้อง(พี่)กุ้ง และที่ไม่ได้เอยนาม ที่พยายามหารวบรวบข้อมูลและแบ่งปันให้กับเพื่อนๆ พี่ๆ ทุกๆคน

 เปลี่ยนความคิด ชีวิตเปลี่ยน Mindsets Change your Life  
Mindsets เป็นสิ่งกระตุ้น ในการกระทำที่ส่งให้เกิดความสำเร็จ เช่น ถ้าเราคิดว่า เราจะสอบผ่าน เราจะผ่าน ถ้าเราคิดว่า ทำไม่ได้ เราจะไม่มีทางสอบผ่าน

21 ตุลาคม 2556

BUS 6010 : บทที่ 5 การวิเคราะห์การผลิต Micro(5)

บทที่ 5 การวิเคราะห์การผลิต

การผลิต หมายถึง กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตที่ผ่านเข้าไปในกระบวนการผลิตออกมาเป็นผลผลิต

ปัจจัยการผลิต
1. ปัจจัยคงที่ (Fixed factors)
2. ปัจจัยผันแปร (Variable factors)

ระยะเวลาที่ใช้ในการผลิต
1. ระยะสั้น (Short run period)
2. ระยะยาว (Long run period)

ฟังก์ชั่นการผลิต หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิตกับผลผลิต

     Q  =  f(X1, X2, ... , Xn)

ฟังก์ชั่นการผลิต อาจเขียนให้อยู่ในรูปสมการ
หรือ

ฟังก์ชั่นการผลิตอาจเขียนให้อยู่ในรูปของตาราง
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิตกับผลผลิตในระยะสั้น


ผลผลิตหน่วยสุดท้าย (Marginal Product : MP)
หมายถึง ปริมาณผลผลิตที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ปัจจัยการผลิตผันแปรไปหนึ่งหน่วย

ผลผลิตเฉลี่ย (Average Product : AP)
หมายถึง  ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยของปัจจัยการผลิตผันแปร
AP  =   TP
            VF
โดยที่  AP  =  ผลผลิตเฉลี่ย
           TP   =  ผลผลิตรวม
           VF   = ปัจจัยผันแปรที่ใช้ในการผลิต

ผลผลิตหน่วยสุดท้าย (Marginal Product : MP)
หมายถึง ปริมาณผลผลิตที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ปัจจัยการผลิตผันแปรไปหนึ่งหน่วย
MP  =  ΔTP
            ΔVF
โดยที่  ΔTP  = ปริมาณการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตทั้งหมด
            ΔVF = ปริมาณการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยผันแปร

ถ้าฟังก์ชั่นการผลิต คือ

Q  =  ∂0  +  ∂1K  +  ∂2L

โดยที่ Q = ปริมาณการผลิต
           K = ปัจจัยทุนซึ่งคงที่
           L  = ปัจจัยแรงงานซึ่งผันแปรได้
MP   =  ∂Q
             ∂L

การผลิตในระยะสั้น
ในระยะสั้นผู้ผลิตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตได้ทุกชนิด ดังนั้นในการผลิต จึงมีทั้งปัจจัยคงที่และปัจจัยผันแปร ถ้าเราให้ K (ทุน) และ L (แรงงาน) คือปัจจัยการผลิตที่ใช้อยู่ โดยกำหนดให้ทุนมีจำนวนคงที่ Q คือผลผลิต ดังนั้นเราอาจเขียนฟังก์ชั่นการผลิตได้ว่า

Q  =  f(L,K)
Q  =  f(L)

                               เส้นฟังก์ชั่นการผลิต   


กฎการลดลงของผลที่ได้หรือกฎการลดน้อยถอยลง (Law of diminishing returns)
 "เมื่อมีการใช้ปัจจัยการผลิตชนิดใดชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น ร่วมกับการใช้ปัจจัยการผลิตอื่นที่มีจำนวนคงที่ ผลผลิตที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มการใช้ปัจจัยการผลิตที่ผันแปร (MP) ในระยะแรกจะเพิ่มขึ้น ต่อมาจะลดลง และในที่สุดก็จะติดลบ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิตและผลผลิตในระยะสั้นจะเป็นไปตามกฎการลดลงของผลได้ (Law of diminishing returns)"


เส้น MP  ค่า MP ได้จากค่ามุม Tan ของเส้นสัมผัสกับเส้น AP
เส้น AP   ค่า AP ได้จากค่ามุม Tan ของเส้นที่ลากจากจุด O ไปตัดกับเส้น TP

การผลิตในระยะยาว
หมายถึง การผลิตที่หน่วยธุรกิจสามารถเปลี่ยนแปลงขนาดหรือปัจจัยการผลิตทุกชนิด

การใช้ปัจจัยผันแปรมากกว่าหนึ่งชนิดผลิตสินค้าหนึ่งชนิด

Q   =   f(V1,  V2,  V3, .... , Vn)

เพื่อให้ง่ายต่อกาศึกษา ในการวิเคราะห์เรามักจะสมมติให้มีการใช้ปัจจัยผันแปรเพียงสองชนิดเท่านั้น แรงงานและทุน ฟังก์ชั่นการผลิตจะเขียนได้ว่า

Q   =   f(L,K)

เส้นผลผลิตเท่ากัน
คือ เส้นที่แสดงส่วนผสมต่างๆ ของปัจจัยการผลิตตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปที่ให้ผลผลิตจำนวนเดียวกัน

ลักษณะของเส้นผลผลิตเท่ากัน
- เส้นผลผลิตเท่ากัน จะเป็นเส้นต่อเนื่องลาดจากซ้ายลงมาทางขวา
- เส้นผลผลิตเท่ากัน จะไม่ตัดกันหรือสัมผัสกัน
- เส้นผลผลิตเท่ากัน จะสามารถแสดงการวัดออกมาในรูปของหน่วยผลิตที่แน่นอนได้
- เส้นผลผลิตเท่ากัน จะเป็นเส้นโค้งเว้าเข้าหาจุดกำเนิด

อัตราสุดท้ายของการใช้แทนกันทางเทคนิคของปัจจัยการผลิต (marginal rate of technical substitution : MRTS) คืออัตราส่วนระหว่าง จำนวนปัจจัยการผลิตชนิดหนึ่งที่ลดลง ต่อ จำนวนปัจจัยการผลิตอีกชนิดหนึ่งที่เพิ่มขึ้นจากการเคลื่อนตัวไปบนเส้นผลผลิตเท่ากันเส้นเดียวกันหมายถึง ค่าที่บอกให้รู้ว่า เมื่อเพิ่มปัจจัยการผลิตชนิดหนึ่งขึ้นหนึ่งหน่วยแล้ว จะสามารถการใช้ปัจจัยการผลิตอีกชนิดหนึ่งลงได้จำนวนเท่าใด โดยผลผลิตที่ได้รับมีจำนวนคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
                              การหาค่า MRTSLK

ถ้าให้ฟังก์ชั่นการผลิต
Q    =  f(L,K)
dQ  =  ∂f .dL  +  ∂f .dK
           ∂L           ∂K
MRTSLK  =   ΔK
                      ΔL
MPL         =  ΔTP  = dTP
                      ΔL       dL
MPK         =  ΔTP  = dTP
                     ΔK       dK

MRTSLK  =   MPL
                   MPK

ความสัมพันธ์ระหว่าง MRTS และ MP 
เมื่อผู้ผลิตเพิ่มการใช้ปัจจัยการผลิตชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นเื่รื่อยๆ เพื่อใช้แทนปัจจัยการผลิตอีกชนิดหนึ่งที่มีจำนวนลดลง โดยคงจำนวนผลผลิตไว้เท่าเดิม อัตราสุดท้ายของการใช้ปัจจัยแทนกันทางเทคนิคระหว่างปัจจัยการผลิตทั้งสองจะค่อยๆลดลง

(กราฟ)

กฎผลได้ต่อขนาด
ผลได้ต่อขนาด (returns to scales) หมายถึง ส่วนเปลี่ยนแปลงในการผลิตเมื่อปัจจัยการผลิตทุกชนิดที่ใช้เปลี่ยนแปลงไปในสัดส่วนเดียวกัน

1. ผลได้ต่อขนาดเพิ่มขึ้น (increasing returns to scales)
หมายถึง อัตราการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของปัจจัยการผลิต

2. ผลได้ต่อขนาดลดลง (decreasing returns to scales)
หมายถึง อัตราการเพิ่มขึ้นของผลผลิตต่ำกว่าอัตราเพิ่มขึ้นของปัจจัยการผลิต

3. ผลที่ได้ต่อเนื่องคงที่ (constant returns to scale)
หมายถึง อัตราการเพิ่มขึ้นของผลผลิตเท่ากับอัตราการเพิ่มขึ้นของปััจัยการผลิต

การเพิ่มขึ้นของผลได้ต่อขนาดเป็นผลมาจาก
1. ในขณะที่ขนาดการผลิตขนาดใหญ่ขึ้นๆ แรงงานแต่ละคนจะสามารถได้รับการฝึกอบรม และมอบหมายให้ทำหน้าที่การงานอันใดอันหนึ่งที่ตนมีความชำนาญเป็นพิเศษเฉพาะเนื่องจากขณะนี้ปริมาณงานแต่ละหน้าที่มีมากพอ ผลผลิตย่อมเพิ่มขึ้นได้มาก
2. ในการผลิตขนาดใหญ่นั้น ย่อมเป็นการคุ้มที่จะนำเครื่องจักรเครื่องมือที่มีลักษณะพิเศษเข้ามาใช้
3. ในกระบวนการผลิตโดยปกติ เรามักพบว่าการดำเนินการผลิตในขนาดใหญ่ จะให้ประสิทธิภาพทางเทคนิคที่สูงกว่าการดำเนินการในขนาดเล็ก

(กราฟ)

เส้นต้นทุนเท่ากัน (Isocost line)
คือ เส้นที่แสดงส่วนประกอบต่างๆกันของปัจจัยการผลิตตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ที่ซื้อได้ด้วยเงินทุนจำนวนเดียวกัน

ถ้าให้ราคาปัจจัย L คือ W และราคาปัจจัย K คือ r เป็นราคาที่คงที่โดยตลอดไม่ว่าผู้ผลิตจะซื้อปัจจัยทั้งสองชนิดเป็นจำนวนเท่าใดก็ตามจากเงินงบประมาณที่ผู้ผลิตมีอยู่จำนวนหนึ่ง (C) เราสามารถเขียนฟังก์ชั่นของเส้นต้นทุนเท่ากันได้ ดังนี้

WL + rK  =  C

หรือ    K  =  C  -  W . L
                     r       r        

การเปลี่ยนแปลงของเส้นต้นทุนเท่ากัน

ส่วนผสมที่ดีที่สุดจากการใช้ปัจจัยการผลิตสองชนิดผลิตสินค้าหนึ่งชนิด
ส่วนผสมที่ดีที่สุดที่กล่าวนี้ จะหมายถึงส่วนผสมของปัจจัยการผลิตสองชนิดที่ให้ต้นทุนต่ำสุดสำหรับปริมาณการผลิตจำนวนหนึ่งๆ หรือจะหมายถึงส่วนผสมของปัจจัยการผลิตสองชนิดที่ให้ผลผลิตสูงสุดสำหรับต้นทุนจำนวนหนึ่งๆ ก็ได้
Slop ของ Isocost   =    C/r 
                                   C/w
                              =   C . w
                                    r    C
                              =  
                                    r
ที่จุดสัมผัส             =  PL
                                   PK
MRTSLK                =   PL
                                   PK  
                      MPL =  PL
                      MPK     PK

ผลของการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิต ผลของการใช้แทนกัน และผลของราคา

C1 = อัตราค่าจ้างสูงขึ้น ใช้แรงงานได้น้อยลง ใช้ทุนเท่าเดิม
E1 = ทุนและค่าจ้างไม่เปลี่ยนแปลง
E2 =
E3 = ค่าจ้างสูงขึ้นใช้แรงงานได้น้อยลงใช้ทุนเพิ่มขึ้น

ผลของการใช้แทนกัน คือ
ลด L จาก OL1 =>  OL2

ผลของการลดการผลิต คือ
ลด L จาก OL =>  OL3

ผลของการใช้แทนกัน + ผลของการลดผลผลิต คือ ผลของราคา
L1L2  +  L2L3  =  L1L3



19 ตุลาคม 2556

BUS 6010 : แนวข้อสอบเศรษฐศาสตร์มหาภาค บทที่ 3

แนวข้อสอบเศรษฐศาสตร์มหาภาค
บทที่ 3 ทฤษฏีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ (Income Expenditure Approach)


ข้อ 1 เลืิอกทำข้อ ก. หรือข้อ ข. เพียงข้อเดียว

ก) ให้อธิบายกระบวนการการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ จากวิธี Income Expenditure Approach กรณีที่ระบบเป็นระบบเปิดและมีภาครัฐบาล จงอธิบายพร้อมทั้งเขียนรูปประกอบคำอธิบายมาด้วย

คำตอบ:
ระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพจะอยู่ ณ ระดับรายได้ตำแหน่งตรงที่ รายได้ประชาชาติเท่ากับความต้องการการใช้จ่ายมวลรวม เขียนให้อยู่ในรูปของสมการได้ดังนี้

          Y    =  AE
โดย   Y    =  National Income (รายได้ประชาชาติ)
          AE  =  Desired Aggregate Expenditure (ความต้องการใช้จ่ายมวลรวม)

กรณีระบบเปิด และมีภาครัฐบาล
           AE =  C + I + G + X - IM 
โดย    C   =  Desired Consumption Expenditure (ความต้องการใช้จ่ายในการบริโภคของครัวเรือน)
           I    =  Desired Investment Expenditure (ความต้องการใช้จ่ายในการลงทุน)
          G   =  General Government Expenditure on Consumption and investment
                    ( รายจ่ายรัฐบาลทางด้านการบริโภค และการลงทุน)
          X   =  Exports of Goods and Services
ดังนั้น Y  =  C + I + G + X -IM (AE)

การเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ โดยศึกษาจากวิธี Income-Expenditure Approach พบว่าฟังก์ชั่น AE หรือเส้น AE  มีบทบาทสำคัญในการกำหนดมูลค่าของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงเส้น AE จึงมีผลต่อการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรายได้ประชาชาติดุลยภาพด้วย

การเปลี่ยนแปลงมี 2 รูปแบบคือ


  
 

12 ตุลาคม 2556

BUS 6010 : เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (Business Economics)

สรุป BUS 6010 เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (Business Economics)
เอกสารประกอบการบรรยาย รศ.คิม ไชยแสงสุข

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)
บทที่ 1 บทนำว่าด้วยเศรษฐศาสตร์มหาภาค
บทที่ 2 ระเบียบ วิธีการคำนวณสถิติรายได้ประชาชาติ
บทที่ 3 ทฤษฎีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
บทที่ 4 บทบาทของรัฐ การนำเข้าและส่งออกในระบบเศรษฐกิจ
บทที่ 5 รายได้ประชาชาติและระดับราคา
บทที่ 6 บทบาทด้านอุปทานรวม
บทที่ 7 การวิเคราะห์ดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจ โดยใช้แบบจำลอง IS-LM หรือวิธีดุลยภาพทั่วไป
บทที่ 8 วัฏจักรธุรกิจ
บทที่ 9 การเงิน การธนาคาร และนโยบายการเงิน
บทที่ 10 บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจระดับมหภาค
บทที่ 11 ปัญหาเศรษฐกิจมหาภาคและนโยบายเพื่อการแก้ปัญหา
บรรยาย: รศ. สมรักษ์ รักษาทรัพย์

สรุปเนื้อหาส่วนของอาจารย์คิม(Macro) เรื่อง Macro-Economics, Marco-Theory, Marco บทที่ 6-8

แนวข้อสอบเศรษฐศาสตร์มหาภาค:
บทที่ 3 ทฤษฏีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ (Income Expenditure Approach)

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics)
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
บทที่ 2 การวิเคราะห์อุปสงค์และอุปทาน
บทที่ 3 ความยืดหยุ่น
บทที่ 4 การประมาณอุปสงค์
บทที่ 5 การวิเคราะห์การผลิต
บทที่ 6 การวิเคราะห์ต้นทุน
บทที่ 7 ทฤษฏีกำไรและการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
บทที่ 8 โครงสร้างตลาด การกำหนดราคาและปริมาณการผลิตของผู้ผลิตในตลาดต่างๆ
บรรยาย: รศ. อติ ไทยานันท์

BUS 6010 : บทที่ 3 ทฤษฎีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ Macro(3)

BUS 6010 เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (Business Economics) : เศรษฐศาสตร์มหภาค
บรรยาย: รศ. สมรักษ์ รักษาทรัพย์

บทที่ 3 ทฤษฎีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
(Income Determination Theory)

จุดประสงค์สำคัญของบทที่ 3 ถึงบทที่ 7 คือ
1. ต้องการอธิบายกระบวนการเกี่ยวกับการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
2. การเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
3. ขนาดการเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติดุลยภาพว่าเปลี่ยนแปลงมากน้อยขึ้นกับเหตุปัจจัยใด?

ซึ่งตามหลักทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค รายได้ประชาชาติดุลยภาพนั้น สามารถกำหนดขึ้นมาได้จากวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
(1)  Income – Expenditure Approach
(2)  Withdrawal – Injection Approach
(3)  Aggregate Demand – Aggregate Supply Approach
(4)  General Equilibrium Approach

(1) Income – Expenditure Approach

Income หมายถึง National Income หรือรายได้ประชาชาติ
Expenditure หมายถึง Desired Aggregate Expenditure หรือความต้องการใช้จ่ายมวลรวม
ระดับที่มีดุลยภาพ คือ รายได้ประชาชาติ(Y) เท่ากับ ความต้องการใช้จ่ายมวลรวม(AE)

เขียนเป็นสมการรายได้ประชาชาติดุลยภาพได้ดังนี้

Y    =  AE

Y    =  Total Output (ระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ)
AE  =  Desired Aggregate Expenditure (ความต้องการใช้จ่ายมวลรวม)
C    =  Desired Consumption Expenditure (ความต้องการด้านค่าใช้จ่ายในครัวเรือน)
I     =  Desired Investment Expenditure (ความต้องการการด้านการลงทุนภาคเอกชนเบื้องต้น )
G    =  Desired Government Expenditure (ความต้องการด้านรายจ่ายรัฐบาล)
X    =  Desired Export of Goods and Service (ความต้องการด้านมูลค่าการส่งออก)
IM  =  Desired Import of Goods and Service (ความต้องการด้านมูลค่าการนำเข้า)

AE    =  C + I + G + X – IM    ---------- ใช้ค่า Desired Value หรือ Planed Value
   
GDP  =  Ca + Ia + Ga + Xa – Ma -------- ใช้ค่า Actual Value

ระบบปิดไม่มีรัฐบาล  AE = C + I

กรณีสมมติให้ระบบเศรษฐกิจเป็นระบบปิดไม่มีภาครัฐบาล ในกรณีเช่นนี้ก็จะได้ว่า

AE  =  C + I

Consumption Function
C   =  f (Yd, t, i, A, E, L…..) ----------------------(1)
C   =  Desired Consumption Expenditure
Y =  Disposable Income
t     =  Tax Rate
 i    =  Interest Rate
A   =  Consumer’s Wealth
E   =  Expectation
L   =  Consumer’s Debt
S   =  Desired Saving
S   =  f (Yd, t, i, A, E, L…..) ----------------------(2)
C  =  f (Yd)                         ----------------------(3)
S  =  f(Yd)                            ----------------------(4)

 dC > O  ทั้งนี้โดย  dC  คือตัว MPC  ซึ่งย่อมาจาก Marginal propensity to consume  
dYd                       dYd
ซึ่งหมายถึง ตัวที่บอกให้รู้ ว่าเมื่อ Disposable Income ได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น หนึ่งหน่วยแล้ว จะมีผลทำให้ความต้องการใช้จ่าย (Desired Consumption Expenditure) เพิ่มขึ้นเท่าไร

 dS > O ทั้งนี้โดย  dS  คือตัว MPS ซึ่งย่อมาจาก Marginal propensity to Save
dYd                     dYd
ซึ่งหมายถึง ตัวที่บอกให้รู้ว่าเมื่อ Disposable Income ได้เพิ่มขึ้นหนึ่งหน่วยแล้ว จะทำให้ความต้องการออม (Desired Saving) เพิ่มขึ้นเท่าไร

ความสัมพันธ์ของ MPC กับ MPS

MPC + MPS = 1 เสมอ ทั้งนี้ก็เพราะว่า

Yd     =  C  +  S                และ
dYd   =   dC  +   dS         หรือ
dYd       dYd      dYd
Yd   =   C  +           หรือ
Yd        Yd      Yd


APC และ APS

 C      =  APC ซึ่งย่อมาจาก Average propensity to consume
 Yd
 S       = APS ซึ่งย่อมาจาก  Average propensity to Save
Yd

APC + APS  = 1  เสมอ

1 = APC + APS

ทำไม O   <   MPC    <   1   และ
          O    <  MPS     <  1

Quiz:
- ณ ระดับรายได้ประชาชาติ ณ จุด Break Even  APC = 1 เพราะอะไร?
   ณ ระดับรายได้ที่ C = Yd  เรียกระดับรายได้นี้ว่า break even

- ณ ระดับรายได้ประชาชาติที่ต่ำกว่า Break Even  APC > 1  and  APS > 0 เพราะอะไร?
   ณ ระดับรายได้ที่ต่ำกว่า break even แสดงว่า C > Yd ซึ่งหมายถึงการใช้จ่ายบริโภคจะมีค่ามากกว่ารายได้ ณ ภาวะนี้การออมจะติดลบ 

- ณ ระดับรายได้ประชาชาติที่สูงกว่า Break Even O < APC < 1  and  O  <  APS  <  1
  and  APC + APS  = 1  เพราะอะไร?
   ณ ระดับรายได้ที่สูงกว่า break even แสดงว่า C < Yd ซึ่งในช่วงนี้เป็นต้นไป การออมจะเริ่มมีค่าเป็นบวก

Consumption function  ของ J. M. Keynes ซึ่งมี Hypothesis ว่าความต้องการใช้จ่ายในการบริโภคเป็น Function เส้นตรงของ Disposable Income ดังสมการที่ (5)
                     C  =   Co + MPC Yd         ------------------------(5)

เพราะฉนั้น    S  =  Yd -  Co -  MPC. Yd   ------------------------(6)
                     S  =  - Co +  (1 - MPC) Yd
                    S  =  - Co +  MPS Yd                                          

ดังนั้น  Saving function  คือ  S  =  - Co + MPS. Y

ความต้องการใช้จ่ายในการลงทุน (Desired Investment Expenditure)
(1) รายจ่ายที่หน่วยธุรกิจต้องการใช้จ่ายเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่
(2) รายจ่ายที่หน่วยธุรกิจต้องการใช้จ่ายเพื่อก่อสร้างโรงงานใหม่
(3) การเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงคลัง

I = f (i,  Y,  ¶,  E,  Cf ,  Te …..)     ----------(7)
I = Desired Investment Expenditure
i = Interest rate
Y = National Income
= Expected profit
E = Expectation
Cf = Confidence
Te = Change in Technology

ความหมายของคำว่า การใช้จ่ายที่ถูกชักนำหรือการใช้จ่ายแบบจูงใจ (Induced Expenditure)  กับการใช้จ่ายแบบคงที่หรือการใช้จ่ายที่ไม่ถูกชักนำ (Autonomous Expenditure)

การกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติจากวิธี Income – Expenditure Approach
Income – Expenditure Approach
Y AE  
โดย = National Income
AE Desired Aggregate Expenditure

ซึ่งในกรณีระบบเศรษฐกิจปิด  (Closed Economy)  และไม่มีภาครัฐบาลพบว่า
AE = C + I โดย
C = Desired Consumption Expenditure
I = Desired Investment Expenditure

ตารางที่  3
The Aggregate Expenditure Function in a Closed
Economy with No Government  (billions of dollars)

จากตารางที่  3  เมื่อ   AE = C + I     โดย    
 C   =  100 + 0.8Yd  และ  I = 250    ดังนั้น   AE = 100 + 0.8Yd + 250 ซึ่งสรุปได้ว่าเท่ากับดังนี้
AE  =  350 + 0.8Y    (สมมติว่า Y = Yd)


ความโน้มเอียงในการใช้จ่าย (Marginal Propensity to Spend)
คำนวณมาจากสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงของความต้องการใช้จ่ายในการบริโภคและการลงทุนต่อการเปลี่ยนแปลงของ Disposable Income ของครัวเรือน ซึ่งหมายความว่า ถ้า Yd เพิ่ม 1 และ I เพิ่มเท่าไร

Z  =  ∆AE   ซึ่ง  O < Z < I
         Y

จุดดุลยภาพ  I    =    S    =    250

ตัวอย่าง  การคำนวณรายได้ประชาชาติดุลยภาพจากสมการคณิตศาสตร์ ซึ่งจากข้อมูลในตารางที่ 3 กำหนดให้
C   =   100 + 0.8 Y และ  S  =  - 100 + 0.2Y
I    =   250
เนื่องจาก        AE  =   C + I
ดังนั้น      AE  =  100 + 0.8 Y + 250
                      AE  =  350 + 0.8 Y

การหาคำตอบตามวิธีที่หนึ่ง
รายได้ประชาชาติดุลยภาพจะถูกกำหนด ณ จุดที่รายได้ประชาชาติ = AE
ดังนั้น       Y      =  350 + 0.8 Y
              0.2 Y  =  350
                   Y   =  1,750  พันล้าน  US$
เป็นระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ

การหาคำตอบตามวิธีที่สอง
การลงทุน  =  การออม (สมมติว่าเป็นระบบปิดไม่มีรัฐบาล)
       250    =   - 100 + 0.2 Y
     0.2 Y   =   350
          Y    =  1,750  พันล้าน  US$
ซึ่งก็ได้ระดับรายได้ประชาชาติดุลย เช่นกัน

การเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติ
ดุลยภาพ กรณีเน้นบทบาทของอุปสงค์รวม (Changes in National Income I : The Role of Aggregate Demand)
(1) Movements Along the Curves
(2) Shifts of the AE Curves


11 ตุลาคม 2556

BUS 6010 : บทที่ 2 ระเบียบวิธีการคำนวณสถิติตัวเลขรายได้ประชาชาติและผลผลิต Macro(2)

BUS 6010 เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (Business Economics) : เศรษฐศาสตร์มหภาค
บรรยาย: รศ. สมรักษ์ รักษาทรัพย์

บทที่ 2 ระเบียบวิธีการคำนวณสถิติตัวเลขรายได้ประชาชาติและผลผลิต
(The Measurement of National Income and National Product)

ประเด็นสำคัญ
1. สถานะที่เป็นอยู่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
2. ระดับความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง
3. โครงสร้างสำคัญต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นเศรษฐกิจของชาติ (National economy) GDP, GNP, NNP at Current Market Price, NNP at Factor Cost, Disposable Income, Real and Market Price, Personal Income เป็นต้น

ความหมายของรายได้ประชาชาติ
มูลค่าของสินค้าบริการขั้นสุดท้ายที่ระบบเศรษฐกิจผลิตขึ้นมาได้ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ปกติก็คิดกันเป็น 1 ปี หรือหนึ่งไตรมาส หรือในอีกความหมายหนึ่ง รายได้ประชาชาติ คือ ผลรวมของรายได้ที่บุคคลต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจได้รับในฐานะที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตในรอบระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งปกติก็คิดกันที่ 1 ปี หรือ 1 ไตรมาส เช่นกัน

วิธีการคำนวณตัวเลขสถิติรายได้ประชาชาติ
ตามมาตรฐาน UNSNA (United Nations System of National Account)
1. Production Approach (การคำนวณรายได้ประชาชาติจากด้านผลผลิต)
2. Expenditure Approach (การคำนวณรายได้ประชาชาิติจากด้านรายจ่าย)
3. Income Approach (การคำนวณรายได้ประชาชาิติจากด้านรายได้)

การคำนวณโดยวิธี Production Approach
ปัญหาในด้านการนับซ้ำซ้อน (Double Counting) คำนวณจากมูลค่าเพิ่ม (Value added) ของสินค้าชั้นกลาง (Intermediate Product)

รายการมูลค่าเพิ่ม
1. เกษตรกรประเทศ ก ผลิตข้าวเปลือกแล้วขายให้โรงสี
    คิดเป็นเงิน 100,000 ล้านบาท
100,000 ล้านบาท
2. โรงสีซื้อข้าวเปลือกมาจากเกษตรกร 100,000 ล้านบาท สีเป็นข้าวสาร
    ขายเป็นข้าวสารได้ 130,000  ล้านบาท
30,000 ล้านบาท
3. บริษัทค้าข้าว ซื้อข้าวสารจากโรงสี 130,000 ล้านบาท มาบรรจุหีบห่อ
    ขายปลีกออกไปเป็นเงิน 180,000 ล้านบาท
50,000 ล้านบาท

สรุปการคำนวณสถิติรายได้ประชาชาติโดยวิธี Production Approach 
(1) เมื่อรวมมูลค่าเพิ่มของสินค้าบริการทุกชนิดที่ระบบได้ตัวเลขสถิติ GDP              

(2) ปรับตัวเลขสถิติ GDP ให้เป็น GNP ได้ดังนี้
       GNP = GDP + Net Factor Income form abroad or
                    Net Factor Income Payment form the Rest of the World

(3) ปรับค่าของ GNP ให้เป็น NNP at Current Market Price ได้ดังนี้
       NNP at current Market price  =  GNP - Provision for Consumption of Fixed Capital

(4) ปรับค่า NNP at current Market Price ให้เป็น NNP at Factor Cost ซึ่งจะทำได้ ดังนี้
      NNP at Factor Cost  =  NNP at Current Market Price  - Indirect tax-Subsidies

(5) NNP at Factor Cost = NI (National Income)

(6) ปรับ National Income ให้เป็นรายได้ต่อหัว (Per capita Income) ได้ดังนี้
      Per capita Income =      IN       
                                      Population
     
      Per capita GNP    =      GNP       
                                      Population
             
      Per capita GDP     =    GDP       
                                      Population

การคำนวณโดยวิธี Expenditure Approach

GDP    =   Ca + Ia + Ga + Xa – Ma

GDP = Gross Domestic Product
Ca    = Private Consumption Expenditure
Ia      = Gross Private Investment Expenditure
Ga    = General Government Expenditure on Consumption and Investment
Xa    = Exports of Goods and Services
Ma   = Imports of Goods and Services

Actual Value เป็นค่าที่เกิดขึ้นแล้ว
Desired Value เป็นค่าที่ยังไม่เกิดขึ้น

การคำนวณโดยวิธี Income Approach
ผลตอบแทนของปัจจัยการผลิต
- ค่าจ้าง (Wages)
- ค่าเช่า (Rent)
- ดอกเบี้ย (Interest)
- กำไร (Profit)

รายจ่ายอื่นๆ ที่ไม่ได้จ่ายให้กับเจ้าของปัจจัยการผลิต (Non Factor Payments)
(1) ภาษีทางอ้อมของธุรกิจ (Indirect Business Taxes)
(2) เงินอุดหนุน (Subsidies)
     Net Domestic Product = Wages + Rent + Interest + Profit +  Indirect Business Taxes - Subsidies
(3) ค่าเสื่อมราคา
      GDP = NDP + Depreciation

รายได้สุทธิส่วนบุคคล (Disposable Personal Income)
รายได้สุทธิส่วนบุคคล = GNP รวมกับเงินโอนของรัฐบาล (Transfer received form the government)  รวมดอกเบี้ยที่จ่ายโดยรัฐบาลและหักด้วยภาษี (Taxes)

ค่าที่แท้จริงและค่าที่เป็นตัวเงิน (Real and Nominal Measure)
ค่า GDP ที่เป็นตัวเงิน (Nominal term) คือค่า GDP ณ ระดับราคาปัจจุบัน (Current Prices) หรือที่เรียกว่า  Nominal GDP คือค่าของ GDP ที่คำนวณตามราคาปีปัจจุบันของผลผลิตหรือคำนวณตามราคาตลาด
       
ค่า GDP ที่แท้จริง คือค่า GDP ณ ระดับราคาปีฐาน หรือที่เรียกว่า Real GDP ซึ่งประเทศไทย ณ ขณะนี้ (พ.ศ. 2547) ใช้ราคาปี ค.ศ. 1988 เป็นปีฐาน

สาเหตุสำคัญที่ทำให้รายได้ประชาชาติแท้จริง (Real GDP) เพิ่มขึ้นนั้น อาจเกิดจาก
(1) การเพิ่มขึ้นของปัจจัยการผลิต ซึ่งได้แก่ การเพิ่มขนาดของจำนวนที่ดินที่นำมาใช้ประโยชน์การเพิ่มขึ้นของแรงงานและทุนที่ใช้ในการผลิต
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งได้แก่ การเพิ่มผลผลิตต่อหนึ่งหน่วยของปัจจัยการผลิต (Increase in Productivity of Resources)

กิจกรรมที่ไม่นับรวมในรายได้ประชาชาติ
(1) กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย (Illegal Activities) 
(2) กิจกรรมที่ไม่ได้บันทึก (Unreported Activities) 
(3) กิจกรรมนอกตลาด (Non Market Activities)
(4) ผลเสียที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ (Economic “Bads”)


BUS 6010 : บทที่ 1 บทนำว่าด้วยเศรษฐศาสตร์มหภาค Macro(1)

BUS 6010 เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (Business Economics) : เศรษฐศาสตร์มหภาค
บรรยาย:  รศ. สมรักษ์ รักษาทรัพย์

บทที่ 1 บทนำว่าด้วยเศรษฐศาสตร์มหภาค 
(Introduction to Macroeconomic)

ประเด็นสำคัญ
1. ทฤษฏีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติ
2. การเปลี่ยนแปลงรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
3. ขนาดการเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติ
4. การใช้เครื่องมือเชิงนโยบาย เช่น นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายรายได้ เพื่อควบคุมระดับกิจกรรมทางเศรษกิจ

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomic)
เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างและปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจในระดับชาติ นโยบายของรัฐที่ถูกใช้ไปเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว

ปัญหาเศรษฐกิจมหาภาค (Macroeconomic Issue)
1) ปัญหาการเติบโตอย่างมีดุลยภาพในระยะยาว
2) ปัญหาวัฏจักรเศรษฐกิจ
3) ปัญหาการว่างงาน
4) ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพของระดับราคา
5) ปัญหาผลกระทบจากกระทบระบบโลกาภิวัตน์
6) ปัญหามาตรฐานการดำรงชีพ
7) ปัญหาการขาดดุลงบประมาณและดุลการค้า
8) ปัญหาว่านโยบายรัฐจะสามารถปรับปรุงยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้หรือไม่

1) ปัญหาการเติบโตอย่างมีดุลยภาพในระยะยาว
การเติบโตอย่างมีดุลยภาพภาพในระยะยาว หมายถึง สภาวะที่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริง (real GDP) มีการเติบโตอย่างเสม่ำเสมอและยั่งยืน สอดคล้องกับกำลังทรัพกรของประเทศ
ในข้อนี้อาจารย์ได้ยกตัวอย่างการเติบโตโดยการนำทรัพยากรมาใช้อย่างล้างผลาญ ซึ่งทำให้ทรัพยากรนั้นหมดไปในอนาคต แต่ทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้น ว่าเป็นการเติบโตที่ไม่มีดุลยภาพ

2) ปัญหาวัฏจักรเศรษฐกิจ
คือปัญหาที่ว่าด้วยความผันผวนของเศรษฐกิจ ที่มีการขึ้นๆลงๆ ตามเวลาที่เปลี่ยนไป เป็นวัฏจักร เจริญรุ่งเรือง-ถดถอย-ตกต่ำ-ฟื้นตัว

3) ปัญหาการว่างงาน
เป็นปัญหาที่ว่าด้วยภาวะที่คนไม่มีงานทำ หรือมีการจ้างงานต่ำกว่ากำลังแรงงาน ทำให้มีผู้ไม่มีรายได้ ทำให้เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม

4) ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพของระดับราคา
เป็นปัญหาที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจถดถอย ภาวะเงินเฟ้อเป็นภาวะที่เงินมีค่าน้อยลง ทำให้ต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อสินค้าที่มีปริมาณและคุณภาพเท่าเดิม การเกิดเงินเฟ้อในอัตรสูงถือเป็นปัญหาทาง

5) เศรษฐกิจที่กระทบต่อครัวเรือน
ปัญหาผลกระทบจากกระแสระบบโลกาภิวัตน์
ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด และมีสัดส่วนในภาคต่างประเทศสูงเมื่อเทียบกับ GDP ดังนั้นความผันแปรของสภาวะเศรษฐกิจโลกจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยค่อนข้างมาก

6) ปัญหามาตรฐานการดำรงชีพ
เป็นปัญหาที่ดกี่ยวกับมาตรฐานการดำรงชีพของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งไม่ได้ดีขึ้นตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศมากนัก เนื่องจากช่องว่างในการกระจายรายได้เพิ่มสูงขึ้น

7) ปัญหาการขาดดุลงบประมาณและดุลการค้า
เป็นปัญหาที่ว่าด้วยความไม่สมดุลระหว่างการใช้จ่ายเงินกับรายได้ ดุลงบประมาณหมายถึงความสมดุลระหว่างรายจ่ายกับรายได้ของภาครัฐ ซึ่งอาจวางแผนให้เกินดุลหรือขาดดุลได้ ตามแต่สถานการณ์ของประเทศ ส่วนดุลการค้านั้นหมายถึง ระดับของมูลค่าสินค้าที่ส่งอกไปขายกับสินค้าที่นำเข้า ซึ่งยิ่งเกินดุลมากเท่าไหร่ยิ่งป็นผลดี

8) ปัญหาว่านโยบายรัฐจะสามารถปรับปรุงยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้หรือไม่
เป็นปัญหาที่ว่าด้วยการประเมินว่า นโยบายของภาครัฐที่นำมาผลักดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น จะมีผลกระทบอย่างไร ประสบความสำเร็จมากน้อยขนาดไหน นโยบายหลักๆที่ประเทศต่างๆนำมาใช้ ส่วนใหญ่จะเป็น นโยบายการเงิน(Monetary policy) กับนโยบายการคลัง (Fiscal policy)

ดุลยภาพทั่วไปของระบบเศรษฐกิจ (General Equilibrium) และตัวบ่งชี้ (Indicator) ต่าง ๆ
1) ภาคการผลิต (Product Market)
2) ภาคตลาดแรงงาน (Labor Market)
3) ภาคการเงิน (Money Market)
4) ภาคต่างประเทศ (Foreign Market)

1) ภาคการผลิต (Product Market)
ภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) หรือบางครั้งเรียกว่า ตลาดสินค้า ตัวแปรสำคัญในภาคนี้ก็คือ ผลผลิตรวมของประเทศ (Total Output) หรือที่เราเรียกกันว่ารายได้ประชาชาติ ในสถานการณ์ที่มีดุลยภาพ อุปสงค์รวมของประเทศเท่ากับอุปทานรวมของประเทศ
ตัวแปรในภาคการผลิต
(1) ค่าใช้จ่ายในการบริโภคของครัวเรือน
(2) รายจ่ายในการลงทุนของหน่วยธุรกิจ
(3) รายจ่ายของภาครัฐบาลที่จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุน
(4) การส่งออก
(5) การนำเข้า
(6) การออมของหน่วยธุรกิจและครัวเรือน
(7) การออมของรัฐบาล
(8) อัตราภาษี
(9) ระดับราคา  เป็นต้น

2) ภาคตลาดแรงงาน (Labor Market)
เป็นส่วนหนึ่งของภาคเศรษฐกิจจริง ( Real sector) ประกอบไปด้วยตัวแปรสำคัญ
(1) อุปสงค์แรงงาน (Demand for labor)
(2) อุปทานแรงงาน (Supply of labor)
(3) ค่าจ้างแรงงาน (Wage)

อุปสงค์แรงงาน = อุปทานแรงงาน => ภาวะดุลยภาพ 
อุปสงค์แรงงาน > อุปทานแรงงาน => ขาดแคลนปัจจัยการผลิต
อุปสงค์แรงงาน < อุปทานแรงงาน => เกิดส่วนเกินแรงงงาน

3) ภาคการเงิน (Money Market)
อุปทานของเงิน อุปสงค์ของเงิน อัตราดอกเบี้ยหรือราคาของเงิน  
(1) บทบาทและสถานะของสถาบันการเงินในระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง การระดมเงินทุนและให้ สินเชื่อแก่หน่วยธุรกิจและครัวเรือน
(2) บทบาทของเจ้าหน้าที่ทางการเงินที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกำกับการใช้เครื่องมือและนโยบายการเงิน (เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น)
(3) การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
(4) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
(5) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น

4) ภาคต่างประเทศ (Foreign Market)
ดุลการชำระเงินของประเทศมีความสมดุล 
(1) ดุลบัญชีเงินสะพัด ซึ่งประกอบด้วย
       (1.1)  ดุลการค้า
       (1.2)  ดุลบริการ
       (1.3)  ดุลเงินโอนและบริจาค
(2) การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย
       (2.1)  การเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น
       (2.2)  การเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะยาว
(3) อัตราแลกเปลี่ยน

ดุลยภาพทั่วไป  (General Equilibrium)
มาถึงตรงนี้แล้วก็จะสรุปความได้ว่าสิ่งที่เราปรารถนาก็คือ การเกิดดุลยภาพทั่วไป ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดดุลยภาพในทั้ง 4 ส่วนดังกล่าว พร้อม ๆ กัน และที่ปรารถนามากไปกว่านั้นอีกคือ เราต้องการให้เกิดดุลยภาพในภาวะที่มีการจ้างงานเต็มที่ (Full Employment) ด้วย


5 ตุลาคม 2556

BUS 6010 : เอกสารบรรยาย Micro(3) 02/10/2556

ครั้งที่ี 2  02/10/2556 เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro) รศ.อติ 


บทที่ 3 ความยืดหยุ่น
--------------------------
ความยืดหยุ่น
- ความยืดหยุ่นของอุปสงค์
- ความยืดหยุ่นของอุปทาน
- ประโยชน์จากการศึกษาเรื่องความยืดหยุ่น


ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of demand)
หมายถึง เปอร์เซนต์หรืออัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าที่มีผู้ต้องการซื้อในขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อตัวแปรอื่นๆ ที่เป็นตัวกำหนดปริมาณเสนอซื้อนั้นๆ เปลี่ยนแปลงไปหนึ่งเปอร์เซนต์

Ed  =   เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอซื้อ
             เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า

Ed   =  ∆Q x P   =  
Q2 - Q1 x P1
            ∆P    Q        P2 - P1    Q1

 Ed  =  dQ x P1

            dP    Q1

การคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา

1). ความยืดหยุ่นแบบจุด (Point elasticity of demand)
เป็นการคำนวนณหาค่าความยืดหยุ่น ณ จุดใดจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ซึ่งเป็นกรณีที่ราคาเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย แต่ในทางทฤษฎีถือว่ามีผลทำให้ปริมาณเสนอซื้อเปลี่ยนแปลงไปด้วย
สูตรที่ใช้ในการคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นแบบจุดคือ

Ed  =   ∆Q x P   =  Q2 - Q1 x P1
            ∆P    Q        P2 - P1    Q1

ตัวอย่างเช่น
กำหนดให้ Qx = 600 - 50 Px  ถ้าราคาสินค้า x เปลี่ยนจากชิ้นละ 5 บาท เป็น 6 บาท จงคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่่อราคาสินค้า x ณ ระดับราคา 5 บาท

Px1 =  5 บาท  : Qx1  = 600 - 50(5)
                             = 600 - 250
                             = 350
ณ ระดับ
Px2  = 6 บาท : Qx2  = 600 - 50(6)
                            = 600 - 300
                            = 300
จากสูตร
 Ed  =  Q2 - Q1 x P1
             P2 - P1    Q1
Ed   =  300 - 350  x    5 
               6 - 5           350 
        =  -50 ( 1 )
                    70 
        = -0.71

ถ้าราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากจนมีค่าใกล้ 0 เราสามารถใช้วิธีอนุพันธ์ โดยการหาค่าความยืดหยุ่นได้ดังนี้ 

Ed   =   dQx x Px
             dPx    Qx

จากสมการอุปสงค์ต่อราคา Qx = 600 - 50Px ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา เมื่อราคาสินค้า X เท่ากับ 5 คำนวณได้ดังนี้

Ed   =  d(600 - 50Px)  x  Px
            dPx                  Qx
        =  d(-50Px)  x  Px
            dPx          Qx       

        =  -50 x        5            
                       600 - 50(5)
        = -0.71

คำอธิบาย:

ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาเมื่อราคาสินค้า X เท่ากับ คือ 0.71 (ไม่คิดเครื่องหมายลบ) ซึ่งแสดงว่าถ้าราคาสินค้า X เปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 1 ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า X จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามเท่ากับร้อยละ 0.71

ในกรณีที่สมการอุปสงค์ประกอบด้วยตัวแปรอิสระหลายตัว เช่น Qx = 2000 - 100Px + 150Py + 300Y + 200A เราสามารถคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของเส้นอุปสงค์ต่อราคาได้โดยวิธีอนุพันธ์ย่ิอย

Ed  =  ∂Qx  x  Px
           ∂Px      Qx

2). ความยืดหยุ่นแบบช่วง (Are elasticity of demand) 
เป็นการคำนวณค่าความยืดหยุ่น ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งบนเส้นอุปสงค์

สูตรที่ใช้ในการคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นแบบช่วงคือ

Ed  =   ∆Q/Q
            ∆P/P

               Q2 - Q1    
            (Q2 + Q1) /2
       =  ------------------
                 P2 - P1    
             (P2 + P1) /2

Ed  =  Q2 - Q1  x  P2 + P1
           Q2 + Q1     P2 - P1

Ed  =  
∆Q   x  P2 + P1   
           ∆P       Q2 + Q1 

Ed  =  dQ  x  P2 + P1
           dP      Q2 + Q1

ตัวอย่างเช่น
สมมติให้ราคาสินค้า X 1ลดลงจาก 10 บาท เป็น 6 บาท ปริมาณซื้อที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้า X เพิ่มขึ้นจาก 1,400 หน่วย เป็น 1,800 หน่วย เราสามารถคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์จากราคา 10 บาท เป็น 6 บาท ดังนี้

Ed  =  Q2 - Q1  x  P2 + P1
           Q2 + Q1     P2 -  P1
       
       =  1,800  - 1,400   x  6 + 10
            1,800 + 1,400      6 - 10 
       
       =     400    x   16
            3,200       (-4)
    
       =  -0.5

คำอธิบาย:
ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา = -0.5 หมายความว่าในช่วงราคา 10 บาท ถึง 6 บาท โดยเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า X ร้อยละ 1 จะมีผลทำให้อุปสงค์ต่อสินค้า X เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามเท่ากับร้อยละ 0.5 เมื่อกำหนดให้ตัวแปรอื่นๆคงที่

ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา

Ed >1 เรียกกรณีนี้ว่าอุปสงค์มีความยืดหยุ่นมาก (Relatively elastic) หมายความว่า เปอร์
เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อมากกว่าเปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า

Ed < 1 เรียกกรณีนี้ว่าอุปสงค์มีความยืดหยุ่นน้อย (Relatively inelastic) หมายความว่าเปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อน้อยกว่าเปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า

Ed = 1 เรียกกรณีนี้ว่าอุปสงค์มีความยืดหยุ่นคงที่ (Unitary elastic) หมายความว่า เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อเท่ากับเปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า

Ed = 0 เรียกกรณีนี้ว่าอุปสงค์ไม่มีความยืดหยุ่นเลยหรือไม่ยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ (Perfectly inelastic) หมายความว่าปริมาณเสนอซื้อไม่เปลี่ยนแปลงเลย แม่ว่าราคาจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม

Ed =  เรียกกรณีนี้ว่าอุปสงค์มีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ (Perfectly elastic) หมายความว่า ณ ระดับราคานั้นๆ ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าไม่จำกัดจำนวน แต่ถ้าราคาสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยจะไม่ซื้อเลย


การหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาโดยวิธีเรขาคณิต

















ถ้าเราต้องการหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงราคาจาก OE เป็น OA หรือหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา ณ จุด C เราจะได้ว่า

Ed  =   ∆Q  x  P 
            ∆P      Q
       =  -OD x OE
            AE     OD
       =  -OE
            AE
       = -CD
            AE 
       = -BC
           AC

ลักษณะของเส้นอุปสงค์ต่อราคากับค่าความยืดหยุ่น

เส้นอุปสงค์มีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์
 
(Perfectly elastic : Ed = ∞ ) 
เส้นอุปสงค์ในกรณีนี้ จะมีลักษณะเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับแกนราคาทุกๆจุดบนเส้นอุปสงค์จะมีค่าความยืดหยุ่นต่อราคาเท่ากับ ∞ ตลอดทั้งเส้น
เส้นอุปสงค์ต่อราคาที่มีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์


เส้นอุปสงค์ไม่มีความยืดหยุ่นเลย (Perfectly inelastic : Ed =0)
กรณีนี้เส้นอุปสงค์จะเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับแกนปริมาณทุกๆ จุดบนเส้นอุปสงค์ จะมีค่าความยืดหยุ่นต่อราคาเท่ากับศูนย์ตลอดทั้งเส้น
เส้นอุปสงค์ต่อราคาไม่มีความยืดหยุ่นเลย

เส้นอุปสงค์มีความยืดหยุ่นเท่าหนึ่ง (Unitary elastic Ed = 1)
กรณีนี้เส้นอุปสงค์จะมีลักษณะเป็นเส้นโค้ง Rectangular hyperbola ทุกๆจุดบนเส้ิุนอุปสงค์มีค่าความยืดหยุ่นต่อราคาเท่ากับหนึ่งตลอดทั้งเส้น

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาและรายรับรวม (Total revenue : TR)

ความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่นของอุปสงค์กับรายรับรวมเมื่อราคาเปลี่ยนแปลง
ราคา Ed = 1 Ed < 1 Ed > 1
สูงขึ้น TR คงที่ TR เพิ่มขึ้น TR ลดลง
ลดลง TR คงที่ TR ลดลง TR เพิ่มขึ้น

Ed > 1  =>  %Q  > %P
PQ    => TR
PQ    => TR

Ed < 1  =>  %Q  < %P
PQ    => TR
PQ    => TR

D ต่อราคา
ทดแทนกันได้มาก         =>  Ed > 1
สัดส่วนต่อรายได้น้อย   =>  Ed < 1
สินค้าจำเป็น                  =>  Ed < 1
เวลาน้อย                       =>  Ed < 1

** ขาดตัวอย่าง **

ปัจจัยกำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
1) ความสามารถในการใช้ทดแทนกันของสินค้า
2) มูลค่าสินค้าคิดเป็นสัดส่วนของรายได้
3) สินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าจำเป็น

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้  (Income elasticity of demand) : Ey
หมายถึง เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าที่มีผู้ต้องการซื้อ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อรายได้ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปหนึ่งเปอร์เซ็นต์โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆคงที่

Ey  =   เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอซื้อ
                เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงรายได้

Ey   =   ∆Q/Q
             ∆y/y
        =  ∆Q  x  Y
            ∆y       Q

หรือ Ey    =  dQ   x  Y
                    dy        Q

Ey    =  Q2 - Q1   x  y2 - y1
            Q2 + Q1      y2 - y1

Ey    = dQ  x  y2  + y1
           dy      Q2  + Q1  

ตัวอย่างเช่น สมมติให้บริษัทที่ปรึกษาทางด้านวิจัยแห่งหนึ่ง สำรวจข้อมูลการตลาดย้อยหลังเมื่อ 2 ปีก่อนพบว่าในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อปีของผู้บริโภคเท่ากับ 60,000 บาท ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าของบริษัท A จำนวน 90,000 ชิ้นต่อปี แต่ปลายปีนี้พบว่า ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อปีของผู้บริโภคเท่ากับ 64,000 บาท บริษัท A ขายสินค้าได้ถึง 100,000 ชิ้นต่อปี ถ้าให้ปัจจัยอื่นๆคงที่ เราสามารถหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อหน่วยรายได้ ได้ดังนี้

Ed  =  Q2 - Q1   x  y2  -  y1
          Q2 + Q1      y2  +  y1
 
       =  100,000  -  90,000   x   64,000 - 60,000
           100,000  +  90,000       64,000 + 60,000

       =    10,000   x   124,000
            190,000         4,000

        =   1.63

ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Ey) เท่ากับ 1.63 หมายความว่าเมื่อรายได้ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปร้อยละหนึ่ง จะมีผลให้อุปสงค์ของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าของบริษัท A เปลี่ยนแปลงไปร้อยละ  1.63 และเนื่องจากค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้มีเครื่องหมายบวก แสดงว่าสินค้านี้จัดได้ว่าเป็นสินค้าปกติ (Normal goods) เพราะการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์สนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของรายได้ในทิศทางเดียวกัน

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่นหรือความยืดหยุ่นไขว้ (Cross elasticity of demand) หมายถึง เปอรืเซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าที่มีผู้ต้องการซื้อในขณะใดขณะหนึ่งเมื่อราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนแปลงไปหนึ่งเปอร์เซ็นต์ โดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่

Exy  =   เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงปริมาณการเสนอซื้อสินค้า X
                      เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า Y

สูตรที่ใช้คำนวณหาค่าความยืดหยุ่นไขว้
ความยืดหยุ่นไขว้แบบจุด
เป็นการคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นไขว้ ณ จุดใดจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์หรือเรียกว่า ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ในสินค้า X ต่อราคาสินค้า y

Exy   =   ∆Qx  x  Py
             ∆Py       Qx
หรือ
Exy   =  dQx  x  Py
             dPy      Qx

ความยืิดหยุ่นไขว้แบบช่วง
เป็นการคำนวณหาค่า ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ในสินค้า X ต่อราคาสินค้า y ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งบนเส้นอุปสงค์

Exy   =  Qx2  -  Qx1    x    Py2 + Py1
             Qx2  + Qx1          Py2 -  Py1

ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้า A และ B พบว่าเมื่อเขาตั้งราคาสินค้า B ชิ้นละ 7,000 บาท เขาจะขายสินค้า A ได้จำนวน 35,000 ชิ้นต่อเดือน แต่เมื่อบริษัทขึ้นราึคาขายสินค้า B เป็นชิ้นละ 7,700 บาท ยอดขายสินค้า A ของบริษัทลดลงเหลือเพียง 28,000 ชิ้นต่อเดือน โดยที่ปัจจัยอื่นๆที่มีอิทธิพลต่อยอดขายของสินค้า A ยังคงที่ จงคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้ของสินค้า A และอธิบายความสัมพันธ์ของสินค้าทั้งสอง

Ed   =   Qx2  -  Qx1   x Py2  + Py1
             Qx2  + Qx1      Py2  - Py1
   
        =  28,000 - 35,000  x   7,700 - 7,000
            28,000 + 35,000      7,700 + 7,000

        =  -7,000   x  14,700
             63,000         700

        = -2.33

ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์สินค้า A ต่อราคาสินค้า B เท่ากับ -2.33 หมายความว่า เมื่อราคาสินค้า A เปลี่ยนแปลงไปหนึ่งเปอร์เซ็นต์จะมีผลให้อุปสงค์สินค้า B เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม 2.33 เปอร์เซ็นต์ และเครื่องหมายลบแสดงให้เห็นว่าสินค้า A และ B มีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่เป็นสินค้าประกอบกัน

ความยืดหยุ่นของอุปทาน (Elasticity of supply)
หมายถึง ค่าทที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณเสนอขายของสินค้า โดยจะดูว่าเมื่อกำหนดให้สิ่งอื่นๆคงที่ ในขณะใดขณะหนึ่ง ผู้ขายจะเปลี่ยนแปลงปริมาณการเสนอขายสินค้านั้นไปกี่เปอร์เซ็นต์ หากราคาสินค้าชนิดนั้นเปลี่ยนแปลงไปหนึ่งเปอร์เซ็นต์

Es  =  เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอขายสินค้า
               เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า

การคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน

1). ความยืดหยุ่นแบบจุด (Point elasticity of supply) 
เป็นการคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน ณ จุดใดจุดหนึ่งบนเส้นอุปทาน สูตรที่ใช้ในการคำนวนณคือ

Es   =   ∆Q  x  P
            ∆P      Q  
หรือ
Es   =  dQ   x  P
           dP      Q
     
2). ความยืดหยุ่นแบบช่วง (Are elasticity of supply)
เป็นการคำนวนหาค่าความยืดหยุ่น ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งบนเส้นอุปทาน สูตรที่ใช้ในการคำนวน ได้แก่

Es  =  Q2  -  Q1    x   P2  + P1
           Q2  + Q1         P2  -  P1  

ค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน

อุปทานที่มีความ

อยากรู้เรื่องทฤษฎีการตลาดกับผู้เชี่ยวชาญ ผมแนะนำ M.B.A. (Marketing) Ramkhamkaeng .. แต่ถ้าอยากรู้ว่าเรียนการตลาดแล้วจะประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินได้อย่างไร คุณต้องมีโค้ชแนะนำ ครับ

วางแผนการเงินกับ #finadvisor #ความมั่งคั่งเริ่มต้นที่นี่ finadvisor.co
โค้ชส่วนตัว ช่วยวางแผน

×
News